magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 26)
formats

นิยามอุทยานวิทยาศาสตร์

สมาคมอุทยานวิทยาศาสตร์นานาชาติ (International Association of Science Park : IASP) ได้นิยามคำว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ไว้คือ อุทยานวิทยาศาสตร์เป็นองค์กรที่มีการบริหารงานโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจ และสถาบันที่เป็นแหล่งความรู้ที่เกี่ยวข้อง อุทยานวิทยาศาสตร์จะทำหน้าที่กระตุ้นและจัดการให้เกิดการไหลเวียนของความรู้และเทคโนโลยีระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ภาคเอกชนและตลาด โดยเป็นผู้จัดเตรียมความพร้อมในด้านอาคารสถานที่และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งบริการสนับสนุนต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของผู้ประกอบการที่ต้องการนำนวัตกรรมมาเริ่มกิจการใหม่ และช่วยบ่มเพาะจนสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง บรรณานุกรม : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : บ่มเพาะนวัตกรรมเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน.– ( 60 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุทยานวิทยาศาสตร์ คืออะไร

ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เป็นยุคแห่งการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้พื้นความรู้สูง (Knowledge-intensive industries) เช่น อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ และเทคโนโลยีการผลิตอุตสาหกรรมใหม่เหล่านี้ได้เปิดโอกาสอันหลากหลายสำหรับการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ และช่องทางการใช้ประโยชน์ต่างๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่งเริ่มดำเนินกิจการก็อาจสามารถฉกฉวยโอกาสดังกล่าวได้ การเติบโตที่รวดเร็วของอุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องอาศัยการเชื่อมโยงและการทำงานร่วมกันระหว่างแหล่งความรู้ ภาคการผลิต และตลาด เป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ พัฒนานวัตกรรม และผลักดันการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ดังนั้นจึงได้จัดให้มีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นในบริเวณที่ใกล้เคียงกับแหล่งความรู้และแหล่งงานวิจัย เช่น สถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัย เป็นต้น และในเวลาต่อมาโครงการเหล่านี้ก็ได้รับการขนานนามว่า “อุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park)” บรรณานุกรม : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : บ่มเพาะนวัตกรรมเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน.– ( 207 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Thomson Innovation

Thomson Innovation (TI) คือ ฐานข้อมูลสิทธิบัตรที่มีความสามารถดีที่สุดฐานหนึ่งของฐานข้อมูลสิทธิบัตรในขณะนี้ ซึ่งฐานข้อมูลสิทธิบัตรที่มีความสามารถในการวิเคราะห์นอกเหนือจาก TI แล้ว ในปัจจุบัน มีอยู่หลายฐานข้อมูล เช่น  World Intellectual Property Search (WIPS) : http://www.wipsglobal.com Innography : www.innography.com Questel  : http://www.questel.com – ( 155 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

10 อันดับองค์กร ได้รับสิทธิบัตรสูงสุด

IFI Claims Patent Services เปิดเผยว่า 10 อันดับองค์กร ที่ได้รับสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาสูงสุดในปี 2555 ได้แก่    รายการอ้างอิง ไอบีเอ็มแชมป์สิทธิบัตร 20 ปี ติด. ไทยรัฐ. วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556. หน้า 8.– ( 74 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไอบีเอ็มแชมป์สิทธิบัตร 20 ปี

IFI Claims Patent Services เปิดเผยสถิติการจดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกา ประจำปี 2555 ระบุ ไอบีเอ็มครองสถิติจดสิทธิบัตรสูงสุด 6,478 รายการ ในปี 2555 ครอบคลุมสิ่งประดิษฐ์ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) บิ๊ก ดาต้า (Big data) การรักษาความปลอดภัย ไซเบอร์ คลาวด์ อุปกรณ์พกพา โซเชียลเน็ตเวิร์ก รวมไปถึงโซลูชั่นสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะ เช่น ค้าปลีก ธนาคาร การแพทย์ และการขนส่ง ทั้งนี้ การทำสถิติจดทะเบียนสิทธิบัตรสูงสุดประจำปีนี้ ทำให้ไอบีเอ็มครองตำแหน่งแชมป์ผู้นำสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาติดต่อกัยเป็นระยะเวลา 20 ปี ต่อเนื่อง โดยจำนวนสิทธิบัตรที่ได้รับเมื่อปีที่ผ่านมา ถือเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ด้วย รายการอ้างอิง ไอบีเอ็มแชมป์สิทธิบัตร 20 ปี ติด. ไทยรัฐ. วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556. หน้า 8.– ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บริการสาระสังเขปและดัชนี

