เมื่อวันที่ 12 มีนาคม นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยในการประชุมรายงานสรุปผลการดำเนินงานของ 2 นักวิจัย ที่ได้รับทุนวิจัยโครงการ NSTDA Chair Professor ว่า ทุนดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์ มาตั้งแต่ปี 2552 นายทวีศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้ทุนดังกล่าวให้การสนับสนุนไปแล้ว 2 โครงการ โครงการละ 20 ล้านบาท ต่อเนื่องในระยะ 5 ปี และในปี 2558 จะมีการคัดเลือกผู้รับทุนอีกครั้ง สำหรับผู้รับทุนแรกในปี 2552 คือ นายจำรัส ลิ้มตระกูล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากโครงการวิจัยเรื่อง “การออกแบบและผลิตวัสดุนาโนที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่ออุตสาหกรรม” ขณะนี้เหลือเวลาศึกษาอีก 1 ปี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ อาทิ เคมีและปิโตรเคมี การแพทย์ เภสัชกรรม เป็นต้น– ( 60 Views)
Seminar on AEC cosmetics rules
The Asean Economic Community will bring about a standardised set of rules and regulations for cosmetic products of all nations in the region. Thai producers have been invited to join the National Nanotechnology Centre’s seminar on “Cosmeceuticals Development for AEC by Science and Technology” on April 1, where the rules and regulations will be unveiled
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช.แจ้งว่าจะจัดสัมมนา หัวข้อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Cosmeceuticals Development for AEC by S&T) ในวันที่ 1 เมษายนนี้ เวลา 09.00-12.15 น. ที่ห้องประชุม CC-405 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ผู้สนใจลงทะเบียนเข้าฟังฟรี ที่ http://www.nstda.or.th/nac2013 รายการอ้างอิง : การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC. มติชน (ตะลอนกรุง). ฉบับวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 79 Views)
เม.ย.ทีเซลส์เล็งเปิดศูนย์หุ่นยนต์แพทย์
นายนเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) พัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีชีววิศวกรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายผลิตและบริการคนไทยในราคาที่เหมาะสม และอีก 7 ปีข้างหน้าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าหุ่นยนต์ทางการแพทย์ 100 ล้านบาท/ตัว ลงได้ 50% นอกจากนี้ในวันที่ 9 เม.ย.นี้จะเปิดตัวศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูง จะเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาล การแพทย์ฉุกเฉิน และการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วย ผู้สูงอายุในระดับแนวหน้าของอาเซียน โดยจะเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกระทรวงมากขึ้น เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ จากข้อมูล Business Report San Jose, California ระบุถึงมูลค่าของหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูงในตลาดโลกคือ 1.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561 เมื่อเทียบกับประชาคมอาเซียน ประเทศไทยมีความพร้อมสูง โดยเฉพาะมีบุคลากร องค์ความรู้ความชำนาญด้านการแพทย์และนักประดิษฐ์ หุ่นยนต์ แต่ยังขาดการบูรณาการให้เกิดผลผลิตจนถึงระดับอุตสาหกรรมการตลาดและพาณิชย์ “เชื่อว่าหากทุกภาคส่วนผนึกกำลังกันจะสามารถผลักดันหุ่นยนต์ทางการแพทย์ของ ไทยไปสู่ระดับอาเซียนและระดับโลกได้” ผู้อำนวยการศูนย์ทีเซลส์ กล่าว รายการอ้างอิง : เม.ย.ทีเซลส์เล็งเปิดศูนย์หุ่นยนต์แพทย์. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่
CPALL ตำนานสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมง
สำหรับประเทศไทยร้านเซเว่นอีเลฟเว่นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยเกือบทุกคนเวลาที่เราต้องการซื้อสินค้าเล็กๆน้อยๆเช่นขนมขบเคี้ยวน้ำอัดลมสักขวดหรืออาหารจานด่วนสักจานโดยเฉพาะเมื่อความต้องการนั้นเกิดขึ้นกลางดึก ที่ร้านค้าอื่นๆปิดทำการแล้ว จากชื่อหลายคนคงเดาได้ว่าร้านเซเว่นอีเลฟเว่นมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตกโดยร้านเซเว่นอีเลฟเว่นก่อตั้งเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีค.ศ.1927 ตรงกับพ.ศ. 2470 หรือมากกว่า 80 ปีมาแล้ว โดย นายจอห์นเจฟเฟอสันกรีนได้ดัดแปลงโรงเก็บน้ำแข็งเป็นร้านชำเพื่อจำหน่ายไข่ นมและขนมปัง– ( 130 Views)
ไทยบิสปาเดย์จัดหนักเพื่อมือใหม่นวัตกรรมพบนักลงทุน
วันนี้ (11 มี.ค.) ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ นายกสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA) เปิดเผยว่า สมาคมจะจัดงานไทยบิสปาเดย์ (Thai-BISPA Day) ในวันที่ 18 มี.ค. นี้หัวข้อ “กลยุทธ์สุดยอด สร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์จากเทคโนโลยี ” โดยเนื้อหา มีการเวทีสัมมนาถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก วิทยากรจากซิลิคอนวัลเลย์ เมืองที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่สหรัฐ อเมริกา วิทยากรที่เป็นนักพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์จากเกาหลีใต้ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจากประเทศอินเดีย นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมผู้ประกอบการใหม่ (สตาร์ตอัป) พบนักลงทุน เพื่อนำเสนอธุรกิจนวัตกรรม อาทิ เจลยางพาราลดแผลกดทับ ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอัจฉริยะ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจต่างๆ ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น นำไปสู่การตกลงเจรจาการลงทุนร่วมในงานได้ทันที – ( 37 Views)
แนวโน้มบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมไทยไปไกล
วันนี้ (11 มี.ค.) ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ นายกสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย(Thai-BISPA) เปิดเผยแนวโน้มของอุทยานวิทยาศาสตร์และหน่วยบ่มเพาะธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมของประเทศ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการวิจัยและพัฒนาในทางที่ดี โดยระบุว่า นวัตกรรมไบโอเทคโนโลยีของไทยได้สร้างชื่อเสียงจนเป็นที่จับตามองของบริษัทใน ต่างประเทศ เนื่องจากความสำเร็จทางไบโอเทคโนโลยี จนได้รางวัลระดับโลก มีการลงทุนจากบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัท เฟล็กโซรีเสิรช และ บริษัท ไฮกริมเอ็นไวรอนเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช ทำให้นักวิจัยของไทยได้รับความสนใจ ดังนั้น ไทยควรจะนำจุดนี้ ยกเป็นภาพลักษณ์งานวิจัยของประเทศให้ชัดเจน เพื่อการทำตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ – ( 41 Views)
นักวิทย์เตือนธารน้ำแข็งละลาย-น้ำทะเลสูง-โลกร้อน
นักวิทยาศาสตร์เตือน ธารน้ำแข็งในแคนาดาอาจละลาย 1 ใน 5 ภายในสิ้นศตวรรษนี้ อันจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีกกว่า 1 นิ้ว และจะทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นอีก อีกทั้งธารน้ำแข็งที่ละลายแล้ว จะไม่วันหวนกลับไปเป็นดังเดิมได้อีก สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานเมื่อวันที่ 7 มี.ค.ว่า แจน เลเนิร์ตส์ นักอุตุนิยมวิทยาและผู้นำนักวิจัยของมหาวิทยาลัยอูเทรค ประเทศเนเธอร์แลนด์ เปิดเผยผลการศึกษาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา พบว่า ธารน้ำแข็งในแคนาดาอาจละลายหดหายไป 1 ใน 5 ภายในสิ้นศตวรรษนี้ และทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีกประมาณ 1.4 นิ้ว หรือ 3.5 เซนติเมตร และโอกาสที่ธารน้ำแข็งจะก่อตัวกลับสู่สภาพเดิมก็เลือนรางมาก ทั้งนี้ หากธารน้ำแข็งแคนาดาหายไปร้อยละ 20 ตามที่ผลวิจัยสรุป อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3 องศาเซลเซียส – ( 114 Views)
การประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 8
นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผอ. สสวท.แจ้งว่า สสวท. ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มศก. สพฐ. สกอ. และ สวทช.ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 8 วันที่ 21-23 มี.ค. ณ ศูนย์ไบเทค บางนา เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่มีผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.dpstcenter.org/stt4youth รายการอ้างอิง : การประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 8. ข่าวสด (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 37 Views)
สองนักวิจัยหญิงชวนสมัครทุนวิจัยเพื่อสตรี
ความสำเร็จของโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา พัฒนาให้เกิดสังคมนักวิจัยสตรีชั้นแนวหน้าของประเทศ ที่นับเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ในปีนี้เปิดโอกาสให้นักวิจัยสตรีรุ่นใหม่ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง โดยในปี 2556 โครงการ ทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” จะมอบทุนสนับสนุนงานวิจัยไม่เกิน 5 ทุน ทุนละ 250,000 บาท ให้กับสตรีนักวิทยาศาสตร์อายุ 25-40 ปี ที่มีผลงานวิจัยโดดเด่นในสาขาวัสดุศาสตร์ (Material Science) สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science) หรือสาขาวิทยาศาสตร์เคมี (Chemical Science) ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ หัวหน้าห้องปฏิบัติการไมโครอะเรย์แบบครบวงจร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผู้ได้รับทุนวิจัยในสาขาชีวภาพ ประจำปี 2552 กล่าวถึงโครงการว่า “การได้มาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทุนวิจัย นี้ทำให้ชีวิตนักวิจัยผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งของตนเองเปลี่ยนไปมาก เนื่องจากโครงการนี้จัดขึ้นทั่วโลกจึงทำให้งานวิจัยเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งยังได้มีโอกาสร่วมเป็นครอบครัวเดียวกันกับนักวิจัยสตรีชั้นแนวหน้าของ เมืองไทยที่ได้ร่วมทำกิจกรรมดีๆ และงานวิจัยแบบบูรณาการกับนักวิจัยสตรีในโครงการนี้อีกหลายคน “เป็นโครงการที่สร้างพื้นที่ยืนให้กับนักวิทยาศาสตร์สตรี เพื่อให้กำลังใจสตรีผู้กล้าที่เข้ามาอยู่ในสายงานอาชีพวิจัย ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความท้าทายสูงมาก” ด้าน