magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ไก่งวงกับวันขอบคุณพระเจ้า

วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving day) เป็นเทศกาลสำคัญหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และ ประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์บางประเทศ ชาวอเมริกันจะเฉลิมฉลอง วันขอบคุณพระเจ้าในทุกวันพฤหัสบดีที่ 4 ของ เดือนพฤศจิกายน ซึ่งในปี พ.ศ. 2556 นี้จะตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน วันสำคัญนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความ ขอบคุณต่อพระเจ้าเมื่อสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว วันสำคัญนี้เริ่มต้น ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2406 และกำหนดขึ้นโดย Abraham Lincoln ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐฯ

องค์ประกอบสำคัญในวันขอบคุณพระเจ้าที่ขาดไม่ได้ คือ ไก่งวง แม้ว่าไม่มีใครทราบอย่างแน่ชัดว่าทำไมไก่งวงถึงเป็นอาหารจานหลักในวันสำคัญนี้ บางทฤษฎีให้เหตุผลว่าไก่งวงเป็นสัตว์ที่นักเดินทางจากประเทศอังกฤษและชาวอินเดียนรับประทานในการเฉลิมฉลองการตั้งรกรากในอดีต บางทฤษฎีก็เชื่อว่าพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 เสวยห่านอบในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ เมื่อนักเดินทางจากประเทศอังกฤษมาตั้งรกรากในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงนำเอาธรรมเนียมนี้ติดมาด้วย แต่เนื่องจากห่านเป็นสัตว์ที่หายาก พวกเขาจึงใช้ไก่งวงแทนห่าน และบางทฤษฎีก็เชื่อว่าเป็นเพราะความพยายามของ Benjamin Franklin ในการผลักดันให้ไก่งวงเป็นสัตว์ประจำชาติของสหรัฐฯ แต่ในที่สุด คนส่วนมากก็ไม่เห็นด้วย และยกให้นกอินทรีกลายเป็นสัตว์ประจำชาติของสหรัฐฯ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/15391-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 9 ธันวาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

US S&T Report ประจำเดือนพฤศจิกายน 2556

- รายงานการศึกษาเรื่อง “U.S. Alternative Energy R&D: Lessons for Thailand” หรือ “นโยบายการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศสหรัฐอเมริกา: ข้อเรียนรู้สำหรับประเทศไทย” เขียนโดย Dr.Duangjai I Bloyd จัดทำโดย สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงวอชิงตัน

- รายงานการสืบค้นข้อมูลหัวข้อ “สถานภาพนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศสหรัฐอเมริการและประเทศแคนาดา” เขียนโดย ธนพล วิศิษฐ์กิจการ สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงวอชิงตัน

- รายงานการศึกษาเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเวียนนาลดโซเดียม” โดย Dr.Witoon Prinyaeiwatkul, ATPAC (Agro-Industry Team) & Department of Food Science, Louisiana State University, Baton Rouge, Louisiana, USA และผศ. ดร.สุจินดา ศรีวัฒนะ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำโดย สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงวอชิงตัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/15391-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 9 ธันวาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/– ( 25 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“ทำไม?” ทุกคำถามมีคำตอบ กับหนังสือ Big Book of Why

ทำไมฟันของเรารู้สึกเสียวแปลบๆ เมื่อเผลอกัดแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์?

เมื่อเวลาเราเผลอกัดแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ เช่น เปลือกห่อลูกอม หรือช๊อกโกแลตบางชนิด หรือแผ่นอลูมิเนียมฟอยส์สำหรับห่ออาหาร จะเกิดความรู้สึกเสียวแปลบ ๆ ขึ้น ความรู้สึกนี้เกิดจากการมีกระแส ไฟฟ้าอ่อน ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่ฟันที่ถูกอุดด้วยวัสดุที่ทำจากโลหะ เช่น เงิน กัดลงบนแผ่นอลูมิเนียมฟอยส์ ผสมกับกรดจากน้ำลาย ปากของเราก็จะกลายสภาพคล้ายกับแบตเตอร์รี่ขนาดเล็กเพราะ ขณะที่ฟันกัดลงไปลงบนแผ่นอลูมิเนียมฟอยส์ ซี่ฟันก็จะรับกระแสไฟฟ้าจากแผ่นอลูมิเนียมฟอยส์ที่วิ่งผ่านวัสดุอุดฟันและวิ่งเข้าสู่จุดที่ไวต่อความรู้สึกของซี่ฟัน ทำให้เกิดความรู้สึกเสียวแปลบๆ ขึ้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/15391-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 9 ธันวาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/– ( 15 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยืนยันโลกร้อนขึ้น

คณะทำงานของ United Nations   ได้รายงานว่า   โลกกำลังร้อนขึ้นและมีมนุษย์เป็นสาเหตุหลักสำคัญ โดยอ้างจากผลการศึกษาทางฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศจากรายงานฉบับเต็มของ UN’s intergovernmental; Panel on Climate Change (IPCC) Working Group I ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2013 ได้ให้ข้อสังเกตุว่า ความเข้าใจพื้นฐานที่ดีขึ้นเกี่ยวกับระบบบรรยากาศได้ช่วยสนับสนุนความเชื่อมั่นในการคาดทำนายและพยากรณ์ การปรับปรุงในปัจจัยดังกล่าวเกิดจากการมีข้อมูลจำนวนมากที่ได้จากการเฝ้าสังเกตุภูมิอากาศมาอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง   และนำมาสนับสนุนแบบจำลองการคาดทำนายบรรยากาศที่ทันสมัยขึ้นโดยใช้ระบบ คอมพิวเตอร์    แบบจำลองหลายอย่างได้นำมาร่วมใช้ในการประเมินวิคราะห์รวมถึงการใช้วัฏจักรคาร์บอน (carbon cycle) เข้ามาช่วยวิเคราะห์การปล่อยมลพิษในชั้นบรรยากาศ  รายงานดังกล่าวพบว่า  สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas emissions) โดยเฉพาะก๊าซคารบอนไดออกไซด์   หากไม่มีการตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิพื้นผิวของโลกจะอยู่ที่ 2°C  ในปี ค.ศ. 2050  หากเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในศตวรรษที่ 19

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/15391-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 9 ธันวาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/– ( 30 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบ ‘God particle’ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2556

Higgs boson ซึ่งได้รับชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “God particle” (อนุภาคพระเจ้า) ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดย นักฟิสิกส์สองคน ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลซึ่งประกาศผลในเดือนตุลาคม 2556 โดยเมื่อ 50 ปีที่แล้ว Francois Englert นักฟิสิกส์จากประเทศเบลเยียม และ Peter Higgs จากสหราชอนาจักรได้ค้นพบว่าอนุภาคชนิดนี้มีอยู่จริง

The Royal Swedish Academy of Science มอบรางวัลให้แก่นักฟิสิกส์ทั้งสองผู้ซึ่งมีอายุกว่า 80 ปี โดยทฤษฎีของนักฟิสิกส์คู่นี้อธิบายว่า จักรวาลของเราเต็มไปด้วย Higgs bosons โดยในขณะที่อะตอมหรือส่วนของอะตอมเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ นิวเคลียสนั้น อะตอมทำปฏิกริยาและดึงดูด Higgs bosons ทั้งนี้ มีอนุภาคบางอย่างที่สามารถดึงดูด Higgs bosons ที่ขนาดใหญ่กว่าได้ และยิ่งอนุภาคสามารถดึงดูด Higgs bosons ได้มาก สะสารยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น คำอธิบายของทฤษฎีนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจธรรมชาติของสะสารต่างๆ ได้มากขึ้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/15391-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 9 ธันวาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/– ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บทบาทของ Big Data ต่อการปฏิรูประบบการทำงานรัฐบาล

มีความเป็นไปได้อย่างมากในอนาคตที่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ จะใช้เทคโนโลยีอภิมหาข้อมูล (Big Data) เพื่อรองรับการเติบโตของข้อมูล ความสามารถในการรับข้อมูลเชิงลึก และสร้างสรรค์นวัตกรรมรูปแบบใหม่ ซึ่งบทบาทของ Big Data ต่อรัฐบาลสหรัฐฯ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การเสริมสร้างการรักษาความปลอดภัยและป้องกันการทุจริต
ในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2012 The multi-agency Medicare Fraud Strike Force ได้เปิดเผยถึงการปราบปรามทุจริตครั้งประวัติศาสตร์ของระบบประกันสุขภาพสหรัฐฯ โดยมีการเรียกเก็บเงินที่เป็นเท็จจำนวน 452 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ FBI David Welker กล่าวว่า งบประมาณของระบบประกันสุขภาพรายปีที่มีมูลค่ากว่า 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ จำนวนร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 10 มีการทุจริต
2. การพัฒนาการให้บริการและการตอบสนองแบบฉับพลัน
เทคโนโลยี Big Data ช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างชาญฉลาด และมีความคล่องตัวมากขึ้น
3. การสร้างความเป็นประชาธิปไตยทางข้อมูล
อาทิ ระบบการร้องทุกข์ (โทร 311) ที่เป็นระบบที่ เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ ดังนั้น ข้อมูลเหล่านั้น เปรียบเสมือนแหล่งข้อมูลที่สำคัญของนักพัฒนาและกลุ่มคนต่างๆ ที่ต้องการสร้างโปรแกรมประยุกต์ให้แก่รัฐบาล

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/15391-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 9 ธันวาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/– ( 30 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรงงานผลิตปืนแบบตั้งโต๊ะ