บริการสาระสังเขปและดัชนี (Abstracting and indexing service) บริการสาระสังเขปและดัชนี เป็นบริการสารสนเทศประเภทหนึ่ง ที่ห้องสมุดหรือสถาบันบริการสารสนเทศจัดให้มีขึ้นเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ สาระสังเขปและดัชนี หมายถึง การย่อเนื้อหาหรือสาระสำคัญของเอกสารในรูปแบบที่สั้นและมีความถูกต้อง ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ และได้เนื้อหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สามารถวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสารฉบับนั้นว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ และมีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องไปอ่านเอกสารต้นฉบับนั้นอย่างละเอียดอีกครั้ง – ( 1708 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บริการข่าวสารทันสมัย

บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service : CAS)  บริการข่าวสารทันสมัย เป็นบริการสารสนเทศประเภทหนึ่ง ที่ห้องสมุดหรือสถาบันบริการสารสนเทศจัดให้มีขึ้นเพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงความรู้หรือสารสนเทศใหม่ ตามความสนใจของผู้ใช้ทันทีที่ได้รับทรัพยากรสารสนเทศ หรือทราบว่ามีสารสนเทศนั้นผลิตและเผยแพร่ขึ้นใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนองความต้องการของผู้ใช้ให้สามารถติดตามสารสนเทศในเรื่องที่ตนสนใจได้ทันท่วงที ดังนั้นหน้าที่ของผู้ให้บริการจะต้องติดตามความต้องการและความสนใจของผู้ใช้ เพื่อหาแนวทางเสนอสารสนเทศใหม่ให้ผู้ใช้รับทราบและเลือกใช้ตามความต้องการ – ( 345 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โครงสร้างระบบการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย

Published on January 16, 2013 by in S&T Stories

ระบบการวิจัยของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 อันดับ คือ องค์กรหรือสถาบัน ที่กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่สามารถนำมาใช้เป็นกรอบและแนวทางของการกำหนดนโยบายการวิจัยของประเทศ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ดังกล่าว และนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา องค์กรหรือสถาบัน ที่กำหนดนโยบายและแผนงานวิจัยของประเทศ ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติ โดยการประสานงานร่วมมือกับกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคเอกชน ในขณะที่แต่ละกระทรวงมีแผนวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องกับพันธกิจของกระทรวงภายใต้กรอบนโยบายและแผนวิจัยของชาติ องค์กรหรือสถาบัน ที่ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณการวิจัย สำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณางบประมาณการวิจัยและพัฒนา ในภาพรวมของการจัดทำงบประมาณของประเทศ ในขณะที่การสนับสนุนแผนงานวิจัยหรือโครงการวิจัยนั้น มีสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเป็นองค์กรหลักที่ให้การสนับสนุนแก่องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินการวิจัย – ( 93 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Published on January 16, 2013 by in S&T Stories

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Scientific and Technological Innovation) หมายถึง การแปลงความคิดให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใหม่ หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่มีจำหน่ายในตลาด และรวมถึงการแปลงความคิดให้เป็นแนวทางใหม่สำหรับการให้บริการสังคม กิจกรรมนวัตกรรม (Innovation Activities) ครอบคลุมการดำเนินการต่าง ๆ ใน 6 ลักษณะ คือ การจัดหาและปรับประยุกต์เปลี่ยนอุปกรณ์และเครื่องจักรอุตสาหกรรม การพัฒนาหรือปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตและการทดลองผลิตซึ่งรวมถึงการฝึกอบรมพนักงานในการใช้เทคนิคและเครื่องจักรใหม่ การตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งรวมถึงการลองตลาดใหม่ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับตลาดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ไม่รวมถึงการสร้างเครือข่ายสำหรับนวัตกรรมทางตลาด – ( 1533 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การวิจัยและพัฒนา

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ตามคำนิยามของ OECD ครอบคลุม 3 กิจกรรม คือ การวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ และการพัฒนาเชิงทดลอง การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการทดลองหรือการพิสูจน์ทางทฤษฎี เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่บนพื้นฐานของความจริงที่ปรากฏและสังเกตได้โดยไม่ได้คาดหวังเพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะทางใดทางหนึ่ง การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยค้นคว้าให้ได้ความรู้ใหม่ที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ เพื่อการนำไปเป็นประโยขน์ด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ การพัฒนาเชิงทดลอง (Experimental Development) หมายถึง การดำเนินงานที่เป็นระบบอยู่บนพื้นฐานของความรู้ซึ่งพัฒนาจากการวิจัยและประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การผลิตวัสดุผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์สิ่งใหม่หรือเพื่อให้ได้กระบวนการ ระบบและบริการใหม่ หรือเพื่อปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นจนเห็นได้ชัดเจน บรรณานุกรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2544). งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ปี 2539-2544.– ( 183 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments