นักวิจัยไทยเนคเทค สวทช. ศูนย์สิรินธรและบริษัทแฮลเซี่ยนเมทอล รวมตัวเพื่อช่วยเหลือผู้พิการ พัฒนารูปแบบและกระบวนการผลิตข้อเข่าขาเทียมแบบ 4 จุดหมุนขึ้น โดยเน้นการใช้วัสดุที่มีในประเทศมาพัฒนาผลงานนี้แล้ว โดยกระบวนการนี้ยังเป็นการทดสอบขาเทียมมาตรฐาน ISO 10328:2006 เทคโนโลยีข้อเข่าขาเทียมแบบ 4 จุดหมุนนี้ ใช้ระบบสปริงช่วยเหยียดข้อเข่า และระบบปรับฝืดเมื่องอข้อเข่าเพื่อป้องกันการพับงอ ตามหลักชีวกลศาสตร์ของการเดิน มันมีน้ำหนักรวม 1,900 กรัม ใช้วัสดุสแตนเลสทางการแพทย์ สามารถปรับความหนืดของการงอขาและปรับสปริงปรับการเหยียดได้ถึง 110 องศา เหมาะสมกับผู้ใช้งานที่พิการขาขาดระดับเหนือเข่านอกรองรับฝ่าเท้าเทียมชนิด SACH foot ซึ่งเป็นเท้าเทียมที่ขึ้นรูปโดยมีการควบคุมขนาดทางวิศวกรรม สามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนแต่ละชิ้นได้ทันทีที่ต้องการและยังพัฒนางานวิจัยกับฟีโป้ (สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม พระจอมเกล้าธนบุรี) โดยในอนาคตจะเป็นการพัฒนาข้อเข่าขาเทียมแบบไฮโดรดริกปรับความหน่วงได้เหมือนของจริง ที่มา : ข้อเข่าขาเทียมไทย จ่อใช้ไฮโดรลิก. บ้านเมือง. (31 ตุลาคม 2555).– ( 150 Views)
วิจัยข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว หาสารสู้มะเร็งปากมดลูก
กรมข้าว วิจัยพันธุ์ข้าวเหนียว “ลืมผัว” หาสารต้านมะเร็งปากมดลูก คาดใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี วันที่ 31 ต.ค. นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ผลงานสำคัญในปี 2555 ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวและเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานด้านการวิจัย และนักวิจัยของกรม ร่วมกันวิจัยข้าวสายพันธุ์ใหม่ๆที่มีความต้านทานโรค แมลง ผลผลิตดี รวมทั้งวิจัยการใช้ประโยชน์จากข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีอยู่นับหมื่นสายพันธุ์ โดยเฉพาะได้จับมือกับสวทช. เนคเทค พัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติดีกว่าข้าวขาวดอกมะลิ105 ที่ได้ชื่อว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่ดีทีสุดในโลก เพื่อให้คงความเป็นผู้นำในตลาดข้าวโลกต่อไป และคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน10 ปี โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วิจัยหาสารต้านมะเร็งปากมดลูกจากข้าวเหนียวพื้นเมืองพันธุ์ลืมผัว และเบื้องต้นคาดว่าจะใช้ระยะเวลาวิจัยประมาณ 1 ถึง 2 ปี จะสามารถนำไปสู่การแปรรูปให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ดีขึ้น– ( 166 Views)
‘รถตัดอ้อย’ฝีมือคนไทย ความสำเร็จที่ส่งออกสู่ตลาดโลก
ปัญหาหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเจริญรุดหน้าไปไม่รวดเร็วเท่าที่ควร คือการขาดการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยงานเอกชนในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเอกชนขนาดเล็กและขนาดกลางยังขาดศักยภาพในด้านการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรมดังกล่าว เป็นผลให้ธุรกิจการผลิตของเอกชนมีข้อจำกัดในด้านความสามารถ ในการปรับปรุงคุณภาพ ผลิตภัณฑ์และการเพิ่มผลผลิต สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัด “โครงการสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรมภาคเอกชน” เพื่อให้ความช่วยเหลือ “เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ” แก่เอกชนในภาคอุตสาหกรรม โดยทางคณะสื่อมวลชนได้เข้าเยี่ยมชม โรงงานห้างหุ้นส่วนจำกัด สามารถเกษตรยนต์ เพื่อดูกระบวนการผลิตรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย และความคืบหน้าของโครงการที่ได้รับการสนับสนุน “เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ” จาก สวทช. พร้อมมอบรถตัดอ้อยฝีมือคนไทยให้แก่ H.E. Mr.Paulo Cesar Meira De Vasconcellos เอกอัครราชทูตสหพันธรัฐบราซิลประจำประเทศไทย เนื่องจากบราซิลเห็นว่ารถตัดอ้อยที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทยนั้น มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับต่างประเทศ แต่ราคากลับถูกกว่า– ( 528 Views)
รายการ ดร.ฮีโร่ : ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์
ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นักเรียนทุน พสวท. ปี 2529 ที่มา : รายการ ดร.ฮีโร่ : ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์. ค้นข้อมูลวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 จาก http://www.scimath.org/index.php?option=com_flexicontent&view=items&id=2261:q– ( 77 Views)
การประเมินวัดความพร้อมของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
e-Government readiness หรือ การประเมินวัดความพร้อมของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จากการสำรวจขององค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้ริเริ่มการสำรวจทางด้านความพร้อมของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นนับแต่ปี 2545 โดยวัตถุประสงค์ของการสำรวจเพื่อ (i)ประเมินเปรียบเทียบความสามารถของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติในการเปลี่ยนแปลงภาครัฐโดยการนำ ICT มาใช้เพื่อให้บริการผ่านสื่อออนไลน์แก่ประชาชน (ii) เพื่อเป็นเครื่องมือในการ benchmark ความก้าวหน้าในการให้บริการ e-Services ของภาครัฐอยู่เป็นระยะ e-Government readiness ประกอบด้วย ดัชนีย่อย 3 ด้าน คือ– ( 83 Views)
e-Readiness ranking คืออะไร
e-Readiness ranking เป็นรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์ของ ICT เพื่อกสรดำเนินธุรกิจ (e-Business) ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รายงานนี้จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี โดย Economist Intelligence Unit การจัดอันดับชึ้นอยู่กับคะแนนเฉลี่ยโดยรวมที่คำนวณจากตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ และปริมาณเกือบ 100 ตัว ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาซึ่งแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีการให้น้ำหนักคะแนนต่างกันตามความสำคัญ ดังนี้ การเชื่อมต่อเครือข่ายและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย นโยบายและวิสัยทัศน์ของรัฐบาล การยอมรับและนำเทคโนโลยีมาใช้ของธุรกิจและผู้บริโภค – ( 84 Views)
Nick Veasey : X-Ray Photographer
อีกหนึ่งมิติของการถ่ายภาพที่ผู้คนอาจไม่เคยเห็น ผลงานเหล่านี้เป็นผลงานของช่างภาพชาวอังกฤษ Nick Veasey ซึ่งเป็น X-Ray Photographer ที่สร้างสรรค์ผลงานน่าสนใจมากมาย ความสุขในการสรรค์สร้างผลงานแลกมากับความเสี่ยงกับรังสี ทุ่มเทจริงๆ ลองมาชมผลงานของเขากันครับ – ( 137 Views)
นวัตกรรมเครื่องตรวจเบาหวาน นักลงทุนจ่อซื้อต้นแบบ 30 ล้าน
ดร.สรวง สมานหมู่ นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยทรัพยากรชีวภาพ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ไบโอเทค สวทช. ผู้วิจัยและพัฒนา กล่าวถึงความคืบหน้าของงานวิจัยว่า กำลังอยู่ในระหว่างหาผู้ลงทุนเชิงพาณิชย์ ซึ่ง ตอนนี้มีติดต่อมาแล้ว 2 ราย แต่อยู่ในระหว่างเจรจา อย่างไรก็ดี ดร.สรวงกล่าวต่อว่า ตนเองอยู่ในระหว่างเสาะหานักลงทุน และยินดีที่จะรับข้อเสนอจากผู้ลงทุน รายอื่น ๆ ที่สนใจจะลงทุนร่วมกัน “โดยการลงทุนศึกษาขั้นต้นในการสร้างโรงงาน ใช้เงินลงทุนราว 200 ล้านบาท เครื่องจักรและวัตถุดิบทุกอย่างสามารถที่จะผลิตในประเทศไทยได้ทั้งหมด จากที่เราดูแล้วมีโรงงานที่จะผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางการแพทย์เพื่อส่งออกอยู่แล้ว” ดร.สรวงกล่าวต่อว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงต้นแบบ ซึ่งมีขนาดเท่า แล็ปทอปหรือคอมพิวเตอร์ขนาดโน้ตบุ๊ก ให้มีขนาดเท่าโทรศัพท์มือถือ และอยู่ระหว่างการพัฒนาตัวเซ็นเซอร์ภายในอุปกรณ์เพื่อใช้ระหว่างที่คนไข้หายใจผ่านเครื่องตรวจเบาหวาน– ( 166 Views)