magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

3 ปีลุ้นใช้หลอดไฟถนอมดวงตา

สวทช. หนุนเอกชน พัฒนาอุปกรณ์ไดโอด หลอดไฟ LED ใช้วัสดุสารกึ่งตัวนำเชิงแสงซิงค์ออกไซค์ สู่มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและผู้บริหาร (สวทช.) ร่วมลงนามความร่วมมือวิจัย “โครงการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ไดโอดเปล่งแสงสีขาวโดยใช้วัสดุสารกึ่งตัวนำเชิงแสงซิงค์ออกไซค์” กับบริษัท แม็กซ์ลูเมน จำกัด เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีต้นน้ำอุปกรณ์ LED สู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมหลอดไฟส่องสว่าง ฯลฯ ด้วยงบประมาณ 300 กว่าล้านบาท

คาดหวังภายใน 2-3 ปี จะได้เทคโนโลยีใหม่ ในการสร้างวัสดุสารกึ่งตัวนำเชิงแสงซิงค์ออกไซค์ที่ใช้สำหรับการเปล่งแสงขาว ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดสู่การผลิตหลอดไฟส่องสว่างที่ให้แสงขาวแบบธรรมชาติ พร้อมทั้งสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 50 % ไร้องค์ประกอบที่เป็นพิษต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพในการส่องสว่างสูง และมีอายุการใช้งานได้นานหลายปี Read more…– ( 105 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘เนคเทค-ทรู’ ทุ่มงบ 20 ล้านเจ้าภาพงาน ‘APRICOT 2014’

ทุ่มงบ 20 ล้านบาท เนคเทค จับมือ ทรู จัดงาน APRICOT 2014 ประชุมสุดยอดผู้ให้บริการและผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลก หวังไทยได้โชว์ศักยภาพพร้อมเอกชนได้ต่อยอดธุรกิจ คาดมีผู้ประกอบการในวงการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 700 คน  จาก 400 บริษัท ใน 50 ประเทศร่วมงาน

ดร.พันธ์ศักดิ์  ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค เปิดเผยว่า เนคเทคได้ร่วมกับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด  (มหาชน)เป็นเจ้าภาพจัดงาน APRICOT 2014 ซึ่งเป็นการประชุมสุดยอดผู้ให้บริการและผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตจาก ทั่วโลก โดยได้รับการไว้วางใจจากองค์กรอินเทอร์เน็ตระดับสากลอย่าง APIA และ APNIC ให้เป็นเจ้าภาพ โดยคาดว่าจะมีนักธุรกิจและผู้ประกอบการในวงการอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกกว่า 700 คน ที่เป็นตัวแทนจาก 400 บริษัท จาก 50 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมงาน ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงาน โดยเฉพาะจากไทยได้เพิ่ม เครือข่ายเชิงวิชาการ ธุรกิจ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอินเทอร์เน็ตของเมืองไทย ซึ่งที่ผ่าน  มาไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้มาแล้วเมื่อปี    ค.ศ. 2002 Read more…– ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ถุงยางมือถือ

เมื่อพุธก่อนผมพูดถึงเรื่องของแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนว่าทำ อย่างไรให้แบตหมดช้าลง โดยผมได้พูดถึงแบตเตอรี่ลิเธียม แอร์แบบใหม่ล่าสุดของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ที่ใช้เทคนิควิศวกรรมศาสตร์ทางพันธุกรรม แก้ไขดีเอ็นเอ เพื่อพัฒนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา โดยให้ไวรัสนั้น

มีความสามารถในการเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้การชาร์จแบตเตอรี่หนึ่งครั้งสามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้นกว่าเดิมหลาย เท่า

แต่บางคนอาจจะตั้งคำถามง่าย ๆ กับผมว่า เราจะไปคิดแบตเตอรี่แบบใหม่ลิเธียม แอร์ โดยใช้เทคนิควิศวกรรมศาสตร์ทางพันธุกรรมอะไรยาก ๆ ทำไม ทำไมเราไม่พกสายชาร์จเปล่า ๆ ติดตัวไปกับเรา เพราะสายชาร์จก็เบามากอยู่แล้ว เล็กนิดเดียว หัวชาร์จต่างหากที่หนัก แล้วปัจจุบันช่องเสียบยูเอสบี (USB) ก็ไม่ได้หายาก มีอยู่เต็มไปหมด ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ บนรถ หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปก็ยังมี ซึ่งถ้าคิดดี ๆ ก็จริงของเขานะครับ ถือว่าคนพูดมีเหตุผลที่ดีเลย สายชาร์จถ้าเป็นแบบสั้น ๆ ก็หนักไม่กี่กรัมเท่านั้นเอง แถมเดี๋ยวนี้ช่องเสียบยูเอสบีมีทั่วทุกที่จริง ๆ ผมออกจากบ้านขับรถมาทำงานก็มีช่องยูเอสบีของวิทยุในรถ พอถึงที่ทำงานก็มีช่องยูเอสบีของเครื่องคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยให้ชาร์จอีก หรือถ้าไม่มีจริง ๆ ก็ไปยืมพาวเวอร์แบงค์ของเลขาฯผมชาร์จก็ได้ เพราะถึงมือถือจะคนละรุ่นกัน แต่ปัจจุบันใช้ช่องยูเอสบีเพื่อเสียบชาร์จเหมือนกัน หรือแม้แต่ตอนไปสนามบิน เห็นคอมพิวเตอร์ของสนามบินตั้งอยู่ เราก็เอาสายไปเสียบชาร์จได้ เรียกว่าพกสายอย่างเดียวก็สบายไปแปดอย่างแล้วครับ เจอช่องยูเอสบีที่ไหนก็เสียบชาร์จได้เลย  Read more…– ( 17 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บริหารจัดการคุณภาพข้าวไทยด้วย โมบาย แกพ

เข้ากับยุคโมบายแอพพลิเคชั่นครองเมือง…การพัฒนาคุณภาพข้าวไทยก็ไม่ได้น้อยหน้า นำเทคโนโลยียุคใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อการตรวจประเมินคุณภาพข้าวไทยสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

นายวัชรากร หนูทอง นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยโพรโตคอลและเครือข่ายไร้สาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) บอกว่า เนคเทคได้ร่วมกับกรมการข้าว พัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการคุณภาพข้าวไทย หรือ โมบาย แกพ ขึ้น เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลชาวนาที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร รวมถึงใช้สำหรับการตรวจประเมินคุณภาพข้าวไทยตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices)

โดยพัฒนาเป็น 2 ส่วนหลักคือ ระบบเว็บไซต์สำหรับเกษตรกรยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรและแหล่งผลิตด้วยแผนที่ กูเกิล แมพ และระบบการตรวจประเมินคุณภาพข้าว ตามมาตรฐาน GAP ด้วยโมบายแท็บเล็ตแอนดรอยด์ สำหรับผู้ตรวจประเมินของกรมการข้าวใช้ทดแทนแฟ้มกระดาษแบบเดิม

นักวิจัยบอกว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นการนำโมบายแอพพลิเคชั่นมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับเว็บแอพพลิเคชั่น โดยใช้เทคโนโลยีทั้งจีพีเอส แผนที่กูเกิลแมพ และระบบนำทาง (Google Direction) ระบบสามารถทำงานอย่างอิสระได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งเหมาะกับการทำงานในพื้นที่ห่างไกล

ในส่วนของเกษตรกรสามารถบันทึกแบบคำร้องขอรับรองแหล่งผลิตและบันทึกแบบบันทึกระบบการจัดการคุณภาพข้าวสำหรับเกษตรกรผ่านทางเว็บไซต์ www. gapthailand.in.th ได้

ด้านผู้ตรวจประเมินก็สามารถใช้ข้อมูลเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้ มีแผนที่ขอบเขตชัดเจน และมีระบบบอกเส้นทาง สามารถบันทึกข้อมูลการตรวจประเมินต่าง ๆ ผ่านโมบายแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ได้ทันที ช่วยลดเวลาในการตรวจประเมินฯ ซึ่งเดิมใช้แบบฟอร์มกระดาษ และต้องนำมาคีย์เข้าคอมพิวเตอร์ภายหลัง Read more…– ( 22 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

10 อันดับข่าวดังวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2556

ตลอดปี 2556 ที่ผ่านมา มีข่าวสารทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าติดเป็นกระแสสังคมและสร้างผลกระทบต่อผู้คนอย่างมากมาย เพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดทั้งสร้างกระแสความนิยมและส่งเสริมความเข้าใจข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้ทำการจัดอันดับ 10 ข่าวดังวิทยาศาสตร์และเทคดนโลยี ประจำปี 2556 โดยในปีนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยได้รวบรวมข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2555 – 15 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา

ผลการสำรวจ 10 ข่าวดังวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2556 ได้แก่

  1. น้ำมันรั่วและเทคโนโลยีการกำจัดคราบน้ำมันที่จังหวัดระยอง
  2. App. จีนแต่งรูปสุดฮิต ใครไม่อัพตกเทรนด์
  3. ข้าว สารรมข้าว และผลการตรวจสอบ
  4. ระทึกอุกกาบาตตกที่รัสเซีย
  5. การประมูลทีวีดิจิทัล
  6. อาวุธเคมีซีเรีย ปลิดชีพ 1,300 ศพ
  7. สั่งจำคุก 7 ปีนักธุรกิจอังกฤษหลอกขายจีที 200
  8. นวัตกรรมมูลค่าสูงจากข้าวและยางของไทย
  9. มศว. เปิดเครื่องรักษามะเร็งมูลค่า 60 ล้านบาทใช้คลื่นความร้อนยิงผ่านผิวหนังไร้แผล ไม่ต้องผ่าตัด
  10. ล้างพิษตับ เทรนด์สุขภาพใหม่ – จริงหรือลวง

Read more…– ( 77 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

100 หนังสือดีวิทยาศาสตร์

 

ภาพประกอบ
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

“100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ (พ.ศ.2537-2548)” เป็นการคัดเลือกหนังสือต่อเนื่องจากโครงการ “หนังสือดีวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม” ของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเมื่อหลายปีก่อน โดยมี รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล และคณะทำงาน 8 คน ร่วมพิจารณาคัดเลือกหนังสือวิทยาศาสตร์กว่า 700 เล่ม ที่เขียนโดยคนไทย และพิมพ์ขึ้นระหว่างปี 2537-2548 จนเหลือเพียง 100 เล่ม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บันเทิงคดี 30 เล่ม และ สารคดีและความรู้ทั่วไป 70 เล่ม ซึ่งคัดเลือกโดยพิจารณาจากหนังสือที่มีเนื้อหาวิทยาศาสตร์โดยตรง, มุ่งส่งเสริมวิทยาศาสตร์ หรือแสดงภูมิปัญญาเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เขียน ยกเว้นหนังสือแปล หนังสือคู่มือ ตำราเรียน และแบบเรียน

Read more…– ( 172 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความท้าทายของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่

ความท้าทายของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่ เป็นหัวข้อของการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๐ จัดโดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ ๒-๓ ธันวาคม ๒๕๕๖ ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่

ผลการจัดสัมมนา มีผู้เข้าร่วมงาน จำนวน ๓๓๐ คน โดยในกำหนดการ ๒ วัน มีหัวข้อการบรรยายรวมจำนวน ๖ เรื่อง คือ
๑. บทบาทของห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ
๒. เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการพัฒนาห้องสมุด : โอกาส/ผลกระทบ/ปัญหา
๓. ทิศทางการพัฒนา Green Library : การพัฒนาห้องสมุดสีเขียวในมุมมองของผู้บริหารที่มีประสบการณ์
๔. แนวทางการพัฒนาห้องสมุดด้วยเทคโนโลยี
๕. การพัฒนาเทคนิคการให้บริการในห้องสมุดยุคใหม่ : User engagement การรับมือกับผู้ใช้บริการ การเข้าถึงผู้ใช้โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่
๖. การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา : กรณีศึกษาข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULLINET)

สรุปหัวข้อการบรรยายโดยสังเขป ดังนี้

Read more…– ( 305 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หัวหน้างาน “อคติ” ประเมินผล “ยุติธรรม” ได้? (ตัวอย่างบทความ)

หน้าที่ประการหนึ่งของ “หัวหน้างาน” ที่ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ นั่นคือ การประเมินผลผู้ใต้บังคับบัญชาว่า แต่ละคนทำงานเป็นเช่นไร รับผิดชอบต่อหน้าที่ดีหรือไม่ ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรได้ตามมาตรฐานเพียงใด เพื่อสรุปว่า แต่ละคนสมควรได้รับการขึ้นเงินเดือนเท่าไร เลื่อนตำแหน่งดีหรือไม่ ย้ายแผนกไปทำงานแบบอื่นน่าจะดีกว่า หรือให้อยู่อย่างเดิม รับเงินเท่าเดิม เพราะประเมินแล้วได้ผลไม่น่าพึงพอใจ ช่วงเวลาแห่งการประเมินผล อาจเป็นช่วงเวลาที่สะท้อนคุณภาพของหัวหน้างานจำนวนไม่น้อย…

ประเมินแบบเกรงใจ หัวหน้างานบางรายไม่กล้าประเมินตามความเป็นจริง ทั้งๆ ที่รู้ว่า ลูกน้องบางคนทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ผิดพลาดบ่อย เนื่องจากกลัวว่าจะเสียความสัมพันธ์ระหว่างกัน เกรงว่าลูกน้องจะไม่พอใจ และจะยิ่งไม่ให้ความร่วมมือในการทำงาน จึงต้องประเมินให้ทั้งคนที่ทำงานดีและทำงานไม่ค่อยดีเท่าเทียมกัน Read more…– ( 59 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รู้จัก EXPLORE

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ตระหนักถึงการเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดการนำผลงานวิจัย ไปสู่การต่อยอดและนำไปสู่การใช้ประโยชน์สูงสุดและทั่วถึงในระดับประชาชนจึงเกิดแนวคิดจัดพื้นที่ ให้สาธารณะทั่วไปที่สนใจ ได้ใช้พื้นที่เผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลงานได้ โดยไม่มีข้อจำกัด

ดังนั้น ภายใต้แนวคิดดังกล่าว หน่วยงาน วช. ได้ร่วมกันดำเนินงานพัฒนาเว็บไซต์ ห้องสมุดวิจัยสำหรับสาธารณะ (Extraordinary Simple Public Library Of Research Resultหรือ EXPLORE ให้เป็นอีกหนึ่งทางหนึ่งที่นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป สามารถเข้ามาร่วมเผยแพร่ และแบ่งปันองค์ความรู้งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมวิจัยด้านต่าง ๆ บนพื้นที่ห้องสมุดวิจัยสำหรับสาธารณะดังกล่าวนี้ โดยมุ่งเน้นให้นำเสนอผลงานในรูปแบบที่ทันสมัยและน่าสนใจให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่าย และเข้าถึงได้สะดวก …

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : http://www.thai-explore.net/

รายการอ้างอิง :
2556. รู้จัก EXPLORE. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). วันที่ 20 ธันวาคม.– ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กรอบนโยบายการพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย (พ.ศ.2555-2564)

‘นาโนเทคโนโลยี’ เป็นเทคโนโลยีในการประกอบและผลิต สิ่งต่างๆขึ้นมาจากการจัดเรียงอะตอมหรือโมเลกุลในตำแหน่ง ที่ต้องการได้อย่างแม่นยำและถูกต้องในระดับนาโนเมตร ทำให้โครงสร้างของวัสดุหรือสสารที่ได้มีคุณสมบัติพิเศษไม่ว่าทางด้านฟิสิกส์ เคมี หรือชีวภาพ ส่งผลให้มีประโยชน์ต่อผู้ใช้สอยก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านการ ออกแบบหรือการใช้เครื่องมือสร้างวัสดุ ผลิตภัณฑ์ ระบบ อุปกรณ์ และสิ่งประดิษฐ์ที่มีขนาดเล็กมาก นาโนเทคโนโลยีเป็นสหสาขาวิชา(MultidisciplinaryArea) ที่ต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลากหลายสาขาซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงาน เช่น วัสดุศาสตร์ (Nanomaterials) อิเล็กทรอนิกส์ (Nanoelectronics) เทคโนโลยีชีวภาพ (Nanobiotechnology) เป็นต้น Read more…– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments