magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "เก็บมาเล่า เอามาฝาก" (Page 76)
formats

รศ. ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร รับรางวัลนักเทคโนโลยีชีวภาพ

รศ. ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยร่วมระหว่างไบโอเทคและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีชีวภาพ ประจำปี 2556 จากบริษัท ไบโอจีโนเมด จำกัด โดยรางวัลนี้จะพิจารณามอบให้กับนักวิจัยที่มีศักยภาพ รวมถึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด จนมีศักยภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณประโยชน์ หรือเชิงพาณิชย์ได้ รศ. ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร ประสบความสำเร็จในการนำจีโนมเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการค้นหายีนเพื่อปรับ ปรุงพันธุ์ข้าว เป็นผู้ค้นพบและจดสิทธิบัตรยีนที่ควบคุมการสร้างสารหอม 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) ในระดับสูง เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาฐานพันธุกรรมข้าวขาวดอกมะลิให้ทนน้ำท่วม ต้านทานต่อโรคและแมลง และสิ่งแวดล้อม รวมถึงให้ผลผลิตสูง โดยคงคุณสมบัติความเป็นข้าวหอมมะลิของไทยเอาไว้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ รศ. ดร. อภิชาติ มีผลงานดีเด่นเป็นประจักษ์ในวงวิชาการ โดยเข้ารับพระราชทานรางวัลเกียรติคุณบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2555 และโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่มี รศ. ดร. อภิชาติ เป็นหัวหน้าโครงการ ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการให้ได้เข้ารับทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2555 จาก สวทช. ภายใต้โครงการเทคโนโลยีก่อกลายพันธุ์ทั้งจีโนมเพื่อเพิ่มศักยภาพการปรับปรุง พันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แหล่งที่มา

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Council of Science and Technology Professionals)

ในอดีตผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในช่วงระยะของการศึกษาประมาณ 16 ปี จะได้รับการดูแลจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยในระยะ 4 ปีหลังในมหาวิทยาลัยมีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้ดูแล แต่ภายหลังสำเร็จการศึกษา และประกอบวิชาชีพแล้วซึ่งเป็นระยะเวลาถึง 30 กว่าปีนั้น จะไม่มีผู้ดูแล มีเพียงสมาคมต่างๆ ที่ช่วยกันดูแลบ้างเท่านั้น ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้การประกอบวิชาชีพเกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์ และส่งผลต่อความปลอดภัยของสาธารณะชนในที่สุด ดังนั้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2540 ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้ร่วมกันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ…. ขึ้น และใช้เวลากว่า 10 ปี ในการผลักดันพระราชบัญญัติฉบับนี้จนผ่านขั้นตอนของรัฐสภา ดูรายละเอียดเพิ่มเติม รายการอ้างอิง : สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Council of Science and Technology Professionals).  วันที่่ 29 สิงหาคม 2556.– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

The Mist คลื่นกำแพงหมอกยักษ์แคนาดา

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวต่างประเทศ แคนาดา 27 ส.ค.2013  – ภาพตื่นตะลึงของคลื่นกำแพงหมอกขนาดยักษ์ เคลื่อนผ่านภูเขาในเมืองนิวฟาวด์แลนด์ ประเทศแคนาดา ภาพกำแพงหมอกขนาดยักษ์กำลังเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ลงมาตามไหล่เขาลองแรนจ์ ใกล้อ่าวลาร์ค ฮาร์เบอร์ ในรัฐนิวฟันด์แลนด์ ทางตะวันออกของแคนาดา ก่อนที่หมอกจะค่อยๆ   จางหายไป คล้ายกับฉากในภาพยนตร์สยองขวัญเรื่อง The Mist ของผู้กำกับดัง สตีเฟ่น คิงส์ คาดว่ากลุ่มหมอกหนาดังกล่าวน่าจะเกิดจากไอน้ำในทะเลสาบในอ่าวก่อตัวที่ด้านหนึ่ง  ของภูเขาที่มีอุณหภูมิสูงกว่าและความชื้นน้อยกว่า ทำให้กลุ่มหมอกเคลื่อนตัวลงมายังจุดที่อุณหภูมิต่ำกว่า คืออีกด้านหนึ่งของภูเขาที่มีความชื้นมากกว่า หมอกจึงค่อยๆ หายไปในที่สุด อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. – http://www.mcot.net/site/content?id=521bf0d7150ba05542000033#.UhwPQj–fGg– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี ประจำปี 2557 และโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น ประจำปี 2557

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) รับสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระประสงค์ให้นิสิต นักศึกษาของไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม 1.    โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี ณ สถาบันเดซี เมืองฮัมบูร์ก หรือเมืองซอยเธน สาธารณรัฐเยอรมนี  เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการวิจัยระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับการทดลองสาขา ฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐาน (Experiments in Elementary Particle Physics)   การทดลองที่ใช้แสงซินโครตรอน (Experiments with Synchrotron Radiation) งานวิจัยเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาค (Research on Accelerators) ทฤษฎีของอนุภาคมูลฐาน (Theory of Elementary Particles) และงานเกี่ยวกับการคำนวณ (Computing in High Energy Physics) ในช่วงภาคฤดูร้อน 2.    โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น ณ เซิร์น สมาพันธรัฐสวิส  เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าฝึกอบรมความรู้ทางด้านฟิสิกส์ในรูปแบบของสห วิทยาการ ผสมผสานกับบรรยากาศของวัฒนธรรมที่หลากหลายของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ และยังได้มีโอกาสเรียนรู้แลกเปลี่ยนความรู้กับนักฟิสิกส์ที่มีชื่อ เสียงจากทั่วโลกรวมถึงร่วมทำงานกับนักวิจัยจากสถาบันเครือข่ายของ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โครงการครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น (CERN Programme for Physics High School Teacher) ประชาสัมพันธ์การรับสมัครครู อาจารย์ เข้าร่วมกิจกรรมประจำปี 2557

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) รับสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระประสงค์ให้ครู อาจารย์ ผู้สอนวิชาฟิสิกส์ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม โครงการครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น  (CERN Programme for Physics High School Teacher)  ณ เซิร์น สมาพันธรัฐสวิส  เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาของไทย เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างครูไทยในระดับนานาชาติ เปิดโลกทัศน์ของครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ไปสู่งานวิจัยระดับสากล และเป็นการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างเซิร์นและหน่วยงานวิจัยของไทย ที่เกี่ยวข้องหรือที่มีงานวิจัยที่สอดคล้องกับของเซิร์นในระยะต่อไป สวทช. ขอเชิญชวนครู อาจารย์สัญชาติไทย อายุไม่เกิน 45 ปี สอนวิชาฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และสอนอยู่ในประเทศไทย มีพื้นฐานภาษาอังกฤษในระดับดีมาก เข้าร่วมโครงการในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2557  ผู้สนใจ Download ใบสมัครได้ที่ http://thaicern.slri.or.th/ เปิดรับสมัครถึง 31 สิงหาคม 2556 ส่งใบสมัครได้ที่ โครงการครูสอนฟิสิกส์ ภาคฤดูร้อนเซิร์น สถาบัน วิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ตู้ ปณ.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

NSTDA Investor’s Day 2013

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้กำหนดจัดกิจกรรม NSTDA Investor’s Day 2013 ในวันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2556 เวลา 08.00 –  16.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และศูนย์การประชุม Bangkok Convention Center at Central World เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตรภายใต้แนวคิดหลักในการจัดงานคือ “เสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้วยธุรกิจเทคโนโลยี” ซึ่งกิจกรรมภายในงานจะจัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการ การแสดงปาฐากถาพิเศษ  รวมทั้งการจัดนิทรรศการแสดงผลงานและนวัตกรรมการวิจัยที่สำคัญ (รายละเอียดกำหนดการจัดงานตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้) รายการอ้างอิง : ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม NSTDA Investor’s Day 2013. ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วันที่ 26 สิงหาคม 2556.– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรงไฟฟ้าคลองเรือ คว้ารางวัลพลังงานหมุนเวียนอาเซียน

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเศรษฐกิจ กรุงเทพฯ 21 ส.ค. 2556 -โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนบ้านคลองเรือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1โครงการพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน  (Community Based RE Projects)ประเภทโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) จากเวทีระดับภูมิภาคอาเซียน ASEAN Energy Awards 2013 – ( 47 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไทยอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นใช้ไลน์มากที่สุดในโลก

วันนี้(21 ส.ค.) ที่กรุงโตเกียว บริษัท ไลน์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จัดงานแถลงข่าว ฮัลโหล เฟรนด์ 2013  ซึ่งเป็นงานแถลงข่าวและกลยุทธ์ของไลน์ประจำปี โดยมีสื่อมวลชนทั้งจากญี่ปุ่นและต่างชาติ รวมถึงพาร์ทเนอร์เข้าร่วมงานจำนวน 1,200 คน โดยนายโมริคาว่า อาคิระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไลน์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ในปัจจุบัน (21 ส.ค.) แอพพลิเคชั่นไลน์มีจำนวนผู้ใช้รวม 230 ล้านคนทั่วโลก โดยในทุก 1 ชั่วโมง มีผู้ลงทะเบียนใช้งานใหม่ 63,000 ราย ซึ่งประเทศที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดคือประเทศญี่ปุ่นจำนวน 47  ล้านคน รองลงมาไทย 18 ล้านคน  ไต้หวัน 17 ล้านคน สเปน 15 ล้านคน และอินโดนีเซีย 14 ล้านคน และกำลังเติบโตมากในยุโรป แอฟริกา และลาตินอเมริกา – ( 54

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พิพิธภัณฑ์ และหอจดหมายเหตุ ธ.ก.ส.

พิพิธภัณฑ์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตั้งอยู่ชั้น 2 ตึกโพเดียม ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ อาคารบางเขน เป็นแหล่งการเรียนรู้วิวัฒนาการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทไทย เผยแพร่จิตวิญญาณของ ธ.ก.ส. ส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของเกษตรกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย โดยการเล่าเรื่องผ่านวีดิทัศน์ หุ่นจำลอง นิทรรศการจอสัมผัส ซึ่งจะทำให้ได้เรียนรู้และเข้าใจความเป็นมาของการพัฒนาการเกษตรของชนบทไทยยิ่งขึ้น พิพิธภัณฑ์ ธ.ก.ส.ประกอบด้วย 8  ส่วนดังนี้ โถงต้อนรับ : ชมวีดิทัศน์แนะนำความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ และโมเดลจำลองวิถีเกษตร 5 ภาค กำเนิด ธ.ก.ส. : วีดีทัศน์นำเสนอย้อนสู่การก่อตั้งธนาคาร ผ่านการเล่าเรื่องด้วยเทคนิค การฉายภาพซ้อนบนผนัง และเทคนิคกลไกต่างๆ รากฐาน ธ.ก.ส. :  ธ.ก.ส. มั่นคงและยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ มีรากฐานมาจากการบุกเบิกของอาจารย์จำเนียร สาระนาค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ด้วยการนำนวัตกรรมสินเชื่อ – ( 870 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หุ่นยนต์ช่วยงานเกษตรของสหรัฐ

สหรัฐ 15 ส.ค. 2013 – เกษตรกรอเมริกันแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรกรรมกันอย่างไร วิศวกรจากซิลิคอน วัลเล่ย์ กำลังทดสอบหุ่นยนต์เล็ตทิส บ็อต (Lettuce Bot) ในแปลงผักกาดหอมในเมืองซาลินาส รัฐแคลิฟอร์เนีย หุ่นยนต์นี้สามารถประหยัดเวลาและแรงงานในการคัดเลือกและเก็บต้นอ่อนที่ไม่มีคุณภาพออก เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้ต้นที่แข็งแรงกว่าเติบโตได้เต็มที่ โดยทำงานได้เทียบเท่ากับแรงงานถึง 20 คน จอร์จี้ เฮรอด ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหารบริษัท บลูริเวอร์ เทคโนโลยี ผู้ผลิตหุ่นยนต์เล็ตทิส บ็อต บอกว่า ข้อดีของเล็ตทิส บ็อตก็คือ สามารถทำงานโดยอัตโนมัติได้รวดเร็วมากและสามารถทำงานได้ดีกว่า เนื่องจากมีข้อมูลมากกว่าที่มนุษย์มี – ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments