magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

น้ำอัดลมกับพฤติกรรมรุนแรงของเด็ก

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง น้ำอัดลมกับพฤติกรรมรุนแรงของเด็ก

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีงานวิจัยออกมาว่า น้ำอัดลมมีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ฉุนเฉียว ความเศร้า การคิดฆ่าตัวตายในช่วงวัยรุ่น แต่ความสัมพันธ์นี้ก็ไม่ได้รับการประเมินในกลุ่มเด็ก ล่าสุดนักวิจัยเปิดเผยแล้วว่า อารมณ์ฉุนเฉียว ควาามตั้งใจ พฤติกรรมแยกตัว ต่างก็เกี่ยวข้องกับการดื่มน้ำอัดลมในช่วงที่เป็นเด็กทั้งนั้น งานวิจัยชิ้นนี้นำโดย ดร.ชากีร่า ซูเกลีย แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และทีมงาน โดยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ The Journal of Pediatrics แล้ว  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447365– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พบเด็ก 18 คนในจังหวัดฟูกุชิมะ เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวต่างประเทศ

ญี่ปุ่น 21 ส.ค.2013  -แพทย์ตรวจพบเด็ก 18 คนในจังหวัดฟูกุชิมะ เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ หลังเกิดเหตุนิวเคลียร์รั่วไหลเมื่อปี 2554

จากการตรวจสอบผลกระทบจากวิกฤตินิวเคลียร์รั่วไหลในจังหวัดฟูกุชิมะที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งแพทย์ได้ตรวจสุขภาพเด็กราว 210,000 คน เมื่อช่วงปลายเดือนที่แล้ว  พบว่าในจำนวนนี้มีเด็ก 18 คนมีเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ และอีก 25 คนต้องสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งดังกล่าว ทั้งนี้ อัตราการเกิดมะเร็งไทรอยด์ในเด็กของญี่ปุ่นนั้นแทบจะไม่มี  ขณะที่เมื่อปี 2549 พบว่าประชากรอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นมะเร็งไทรอยด์เพียง 46 คน เท่านั้น
Read more…– ( 89 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครื่องเคลื่อนย้ายสสารจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เครื่องเคลื่อนย้ายสสารจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์

เครื่องเคลื่อนย้ายสสาร เป็นสิ่งที่พบได้ในนิยายวิทยาศาสตร์หลายๆ อย่างและเป็นสิ่งที่มนุษย์ใฝ่ฝัน แม้ในปัจจุบันจะยังไม่ใกล้ความจริง แต่ล่าสุดนักวิจัยจาก ETH ซูริค สามารถเคลื่อนย้ายข้อความจากบริเวณ A ไปยังบริเวณ B ได้เป็นครั้งแรกแล้วโดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ คล้ายกับชิปของคอมพิวเตอร์ แม้จะยังไม่ถึงขั้นการเคลื่อนย้ายมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตใดๆ ข้ามมิติได้ แต่นักฟิสิกส์ที่ ETH  ซูริค สวิตเซอร์แลนด์ก็ประสบความสาเร็จใจการขนส่งข้อมูลในสิ่งที่เรียกว่า Solid State System นักวิจัยทำได้โดยใช้หลักการคล้ายๆ กับชิปของคอมพิวเตอร์ที่มีทั่วไปในท้องตลาด ความแตกต่างของอุปกรณ์ที่นักวิจัยใช้กับชิปคอมพิวเตอร์ก็คือว่า อุปกรณ์ใหม่นี้จะไม่บันทึกข้อมูลเอาไว้และข้อมูลจะถูกประมวลผลโดยไม่ใช้กฎฟิสิกส์ดั้งเดิม แต่จะใช้ควอนตัมฟิสิกส์

งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature แล้ว โดยเผยว่า นักวิจัยสามารถจะขนส่งข้อมูลข้ามระยะทาง 6 มิลลิเมตรได้จากมุมหนึ่งของชิปไปอีกมุมหนึ่งของชิป ซึ่งได้มีการแสดงให้เห็นด้วยว่า เป็นไปได้ โดยไม่ต้องมีการขนส่งวัตถุทางกายภาพที่เป็นตัวนำพาข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับใดๆ เลย  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447362– ( 86 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเดินทางยุคอนาคต

กรุงเทพฯ 20 ส.ค.2556  – MCOT DOT NET พาไปอัพเดทเทคโนโลยีใหม่ในแวดวงการคมนาคมกับยานพาหนะ ที่เราจะได้ใช้กันในอนาคต
เป็นการนำเสนอภาพข่าว ของระบบขนส่งในอนาคต ที่เป็นลักษณะรถลอยฟ้า เช่น รถบัสไฟฟ้า ในประเทศเกาหลี ที่ต่อมาจะมีถนนเรืองแสง  ระบบรางชื่อ Skytran ของประเทศอิสราเอล  และระบบขนส่งขนาดใหญ่ (ถือเป็นยุคที่ 5 ต่อจาก เรือ รถไฟ รถยนต์ เครื่องบิน)  คือ ระบบ Hyper Loop ที่เป็นลักษณะแคปซูล เป็นท่ออลูมิเนียม ใช้ระบบแรงดัน จากพลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานลม และ พลังงานแม่เหล็ก มีความเร็ว 1200 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง คาดการณ์ว่าใช้ทุนก่อสร้างถูกกว่า รถไฟหัวจรวด 10 เท่า

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=52130be5150ba0ff07000059#.UhQvLz–fGg– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระต่ายเรืองแสงได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วในตรุกี

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง กระต่ายเรืองแสงได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วในตรุกี

กระต่ายเรืองแสงนั้นอาจจะฟังดูเหมือนสัตว์จากนิยายหรือภาพยนตร์ซักเรื่องหนึ่งแต่ไม่นานมานี้ที่ University of Istanbul ในประเทศตุรกีนั้น ได้มีกระต่ายเรืองแสง fluorescent เกิดขึ้นจริงแล้ว

กระต่ายพวกนี้ได้เข้าร่วมรายชื่อสัตว์ที่มีขนเรืองแสง fluorescent แล้ว ซึ่งวิศวกรพันธุกรรมนั้นได้สร้างสุนัข แมว หมู และหนูที่มีขนเรืองแสงได้โดยการดัดแปลงพันธุกรรมและใส่ยีนของแมงกะพรุนลงไปใน DNA ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งยีนของแมงกะพรุนนั้นมีโปรตีนที่จะส่องแสงออกมาเมื่อถูกแสงอัลตร้าไวโอเลตตกกระทบ ยีนของแมงกะพรุนนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เห็นได้ชัดเจนบนสัตว์ได้รับการพันธุวิศวกรรม ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์รู้ได้ว่าพันธุกรรมนั้นได้ถูกปลูกถ่ายลงไปบนอีกสิ่งมีชีวิตได้เป็นผลสำเร็จแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447359– ( 139 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เงื่อนงำปัญหาของเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยา

ที่มา: http://www.nih.gov/about/impact/index.htm
โดย: Vicki Contie

ST_News_Aug_13_2

National Institute of Health รายงานว่า  นักวิจัยพบว่าการรักษาโรคมาเลเรียในขั้นต้นกำลังลด ประสิทธิภาพลงในทวีปเอเชีย  โดยค้นพบว่ามีจีโนมของปรสิตที่สามารถดื้อยาได้  การค้นพบดังกล่าวได้ทำให้ ทราบเงื่อนงำปัญหาในการป้องกันการขยายตัวของโรคมาเลเรียที่รุนแรงเกินแก้ไข

ในแต่ละปี โรคมาเลเรียได้คร่าชีวิตผู้คนไปกว่าครึ่งล้านคน และทำให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 200 ล้านคนในทั่วโลก และส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่ร้อนชื้น การรักษาโดยใช้ยาซึ่งมีส่วนประกอบ ของสารอาติมิซินิน (Artemisinin) ได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สิบกว่าปี ที่แล้วมา เพื่อช่วยลดการเสียชีวิตและการเจ็บป่วย แต่เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขได้รับสัญาณเตือนโดยการเกิดขึ้นของปรสิตที่ดื้อสาร- อาติมิชินิน ซึ่งพบในผู้ป่วยในประเทศกัมพูชา และมีรายงานที่ยังไม่มี การยืนยันระบุไว้ว่า อาจมีการดื้อสารอาติมิชินินในประเทศใกล้เคียงด้วย อาทิ ประเทศไทยและประเทศพม่า และกำลังมีความพยายามใน หน่วยงานระหว่างประเทศที่จะรวบรวมปัญหาการดื้อยานี้อยู่ Read more…– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รัฐบาลแคนาดาเร่งเพิ่ม R&D ทางอุตสาหกรรม

ที่มา: www.aaas.org

นาย Gary Godyear รัฐมนตรีช่วยว่าการด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศแคนาดา ได้กล่าวในการประชุม the 38th Annual AAAS Forum on Science & Technology Policy ณ Ronald Reagan Building and International Trade Center เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2013 ในกรุงวอชิงตัน ดี ซี ว่า ปัจจุบันมีแนวโน้มการอพยพของนักวิจัยที่ มีความสามารถพิเศษเข้าไปยังประเทศแคนาดาเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการ ให้พันธสัญญาในการเพิ่มการสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นด้วย เขายอมรับว่า บริษัทในแคนาดายังล้าหลัง กว่าบริษัทในประเทศพัฒนาแล้วหลายๆประเทศ โดยเฉพาะในเรื่อง การลงทุนด้าน R&D ตามข้อมูลของ OECD  ซึ่งเขาเน้นว่ามี ความจำเป็นต้องปรับปรุงค่าใช้จ่ายทางธุรกิจด้านการวิจัยและ พัฒนาในภาคอุตสาหกรรมหลัก  ซึ่งพบว่ายังมีการลงทุนด้าน R&D ต่ำกว่าที่ OECD ระบุไว้ และภาคธุรกิจต้องลงทุนมากขึ้นใน ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อให้มีการรับเทคโนโลยีใหม่

ST_News_Aug_13_1
Gary Godyear รัฐมนตรีช่วยว่าการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศแคนาดา ในการประชุม the 38th Annual AAAS Forum on Science & Technology Policy ณ Ronald Reagan Building and International Trade Center

Godyear กล่าวว่า รัฐบาลอนุรักษนิยมของนายกรัฐมนตรี Stephen Harper ได้ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะ กรรมการรัฐบาล โดยเพิ่มการลงทุนด้าน R&D ทางอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลกำลังสงสัยในจำนวนเงินงบประมาณที่ลงทุนไปในแผน งานการวิจัยและพัฒนาทางอุตสาหกรรมในแผนงานของ National Research Council ว่าต้องเน้นการวิจัยที่ตอบสนองภาคธุรกิจ โดยมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในการสร้างหน่วยงาน “บ่มเพาะ” ที่สนับสนุนบริษัทตั้งใหม่และผู้ประกอบการ และใช้แผนงานการจัดหา พัสดุครุภัณฑ์ของรัฐเพื่อได้เทคโนโลยีใหม่สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

Godyear ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2008 เขาเคยเป็นแพทย์ด้านโรคมือและเท้า และที่ปรึกษาด้านการลงทุน ในอุตสาหกรรมชีวภาพ ก่อนเข้าสู่วงการเมืองในปี 2004 ในปาฐกถาของเขา เขาได้กล่าวถึง มูลค่าของการวิจัยและพัฒนา เพื่อกระตุ้นนวัตกรรมและทำให้แนวคิดที่นำไปจากห้องปฏิบัติการ ห้องนั่งเล่น และโรงพยาบาลของโลก และยังเน้นความสำคัญของ “Blue Sky” Science ซึ่งคือ การทำวิจัยที่ได้ผลประโยชน์ทันที และมีกระบวนการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญว่าสมควรได้รับ การสนับสนุนงบประมาณวิจัยหรือไม่ (peer review) เขายังเน้นถึงความสำคัญของการสร้างหุ้นส่วนการวิจัยทั้งในประเทศแคนาดา และกับประเทศอื่นๆ โดยนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จมักประกอบด้วยการจัดการผ่านระบบหุ้นส่วน ระหว่างนักวิจัยและบริษัท และเขาได้ยกตัวอย่าง ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างสหรัฐฯและแคนาดาด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/13585-science-and-technology-news
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนสิงหาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 19 สิงหาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/– ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดื่มกาแฟเยอะไปอาจทำให้ตายเร็ว

Published on August 22, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ดื่มกาแฟเยอะไปอาจทำให้ตายเร็ว

นักวิจัยค้นพบว่า การดื่มกาแฟจำนวนมากเกินไปเป็นสิ่งที่ไม่ดี อาจทำให้เสียชีวิตเพราะโรคทางเดินโลหิตได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มที่อายุไม่เกิน 55 ปี

การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาตัวอย่างกว่า 40,000 ราย โดยพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟมากกว่า 28 แก้วต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึง 21 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในกลุ่มชายและหญิงที่อายุไม่เกิน 55 ปีที่จะมีความเสี่ยงมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447368– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เปรูใช้โดรนในงานด้านเกษตรกรรมและโบราณคดี

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเทคโนโลยี

ลิมา 17 ส.ค. 2013 -เปรูใช้อากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน ในการสำรวจตรวจตราพืชผลทางการเกษตรและศึกษาซากปรักหักพังสมัยโบราณ

โดรนที่ใช้ในเปรูเป็นเครื่องขนาดมือถือได้ ทำจากไม้บัลซาน้ำหนักเบา และเส้นใยคาร์บอน ติดตั้งด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เครื่องติดตามสัญญาณจีพีเอส เข็มทิศ กล้องและมาตรวัดความสูง  และสามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างง่ายดายด้วยการใช้โปรแกรมกูเกิลแมพ เพื่อให้โดรนบินได้อัตโนมัติและกลับมาที่ฐานพร้อมกับข้อมูลที่จำเป็น
Read more…– ( 145 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทีมแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านหุ่นยนต์

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเทคโนโลยี
เวียดนาม 19 ส.ค.2013  – การแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ เอบียู 2013 ที่เวียดนาม นอกจากเป็นเวทีให้เยาวชนได้แข่งกันแสดงความสามารถแล้ว ยังเปิดพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านหุ่นยนต์และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย

ทีมตัวแทนประเทศไทยและผู้เข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ เอบียู เอเชีย-แปซิฟิก โรบอท คอนเทสต์ 2013 รวม 19 ทีม ร่วมเวทีสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านหุ่นยนต์ โดยนำจุดเด่นของหุ่นแต่ละทีมมาประมวลเป็นข้อมูลให้แต่ละชาติใช้เป็นประสบการณ์ Read more…– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments