รายงานข่าวจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แจ้งว่า โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ของ สกว. จะจัดการประชุมวิชาการโครงการปริญญาเอก กาญจนาภิเษกครั้งที่ 14 ขึ้น ระหว่างวันที่ 5-7 เม.ย.นี้ ที่ จ.ชลบุรี ทั้งนี้ คปก.เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2539 โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี และสกว.ได้รับมอบหมายให้บริหาร โครงการ โดยร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สาเหตุสำคัญที่ คปก.ก่อตั้งขึ้น เนื่องมาจากประเทศไทยขาดแคลนนักวิจัยอย่างรุนแรงในปี 2539 ซึ่งทำให้ระบบวิจัยของประเทศอ่อนแอมาก โดยโครงการมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลิตนักวิจัยระดับปริญญาเอกและผลงานวิจัย ให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่บัณฑิตศึกษาในประเทศ และสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและสถาบันการศึกษาและวิจัยทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ มีเป้าหมายผลิตนักวิจัยระดับปริญญาเอก 5,000 คน ภายในระยะเวลา 15 ปี และหากการดำเนินการในระยะที่ 1 ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จะให้ดำเนินการในระยะที่ 2 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลิตนักวิจัยระดับปริญญาเอกจำนวน 20,000 คน ภายในเวลา 15 ปี– ( 61
3 ร 1 ว 4 สุดยอดทักษะ ปฏิวัติเด็กไทยสายพันธุ์ใหม่
องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี และสังคมบริโภคนิยมที่ในยุคนี้ผลักดันให้วิถีชีวิต และทัศนคติของเด็กไทยรุ่นใหม่ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงกดดันในการ ปั้นเด็กให้เติบโตมาเป็น “คนเก่ง” เพราะเชื่อมั่นว่า ความเก่งคือ หนทางคู่ขนาดไปกับความอยู่รอด และหน้าที่การงานที่มั่นคง– ( 146 Views)
มจธ.เปิดศูนย์ทดสอบมาตรฐานเซลล์แสงอาทิตย์ครบวงจรหนึ่งเดียวในอาเซียนสร้างความมั่นใจผู้ลงทุน
นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยระหว่างเป็นประธาน เปิดศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ว่าศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบเซลล์แสงอาทิตย์แห่งนี้ เป็นศูนย์แบบครบวงจรแห่งเดียวในประเทศไทย และหนึ่งเดียวในภูมิอาเซียน ที่เป็นศูนย์ทดสอบแบบครบวงจร อีกทั้งยังได้มาตรฐาน ISO/IEC17025 : 2005 แห่งแรกของอาเซียน ซึ่งศูนย์ฯ จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ตระหนักถึงมาตรฐานที่เชื่อถือได้ รวมถึงมาตรฐานใหม่ๆ ของสากล อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมี ผู้ประกอบการสนใจมาลงทุนในเรื่องการของผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์มากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้จำเป็นต้องแสวงหาศูนย์ทดสอบภายในประเทศที่มั่นใจ ได้ว่ามีมาตรฐานจริง จากแนวโน้ม ดังกล่าวทำให้ พพ.ร่วมกับ มจธ.ซึ่งเคยมีความร่วมมือกันในการส่งเซลล์แสงอาทิตย์ รวมถึงส่วนควบต่างๆ ให้ มจธ.ตรวจสอบคุณภาพอยู่แล้ว คิดที่จะจัดตั้งศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (CES SOLAR CELLS TESTING CENTER หรือ CSSC) ที่ มจธ.บางขุนเทียน– ( 97 Views)
‘ครอบครัวจอมซ่าท้าตะลุยวิทย์’
การ์ตูนวิทยาศาสตร์เรื่อง “ครอบครัวจอมซ่า ท้าตะลุยวิทย์” โดยความร่วมมือของสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก และสักนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงกลับมาสร้างความสนุกให้เด็กๆ อีกครั้ง กับตอนที่มีชื่อว่า “หนูน้อยนักดูดาว” โดยฝีมือการเขียนเรื่องและภาพของคนไทยทั้งเล่ม เรียกได้ว่าเป็นหนังสือที่ให้ความสนุกและสอดแทรกความรู้ไม่แพ้หนังสือแปลจาก ประเทศญี่ปุ่นหรือเกาหลีเลย การนำการ์ตูนมาถ่ายทอดเรื่องราวความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จึงเป็นที่โปรดปรานของเด็กๆ เพราะการ์ตูนเป็นสื่อที่ช่วยดึงดูดความสนใจให้เด็ก ทำให้การเรียนวิทยาศาสตร์ไม่เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ เด็กๆ จะได้สนุกกับการ์ตูนและได้รับสาระในทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กันไป ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านสำหรับ เด็กได้เป็นอย่างดี หาซื้อได้ ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ได้ทุกสาขา และร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป สอบถามได้ที่ โทร.0-2255-4433 หรือ www.chulabook.com รายการอ้างอิง : ‘ครอบครัวจอมซ่าท้าตะลุยวิทย์’. คม ชัด ลึก (กรอบบ่าย). ฉบับวันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 48 Views)
โครงการ “SCG V GEN อาสายั่งยืน” รับสมัครจิตอาสา สร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง
ในวาระครบรอบเอสซีจี 100 ปี ในปี 2556 เอสซีจี จึงต้องการนำองค์ความรู้ของชุมชนต้นแบบที่เอสซีจีได้เข้าไปมีส่วนร่วมให้ เกิดการพัฒนาต่อยอดเป็นชุมชนเข้มแข็งที่สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเองอย่าง ยั่งยืน มาถ่ายทอดแนวคิด แนวปฏิบัติ ภูมิปัญญาและนวัตกรรมการสร้างสรรค์ในวิถีชุมชน เพื่อต่อยอดขยายองค์ความรู้เหล่านี้ไปสู่ชุมชนอื่นๆ อันจะเป็นการสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กระจายไปทั่วทุก ภูมิภาคของประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เป็นการให้ความรู้กับประชาชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ผ่านการนำเสนอในรูปแบบที่ให้สาระและความบันเทิง เอสซีจี จึงร่วมกับ รายการเจาะใจ สร้างสรรค์ โครงการ ‘SCG V Gen อาสายั่งยืน’ ในรูปแบบรายการเรียลลิตี้โชว์ขึ้น เพื่อสร้างคน Generation ใหม่ คนหัวใจอาสาที่พร้อมอุทิศแรงกายแรงใจที่จะไปเรียนรู้ ส่งต่อ สืบทอด และขยายองค์ความรู้ ตลอดจนนวัตกรรมจากชุมชนต้นแบบไปสู่อีกชุมชนหนึ่ง โดยมุ่งหวังให้เกิดการต่อยอดขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป – ( 784 Views)
โรดโชว์ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพลุยตลาดอาเซียน
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) พยายามอย่างยิ่งยวดในการนำเทคโนโลยีมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์โอ ท็อป โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและการเกษตร เครื่อง สำอาง และกลุ่มอาหารเสริม ล่าสุด วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการ วท. นำคณะนักวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และนักธุรกิจกว่า 10 ราย ไปแสดงศักยภาพความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีชีวภาพไทยในงานคาร์นิวัล ไบโอ-กลันตัน 2013 หรือ BIO-K 2013 ณ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย หวังดึงดูดนักลงทุน และขยายอุตสาหกรรมผลิตไบโอเทคโนโลยีระดับรัฐ เนื่องจากรัฐบาลรัฐกลันตันมุ่งมั่นเป็นแหล่งอาหารทางการพืชผลแห่งชาติในปี 2015 สำหรับสินค้า/ผลิตภัณฑ์ และองค์ความรู้ที่คัดเลือกไปแสดง เช่น ชุดตรวจไวรัสในกุ้ง, เอนไซม์ทนด่างจากปลวกสำหรับฟอกเยื่อกระดาษ (ENZbleach) ชุดตรวจโรคพืช ผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็นพีวี, ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์, ผลิตภัณฑ์ KEEEN, สารชีวภาพบำบัดเชิงนิเวศ โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง, เครื่องผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร, งานบริการวิทยาศาสตร์ด้านเคมีวิเคราะห์ ชีวเคมีและจุลชีววิทยา,
ดาวหางแพนสตาร์เยือนโลก
กระทรวงวิทย์ฯ เผยดาวหางแพนสตาร์เยือนโลก 8-17 มีนาคมนี้ ชวนคนไทยอย่าพลาดชม!! มาแค่ครั้งเดียว กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผย 8-17 มีนาคมนี้ “ดาวหางแพนสตาร์” จะโคจรมาใกล้โลกและดวงอาทิตย์ ชวนคนไทยอย่าพลาดชม ย้ำมาเที่ยวเดียวไม่มาอีกแล้ว หากฟ้าใสดูตาเปล่าได้ พร้อมโชว์ “วัตถุจากนอกโลก” ให้ประชาชนสัมผัสอุกกาบาตเหล็กยักษ์ เท็กไทต์แบบต่างๆ ตื่นตาตื่นใจกับหลากหลายภาพเหตุการณ์ประหลาดบนฟากฟ้าที่อธิบายได้โดยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ฟรี!! 10-11 มีนาคมนี้ ณ ลานกิจกรรมชั้น 1 เซ็นทรัลพระราม 9 กรุงเทพฯ – ( 120 Views)
“ใบชา”แตกกิ่งเทคโนโลยี
จุดขายของ “ชาใบหูกวาง” ไม่ใช่แค่เรื่องของวัตถุดิบที่แตกต่างจากใบชา ยอดนิยมทั้งชาอู่หลง ชาดำ ชาขาวและชาเขียว ไม่ใช่แค่เรื่องของชาสุขภาพอย่างชาสมุนไพร ต่างๆ แต่มากกว่าในเรื่องกระบวนการผลิตที่ได้รับการแบ็คอัพจากสำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) องค์กรชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของไทย ทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญจากเนเธอร์แลนด์ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเทคโนโลยี ในการพัฒนากลิ่นชาให้คงความหอมทนนาน เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง– ( 77 Views)
สวทช. จับมือ GIZ เร่งพัฒนาธุรกิจไทย รองรับนโยบายธุรกิจสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือ GIZ จัดงานสัมมนาวิชาการภายใต้หัวข้อ “การก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านธรุกิจสีเขียวระดับโลก” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรและอุตสาหกรรมของไทยบนเวที ระดับนานาชาติ พร้อมกันนี้ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง สุวิภา วรรณาสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และ มร.เดวิด โอเบอร์ฮูเบอร์ ผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศไทย ในการส่งเสริมการะยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม สีเขียวอย่างยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอีกด้วย เมื่อเร็วๆ นี้ ที่โรงแรมพลูแมน รายการอ้างอิง : สวทช. จับมือ GIZ เร่งพัฒนาธุรกิจไทย รองรับนโยบายธุรกิจสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. Engineering Today (Activities). ฉบับวันที่ 01 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 37 Views)
ไบโอเทค ลงนามบันทึกข้อตกลง โครงการวิจัยการใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารไฮโดรคาร์บอน PAH
ศูนย์พันธุและวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ลงนามข้อตกลงการดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NITE Biological Resource Center (NBRC) ประเทศญี่ปุ่น เรื่อง การศึกษาโครงสร้างประชากรจุลินทรีย์และความสามารถในการย่อยสลายสารกลุ่มโพลี ไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon หรือ PAH) ในตะกอนดินแม่น้ำที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อประเมินความหลากหลายของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสาร PAH เพื่อใช้ในการบำบัดมลพิษสิ่งแวดล้อมในอนาคต รายการอ้างอิง : ไบโอเทค ลงนามบันทึกข้อตกลง โครงการวิจัยการใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารไฮโดรคาร์บอน PAH. Engineering Today (Activities). ฉบับวันที่ 01 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 68 Views)