มีการรวบรวมห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่น่าอัศจรรย์ที่สุดในโลก จำนวน 50 แห่ง โดยเป็นของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ มีหลายรัฐติด 1 ใน 50 แห่งนี้ด้วย นอกนั้นจะมี สหราชอาณาจักร สเปน เยอรมัน และอียิปต์ ที่มีจำนวน 2-3 แห่ง ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น แคนาดา เม็กซิโก และในฝั่งยุโรป ได้แก่ ไอร์แลนด์ อิตาลี ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ ฮังการี กานา ในเอเชีย มีญี่ปุ่น และ มาเลเซีย ติดมาประเทศละ 1 แห่ง ห้องสมุดทั้ง 50 แห่ง ได้แก่ – ( 272 Views)
การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เกิดขึ้นจากทบวงมหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ให้ความสนใจในการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ด้วยตระหนักว่า ห้องสมุดเป็นหัวใจของกิจกรรมทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา ถ้าจะพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้สามารถที่จะทำภารกิจทางวิชาการได้อย่างเต็มที่ ก็จำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบงานห้องสมุดให้มีความเข้มแข็ง มีขีดความสามารถที่จะเสริมสนองบริการด้านต่างๆ ที่สถาบันอุดมศึกษาจะทำ คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ได้ถือเป็นหน้าที่หลักในการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุด โดยกิจกรรมอย่างหนึ่งคณะอนุกรรมการฯ จัดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ การประชุมประจำปี เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ รายงานความก้าวหน้าในงานอาชีพบรรณารักษ์และสารนิเทศ ตลอดจนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ และเพื่อเปิดโอกาสให้บรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการนำวิธีการต่างๆ มาใช้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างกว้างขวางและใกล้ชิดยิ่งขึ้น รวมทั้งพิจารณา ทบทวนความร่วมมือที่ได้กระทำอยู่ อภิปรายถึงปัญหา อุปสรรคและข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันพิจารณาหาทางแก้ไข (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2528 ; นวนิตย์ อินทรามะ, 2529) การจัดสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เริ่มต้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2522 โดยมีห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพในการจัดงานร่วมกับคณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ต่อมาเป็นคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา) อ่านรายละเอียดของลำดับการจัดงาน – ( 75 Views)
Open Archival Information System (OAIS) : ระบบสารสนเทศจดหมายเหตุแบบเปิด
Open Archival Information System Reference Model หรือ OAIS Reference Model พัฒนาโดย The Consultative Committee for Space Data Systems (CDSDS) เป็นกรอบแนวความคิด (conceptual framework) เพื่ออธิบายคุณลักษณะที่จำเป็นของระบบสารสนเทศจดหมายเหตุ ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกในการจัดทำมาตรฐานอย่างเป็นทางการสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศในระยะยาว (Long –term archiving) กับข้อมูลทางอวกาศ คำว่า Open Archival Information System หรือ ระบบสารสนเทศจดหมายเหตุแบบเปิด บางครั้งอาจสร้างความเข้าใจผิดได้ จากคำว่า “Open” เพราะว่า “Open” ในที่นี้ หมายถึง การพัฒนา คำแนะนำ และมาตรฐาน ที่ถูกสร้างขึ้นในกลุ่มที่มีความสนใจเดียวกันอย่างเปิดเผย แต่ไม่ได้หมายความว่า การเข้าถึงระบบนั้นจะไม่มีการจำกัด กล่าวได้ว่า OAIS คือ ระบบจดหมายเหตุที่ประกอบด้วย กลุ่มคนและระบบ ที่ได้ทำข้อตกลงและรับผิดชอบร่วมกันในการสงวนรักษาสารสนเทศ และทำให้สามารถเข้าถึงได้ในกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย
AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)
AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury) เป็นอีกหัวข้อหนึ่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) เป็นการบรรยายวันที่ 31 มีนาคม 2556 เวลา 13.30-15.30 น. เนื่องจากในระยะเวลาเพียง 3 ปี ต่อจากนี้ ไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) บุคลากรในสาขาต่างๆ จะมีทางเลือกในการทำงานอย่างเปิดกว้าง กระแสของการหมุนเวียนแรงงานจะเปิดกว้างมากขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน ทุกภาคส่วนจะต้องมีกลยุทธ์ในการจูงใจและรักษาคนเก่ง แรงงานก็ต้องพัฒนาตนเองและสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและองค์กร เพื่อรักษางาน และสร้างจุดแข็งให้สามารถแข่งขันกับแรงงานจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศได้ การนำเสนอประสบการณ์ด้านการพัฒนากำลังคนของประเทศของวิทยากรในหัวข้อนี้ เพื่อสร้างความตระหนักด้านกำลังคนด้าน ว และ ท คุณลักษณะเด่นของ Talent บุคลากรคุณภาพภายในองค์กร การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ
สถาปนิกอาเซียน
สภาสถาปนิก ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมสภาสถาปนิกแห่งอาเซียน ได้รวบรวมข้อมูลในส่วนของประเทศไทยที่มีการผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และตลาดวิชาชีพผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรมภายใต้กรอบ AFAS (ASEAN Framework Agreement on Service) หรือ กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน ซึ่งมีการกำหนดให้เปิดตลาดการค้าบริการให้เป็นตลาดการค้าบริการที่เสรีและเป็นตลาดเดียวภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) และยอมรับร่วมกันของอาเซียนด้านการบริการสถาปัตยกรรม (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Architectural Services: MRAs) เพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษา ประสบการณ์การทำงานวิชาชีพสถาปัตยกรรม ในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นมาตรฐานเพื่อให้สถาปนิกในกลุ่มประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ทั้งนี้ ติดตามข้อมูลรายละเอียดของสภาสถาปนิกแห่งอาเซียน (ASEAN Architect Council – AAC) ได้ที่ http://www.aseanarchitectcouncil.org/about.html และติดตามข้อมูลของสภาสถาปนิก ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และตลาดวิชาชีพผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรม ได้ที่ http://www.act.or.th/th/asean_architect/– ( 133 Views)
สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly – AIPA)
เดิมชื่อว่า องค์การรัฐสภาพอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Organization – AIPO) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2520 เพื่อสร้างความร่วมมือของรัฐสภาแห่งชาติในอาเซียนให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเมื่อการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การรัฐสภาอาเซียนครั้งที่ 27 ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีการเปลี่ยนชื่อจากองค์การรัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Organization – AIPO) มาเป็นสมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly – AIPA) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร และบูรณาการการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติให้มีรูปธรรม ตลอดจนยกระดับความร่วมมือระหว่างรัฐสภาในประเทศสมาชิกอาเซียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นปรับปรุงโครงสร้างการทำงานขององค์กร เพิ่มช่องทางการทำงานร่วมกันกับ ASEAN โดยการแลกเปลี่ยนการเข้าร่วมประชุมระหว่างประธาน AIPA และประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน และให้อำนาจกับที่ประชุมสมัชชาใหญ่ในการริเริ่มการจัดทำกฎหมายในประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสนใจร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ติดตามความกิจกรรมความเคลื่อนไหวได้ที่ http://www.aipasecretariat.org/ และ http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=14330&filename= – ( 153 Views)
ศูนย์สารสนเทศอาเซียน มรภ. มหาสารคาม
ศูนย์สารสนเทศอาเซียน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ASEAN Information Center, Rajabhat Mahasarakham University) ให้บริการสารสนเทศอาเซียน เพื่อให้ความรู้ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับโรงเรียน สถานศึกษา ซึ่งสามารถนำไปเป็นต้นแบบในกรจัดทำศูนย์อาเซียนศึกษาได้ ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วยเอกสารข้อมูล นิทรรศการ และสื่อต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งสารสนเทศอาเซียนอื่นๆ และที่ทางศูนย์ฯ พัฒนาขึ้นเอง สามารถเข้าถึงสารสนเทศและกิจกรรมของศูนย์ฯ ได้ที่ http://arcm.rmu.ac.th/~asean/asean_web/home.php – ( 155 Views)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ด้านวัฒนธรรมอาเซียน
ท่านที่สนใจวัฒนธรรมอาเซียน สามารถติดตามอ่านได้จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่กระทรวงวัฒนธรรมเผยแพร่ไว้ที่ http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=3561 มีจำนวน 64 รายการ จากรูปเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน แหล่งที่มา: กระทรวงวัฒนธรรม– ( 195 Views)