บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ศูนย์กลางพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเยาวชน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อ “บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร” เพื่อเป้นสถานที่ฝึกฝนและบ่มเพาะเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน โดยเชื่อมโยงเนื้อหาของกิจกรรมกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ สวทช. มีความเชี่ยวชาญ ด้วยรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ ค่ายวิทยาศาสตร์ การฝึกอบรมเฉพาะทาง นอกจากการจัดกิจกรรมวิชาการแล้ว บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ยังให้บริการสถานที่ด้วยห้องประชุมขนาดใหญ่ พร้อมอุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เยี่ยมบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรได้ที่ http://nstda.or.th/ssh/ สอบถามข้อมูลด้านกิจกรรมวิทยาศาสตร์ได้ที่ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 10210 โทรศัพท์ : (02) 529 7100 แฟกซ์ : (02) 529 7147– ( 24 Views)
เปิดบ้าน สวทช. ปีที่ 2
กิจกรรมเยี่ยมชมสำหรับภาคเอกชน: เปิดบ้าน สวทช. ปี 2 ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน 2557 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี กิจกรรมเยี่ยมชมสำหรับภาคเอกชน หรือ เปิดบ้าน สวทช. ปี 2 (Open NSTDA) เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อเป็นการเปิดให้ภาคธุรกิจหรืออุตหสาหกรรมที่สนใจ ได้เยี่ยมชมห้องปฎิบัติการวิจัยและห้องปฎิบัติการทดสอบ ของ สวทช. รวมถึงบริษัทผุ้เช่าและพันธมิตรของ สวทช. ที่พร้อมรับโจทย์และช่วยแก้ปัญหาให้แก่ภาคอุตสาหกรรม ด้วยการใช้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการยกระดับคุณภาพของสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เส้นทางการเยี่ยมชมสำหรับภาคเอกชน: เส้นทางการเยี่ยมชมห้องปฎิบัติการใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม วันละ 11 เส้นทางดังนี้ 1. กลุ่มธุรกิจอาหารและเกษตรกรรม (Food & Agricultural) จำนวน 6 เส้นทาง แบ่งเป็น 1.1 อาหาร/อาหารแปรรูป จำนวน 2 เส้นทาง
มหกรรมรับสมัครงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2557
พบกับบูธรับสมัครงานจากองค์กรภาครัฐและเอกชนชั้นนำกว่า 40 บูธ และตำแหน่งงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่า 2,000 อัตราในงาน “มหกรรมรับสมัครงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2557” ระหว่างวันที่ 1 – 3 เมษายน 2557 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ภายในงานจะได้พบกับบูธรับสมัครงานจากองค์กรภาครัฐและเอกชนชั้นนำกว่า 40 บูธ และตำแหน่งงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่า 2,000 อัตรา อาทิ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย วิศวกร นักวิเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญ โปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์/เว็บไซต์ ช่างเทคนิค และสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีบูธทุนการศึกษาจากหน่วยงานภาครัฐ ที่ยินดีแนะแนว และให้คำปรึกษา ไขปริศนาให้ทุกคำตอบ พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรมของบริษัท/หน่วยงานที่ร่วมออกบูธรับสมัครงาน เพื่อรับรางวัลและของที่ระลึกมากมาย ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และ รับของที่ระลึกได้ที่ http://www.nstda.or.th/nac2014 สามารถดาวน์โหลดใบสมัคร (1 ใบสมัคร
การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors)
หลายท่านคงจะได้เคยยินข่าวการลอกผลงานของคนอื่น มาเป็นส่วนหนึ่งของผลงานตนเอง ซึ่งก็จะมีผลต่อตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือการดำรงตำแหน่ง หรือการเพิกถอนใบรับรองการสำเร็จการศึกษา ในอดีตไม่สามารถที่จะตรวจสอบการคัดลอกผลงานได้อย่างรวดเร็ว หรือชัดแจ้งมากนัก แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน กระบวนการตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถตรวจสอบการคัดลอกผลงานได้สะดวกขึ้น สามารถที่จะสกัดพฤติกรรมการคัดลอกผลงานของคนอื่น และส่งผลให้การผลิตผลงานทางวิชาการในระดับต่างๆ ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยได้มีการนำโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานมาใช้ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา และมีแผนจะนำไปใช้กับการพิจารณาการให้ทุนวิจัย การพิจารณาผลงานทางวิชาการ โดยมีการพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวจากจาก 3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลโยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อสัมมนานี้จะช่วยให้เห็นพัฒนาการของการพัฒนาโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกความเหมือน และความแตกต่างของแต่ละโปรแกรม ตลอดทั้งความเหมาะสมในการนาไปใช้ในแต่ละหน่วยงาน พบกับการบรรยายเต็มได้ในงาน NAC2014 ในหัวข้อการบรรยายเรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors) วันที่ 2 เมษายน 2557 เวลา 13.00น.-16.00น. ณ อาคารศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ห้อง CC308 ลงทะเบียน และ สำรองที่นั่งได้ที่ ลงทะเบียน รายละเอียดเพิ่มเติม http://nstda.or.th/nac2014/download/seminar/new/CC-308-02-PM.pdf– ( 9 Views)
พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน โครงการวิจัยกับ CERN
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นความสำคัญของการ ศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงทรงมีพระราชดำริเกิดเป็นโครงการต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งการจัดส่งนักศึกษาและนักวิจัยชาวไทยไปร่วมงานกับหน่วยงานสำคัญๆ ระดับโลก หน่วยงานหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ “CERN” CERN : The European Organization for Nuclear Research หรือ องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป องค์การนี้เองที่วิจัยจนได้พบหลักฐานที่ว่าอนุภาคฮิกมีอยู่จริงทำให้นักวิจัย 2 ท่านคือ ศ.ดร.ปีเตอร์ ฮิกส์ (Peter Higgs) และ ศ.ดร.ฟรองซัวส์ อองแกลร์ด (François Englert) ที่ทำนายเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อ 50 ปีก่อน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีที่ผ่านมา วันที่ 10 ตุลาคม 2556 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามความร่วมมือติดตั้งและใช้งานเครือข่าย Grid Computing ระหว่าง สวทช. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยผู้บริหารสูงสุดของ CERN ได้เดินทางมาลงนามด้วยตนเอง โครงการนี้ช่วยให้นักวิจัยไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลการทดลองของ
ผักพื้นบ้าน…ต้านมะเร็ง
อาหาร ถ้าบริโภคถูกหลักถือได้ว่าเป็น “ยาขนานเอก” ที่ช่วยในการบำรุงรักษาร่างกายให้มีภาวะสมดุล เมืองไทยเป็นประเทศที่เรียกได้ว่าโชคดีเป็นที่สุดที่มีผักพื้นบ้านหรือผักริมรั้วที่สามารถกินเพื่อเป็นยาได้อย่างหลากหลาย ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะได้จัดทำ Infographic แนะนำผักพื้นบ้านไทยที่มีสรรพคุณในการช่วยต้านมะเร็ง หากสามารถรับประทานได้เป็นประจำร่างกายก็จะสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี ผักพื้นบ้านที่แนะนำให้บริโภคเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันช่วยต้านมะเร็ง ได้แก่ เห็ด มีสรรพคุณ เพิ่มภูมิคุ้มกันลดเซลล์มะเร็ง กระเทียม มีสรรพคุณ ยับยั้งการเติบโตของมะเร็งในกระเพาะอาหาร ผักจำพวกกะหล่ำ มีสรรพคุณ ช่วยต้านมะเร็งต่อมลูกหมากและอื่นๆ ถั่ว มีสรรพคุณ ลดการเกิดมะเร็งที่ต่อมลูกหมาย ขิง มีสรรพคุณ ช่วยป้องกันมะเร็ง มะเดื่อหวาน มีสรรพคุณ ฆ่าแบคทีเรียและทำให้เซลล์มะเร็งลดลง ขมิ้นชัน มีสรรพคุณ ป้องกันมะเร็งลำไส้, ลำไส้ใหญ่ พริก มีสรรพคุณ ลดการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร มะละกอ มีสรรพคุณ ยับยั้งการเกิดมะเร็งปากมดลูก แหล่งที่มา : “หมอยาเภสัช ร้านยาประจำบ้านคุณ : ผักพื้นบ้านไทยต้านมะเร็งได้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : https://www.facebook.com/tonydrugstore– (
พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน การพัฒนาพันธุ์ข้าว
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นอาหารหลักของคนไทย ข้าวจึงเปรียบเสมือนเป็นหัวใจของประเทศไทย แต่ในการปลูกข้าวนั้นก็ยังมีอุปสรรคมากมาย ทั้งจากภัยธรรมชาติ จากโรค และแมลงศัตรูพืช ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมาโดยตลอด เช่น การเข้าร่วมการวิจัยจีโนมข้าวกับทีมวิจัยจากนานาชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ทำให้ทราบถึงข้อมูลพันธุกรรมจนทำให้สามารถปรับปรุงจนได้พันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม ทนดินเค็ม ทนแล้ง และต้านทานโรค เช่น โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และต้านทานแมลง เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นต้น เพื่อให้อุตสาหกรรมข้าวมีความเข้มแข็งและยั่งยืน สวทช.ได้จัดทำกรอบยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวปี พ.ศ.2554-2559 ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องพันธุ์ข้าวแล้วยังครอบคลุมไปถึงเรื่องเทคโนโลยีการแปรรูประบบโลจิสติกส์ การกีดกันทางการค้า และสิ่งแวดล้อมด้วย งานวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จึงมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนหัวใจของชาติ คือ ข้าว อย่างครบวงจร – ( 20 Views)
พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ปราบหนอนกระทู้หอมโดยไม่ใช้สารเคมี
หนอนกระทู้หอมเป็นศัตรูพืชตัวแสบที่ทำลายพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยหลายชนิด เกษตรกรไทยยังนิยมใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช เพราะสะดวกและเห็นผลได้อย่างรวดเร็ว แต่ผลที่ตามมาคือสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผัก การใช้สารเคมีกำจัดหนอนกระทู้หอมพบว่า หนอนกระทู้หอมจะเกิดการดื้อยามากขึ้นเราจึงต้องเปลี่ยนไปใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์แรงขึ้น และการใช้สารเคมีในปริมาณที่มากขึ้นนี้ทำให้มีต้นทุนเพิ่มมากขึ้นและยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีกด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ กรมวิชาการเกษตร จึงได้แนะนำเกษตรกรให้หันมาใช้ชีวินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชทดแทนการใช้สารเคมี โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นเชื้อไวรัส NPV ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าหนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะสมอฝ้าย เท่านั้น ซึ่งสารชีวินทรีย์นี้จะไม่เป็นพิษและอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หลังจากฉีดไว้รัส NPV ที่ต้นพืชแล้วหนอนกินพืชเข้าไปไวรัส NVP จะเข้าไปทำลายอวัยวะภายในของหนอนจนทำให้หนอนป่วยและค่อยๆ ตายลง ผลงานการวิจัยของ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมวิชาการเกษตร ติดตามรายการ พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ย้อนหลังได้ที่ http://nstdachannel.tv/– ( 73 Views)
โคลัมเบียผลิต “รองเท้าตรวจจับระเบิด”
ปัญหาความขัดแย้งยาวนานหลายสิบปีในโคลอมเบีย ส่งผลให้ปัจจุบัน พื้นที่เกือบทั่วประเทศ ต้องตกอยู่ภายใต้อันตรายจากมหันตภัยร้ายใต้พื้นดินอย่างกับระเบิด ซึ่งคร่าชีวิตผู้คน หรือทำให้ผู้เคราะห์ร้ายต้องเสียแขนขารวมกันหลายร้อยคนต่อปี ด้วยเหตุนี้ บรรดานักออกแบบในโคลอมเบียจึงร่วมกันจัดตั้งโครงการ “SaveOneLife” ขึ้นมา เพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับแก้ไขปัญหาดังกล่าว นายโฮเซ่ อีบาน เปเรซ ผู้อำนวยการฝ่ายครีเอทีฟ ของลีเมอร์ สตูดิโอ ดีไซน์ เปิดเผยว่า ล่าสุด นักออกแบบของโครงการ SaveOneLife สามารถคิดค้นพื้นรองเท้าอัจฉริยะ ซึ่งสามารถตรวจจับกับระเบิดได้ภายในรัศมี 2 เมตร เนื่องจากพื้นรองเท้าดังกล่าวมีแผ่นตรวจจับวัตถุโลหะบางๆ ติดตั้งอยู่ภายใน การทำงานของพื้นรองเท้าที่ว่านี้ คือ การส่งสัญญาณคลื่นวิทยุไปยังอุปกรณ์เตือนภัยที่คล้ายกับนาฬิกาข้อมือ โดยหากผู้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเข้าใกล้กับระเบิด หรือวัตถุระเบิดในระยะที่กำหนด มันจะส่งสัญญาณเตือนไปยังอุปกรณ์บนข้อมือของผู้สวมใส่ เพื่อให้หลีกเลี่ยงวัตถุอันตรายดังกล่าว นวัตกรรมนี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากพื้นรองเท้าอัจฉริยะสามารถนำไปใส่ไว้ในรองเท้าได้เกือบทุกประเภท รวมถึงรองเท้าบู๊ทของทหาร และเจ้าหน้าที่ตรวจหากับระเบิด ส่วนชาวไร่ชาวนา ซึ่งต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยกับระเบิด ก็สามารถนำพื้นรองเท้านี้ไปใช้ได้ด้วยเช่นกัน นายแดเนียล อาบิลา คามาโช ผู้อำนวยการโครงการเก็บกู้กับระเบิดของโคลอมเบีย กล่าวว่า โคลอมเบียเป็นหนึ่งในประเทศที่เผชิญอันตรายจากกับระเบิดมากที่สุดในโลก โดยในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา มีผู้ตกเป็นเหยื่อกับระเบิดแล้วกว่า 10,600 ราย ส่วนใหญ่เป็นกับระเบิดที่ฝังไว้โดยฝีมือของกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนอย่างกลุ่มฟาร์ก
แปลง Floppy Drive ให้กลายเป็นเครื่องดนตรี
Drive A… หรือ Floppy A หลายคนคงจะฉงนกันว่า มันคืออะไร หรือว่าแผ่น Floppy Disk เด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักกันเสียแล้ว กล่าวคือ แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (อังกฤษ: floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) หรือ แผ่นบันทึก (ศัพท์บัญญัติ) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ (floppy disk drive) ในสมัยปัจจุบันไม่ค่อยเห็นมีการใช้งานกันแล้ว หรือไม่ใช้งานกันแล้ว เหมือนกับว่าจะดูว่าเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปแล้ว เหตุที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมก็เพราะว่าแผ่น floppy disk มีความจุที่น้อยเสียเหลือเกิน ความจุสูงสุดคือ 2.88 MB เท่านั้น (เพลง mp3 สักเพลยัง save ไม่ได้เลย) และคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ก็มักจะไม่ค่อยมีให้เห็น แต่ถ้าคนไหนยังคงหลงไหลความเป็นมาเป็นไป หรือพัฒนาการของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เชื่อได้ว่าอาจจะยังมีตัว Floopy Drive