ไปน่านครั้งนี้ ไม่ได้ไปทำงานเหมือนการไปครั้งก่อนๆ ไปเที่ยวอย่างเดียวเลยค่ะ แม้ว่าจะมีหลายแห่งได้เคยไปแวะเมื่อตอนมาทำงานบ้างก็ตาม แต่บรรยากาศหรือความดื่มด่ำในการไปก็แตกต่างกัน การไปแวะเที่ยวหลังเลิกภารกิจเมื่อประมาณ ๕ โมงเย็น ก็เป็นบรรยากาศอีกแบบหนึ่ง แต่บรรยากาศของการตั้งใจไปเที่ยว ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง วัดภูมินทร์ เป็นวัดแรกที่ได้ไปเยือนอีกครั้งหนึ่ง วัดภูมินทร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๓ บ้านภูมินนทร์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เป็นวัดหลวง มีลักษณะแตกต่างจากวัดอื่นๆ คือ มีพระวิหารกับพระอุโบสถอยู่ร่วมกัน เป็นอาคารทรงจตุรมุข มีทางเข้าออกทั้ง ๔ ด้าน ที่บันไดทางด้านเหนือและใต้ประดับตัวนาคตามคตินิยมแบบเหนือ วัดภูมินทร์มีปรากฏอยู่ในธนบัตรหนึ่งบาท ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ และเลิกใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ ทางวัดได้จำลองและทำเป็นธนบัตรขวัญถุง จำหน่ายให้ผู้คนที่มาเที่ยว ได้เคยซื้อไว้เมื่อเคยมาเที่ยววัดนี้ในครั้งแรกๆ ในภาพจะเห็นรูปวัดภูมินทร์อยู่ทางซ้ายของธนบัตร ส่วนทางขวามือเป็นพระฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ภายในตัวอาคารประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ๔ องค์ ประทับนั่งปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ หันพระพักตร์ออกสู่ทิศทั้งสี่ตรงตามช่องประตู หันพระปฤษฎางค์ชิดกับองค์เจดีย์ซึ่งอยู่ตรงกลางของตัวอาคาร ภายในพระวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง คันธนกุมารชาดก ที่เขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ.
บทบาทใหม่ของการบริการข้อมูลวิจัย (Research Data) และแผนการจัดการข้อมูล (Data Management Plan)
มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (The US National Science Founsation : NSF) ได้มีข้อเสนอกำหนดให้ผู้ขอทุนวิจัยต้องเสนอแผนการจัดการข้อมูล (Data Management Plan : DMP) ซึ่งถือว่าแผนการจัดการจัดข้อมูลเป็นความรับผิดชอบของผู้ขอทุนวิจัย อ่านรายละัเอียดเพิ่มเติม– ( 116 Views)
ปลาไหลสวนลายจุด
ปลาไหลสวนลายจุด เห็นตอนแรก ตอนแรกไม่ทราบว่าเป็นปลาไหล เพราะดูไม่น่าเกลียดเหมือนปลาไหลตัวโต ปลาไหลสวนลายจุด โผล่ออกมาจากพื้นทรายใกล้กับแนวปะการัง พริ้วไหวร่างกายไปมา เหมือนเต้นรำกันอย่างพร้อมเพรียง เวลาหากิน จะโผล่จากพื้นทราย 2 ใน 3 ของความยาวลำตัว และจะหลบอย่างรวดเร็วโดยการฝังตัวแทรกในพื้นทรายเมื่อถูกรบกวน ปลาไหลสวนลายจุด (Spotted Garden Eel) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Heteroconger hassl ดูความน่ารักของปลาไหลสวนลายจุด นะคะ – ( 391 Views)
ปลาหิน
ดูดีๆ หินหรืออะไรเนี่ย แท้จริงแล้วเป็นปลาค่ะ พอจะมองออกแล้วหรือยังคะ ตรงไหนเป็นปลา ส่วนไหนของภาพเป็นหิน ที่เรียงกันด้านหน้าเป็นปลาหิน เพราะลักษณะที่ดูเหมือนก้อนหินนี่เอง จึงได้ชื่อว่า ปลาหิน ปลาหินมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Synanceia verrucosa มีความยาวสูงสุด 35 เซนติเมตร ปลาิหินเป็นปลาที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลกเก็บพิษไว้ในก้้านครีบบนหลัง– ( 108 Views)
ความเสี่ยงในห้องสมุด
ลองมาสำรวจห้องสมุดของเรานะคะว่า อะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยง เพราะถ้าห้องสมุดทราบว่าอะไรเป็นความเสี่ยง จะได้หาวิธีในการบริหารความเสี่ยง ลดความเสี่ยงลง หรือถ้าไม่สามารถลดหรือป้องกัน หรือรายการนั้นๆ มีความเสี่ยงสูง อาจจะต้องถึงขั้นการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ หรือ Business Continuity Planning (BCP) เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป รายการความเสี่ยงที่รวบรวมมานี้ ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นความเสี่ยงของทุกห้องสมุด หรือจะมีผลกระทบอยู่ในระดับเดียวกันนะคะ รวมทั้งเหตุผลกระทบ หรือเหตุผลของความเป็นปัจจัยเสี่ยง ก็คงจะขึ้นอยู่กับแต่ละห้องสมุด เช่นเดียวกัน ตัวอย่างรายการความเสี่ยงที่ยกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ อาจจะมีมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับห้องสมุดแต่ละแห่ง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม – ( 677 Views)
การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจของห้องสมุด
ห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่มีทรัพย์สินในรูปของทรัพยากรสารสนเทศ จำเป็นต้องตระหนักถึงเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมของห้องสมุด เหตุการณ์ดังกล่าว หมายรวมถึง เหตุการณ์อันเกิดอย่างไม่คาดฝัน ที่อาจเกิดจากธรรมชาติ เช่น พายุเฮอริเคน น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุทราย เป็นต้น หรือจากกระทำของมนุษย์ เช่น การจลาจล การก่อการร้าย ไฟไหม้ สารเคมีรั่วไหล ท่อน้ำแตกเป็นต้น ล้วนแต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และจบลงภายในเวลาไม่นานนัก แต่ส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นที่ห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ ควรหาทางรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม – ( 113 Views)
มาตรฐานสากลประจำเอกสารดิจิทัลและการอ้างถึงข้อมูลวิจัย
การอ้างถึงข้อมูลวิจัย (Research Data Citation) มีความสำคัญ ที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยนั้นได้ ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลนี้ทำได้โดยใช้มาตรฐานการอ้างถึง โดยเฉพาะถ้าเป็นเอกสารดิจิทัลที่ต้องการใช้งานในระยะยาวควรมีการอ้างถึงโดย ระบุตัวบ่งชี้ถาวรที่เรียกว่ามาตรฐานสากลประจำเอกสารดิจิทัลหรือรหัสดีโอไอ ( Digital Object Identifier : DOI ) การอ้างถึงข้อมูล(data citation) หมายถึง การใช้รายการบรรณานุกรมเพื่อระบุที่มาของข้อมูลต้นฉบับที่ช่วยให้ผู้ใช้ ข้อมูลหรือนักวิจัยสามารถนำข้อมูลวิจัย(research data)มาใช้ประโยชน์ โดยทำให้การเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้นและสะดวกตามมาตรฐานสากล องค์ประกอบของข้อมูลการอ้างถึงที่ใช้เพื่อการอ้างถึง ประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ปีที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ครั้งที่พิมพ์ ข้อมูลการเข้าถึงเช่น URL, ตัวบ่งชี้อื่นๆ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม– ( 119 Views)