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3-D printers) ได้ถูกประยุกต์เพื่อใช้ในการสร้างอาวุธปืนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก่อให้ความกังวล เพราะความง่ายดายในการหาซื้อ ไม่มีการจดทะเบียน และระบบรักษาความปลอดภัยไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจจะก่อให้ปัญหาด้านความรุนแรงในการใช้ปืนทวีความรุนแรง

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งนักข่าวชาวอิสราเอลดาวโหลดไฟล์ Computer-Aided Design (CAD) เพื่อออกแบบการสร้างปืน พวกเขาได้ทำการพิมพ์และทดลองยิงได้สำเร็จ ซึ่งหลังจากนั้นได้พกพาปืนดังกล่าว เข้าไปในงานแถลงข่าวของนายกรัฐมนตรี Benjamin Netanyahu โดยหน่วยรักษาความปลอดภัยไม่สามารถตรวจสอบได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/15391-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 9 ธันวาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/– ( 14 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทบทวนมาตรฐานน้ำหนักอะตอม

เทคโนโลยีวิเคราะห์ทางเคมีที่เรียกว่า Mass Spectrometry เป็นสิ่งที่คงที่และน่าเชื่อถือได้ถูกนำมาใช้ในการทบทวนน้ำหนักมาตรฐานของอะตอมในทุกๆสองปี  และในปีนี้ International Union of Pure & Applied Chemistry (IUPAG) ซึ่งเป็นหน่วยควบคุมการทบทวนวัดได้นำเสนอค่าน้ำหนักของอะตอมจำนวน 18 ธาตุ  (elements) และการ ให้คำจำกัดความใหม่ของกิโลกรัม  ซึ่งเป็นหน่วยมาตรฐานของมวล ตามที่วางแผนไว้  สามารถทำให้มีการประเมินวิเคราะห์น้ำหนักของอะตอมได้ใหม่ซึ่งแม่นยำกว่า

ในปีนี้ การทบทวนธาตุรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในน้ำหนักอะตอมสำหรับ cadmium, molybdenum, selenium และ thorium บนพื้นฐานของการวัดคำนวณขอจำนวนที่มีอยู่มากมายในโลกของธาตุที่มีไอโซโทป หรือ ธาตุที่มีคุณสมบัติสเถียรหลากหลายและการทบทวนธาตุอื่นๆ อีก 15 ตัวทำให้มีการประเมินที่ทันสมัยของไอโซโทปที่มีคุณสมบัติเสถียรในแต่ละตัวด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/15391-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 9 ธันวาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/

 – ( 14 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

“สะพานมิตรภาพไทย-ลาว” เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างไทยและลาวโดยมีการก่อสร้างแล้วเสร็จ 4 แห่ง ประกอบด้วย

  • สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์)
  • สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)
  • สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 (นครพนม-คำม่วน)
  • สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 4 (เชียงของ-ห้วยทราย)

และอยู่ระหว่างการดำเนินการอีก 2 แห่ง ได้แก่

  • สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4 – สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดเชียงรายเข้ากับห้วยทราย
  • สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 – สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดบึงกาฬ เข้ากับบอลิคำไซ

Read more…– ( 183 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

11 12 13 (14.15) เลขสวยในรอบปี

11-12-13 กลายเป็นเลขยอดฮิตยอดแชร์ในอินเทอร์เน็ต กระฉ่อน ทั้ง Facebook Twitter Instagram หลายคนอาจจะสงสัยว่าคือเลขอะไร 11-12-13 เป็นเลขของ วันที่ 11 เดือนธันวาคม (12) และ ปี 2013 ตัวเลขดังกล่าวนี้จะเรียงตัวกันเพียงครั้งเดียวในรอบร้อยปี และเมื่อลองเอาเลขทั้งหมดมาเรียงบวกกันจะเท่ากับเลข “9″  (11+12+13 = 36 และ 3+6 = 9) ซึ่งประเทศไทยเองถือว่าเป็นเลขแห่งความเป็นสิริมงคล และยังไม่หมดเพียงเท่านี้เลขวันเดือนปีสวยแล้วยังมีเวลาที่เป็นฤกษ์สวยของวันดังกล่าวคือ 14.15 เมื่อนำมาเรียงรวมกันจะเป็น 11 12 13 14.15 ซึ่งชาวเน็ตทั้งหลายต่างก็แชร์ตัวเลขกังกล่าวกันอย่างแพร่หลายเพราะถือว่าเป็นเลขสวยที่สุดในรอบปี

และในวันที่ถือว่าสวยที่สุดแล้ว ในวันที่ 11 เดือนธันวาคม 2013 นี้ยังเป็นวันดีที่ใช้ในการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ซึ่งเชื่อมต่อระหว่าง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ในการเปิดสะพานมิตรภาพฯ แห่งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธาน

 

แหล่งที่มา : “11-12-13 เวลา 14.15 น. เรียงกันเพียงครั้งเดียวรอบร้อยปี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://hilight.kapook.com/view/94619. (วันที่ค้นข้อมูล 11 ธันวาคม 2556).– ( 92 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments