magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by supaporn (Page 9)
formats

หอการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน

ติดตามข้อมูลของหอการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้ที่ http://www.nccibd.com/  (บรูไน) http://www.umfcci.com/ (พม่า) http://www.lncci.laotel.com/ (ลาว) http://www.philippinechamber.com/ (ฟิลิปปินส์) http://www.thaichamber.org/ (ไทย) http://www.ppcc.org.kh/ (กัมพูชา) http://www.kadin-indonesia.or.id/ (อินโดนีเซีย) http://www.micci.com  (มาเลเซีย) http://www.sicc.com.sg/ (สิงคโปร์) http://www.vcci.com.vn/ (เวียดนาม) แหล่งอ้างอิง: หอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทย. http://www.thaichamber.org/scripts/aec.asp      – ( 163 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ปี 56 ไทยเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ที่มีประชากรสูงวัย

คำว่า “สังคมสูงวัย” พิจารณาได้จากประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่มีมากกว่าร้อยละ 7 และหากมีมากกว่า ร้อยละ 14 เรียกได้ว่าเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” และ ถ้ามีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 จัดว่า เป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในปี พ.ศ. 2556 พบว่า ประเทศสิงคโปร์แก่ที่สุดในอาเซียน คือ ร้อยละ 12 รองลงมาคือ ไทย ร้อยละ 11 และเวียดนาม ร้อยละ 7 และในอีก 30 ปีข้างหน้า คือ ปี พ.ศ. 2583 ทั้ง 3 ประเทศจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด รายการอ้างอิง: ศุทธิดา ชวนวัน. ประชากรสูงวัยในอาเซียน. ประชากรและการพัฒนา 33,4 (เม.ย.-พ.ค. 56) : 11. [ออนไลน์] : www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Happinometer เครื่องมือวัดความสุข กับรายงานความสุขคนทำงานในประเทศไทยปี พ.ศ. 2555

ผลการสำรวจความสุขคนทำงานในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555 โดยเครื่องมือ Happinometer ซึ่งแบ่งเป็น 2 รอบ คือ รอบแรก (ระหว่างเดือน มกราคม-มิถุนายน 2555) และ รอบหลัง (ระหว่างเดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) ผลสำรวจความสุขคนทำงานไทยทั้ง 2 รอบ แสดงให้เห็นว่า ความผ่อนคลาย ความสุขในด้านการเงิน และความสุขใจครอบครัว คือ มิติที่คนทำงานไทยในปัจจุบัน ต้องการให้เกิดการพัฒนาสร้างเสริมอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดเป็นความสุขที่ยั่งยืน รายการอ้างอิง ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต. Happinometer: รายงานผลการสำรวจความสุขคนทำงานในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555. ประชากรและการพัฒนา 33,4 (เม.ย.-พ.ค. 56) : 5 [ออนไลน์] : www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2556.– ( 148 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนของภาคการเกษตร (Towards ASEAN Community 2015 of Agricultural Sector)

การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ. 2015) นั้น สามารถส่งผลดีและผลกระทบต่อภาคการเษตร เพื่อรัษาภาคการเกษตรของไทย เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส หรือสร้างโอกาสในการขยายการดำเนินการธุรกิจไปยังประเทศสมาชิก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเตรียนความพร้อมภาคการเกษตรสู่ประชาคมอาเซียน ขึ้น เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเร่งรัดให้มีความพร้อมของภาคการเกษตรเร็วยิ่งขึ้น และได้มีการจัดทำเว็บไซต์ “ก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนของภาคการเกษตร”นี้ เพื่อเผยแพร่่ข้อมูลและกิจกรรมตามนโยบายดังกล่าว โดยสามารถติดตามได้ที่ http://moac2aec.moac.go.th/main.php?filename=index ผู้ที่จะได้รับผลดีและผลกระทบต่อภาคการเกษตร ตั้งแต่ระบบงานของรัฐ ระบบการผลิต ผลผลิต และสินค้าการเกษตรของเอกชนจนถึงเกษตรกรและผู้บริโภค น่าจะได้ติดตามอ่าน เพื่อจะได้รับทราบและเข้าใจถึงขั้นตอน กระบวนการ รายละเอียด ความท้าทาย และโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน – ( 113 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ASEAN Intellectual Property Rights Actions Plan 2011-2015

ASEAN Intellectual Property Rights Actions Plan 2011-2015 (by ASEAN Working Group on Intellectual Property Cooperations: AWGIPC  and printed by Department of Intellectual Property of Thailand) compiles the background and concept of the ASEAN IPR Action Plan 2011-2015 and the resulting 28 Work Plans under the said action plan.– ( 309 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน

การสัมมนา เรื่อง สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน (Inclusive Society by Universal Design : New Challenge in AEC) วันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น เน้นที่การคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อเสริมการออกแบบที่เป็นสากล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ ผลิตภัณฑ์ การบริการสาธารณะ และข้อมูลข่าวสารสำหรับทุกคน วิทยากรประกอบด้วยกลุ่มตัวแทนจากผู้ใช้ กลุ่มผู้ให้บริการ และนักวิจัย จากการเสวนาในครั้งนี้ หวังว่าจะช่วยให้ทราบถึงสถานภาพของความเป็นจริงของสังคมในปัจจุบัน และโอกาสของความเป็นไปได้ที่จะทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะพัฒนาเทคโนโลโยีเพื่่อช่วยแก้ปัญหาสำหรับทุกคนให้มีชีวิตอย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีโดยที่ไม่เป็นภาระ เทคโนโลยีจะไม่เป็นสิ่งกีดขวางผู้ใด เทคโนโลยีจะสร้างสังคมที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีจะช่วยสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข การจะก่อให้เกิดสังคมอยู่ดีนั้น ต้อง มีความเสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ ต้องส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค และหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ คำนึงถึงการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ –

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

ยุงชุม วิทยาศาสตร์ช่วยได้อย่างไร

จากการบรรยายเรื่อง ยุงชุม วิทยาศาสตร์ช่วยได้อย่างไร วันที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั้น โดยวัตถุประสงค์ของการบรรยายในหัวข้อนี้ เพื่อมุ่งเน้นเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมประชากรยุง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฟังสามารถนำความรูัที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การบรรยายแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรก เป็นเรื่อง “บทบาทของวิทยาศาสตร์ต่อการลดโรคนำโดยยุง” (โดย น.พ. วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)  ช่วงที่สอง เป็นเรื่อง “การใช้สารเคมีควบคุมยุง” (โดย รศ. ดร. นฤมล โกมลมิศร์ จากภาควิชากีฏวิทยาทางการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล) และช่วงที่สาม เป็นเรื่อง “แบคทีเรียปราบลูกน้ำยุง ความเป็นมาและแนวทางการพัฒนา” (โดยวิทยากร 2 ท่าน คือ ศ.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กลยุทธ์ การคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรม (Creative Innovation Thinking)

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา ทางอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ร่วมกับ ชมรมผู้เช่าอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  ได้จัด  TSP Talk เรื่อง “กลยุทธ์ การคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรม : Creative Innovation Thinking” โดย อาจารย์ ดร. ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร. ภูมิพร ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม หรือ Innovation เป็นสูตรจำง่ายๆ ว่า Idea + Know how = Innovation ดังนั้น เวลาที่จะทำอะไร ต้องเห็นภาพรวม เห็น output สุดท้าย แล้วถึงวางแผนว่าจะต้องเตรียมอะไร ทำอะไรบ้าง ใส่อะไรเข้าไปจึงจะบรรลุภาพรวมหรือ output สุดท้ายนั้นๆ จะเห็นได้ว่า บริษัทที่สามารถดำเนินกิจการอยู่ได้นั้น มีการทำวิจัยและพัฒนาหรือ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Overview of Information Literacy Resources Worldwide

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) หรือ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)  ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทในการสร้างความตระหนักในการเรียนรู้ การรู้สารสนเทศ (Information Literacy – IL) ได้จัดทำหรือรวบรวมสารสนเทศสำคัญทาง IL ขึ้นจากแหล่งสารสนเทศ IL ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก  ภายใต้ชื่อว่า “Overview of Information Literacy Resources Worldwide” ซึ่งมีประโยชน์สำหรับการศึกษา การวิจัย และเป็นการสร้างความตระหนักให้เกิดกับคนทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายพื้นฐานและเชื้อชาติ ท่านที่สนใจติดตามอ่านได้ที่ http://www.unesco.org/new/fileadmin/MULTIMEDIA/HQ/CI/CI/pdf/news/overview_info_lit_resources.pdf – ( 48 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รู้จักกับ AEC ในมุมมองด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. หรือ NAC2013 ภายใต้หัวข้อ “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) นั้น นอกจากหัวข้อการสัมมนา การบรรยาย การเสวนา ที่น่าสนใจร่วม 46 หัวข้อแล้ว ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดงานประชุมวิชาการฯ นี้ ได้เผยแพร่หนังสือ เรื่อง “รู้จักกับ AEC ในมุมมองด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลในระดับมหภาคที่สำคัญ คือ (จากส่วนหนึ่งของคำนำ) ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบที่แสดงถึงระดับการพัฒนาและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ข้อมูลทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับกลุ่มประเทศคู่ค้าหลัก รวมถึงข้อมูลการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับสมาชิกอาเซียน ขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศสมาชิกอาเซียนในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านทรัพยากรที่จำเป็นต่อการวิจัยและพัฒนา อันได้แก่ ค่าใช้จ่ายและบุคลากรด้านวิจัยและพัฒา หรือผลผลิตในรูปแบบของบทความ ลิขสิทธิ์ การส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูง การขับเคลื่อนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกันของกลุ่มประเทศอาเซียน ภายใต้กลไกของอาเซียนที่นำมาสู่ Krabi Initiative รวมถึงข้อตกลงด้านอื่นๆ ที่มีนัยสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ท่านที่สนใจติดตามวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ AEC สามารถหาอ่านจากหนังสือนี้ได้– (

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments