ขอแสดงความยินดีกับ ดร. พิกุลทอง ขอเพิ่มทรัพย์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ในโอกาสที่ผลงาน “แผ่นแปะสิว Q Acnes” ของท่านได้รับรางวัลผลงานที่น่าลงทุนที่สุด (The most interesting technology for investment) และผลงานที่นำเสนอได้ดีที่สุด (The best presentation) จากงาน NSTDA Investors’ Day 2012– ( 84 Views)
“ไซน์ปาร์ค เฟส 2″ เปิดแล้ว ดัน 150 เอกชน ปักธง “ธุรกิจอาหาร-การแพทย์”
ธุรกิจที่มาจากงานวิจัยและพัฒนา เป็นอีกโมเดลของธุรกิจยุคใหม่ ไม่จำเป็นต้องเริ่มด้วยตัวเงินจำนวนมาก แต่เริ่มต้นที่องค์ความรู้ที่หลากหลาย จนกลายเป็นธุรกิจที่ตอบสนองกับความต้องการของสังคมในอนาคต อุทยานวิทยาศาสตร์ เฟส 2 เป็นพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการที่เน้นการวิจัยและพัฒนา และกำลังจะเริ่มเปิดดำเนินการในกลางเดือนกรกฎาคม 2556 นี้ สำหรับอุทยานวิทยาศาสตร์ เฟส 2 ประกอบไปด้วย 4 ทาวเวอร์ มีพื้นที่ทั้งหมด 20,000 ตารางเมตร จะเริ่มเปิดให้บริการ 2 ทาวเวอร์ก่อน ในเดือนกรกฎาคม 2556 อาคารแรก แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับหน่วยงานของภาครัฐเข้ามาดำเนินการ อาคาร 2 เป็นพื้นที่เปิดให้เอกชนเข้าไปใช้บริการ โดยจะเปิดรับเอกชน 150 ราย เช่าพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตร จนถึง 1,000 ตารางเมตร ตารางเมตรละ 400 บาท มีระยะเวลาสัญญาเช่า 3 ปี ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าของเฟส 2 เกือบสมบูรณ์ 100
ขอแสดงความยินดีกับ ดร.สาทินี ซื่อตรง ได้รับรางวัลทะกุจิ ประเภทวิทยานิพนธ์ดีเด่น ระดับปริญญาเอก ประจำปี 2555
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 ดร. สาทินี ซื่อตรง นักวิจัยห้องปฏิบัติการราวิทยา หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ไบ โอเทค ได้รับรางวัลทะกุจิ ประเภทวิทยานิพนธ์ดีเด่น ระดับปริญญาเอก ประจำปี 2555 จากสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการในระดับโมเลกุลของราทะเลกลุ่มโดทิดิโอไมซีส (Dothideomycetes) – ( 172 Views)
เอ็มเทคส่งมอบซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพรินต์
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค สวทช.) จัดพิธีส่งมอบ “ระบบสนับสนุนทางเทคนิค สำหรับการประเมินและให้เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์ ของผลิตภัณฑ์” ให้กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ประกอบด้วย การเพิ่มจำนวนที่ปรึกษาและผู้ทวนสอบให้เหมาะสม พร้อมทั้งจัดทำ คู่มือสำหรับที่ปรึกษาและผู้ทวนสอบ คู่มือแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ การพัฒนา “ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” หรือ Emission Factor ให้พอเพียงอย่างน้อย 400 ค่า โดยพัฒนาต่อเนื่องจากฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศ ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปช่วยการประเมินฯ อย่างง่ายสำหรับที่ปรึกษาและSMEs การพัฒนาจำนวน “ข้อกำหนดเฉพาะของผลิตภัณฑ์” ระดับประเทศ หรือNational PCR เพิ่มจากเดิมที่มีเพียง National PCR ของกลุ่มข้าว ไก่ และสิ่งทอ โดยในปี 2555 ได้เพิ่ม กลุ่มปศุสัตว์ ผักและผลไม้ การบริการการพิมพ์และโรงแรม การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และวัสดุก่อสร้างเพื่อรองรับโครงการอาคารเขียว ที่มา : เอ็มเทคส่งมอบซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพรินต์. กรุงเทพธุรกิจ. (28 พฤศจิกายน 2555).– ( 117 Views)
‘มหิดล’พัฒนาวัคซีนโรคยุง กันไข้เลือดออก4สายพันธุ์
มหิดลจับมือเอกชนพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคจากยุง ชี้ป้องกันไข้เลือดออกได้ 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียว คาดรู้ผลทดสอบในลิง ธ.ค.นี้เผยกำลังเร่งพัฒนาตัวเชื้อกล้าไข้สมองอักเสบชนิดJapanese Encephalitis เพื่อผลิตวัคซีนด้วย วานนี้ (28 พ.ย.) ที่สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และนายวิฑูรย์ วงศ์หาญกุลกรรมการผู้จัดการบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ร่วมลงนามความร่วมมือการพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ เพื่อต่อยอดพัฒนาผลงานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ได้จริง นพ.รัชตะ เปิดเผยว่า ปัจจุบันนักวิจัยของ ม.มหิดลสามารถพัฒนาเชื้อไวรัสที่นำไปสู่การผลิตวัคซีนได้ แต่ยังติดขัดในเรื่องการผลิตเชิงอุตสาหกรรม จึงต้องมีความร่วมมือดังกล่าว โดยจะมุ่งไปที่การผลิตวัคซีนป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ คือ ไข้เลือดออก และไข้สมองอักเสบโดยเฉพาะไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคที่ไทยพบทุกปี และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน– ( 100 Views)
คู่มือการออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการและคนทุกวัย
“คนพิการ คนชรา สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ มีศักดิ์ศรี ไม่เป็นภาระกับสังคม” จากจำนวนผู้พิการและผู้สูงอายุที่มีมากขึ้น เมื่อรวมกับประชากรเด็ก สตรีมีครรภ์ หรือผู้ทุพพลภาพอื่นๆ แล้วพบว่าในอนาคต ประชากรเหล่านี้ จะมีสัดส่วนรวมแล้วมากกว่าคนทั่วไป การขับเคลื่อนเรื่องสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้พิการและผู้สูงอายุ จึงเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังรณรงค์กันอย่างแพร่หลายสำนักงานส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยวิจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและผู้พิการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำ “คู่มือการออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการ และคนทุกวัย” อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.stks.or.th/th/knowledge-bank/26-ict/3025-universal-design.html– ( 111 Views)
สวทช.เจ๋งต่อยอด RFID ใหม่พลาสติกแทนโลหะลดต้นทุน
สวทช.ไอเดียเจ๋งทำวิจัยต่อยอดผลิตเสาอากาศฉลาก RFID แบบใหม่ พิมพ์จากโพลิเมอร์นำไฟฟ้าและกราฟีนแบบโปร่งใส ช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย หน่วยปฏิบัติการวิจัยนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช.ทำการวิจัยและพัฒนาเสาอากาศของฉลาก RFID (Radio-frequency identication) แบบพิมพ์จากวัสดุใหม่ที่ประกอบด้วยโพลิเมอร์นำไฟฟ้าและกราฟีน (Graphene) แตกต่างจากเสาอากาศแบบเดิมที่ทำจากวัสดุโลหะ เช่น เงินและทองแดง ซึ่งใช้วิธีกัดโลหะ ข้อดีของเสาอากาศแบบใหม่คือสามารถพิมพ์บนผลิตภัณฑ์ที่โค้งงอได้ และมีราคาถูกกว่าฉลาก RFID แบบโลหะมาก วัสดุใหม่จากโพลิเมอร์นำไฟฟ้าและกราฟีน ราคาเพียงกิโลกรัมละ 20,000 บาท น้อยกว่า โลหะเงินที่มีราคากิโลกรัมละ 100,000 บาท ถึง 5 เท่า จึงสามารถช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนได้– ( 234 Views)