magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ผู้เชี่ยวชาญโรคสมอง-นักเทคโนโลยีพลังงาน2 นักวิจัยแกนนำสวทช.จากจุฬาฯ และมจธ.

เพื่อสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์ที่มีศักยภาพ เป็นแกนนำให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม

ให้ทุนไปแล้วกว่า 100 ล้านบาทกับโครง การทุนนักวิจัยแกนนำ ซึ่งเป็นการสนับสนุนโครง การวิจัยขนาดใหญ่ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2552

เพื่อสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์ที่มีศักยภาพ เป็นแกนนำให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม สามารถดำเนินงานวิจัยอย่างราบรื่น รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และเป็นแกนในการผลิตบุคลากรวิจัยสู่วงการวิชาการอย่างต่อเนื่อง

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. บอกว่า ปัจจุบันให้ทุนนี้ไปแล้ว 7 โครงการ ทุนละ 20 ล้านบาท สำหรับปีนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นสมควรมอบทุนดังกล่าวแก่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโครงการวิจัยเรื่อง “บทบาทของสัตว์ แมลง ในการก่อโรค กลไกเชื้อและการรักษา” และ ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จากโครงการวิจัยเรื่อง “การเพิ่มการถ่ายเทความร้อนเชิงนวัตกรรมสำหรับอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนในอนาคต”
Read more…– ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘ไวเบอร์’ เวอร์ชั่นใหม่เอาใจผู้ใช้คนเอเชีย – APP

หลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากจากยอดผู้ใช้งานมากกว่า 200 ล้านคน ใน 193 ประเทศทั่วโลก ล่าสุดทางแอพพลิเคชั่นไวเบอร์ ได้เปิดตัวแอพพลิเคชั่นเวอร์ชั่นล่าสุด 4.0 บนเครื่องไอโฟนและสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ ถือได้ว่าเป็นการอัพเดทครั้งสำคัญของแอพพลิเคชั่นเลยทีเดียว

ไวเบอร์ พัฒนาโดยบริษัท ไวเบอร์ มีเดีย (Viber Media) ถือเป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้ส่งข้อความ ภาพ และเสียง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และยังสามารถใช้โทรฯ หากันได้ฟรีด้วยคุณภาพเสียงคมชัดแบบเอชดี ผ่านสัญญาณ 3จี/4จี หรือไว-ไฟ ซึ่งในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ ได้เพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ที่น่าสนใจก็คือ สติกเกอร์ มาร์เก็ต ( Sticker Market) ที่มีสติกเกอร์ลาย ๆ สวย ๆ น่ารักให้ได้ใช้ฟรีและแบบเสียเงิน และฟังก์ชั่น พุช ทู ทอล์ก (Push To Talk) เพื่อการรับส่งข้อความเสียงเพียงเสี้ยววินาทีรูปแบบใหม่
Read more…– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การกลับมาของรถไฮโดรเจน

ดร.อดิสร นักเทคโนโลยีแห่งเนคเทค อัพเดตเรื่องราวของเทคโนโลยียานยนต์ไฮโดรเจน เรื่องราวมีทั้ง รุ่ง ร่วงและคืนชีพได้อีก

ดร.อดิสร นักเทคโนโลยีแห่งเนคเทค อัพเดตเรื่องราวของเทคโนโลยียานยนต์ไฮโดรเจน เชื้อเพลิงไร้มลพิษ 100% เรื่องราวมีทั้ง รุ่ง ร่วงและคืนชีพได้อีกครั้ง

ไฮโดรเจน (Hydrogen) ธาตุที่เบาที่สุดในโลก ครั้งหนึ่งเคยเป็นความหวังของพลังงานสะอาดที่จะใช้ขับเคลื่อนรถยนต์และโด่งดังจนผู้คนกล่าวถึงว่า เราจะเข้าสู่ยุคเศรฐกิจไฮโดรเจน (Hydrogen Economy) ด้วยซ้ำไป

รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนที่อาศัยเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง หรือ ที่เรียกว่า Fuel Cell นับว่าเป็นผลงานชูโรงในยุครัฐบาลประธานาธิบดีบุช ราวปี 2003 ถึงขั้นประกาศทุ่มทุนวิจัยเกี่ยวกับเซลล์เซื้อเพลิงไฮโดรเจนสูงถึง 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 36,000 ล้านบาท เพื่อสร้างรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน ที่ไม่ปลดปล่อยมลพิษใดๆ ออกมา นอกจากหยดน้ำที่ปลายท่อไอเสีย นอกจากนี้ยังขับไปได้ไกลต่อการเติมไฮโดรเจนแต่ละครั้งด้วยระยะที่เท่าๆ กับรถยนต์ที่เติมน้ำมัน
Read more…– ( 100 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เสื้อผ้าสั่งพิมพ์กำลังจะมา

ต่อไปเสื้อผ้าที่เราใส่จะไม่ใช้วิธีการทอ แต่จะเปลี่ยนไปใช้การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติแทน และชิ้นแรกที่จะได้ใช้ก่อนใครก็คือชุดชั้นในสำหรับคุณสาวๆ

หลังจากที่มีคนคิดค้นวัสดุหยืดหยุ่นสำหรับใช้เป็นหมึกเครื่องพิมพ์สามมิติได้เมื่อต้นปีนี้ ส่งผลให้เราสามารถพิมพ์วัตถุอย่าง รองเท้ายางใสเหมือแมงกระพรุน แต่นั่นก็ยังห่างไกลจากการนำมาใช้ผลิตเสื้อผ้าสำหรับสวมใส่

ล่าสุดสองสามีภรรยาจากอิสราเอลที่ไปตั้งบริษัท  Tamicare  ที่เมืองแมนเชสเตอร์ได้พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า ”Cosyflex” เส้นใยยืดได้ ย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติสำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์สามมิติ กระบวนการทำจะแตกต่างจากการพิมพ์วัตถุด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติเล็กน้อย คืนแทนที่จะใส่หมึกพิมพ์ลงไปในเครื่องแล้วทำการฉีดขึ้นรูปขึ้นมา ก็จะเปลี่ยนไปใช้วิธีการฉีดสเปรย์ลงไปยังต้นแบบเพื่อสร้างชั้นของโพลีเมอร์ rubber-latex และชั้นของคอตตอนไฟเบอร์ในการสร้างกางเกงชั้นในขึ้นมา โดยกระบวนการนี้จะใช้เวลาแค่ 3 วินาทีเท่านั้นเอง ระบบทั้งหมดเป็นระบบอัตโนมัติ มีกำลังผลิตกางเกงในได้สูงสุดถึงปีละ 10 ล้านตัว

Read more…– ( 47 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดู “ดาวหางไอซอน” ที่ดอยสุเทพ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ องค์การมหาชน ชวนคนไทยร่วมกิจกรรม “ล่าดาวหาง” ลุ้นดูดาวหางไอซอน ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในช่วงเช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556  ที่จุดชมวิว บนดอยสุเทพ เชียงใหม่

นายศรันย์ ฏปษยะจินดา รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ องค์การมหาชน เตรียมจัดกิจกรรม “ล่าดาวหาง” ในช่วงเช้ามืดวันที่ 23 พฤศจิกายน2556 ตั้งแต่เวลา 04.00-06.30 น. ณ บริเวณจุดชมวิวอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ เพื่อชมปรากฏการณ์ทั้งฟ้าหายากอีกครั้ง ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม 2556 นี้ จะมีดาวหางไอซอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางคาดการณ์ไว้ 1-2 กิโลเมตร จะโคจรเฉียดดวงอาทิตย์ที่ระยะ 1.2 ล้านกิโลเมตร ในระยะใกล้กว่าดาวพุธ ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดประมาณ 45 ล้านกิโลเมตร

Read more…– ( 106 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นาซาปล่อยยานสำรวจบรรยากาศดาวอังคารแล้ว

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวต่างประเทศ

แหลมคานาเวอรัล 19 พ.ย.2013  -องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ปล่อยยานมาเวนขึ้นไปสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคารแล้ว เพื่อหาร่องรอยว่าเหตุใดดาวอังคารจึงสูญเสียอุณหภูมิและน้ำ

จรวดแอตลาส วี 401 นำยานมาเวนไร้มนุษย์อวกาศทะยานขึ้นจากศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 13.28 น. วันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 01.28 น. วันอังคารตามเวลาในไทย  ยานมูลค่า 671 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 20,800 ล้านบาท) จะเดินทางเป็นเวลา 10 เดือน คาดว่าจะถึงดาวอังคารในเดือนกันยายนปีหน้า และจะเริ่มปฏิบัติภารกิจทางวิทยาศาสตร์ในอีก 2 เดือน
Read more…– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระทรวงวิทย์ฯมอบทุนนักวิจัยแกนนำ 40 ล้านบาท

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเกษตร

กระทรวงวิทย์ 18 พ.ย. 2556- สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มอบทุนนักวิจัยแกนนำ 40 ล้านบาท ให้ 2 โครงการวิจัยระดับชาติ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศ  ผู้ได้รับทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2556 มีจำนวน 2 ทุน ทุนละ 20 ล้านบาท ทุนแรก ให้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน

โครงการ “บทบาทของสัตว์ แมลง ในการก่อโรค กลไกเชื้อและการรักษา” ซึ่งจะศึกษาความหลากหลายของเชื้อ การสร้างแบบจำลองการทำนายการเกิดโรคระบาด การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคและระบบเฝ้าระวังโรคเชื้อไวรัส ศึกษากลไกของไวรัสพิษสุนัขบ้าและพัฒนาวิธีป้องกัน
Read more…– ( 34 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กูเกิล-ไมโครซอฟท์บล็อกเว็บไซต์อนาจารเด็ก

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวไอที
ลอนดอน 19 พ.ย.2013  -กูเกิลและไมโครซอฟท์พัฒนาเทคโนโลยีปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาล่วงละเมิดทางเพศเด็ก

ทั้งสองบริษัทระบุว่าจะแบ่งปันเทคโนโลยีในการตรวจจับภาพถ่ายที่มีเนื้อหาล่วงละเมิดทางเพศเด็กที่ปรากฏอยู่ในอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ กูเกิลยังอยู่ระหว่างการทดสอบเทคโนโลยีการตรวจสอบเนื้อหาและกำจัดวิดีโอผิดกฎหมายในอินเทอร์เน็ต ระบบการตรวจสอบเข้มงวดเริ่มใช้งานแล้วในอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษ โดยสามารถใช้ได้ทั้งเสิร์ชเอนจิ้นของกูเกิล และไมโครซอฟท์

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=528acb56150ba09c71000235#.UorcbOLxbGg– ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘นาซา’ส่งยาน MAVEN เดินทางสำรวจดาวอังคาร

“นาซา” ประสบความสำเร็จในการส่งยานสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร MAVEN หลังจรวดแอตลาสไฟว์ ทะยานขึ้นจากแหลมคานาเวอรัลอย่างราบรื่น โดยจะใช้เวลาในการเดินทางนาน 10 เดือน เพื่อไปถึงดาวอังคาร…

เมื่อเวลา 13.28 น. วันที่ 18 พ.ย. ตามเวลาท้องถิ่น องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือนาซา (NASA) ประสบความสำเร็จในการส่งยานสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร Mars Atmosphere and Volatile Evolution (MAVEN) โดยจรวดแอตลาสไฟว์ (AtlasV) โดยภารกิจเริ่มต้นอย่างราบรื่น ตั้งแต่การนับถอยหลังเพื่อปล่อยจรวดออกจากฐานยิงที่ 41 สถานีกองทัพอากาศ แหลมคานาเวอรัล จรวด Atlas V ของ ยูไนเต็ด ลอนช์ อลิอันซ์ (United Launch Alliance: ULA) บรรทุกยานอวกาศหนัก 5,400 ปอนด์ขึ้นสู่อวกาศ โอกาสแรกของภารกิจนี้ คือการที่ MAVEN ปล่อยแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อสร้างพลังงานให้กับตัวเอง

เดวิด มิตเชลล์ ผู้จัดการโครงการ ของศูนย์อวกาศก็อดดาร์ท แห่งนาซา กล่าวว่า “เราอยู่ระหว่างระยะทาง 14,000 ไมล์นับจากโลกไปสู่ดาวเคราะห์สีแดงในขณะนี้ และขอให้เดินทางอย่างปลอดภัยนะ MAVEN พวกเราจะอยู่กับแกไปตลอดทาง”

ขณะที่ บรู๊ซ จาคอร์สกี้ ผู้วิจัยหลัก MAVEN ของศูนย์อวกาศก็อดดาร์ท แห่งนาซา กล่าวว่า เราต้องบริหารงานร่วมกันเป็นทีมในการทำงานนี้ ตนไม่เคยจินตนาการถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย ระหว่างที่ยิงยาน MAVEN สู่อวกาศ มันเป็นหลักชัยที่ยิ่งใหญ่ MAVEN ต้องเดินทางไปให้ถึงดาวอังคาร และเข้าสู่ช่วงตรวจสอบขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะเริ่มต้นเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ โดยช่วงนี้ต้องใช้เวลา 10 เดือน เพื่อไปให้ถึงดาวเคราะห์สีแดง โดยตามกำหนดการจะถึงดาวอังคารในวันที่ 22 ก.ย. 2014.

รายการอ้างอิง :

2556. ป’นาซา’ส่งยาน MAVEN เดินทางสำรวจดาวอังคาร. กรุงเทพฯ : ไทยรัฐออนไลน์ (วิทยาการ). ออนไลน์. สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต, http://www.thairath.co.th/content/tech/383840, ค้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556.– ( 48 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อาทิตย์อัศจรรย์ เหมือนกลับหัวหาง

ดวงอาทิตย์จะเหมือนกับทำปาฏิหาริย์ กลับหัวกลับหางขึ้นภายในเวลาอีกไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้านี้ ด้วยเหตุที่สนามแม่เหล็กตัวเอง จะพลิกกลับขั้ว ซึ่งอาจจะส่งผลกระเทือนไปทั่วตลอดสุริยจักรวาล

แม้จะฟังดูราวกับจะเกิดมหันตภัย แต่ไม่ต้องตื่นตกใจ เพราะเหตุว่าสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนสลับขั้วเหนือและใต้ด้วยตัวเองทุกๆรอบ 11 ปี โดยแทบไม่รู้เหตุผล อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้ ก็อาจสร้างผลกระเทือนไปทั่วจักรวาล อย่างเช่น เกิดพายุแม่เหล็ก ซึ่งจะกระทบกระเทือนการสื่อสารกับดาวเทียมและทำให้คลื่นวิทยุเกิดขัดข้อง

ผลกระทบจะเลยไปถึงดาวพลูโต ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ผ่านเลยยานสำรวจอวกาศ “วอยเอจเอร์” ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ ซึ่งกำลังทำงานอยู่แถวสุดขอบจักรวาล

ในส่วนของโลกเรา จะสังเกตผลกระทบที่ชัดแจ้งที่สุด จากการเกิดปรากฏการณ์ของ “แสงเหนือ” ขึ้นที่ดินแดนใกล้ๆขั้วโลกอันสวยงาม.

2556. อาทิตย์อัศจรรย์ เหมือนกลับหัวหาง. กรุงเทพฯ : ไทยรัฐออนไลน์ (ข่าวอื่นๆและการศึกษา). ออนไลน์. สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต, http://www.thairath.co.th/content/edu/383615, ค้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556.– ( 60 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments