magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

“แปรงสีฟันอัจฉริยะ” ตรวจจับพฤติกรรมการแปรงฟัน

เราแปรงฟันกันได้สะอาดหรือไม่ในแต่ละครั้ง และแต่ละครั้งนั้นเราแปรงฟันกันได้อย่างถูกวิธีหรือเปล่า? ทุกคนก็อาจจะยังคงมีความสงสัยว่า การแปรงฟันที่ถูกวิธีเราทำได้ถูกวิธีจริงๆ หรือไม่….

ภาพประกอบ
http://www.it24hrs.com/2014/

เชื่อหรือไม่ว่า “แปรงสีฟัน” สามารถติดตามวัดความสามารถและพฤติกรรมการแปรงฟันของเราได้ด้วย gadget ที่ถูกพัฒนาขึ้นต่อยอดจากแปรงสีฟันไฟฟ้า จากความสามารถเดิมๆ ที่ช่วยให้การแปรงฟันทำความสะอาดฟันได้เพียงอย่างเดียวตอนนี้ถูกพัฒนาขึ้นจนกลายมาเป็นอุกรณ์ที่ช่วยรายงานสถิติการแปรงฟันของเรา แปรงสีฟันไฟฟ้าอัจฉริยะนี้มีชื่อว่า Kolibree smart toothbrush อุปกรณ์ชิ้นนี้โชว์ความสามารถและเทคโนโลยีในงาน CES/2014 คุณสมบัติของเจ้าแปรงสีฟันไฟฟ้าอัจฉริยะ คือ ตรวจสอบพฤติกรรมเกี่ยวกับการแปรงฟัน ดูแลรายงานเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากแลฟัน โดยรายงานสุขภาพฟันของเราผ่านทางแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เจ้าแปรงสีฟันฟ้าอัจฉริยะนี้ใช้ได้กับเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันและดูแลใจใส่เกี่ยวกับรักษาสุขภาพฟันมากขึ้น

แหล่งที่มา :
“จับพฤติกรรมการแปรงฟันของคุณด้วย แปรงสีฟันไฟฟ้าอัจฉริยะ!! ตัวแรกของโลก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://www.it24hrs.com/2014/kolibree-connected-toothbrush/. (วันที่ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2557).– ( 17 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นคืนสารสนเทศข้ามภาษา หรือการสืบค้นข้ามภาษา (Cross-Language Information Retrieval หรือ CLIR)

การค้นคืนสารสนเทศข้ามภาษา หรือการสืบค้นข้ามภาษา (Cross-Language Information Retrieval หรือ CLIR) เป็นส่วนหนึ่งของการสืบค้นหรือการค้นคืนสารสนเทศ  หมายถึง การค้นคืนสารสนเทศซึ่งภาษาที่แสดงในเอกสารไม่ตรงกับภาษาที่ใช้เป็นคำค้น  เนื่องจากเอกสารหรือสารสนเทศมีหลากหลายภาษา การใช้คำค้นด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง จะทำให้ไม่สามารถค้นคืนข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากแต่อาจจะแสดงอยู่ในภาษา อื่นๆ ไม่ได้ถูกดึงขึ้นมา เช่น การใช้คำภาษาไทยเป็นคำค้น จะทำให้ไม่พบเอกสารที่เขียนด้วยภาษาอื่น ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการสืบค้นคำว่า ฐานข้อมูล ก็จะพบเฉพาะเอกสารที่มีเฉพาะคำว่า ฐานข้อมูลในเอกสารภาษาไทยเท่านั้น ข้อมูลเรื่องฐานข้อมูลในเอกสารภาษาอื่นๆ จะไม่ได้ถูกดึงขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการพลาดโอกาสในการใช้เอกสารที่มีประโยชน์ได้  อ่านรายละเอียดต่อ– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

27 สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าอัศจรรย์

ภาพประกอบ
http://travel.mthai.com/world-travel/70481.html

วันนี้หลังจากมีประชุมเครียดๆ ในช่วงเช้า ช่วงบ่ายๆ เลยนึกอยากจะไปท่องเที่ยวซะหน่อยเลยชมนกชมไม้ในโลก Social ไปเรื่อยเปื่อย จนมาสะดุดกับภาพวิวทิวทัศน์ที่ธรรมชาติได้แต่งแต้มสีสันไว้อย่างสวยงาม เลยคลิกเม้าท์เข้าไปดูว่าสถานที่แห่งนั้นคือที่ไหน แล้วก็ได้พบว่าเว็บไซต์ MThai ได้เก็บรวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวเหนือจริง 27 แห่งไว้ จึงขอนำมาแชร์ต่อให้กับสาวกที่หลงรักความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่ได้สร้างสรรความวิจิตรขึ้นมาบนโลกใบนี้ จะมีที่ไหนบ้าง และมีที่ไหนบ้างที่พอจะหยอดกระปุกไปชื่นชมได้บ้าง ^^

Read more…– ( 169 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพยากรณ์อวกาศ (อุตุอวกาศ)

ภาพประกอบ
thairath.co.th/column/life/sundayspecial/284507

บีบีซีรายงานว่า สำนักงานพยากรณ์อากาศสหรัฐเตรียมเพิ่มแผนงานใหม่ในฤดูใบไม้ผลิปี 2557 โดยจะเริ่มพยากรณ์สภาพแวดล้อมในอวกาศ เพื่อเตือนองค์กรของรัฐและภาคธุรกิจ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ในอวกาศที่อาจส่งผล กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาทิ พายุสุริยะ ที่อาจส่งผลให้ระบบไฟฟ้า การสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุและดาวเทียมขัดข้อง

โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก กรมธุรกิจของสหรัฐ เป็นเงินถึง 1.5 แสนล้านบาท ในช่วงระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้สำนักงานพยากรณ์อากาศของสหรัฐพัฒนากระบวนการพยากรณ์สภาพดังกล่าวให้มีความแม่นยำ มากที่สุด โดยร่วมกับองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (โนอา) ของสหรัฐ

ทั้งนี้ ต้นเหตุของพายุสุริยะ เกิดจาก เปลว สุริยะ (โซลาร์แฟล) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศของดวงอาทิตย์หลังเกิดการระเบิดขนาดใหญ่ (มาส โคโรนอล อีเจ๊กชั่น) ที่เกิดขึ้นเฉลี่ยทุกๆ 11 ปี โดยสามารถส่งผลกระทบทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าของดาว เทียมเสียหาย และทำให้ระบบไฟฟ้าบนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบบนโลกปั่นป่วนทำให้เกิดไฟดับทั่วประเทศ (แบล็กเอาต์) ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 2532 ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาด

แหล่งที่มา :
“สหรัฐเริ่มรายงานสภาพ อุตุอวกาศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=17210049.0 (วันที่ค้นข้อมูล 26 มกราคม 2557).

– ( 10 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เหตุผลที่นกบินเกาะกลุ่มเป็นตัว V

ภาพประกอบ : http://youknowaround.blogspot.com/2012/10/v.html

เคยสังเกตุการบินของเหล่าฝูงนกบนท้องฟ้ากันหรือไม่ว่าทำไมฝูงนกถึงได้เกาะกลุ่มบินกันเป็นลักษณะตัว V เหตุที่ฝูงนกพากันบินหมู่เป็นรูปตัว V ส่วนใหญ่ ก็เพื่อให้อาศัยประโยชน์จากลมส่ง เมื่อตัวข้างหน้ากระพือปีกได้มากที่สุด นกตัวที่บินตามมาจะได้รับแรงยกตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการบินของนกทั้งฝูงเพิ่มมากขึ้น และในขณะเดียวกันในฝูงนกที่บินอยู่ด้วยกันนี้หากนกที่บินอยู่ข้างหน้ารู้สึกเหนื่อยล้า แรงเริ่มถอยลงก็จะบินถอยหลังมาให้ตัวที่อยู่ข้างหลังได้บินขึ้นข้างหน้าแทน ในขณะเดียวกันฝูงนกที่อยู่ข้างหลังก็จะส่งเสียงร้องเพื่อให้กำลังใจนกที่อยู่ข้างหน้าเพื่อให้รักษาระดับความเร็วต่อไป และท้ายที่สุดหากในฝูงนกที่บินมาด้วยกันนี้มีนกตัวหนึ่งตัวใดเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ นกอีกสองตัวในฝูงจะบินมาประคองเพื่อดูแลจนกว่าจะหายดี หรือตายจากกันไป นกสองตัวนี้จะบินตามหาฝูงของตัวเองที่บินมาด้วยกันให้ทัน

นักวิจัยจากคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ได้พบว่านกในฝูงแต่ละตัวจะกระพือปีกในจังหวะที่ลมส่งอำนวย และพร้อมกับเลี่ยงการทวนลมให้มากที่สุดด้วย แต่ไหนแต่ไรมานักวิทยาศาสตร์ไม่คาดว่าพวกมันจะสามารถบินหมู่แบบนี้ได้เอง เพราะต้องอาศัยความรู้ในเรื่องการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศที่ยุ่งยาก ทั้งยังจะต้องมีประสาทสัมผัสที่ไวอีกด้วย นักวิทยาศาสตร์ได้อาศัย ศึกษารูปแบบการบินของมัน โดยการนั่งยานบินชนิดเบา ติดตามดูการบินของฝูงนกยางหัวล้าน ตอนมันบินอพยพข้ามประเทศ จากออสเตรียลงใต้ไปยังอิตาลี

แหล่งที่มา :
“นกรู้หลักในการบินเกาะหมู่เป็นรูปตัว V”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=17216802.0. (วันที่ค้นข้อมูล 26 มกราคม 2557).
“นกบินเป็นรูปตัว V”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://www.neutron.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php?Itemid=11&id=9147&option=com_content&task=view. (วันที่ค้นข้อมูล 26 มกราคม 2557).

– ( 363 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นาซาปล่อยดาวเทียมสื่อสารดวงใหม่ขึ้นสู่วงโคจร

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเทคโนโลยี
แหลมคานาเวอรัล 24 ม.ค.2014 – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ปล่อยดาวเทียมเพื่อการสื่อสารดวงใหม่ขึ้นสู่วงโคจรแล้วเมื่อคืนที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น

รายงานระบุว่า จรวดส่งยานไร้นักบินพร้อมดาวเทียมติดตามและถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลรุ่นที่ 3 ทะยานขึ้นจากแหลมคานาเวอรัลในรัฐฟลอริดาสู่ห้วงอวกาศเมื่อคืนวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น โดยปกตินาซาใช้ดาวเทียมทีดีอาร์เอสเพื่อให้ความช่วยเหลือสถานีอวกาศนานาชาติและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เครือข่ายดาวเทียมดังกล่าวอยู่สูงจากพื้นโลก 35,886 กิโลเมตร และสามารถสื่อสาร 2 ทางแบบต่อเนื่องกับสถานีอวกาศนานาชาติและนักบินอวกาศ 6 คนบนนั้น

ดาวเทียมดวงใหม่ล่าสุดนี้ มีชื่อว่า แอล ในชุดดาวเทียมทีดีอาร์เอส ทั้งนี้ นาซาจะเปลี่ยนชื่อดาวเทียมดวงนี้เป็น ทีดีอาร์เอส-12 ทันทีที่ดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรภายในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับดาวเทียมสื่อสารดวงนี้อยู่ที่ราว 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 11,503 ล้านบาท) นาซาปล่อยดาวเทียมทีดีอาร์เอสดวงแรกในปี 2526

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=52e1ebbdbe0470d5078b457d#.UuH7oLQxXGg– ( 26 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อินเดียจะส่งยานลงสำรวจดวงจันทร์ภายในปี 2560

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเทคโนโลยี
นิวเดลี 12 ม.ค. 2014 – อินเดียจะส่งยานลงสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ภายในปี 2560 ซึ่งจะเป็นภารกิจดวงจันทร์ครั้งที่ 2 หลังจากภารกิจครั้งแรกประสบความสำเร็จเมื่อปี 2551
นายเค ราธากฤษนัน ประธานองค์การวิจัยอวกาศอินเดียแถลงข่าวที่กรุงนิวเดลีว่า อินเดียจะส่งจันทรายาน 2 พร้อมยานสำรวจไปทำการทดลองบนพื้นผิวดวงจันทร์ภายในปี 2559 หรือ 2560 หลังจากที่ได้ศึกษาความเป็นไปได้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 เรื่องการพัฒนายานสำรวจและพบว่าสามารถพัฒนาในประเทศได้เองภายใน 2-3 ปี

อินเดียประสบความสำเร็จในการส่งจันทรายาน 1 ไปดวงจันทร์เมื่อเดือนตุลาคม 2551 เป็นภารกิจดวงจันทร์ครั้งแรกของประเทศ โดยโคจรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ขึ้นไป 100 กิโลเมตรเพื่อทำแผนที่ทางเคมี การศึกษาแร่ และภาพถ่ายทางธรณีวิทยา

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=52d216c5be0470cb0a43192a#.UuCF6rQxXGg– ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วารสารเนเจอร์ : สรุปข่าววิทยาศาสตร์สำคัญในรอบปี 2013

วารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 19- 26  ธันวาคม 2013  หน้าปก One Year  Ten Stories ในคอลัมน์ข่าวนำเสนอเรื่อง 365 Days : The Year in Science 2013 in Review เป็นการสรุปข่าวสำคัญด้านวิทยาศาสตร์ของโลก  11 เรื่อง ที่แสดงถึงความรุ่งเรืองและความผกผันด้านวิทยาศาสตร์เสมือนกับภาพยนต์ฮออลลีวูด  ตั้งแต่เรื่อง การหยุดงานของสหรัฐอเมริกา (US Shutdown)  ไวรัสที่ทำให้ถึงตาย (Lethal Viruses)  พายุใต้ฝุ่น สะเก็ดาว/อุกกาบาต  หนทางการรักษาโรคเอดส์ การศึกษาการทำงานของสมองมนุษย์ จนถึงเรื่องความก้าวหน้าครั้งที่สำคัญคือการบำบัดโรคด้วยเซลล์
ต้นกำเนิด เป็นการประมวลสรุปเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ของโลกที่สำคัญในปี 2013 จากวารสารที่มีชื่อเสียงที่สุดด้านวิทยาศาสตร์ ที่คุณควรต้องรู้

ติดตามรายละเอียดโดยสรุป ที่หน้าเว็บไซต์ของ STKS ที่ http://stks.or.th/th/bibliometrics/10-science-and-technology-stories/4825–2013.html– ( 8 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีดาวรุ่งปี 2014

ดร.อดิสร นักเทคโนโลยีแห่งเนคเทค พาไปทำความรู้จัก Smart Thermostat เทคโนโลยีที่ทั่วโลกกล่าวถึงในปี 2014 ผลจากการที่ Google เข้าซื้อกิจการของ Nest บริษัทเทคโนโลยีเล็กๆ

ขึ้นปีใหม่ เผลอนิดเดียวจะหมดเดือนแรกของปีนี้เสียแล้ว ครั้งที่แล้วผมเขียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีอะไรจะรุ่งและอะไรจะร่วงในปี 2013 ที่ผ่านมาแล้ว มาวันนี้คงต้องรีบพูดถึงเทคโนโลยีที่กำลังจะมาแรงในปี 2014 นี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้จับกระแสแนวโน้มของเทคโนโลยีที่จะมามีผลทางธุรกิจทั้งมีประโยชน์และมีโทษต่อธุรกิจของท่าน

เป็นประจำในช่วงต้นปีแบบนี้เราสามารถเกาะติดกระแสของเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงได้จากงาน Consumer Electronics Show หรือเรียกสั้นๆว่า CES 2014 ที่เมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเหล่าบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ก็จะใช้งานนี้ในการเปิดตัวสินค้าไฮเทคใหม่ๆ สู่ตลาด
Read more…– ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความเสี่ยงจากยาฆ่าแมลง

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 16  มกราคม  2014
US Environmental Protection Agency  ประกาศเมื่อวันที่  8 มกราคม 2014 เรื่องการให้ทุนวิจัยเกือบ  US$500,000 ในเรื่องการลดความเสี่ยงจากยาฆ่าแมลง  โดยเฉพาะในผิ้ง
นักวิทยาศาสตร์จาก  Pennsylvania State University ที่ได้ทุนวิจัย กำลังศึกษาหาวิธีในการกำจัดยาฆ่าแมลงชนิด  neonicotinoids ในเมล็ด ที่เป็นเหตุให้ประชากรผิ้งลดลง

อ้างอิง : Pesticide risks. (2014)  Seven days : The News in  brief. Nature., 505 (7483), 266-267 .
Available at :  http://www.nature.com/news/seven-days-10-16-january-2014-1.14508– ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments