magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "เก็บมาเล่า เอามาฝาก" (Page 73)
formats

10 เทคโนโลยีน่าจับตา 2556

สวทช.นำเสนอ 10 เทคโนโลยีน่าจับตาในอีกทศวรรษหลังจากนี้ในเวที NSTDA Innvestors’Day 2013 ว่าหลังจากนี้นักวิจัยจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อเพิ่มความสะดวก ปลอดภัย และยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า เทคโนโลยีที่ต้องจับตาเบอร์หนึ่งคือ อุปกรณ์ตรวจวินิจฉัยแบบพกพา (Mobile Diagnostic Tools) ซึ่งทำหน้าที่ตรวจวินิจฉัยโรคและให้คำแนะนำในการรักษา ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่มีสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์แท็บเล็ตในมือ เทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้เกิดการพัฒนาเซ็นเซอร์หรือระบบตรวจร่างกายที่มีความอัจฉริยะมากขึ้นกว่าเดิม อาทิ อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณน้ำตาล ไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน หรือเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่ช่วยให้แพทย์วิเคราะห์โรคในช่องปากหรือโรคตาโดยไม่ต้องเดินทางไปพบแพทย์ด้วยตัวเอง– ( 143 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

10เทคโนโลยีน่าจับตามองสําหรับธุรกิจ2013

10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสําหรับธุรกิจ ปี 2013 (10 Technologies to Watch: 2013) ภาพฉายอนาคต (Future Scenario) ลองจินตนาการว่า ในอนาคตอันใกล้ เช่น เพียง 1 ทศวรรษ เมื่อคุณตื่นมาจะพบกับเหตุการณ์ใดได้บ้าง สมาร์ทโฟนจะช่วยเราตรวจร่างกายแบบง่ายๆ ได้หรือไม่ แพทย์จะมีเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงอะไรใหม่ๆ บ้าง การเดินทางไปทํางาน มีเทคโนโลยีใดช่วยให้เดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าในปัจจุบัน ข้อมูลจากโลกออนไลน์ที่คุณใช้ จะบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับตัวคุณและสังคมที่คุณอยู่บ้าง ในด้านภาคเกษตรและอุตสาหกรรม จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ อะไรเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและย่นเวลา รวมทั้งลดทรัพยากรลงบ้าง แม้แต่การค้าและสันทนาการ เทคโนโลยีบางอย่างก็จะซึมลึก จนเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของคุณได้อย่างน่าทึ่งเช่นกัน – ( 496 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคไข้เลือดออกยังเป็นโรคที่น่ากลัวเสมอ

ที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ลดลงเลย สถิติผู้ป่วยในปีนี้ช่วงแปดเดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.56) มีจำนวนกว่าหนึ่งแสนรายถ้าเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดผู้ป่วยของปีนี้เพิ่มขึ้นถึงสามเท่าตัว (ตามรายงานของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข) ซึ่งนับว่าเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงไม่น้อยเลย โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย โรคนี้ติดต่อโดยมียุงลายตัวเมีย (หากินเวลากลางวัน) เป็นพาหะนำโรค โดยเมื่อมันไปกัดผู้ป่วยที่เป็นโรค เชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกก็จะเข้าสู่ตัวยุงระยะฟักตัวของเชื้อในยุงประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนอื่น ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัดระยะฟักของเชื้อในคนประมาณ 5-8 วัน จึงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคไข้เลือดออก นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสาร อิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 6, กันยายน 2556. เช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดยุง แอพบนมือถือเพื่อตรวจสอบสารอาหารในต้นข้าว ค้นหาความลับของสีสันบนปลายปีกผีเสื้อ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2556 กับโรคในกล้วยไม้สกุลหวาย และมะพร้าวแตกใบคล้ายเศียรพญานาค อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130902-sarawit-issue6.pdf รายการอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556).  สาระวิทย์. 6(9). จาก http://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กรณีน้ำมันดิบรั่วสู่ท้องทะเล

จากเหตุการณ์ที่น้ำมันดิบจากท่อส่งน้ำมันของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งป็นบริษัทในกลุ่ม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) รั่วไหลสู่ท้องทะเล จ.ระยอง ใกล้กับเกาะเสม็ด เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จนคราบน้ำมันได้กระจายตามคลื่นน้ำเข้าสู่ฝั่งบริเวณอ่าวพร้าวของเกาะเสม็ด ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการที่พักโรงแรม ร้านอาหาร บนอ่าวพร้าวและชาวบ้านที่มีอาชีพประมงแถบนั้นไม่น้อย ทันทีที่ข่าวทางสื่อมวลชนเผยแพร่ออกไป รวมถึงกระแสในเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้สร้างผลกระทบทันทีคืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งออนไหวง่ายอยู่แล้วต่อข่าวร้ายๆ แม้พื้นที่ชายหาดบนเกาะเสม็ดอีกกว่า 90% จะไม่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำลอยเข้ามาที่ชายหาดก็ตาม แต่แค่คำว่า “อ่าวพร้าว” ที่ไปผูกเชื่อมโยงกับชื่อเกาะเสม็ด ก็ส่งผลทันทีให้จำนวนนักท่องเที่ยวและสถิติการจองห้องพักบนเกาะเสม็ดลดวูบลง รวมถึงนักท่องเที่ยวบนเกาะจำนวนไม่น้อยได้เช็กเอาท์ออกก่อนกำหนด นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสาร อิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 5, สิงหาคม 2556 เช่น 10 วิธี แก้ปัญหาน้ำมันดิบรั่วไหลสู่ท้องทะเล งานมหกรรมวิทย์ ‘56 จอประสาทตาเทียม ช่วยคนตาบอดให้กลับมามองเห็นอีกครั้ง “n-Mask” หน้ากากอนามัยต้านไข้หวัด ว่านจักจั่น ราแมลงคู่แข่งถั่งเช่า อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่  http://nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130801-sarawit-issue5.pdf

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คุณค่าของงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์

ประมาณสัก 20 ปี ก่อน คงน้อยคนนักที่จะคิดว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า แบรนด์เนมอย่างซัมซุง แอลจี สัญชาติเกาหลีใต้ จะมาหาญกล้าต่อกรกับแบรนด์บิ๊กเนมของญี่ปุ่นอย่าง โซนี โตชิบา ซันโย พานาโซนิก ชาร์ป เจวีซี ที่คนไทยเราคุ้นเคยกันดี แต่ปัจจุบัน แบรนด์เนมจากแดนกิมจิ ไม่เพียงเพิ่มยอดขายได้อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ชนิดหายใจรดต้นคอกับสินค้าของญี่ปุ่นเท่านั้น แต่หลายประเภทยังแซงหน้าไปแล้วด้วย และไม่เพียงเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่านั้น กระทั่งโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนของซัมซุง ก็สร้างปรากฏการณ์ด้านยอดขายอย่างถล่มทลายเทียบคียงหรือแซงหน้าค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างโนเกียของยุโรป หรือไอโฟน ของค่ายบริษัทแอปเปิ้ลในอเมริกา ที่เคยครองแชมป์ส่วนแบ่งการตลาดหรืออยู่แถวหน้ามาก่อน นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสาร อิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 4, กรกฎาคม 2556. เช่น Space Seeds for Asian Future 2013 : เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคตของเอเชีย จุลินทรีย์รอบตัวคุณ เครื่องตรวจจับไส้เดือนฝอยที่เป็นศัตรูไม้น้ำส่งออก จิ้งจกหลายหาง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่  http://nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130701-sarawit-issue4.pdf รายการอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556).  สาระวิทย์. 4(7).

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิธีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ

จากการเข้าฟังบรรยายวิชาการ เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดภาครัฐ การจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ  โดย สุธิษา จารุเมธาวิทย์ (สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา โดยสรุปการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ แบ่งออกเป็น 5 ระยะคือ ระยะที่ 1 การกำหนดความต้องการและการของบประมาณ ระยะที่ 2 การเตรียมการจัดซื้อจัดจ้าง ระยะที่ 3 การจัดซื้อจัดจ้าง ระยะที่ 4 การบริหารสัญญา ระยะที่ 5 การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ วิธีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ประเภท หนังสือ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิธีตกลงราคา         ไม่เกิน 100,000 บาท วิธีสอบราคา          เกิน 100,000 บาท ไม่เกิน 2,000,000 บาท วิธีประกวดราคา   

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเขียนบทความวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ

คุณจุมพล เหมะคีรินทร์ ได้ให้ข้อสังเกตในการเขียนบทความวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ จากประสบการณ์ที่ทำหน้าที่บรรณาธิการ ไว้ดังนี้ ควรเป็นเรื่องที่อ่านง่าย เนื้อหาไม่ซ้บซ้อน เรื่องที่ยาก ควรมีตัวอย่าง เพื่อให้เรื่องนั้นไม่ยากจนเกินไป รู้จักใช้ภาษาเชิงวรรณศิลป์ แต่ถ้าไม่สามารถ ควรให้ภาษาสื่อสารแบบตรงๆ ง่ายๆ มีอารมณ์ขัน ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะคนอ่านทั่วไปจะชอบและประทับใจเรื่องที่มีอารมณ์ขัน ส่วนการเขียนที่ไม่ประสบความสำเร็จ คือ อ่านยาก ทั้งๆ ที่เนื้อหาไม่ได้ซ้บซ้อน ลำดับความไม่ดี ไม่ลื่นไหลหรือสอดรับกันเท่าที่ควร ใช้ศัพท์เทคนิคมากเกินไป บางคำไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ ทำให้เข้าใจยาก และไม่น่าอ่าน  มีข้อมูลมากเกินไป และยังติดกลิ่นนมเนย กรณีที่เป็นเรื่องแปล ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บนี้ค่ะ http://www.nstda.or.th/sci2pub/thaismc/sci-communication/success-article.pdf– ( 47 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เขียนเรื่องวิทยาศาสตร์อย่างไรให้สนุก

บทความ เรื่อง เขียนเรื่องวิทยาศาสตร์อย่างไรให้สนุก โดย จุมพล เหมะคีรินทร์ ชื่อนี้ ถ้าท่านใดเป็นแฟนพันธุ์แท้ Update คงจะคุ้นหู คุ้นตากันดี คุณจุมพล ได้เขียนไว้ในบทความนี้ว่า ตอบยาก แต่ให้ข้อสังเกตกว้างๆ ไว้ อ่านแล้ว น่าจะนำไปปรับใช้กับการเขียนในสาขาวิชาอื่นๆ ได้ด้วย เพราะการเขียนเรื่องให้อ่านได้สนุกนั้น ต้องมีการจุดประกายความคิด ชวนติดตาม ให้ความเพลิดเพลิน น่าอ่าน และน่าสนใจ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เรื่องอ่านสนุก อยู่ที่ผู้เขียน เนื้อหาและวิธีการนำเสนอ และคนอ่าน อยากจะทราบว่า คุณจุมพล แนะนำรายละเอียดอย่างไร เชิญติดตามได้ที่ http://www.nstda.or.th/sci2pub/thaismc/sci-communication/sci-fun.pdf– ( 47 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วอยเอเจอร์ 1 เดินทางทะลุสุริยะจักรวาลแล้ว

คณะนักวิทยาศาสตร์หรัฐประกาศ ยานสำรวจ “วอยเอเจอร์ 1″ ที่ออกเดินทางจากโลกเมื่อ 36 ปีก่อน ล่าสุดเดินทางทะลุขอบนอกสุดของระบบสุริยะจักรวาล เข้าสู่ภพอื่นอย่างเป็นทางการแล้ว ถือเป็นยานอวกาศจากโลกลำแรก ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่เดินทางห่างไกลได้ขนาดนี้ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ว่า นายมาร์ค สวิสดัค นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ยานสำรวจอวกาศ “วอยเอเจอร์ 1″ ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) สหรัฐอเมริกา ที่ออกเดินทางจากโลกเมื่อกว่า 36 ปีก่อน ล่าสุดเดินทางทะลุขอบนอกสุดของระบบสุริยะอย่างเป็นทางการแล้ว และขณะนี้กำลังเดินทางอย่างไร้จุดหมายในกลุ่มดาวกาแล็กซี่อื่น ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่สามารถเคลื่อนออกนอกระบบสุริยะ เพื่อสำรวจกาแล็กซี่อื่นที่ใหญ่กว่า – ( 156 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ้าน

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเศรษฐกิจ กรุงเทพฯ 11 ก.ย. 2556 -นโยบายใหม่ที่จะช่วยกระตุ้นการลงทุนที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินนับหมื่นล้านในปีนี้ คือ การผลิตไฟฟ้าบนหลังคา 200 เมกะวัตต์ มีผู้สนใจมากมาย แต่อุปสรรคที่อาจไป ไม่ถึงฝั่งฝันคืออะไร ติดตามจากรายงาน ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. – http://www.mcot.net/site/content?id=52306d34150ba06460000178#.UjERTz_xbGg– ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments