magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

วันนี้เราเดินไปทำงาน / เรียนกันเถอะ

Published on August 22, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง วันนี้เราเดินไปทำงาน / เรียนกันเถอะ

งานวิจัยล่าสุดพบว่า การเดินมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาเปรียบเทียบผู้ที่เดินทางไปทำงานโดยการเดินกับขับรถส่วนตัว / ขึ้นรถเมล์ พบว่า ผู้ที่ “เดิน” ไปทำงานนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงน้อยกว่าผู้ที่ “ขับรถ” ไปทำงานถึง 40% ด้วยกันเลยทีเดียว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447303– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทย์จับตาดูกิจกรรมในเซลล์สมองได้แล้ว

Published on August 22, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง นักวิทย์จับตาดูกิจกรรมในเซลล์สมองได้แล้ว

นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการใช้โปรตีนที่ผ่านกระบวนการพันธุวิศวกรรมเพื่อตรวจดูกิจกรรมทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในเซลล์สมองของสิ่งมีชีวิตอย่างแมลงวันได้แล้ว

ผลงานวิจัยจากโครงการ Brain Research through Advancing Innovative Neurotechnologies (BRAIN) Initiative นี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Cell โดยเผยว่า โปรตีนดังกล่าวอาจจะนำไปใช้ในการศึกษากิจกรรมของเซลล์สมองของสัตว์หลายๆ ชนิดได้ ตลอดจนศึกษาว่า ความผิดปกติทางประสาทไปรบกวนการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทปกติอย่างไร

เซลล์สมองจะใช้กระแสไฟฟ้าในการควบคุมความคิด การเคลื่อนไหว และความรู้สึก นับตั้งแต่เมื่อ ดร.ลุยจิ กัลวานี่ สามารถใช้การกระตุ้นไฟฟ้าทำให้กบขยับขาได้ นักวิทยาศาสตร์ก็พยายามจะศึกษากิจกรรมทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทเพื่อให้เข้าใจให้ได้ว่าเซลล์ประสาทมีความเกี่ยวข้องกับการขยับขาของกบได้อย่างไร รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447317– ( 77 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พิพิธภัณฑ์ และหอจดหมายเหตุ ธ.ก.ส.

พิพิธภัณฑ์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ตั้งอยู่ชั้น 2 ตึกโพเดียม ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ อาคารบางเขน เป็นแหล่งการเรียนรู้วิวัฒนาการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทไทย เผยแพร่จิตวิญญาณของ ธ.ก.ส. ส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของเกษตรกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย โดยการเล่าเรื่องผ่านวีดิทัศน์ หุ่นจำลอง นิทรรศการจอสัมผัส ซึ่งจะทำให้ได้เรียนรู้และเข้าใจความเป็นมาของการพัฒนาการเกษตรของชนบทไทยยิ่งขึ้น

พิพิธภัณฑ์ ธ.ก.ส.ประกอบด้วย 8  ส่วนดังนี้

  1. โถงต้อนรับ : ชมวีดิทัศน์แนะนำความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ และโมเดลจำลองวิถีเกษตร 5 ภาค
  2. กำเนิด ธ.ก.ส. : วีดีทัศน์นำเสนอย้อนสู่การก่อตั้งธนาคาร ผ่านการเล่าเรื่องด้วยเทคนิค การฉายภาพซ้อนบนผนัง และเทคนิคกลไกต่างๆ
  3. รากฐาน ธ.ก.ส. :  ธ.ก.ส. มั่นคงและยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ มีรากฐานมาจากการบุกเบิกของอาจารย์จำเนียร สาระนาค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ด้วยการนำนวัตกรรมสินเชื่อ Read more…

– ( 870 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทีมจากญี่ปุ่นคว้าแชมป์หุ่นยนต์นานาชาติ ABU ที่เวียดนาม

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเทคโนโลยี

เวียดนาม 18 ส.ค.2013  -  ทีมจากประเทศญี่ปุ่น สามารถคว้าแชมป์หุ่นยนต์นานาชาติ ABU เอาชนะเจ้าภาพเวียดนามไปได้ ในขณะที่ทีมไทยพลาดท่าให้กับประเทศฟิจิตกรอบแรก

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=5210c411150ba0f43d00024f#.UhGWaT-ZjGg– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำดื่ม

ที่มา: ScienceDaily June 27, 2013 http://www.sciencedaily.com/releases/2013/06/130627125525.htm

ST_News_Aug_13_5

นักเคมีจาก University of Texas เมือง Austin และUniversity of Marburg ประเทศเยอรมัน ได้เสนอวิธีการแยกเกลือจากน้ำทะเลโดยใช้เทคนิคการแยกเกลือจากการสร้างสนาม แม่เหล็ก ที่ใช้พลังงานน้อยกว่าและซับซ้อนน้อยกว่าวิธีเดิมมาก ซึ่งในระดับเทคนิคการทดลองนี้อาศัยเพียงพลังงาน จากถ่านขนาดเล็กที่ซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป

กลุ่มวิจัยนำโดย Richard Crooks จาก University of Texas และUlrich Tallarek จาก University of Marburg อธิบายว่า เทคนิคนี้เรียกว่า Electrochemically mediated seawater desalination เป็นเทคนิคที่หลีกเลี่ยงปัญหาที่พบในปัจจุบัน โดยยกเลิกการ ใช้เยื่อเมมเบรนและการแยกเกลือในระดับไมโคร และเทคนิคดังกล่าว อยู่ระหว่างการรอรับสิทธิบัตร (patent-pending) และกำลังพัฒนาไป สู่เชิงพาณิชย์ โดย Okeanos Technologies

Crooks ให้ความคิดเห็นว่า ความต้องการน้ำเพื่อการดื่มกิน และเพื่อการเกษตร เป็นหนึ่งในความต้องการขั้นพื้นฐานสำหรับรักษา และพัฒนาสุขภาพของมนุษย์ ขณะที่ Robert A. Welch ซึ่งเป็น ประธานในภาควิชาเคมีของ College of Natural Sciences กล่าวว่า การแยกเกลือจากน้ำทะเลเป็นวิธีหนึ่งในการแก้ปัญหาความต้องการ พื้นฐานระยะยาวในด้านน้ำจืดของมนุษย์ แต่วิธีปัจจุบันใช้การกรอง เยื่อเมมเบรนราคาแพงและปนเปื้อนได้ง่าย และในอนาคตหากสามารถ ปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคล่าสุดได้สำเร็จ จะสามารถผลิตน้ำจืดได้ใน ปริมาณมากอย่างง่ายดาย

เทคนิคใหม่นี้ได้สร้างความหวังแก่ชุมชนที่ขาดแหล่งน้ำดื่ม เนื่องจากพวกเขามีทรัพยากรน้ำทะเลมากมายแต่ไม่มีเงินหรือโครงสร้างพื้นฐาน เพียงพอต่อการเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ซึ่งเป็นผลให้มีคนเสีย ชีวิตมากกว่าล้านคนต่อปีในชุมชนเหล่านี้

ST_News_Aug_13_6

Tony Frudakis ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Okeanos Technologies กล่าวว่า ผู้คนเสียชีวิตเนื่องจากขาดแคลนน้ำจืดและ ยังต้องประสบปัญหานี้ต่อไปจนกว่าจะค้นพบเทคโนโลยีใหม่ๆที่ สามารถช่วยแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง ซึ่งพวกเขาหวังว่าเทคโนโลยี ของพวกเขาจะเป็นคำตอบของปัญหานี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/13585-science-and-technology-news
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนสิงหาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 19 สิงหาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/

 

 

 – ( 121 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยสาเหตุยุคน้ำแข็งต้องมีวัฏจักร 100,000 ปี

Published on August 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยสาเหตุยุคน้ำแข็งต้องมีวัฏจักร 100,000 ปี

ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีคำอธิบายที่แน่ชัดว่าเหตุใดจึงเกิดยุคน้ำแข็งทุกๆ 100,000 ปี ล่าสุด นักวิจัยได้ใช้คอมพิวเตอร์จำลองการเกิดยุคน้ำแข็งขึ้นมา โดยใส่ทั้งปัจจัยแสงแดดที่ผันผวน อิทธิพลของเปลือกทวีป และสภาพอากาศลงไปด้วย

ยุคน้ำแข็งและยุคอบอุ่นเป็นวัฏจักรของโลกที่เกิดขึ้นสลับกันไป โดยที่โลกจะเย็นอยู่ทุกๆ 100,000 ปี ทำเอาพื้นที่ตามอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย จมอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งหนา แต่เมื่อเข้าสู่อีกครึ่งของวัฏจักร โลกก็จะอุ่นขึ้นและน้ำแข็งจะละลาย นักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศพบว่าวงจรนี้จะครบรอบ 100,000 ปี โดยมีหลักฐานสนับสนุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตะกอนน้ำแข็ง ตะกอนก้นทะเล น้ำแข็งจากมหาสมุทรอาร์คติค แต่ก่อนหน้านี้ก็ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ดีพอได้ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447320– ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หูเทียมชนิดใหม่ที่ดีกว่าเดิม

Published on August 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง หูเทียมชนิดใหม่ที่ดีกว่าเดิม

จากดวงตาเทียมไปจนถึงแขนขาเทียม เหล่าแพทย์ได้ฝันถึงวิธีต่างๆ มากมายที่จะแทนที่ชิ้นส่วนของร่างกายมนุษย์เมื่อยามเกิดเหตุจำเป็น ในตอนนี้พวกเขาสามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในรายชื่ออวัยวะเทียมได้แล้ว นั่นก็คือหูเทียมที่มีความยืดหยุ่นเหมือนของจริงจากเซลล์กระดูกอ่อนที่ถูกปลูกถ่ายลงบนโครง Titanium

เทคนิคใหม่ดังกล่าวซึ่งได้ถูกอธิบายไว้ในวารสาร Royal Society Interface ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้นเป็นเทคนิคดีกว่าความพยายามดัดแปลงเนื้อเยื่อด้วยวิธีการทางวิศวกรรมที่ผ่านมา และสามารถแทนที่วิธีการใช้แพทย์ผ่าตัดศัลยกรรมพลาสติก หลายคนในการสร้างรูปทรงหูขึ้นมาจากก้อนกระดูกอ่อนซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมากได้ด้วย โดยกระบวนการดังกล่าวนั้นสามารถนำไปใช้กับคนไข้ที่ต้องสูญเสียหูไปข้างหนึ่งหรือกับเด็กที่มีภาวะ Microtia หรือการก่อรูปของหูที่ผิดปกติ นักวิศวกรรมชีวภาพ Tom Cervantes ผู้ซึ่งประจำอยู่ที่ Massachusetts General Hospital ระหว่างทำการวิจัยกล่าว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447323– ( 66 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การขาดความรับผิดชอบชั่วดีอาจทำให้สุขภาพเสื่อมและเป็นโรคอ้วน

Published on August 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การขาดความรับผิดชอบชั่วดีอาจทำให้สุขภาพเสื่อมและเป็นโรคอ้วน

ผลลัพธ์จากการศึกษาระยะยาวแสดงให้เห็นว่าเด็กๆ ที่แสดงถึงระดับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ต่ำ (อย่างเช่นความขาดความรับผิดชอบ ความไม่ใส่ใจ และความขี้เกียจ) นั้นอาจจะทำให้ต้องเผชิญกับสุขภาพโดยรวมที่ย่ำแย่และโรคอ้วนเมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้ งานวิจัยจาก Oregon Research Institute (ORI) ได้สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกในวัยเด็กกับสุขภาพเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ และยังแสดงถึงความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ดี และสุขภาพเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่อีกด้วย นักวิทยาศาสตร์จาก ORI ชื่อ Sarah Hampson และเพื่อนร่วมงานของเธอจากศูนย์สุขภาพ Kaiser Permanente ที่ฮาวายได้รายงานการค้นพบดังกล่าวในวารสาร Health Psychology ในเดือนสิงหาคม ซึ่งไม่นานมานี้เธอได้เป็นผู้อภิปรายเรื่องสุขภาพและบุคลิกที่งานประชุมของ American Psychological Association ในเมืองโฮโนลูลู รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447327– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หุ่นยนต์ช่วยงานเกษตรของสหรัฐ

สหรัฐ 15 ส.ค. 2013 – เกษตรกรอเมริกันแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรกรรมกันอย่างไร

วิศวกรจากซิลิคอน วัลเล่ย์ กำลังทดสอบหุ่นยนต์เล็ตทิส บ็อต (Lettuce Bot) ในแปลงผักกาดหอมในเมืองซาลินาส รัฐแคลิฟอร์เนีย หุ่นยนต์นี้สามารถประหยัดเวลาและแรงงานในการคัดเลือกและเก็บต้นอ่อนที่ไม่มีคุณภาพออก เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้ต้นที่แข็งแรงกว่าเติบโตได้เต็มที่ โดยทำงานได้เทียบเท่ากับแรงงานถึง 20 คน

จอร์จี้ เฮรอด ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหารบริษัท บลูริเวอร์ เทคโนโลยี ผู้ผลิตหุ่นยนต์เล็ตทิส บ็อต บอกว่า ข้อดีของเล็ตทิส บ็อตก็คือ สามารถทำงานโดยอัตโนมัติได้รวดเร็วมากและสามารถทำงานได้ดีกว่า เนื่องจากมีข้อมูลมากกว่าที่มนุษย์มี
Read more…– ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ก้าวต่อไปของประเทศไทย

เมื่อวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ ในงานสัมมนาทางวิชาการ “การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ก้าวต่อไปของประเทศไทย” ณ ห้องประชุมปรินซ์ บอลรูม 2-3 อาคาร 1 ชั้น 11 โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร  ใจความว่า ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา การมี พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ภาพลักษณ์ของราชการในมิติของความลึกลับ ได้รับการเปิดเผยมากขึ้น ตามหลักการของ พ.ร.บ. ข้อมูลฯ ที่ว่า “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” แต่ก็ต้องมีความสมดุล กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติให้เกิดความพอดี  ให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้วยเจตนาดี และขอให้ระมัดระวังในกรณีที่มีเจตนาซ่อนเร้นในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร Read more…– ( 1563 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments