magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

จินตนาการในหัวทำให้การรับรู้โลกเปลี่ยนไป

Published on August 2, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง จินตนาการในหัวทำให้การรับรู้โลกเปลี่ยนไป

งานวิจัยจากสถาบันคาโรลินสกา ประเทศสวีเดน เผยว่า จินตนาการของเราอาจจะมีผลต่อการรับรู้สิ่งรอบตัวของเรามากกว่าที่คิด สิ่งที่เราจินตนาการไม่ว่าจะเป็นภาพหรือเสียงในหัวของเราต่างก็สามารถเปลี่ยนการรับรู้ของเราได้ทั้งนั้น โดยงานวิจัยชิ้นนี้นับเป็นกุญแจสำคัญในทางจิตวิทยาและประสาทวิทยาเกี่ยวกับวิธีการรวบรวมข้อมูลจากการรับรู้หลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน และได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Current Biology แล้ว “เรามักจะคิดว่า สิ่งต่างๆ ที่เราจิตนาการ กับสิ่งต่างๆ ที่เรารับรู้ เป็นเรื่องที่แยกจากกัน” คริสโตเฟอร์ เบอร์เกอร์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก ที่ภาควิชาประสาทวิทยา นักวิจัยหลักเผย  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447124– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสุขของคนรักช็อกโกแลตสามารถรับรู้ได้ผ่านแววตา

Published on August 2, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ความสุขของคนรักช็อกโกแลตสามารถรับรู้ได้ผ่านแววตา

ทุกวันนี้เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเรามีความสุข ความพึงพอใจจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปมากแค่ไหนผ่านดวงตาได้แล้ว โดยวิธีการตรวจสอบที่แสนง่ายดาย เพียงแค่มีเครื่องมือจักษุแพทย์แบบพื้นฐานก็สามารถทำการตรวจสอบได้แล้ว จากบทความในวารสารโรคอ้วนกล่าวว่า หากทฤษฎีนี้สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติ ก็จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อการวิจัยและประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ เกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนและเสพติดอาหาร รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447128– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครื่องปรินท์แบบสามมิติไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วกับวินโดว์

Published on August 2, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เครื่องปรินท์แบบสามมิติไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วกับวินโดว์

การแถลงข่าวของวินโดว์เมื่อวันพุธที่ 26 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมามีหนึ่งนวัตกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก นั่นคือการเพิ่มการรองรับเครื่องปรินท์แบบสามมิติในวินโดว์ 8.1

วินโดว์ 8 เป็นหนึ่งในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดว์ที่แทบจะทุกครัวเรือนน่าจะเคยได้ใช้ บางคนอาจจะใช้เป็นวินโดว์ เอ็กซ์พี ในขณะที่บางคนก็ติดใจไปกับวินโดว์ 7 สำหรับวินโดว์ 8 นั้นเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้ทั้งในระดับบุคคลทั่วไป และในเชิงธุรกิจ ประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ที่บ้าน ที่ทำงาน คอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือโน๊ตบุ๊ค แท็บเลต และมือถือที่เราเรียกกันว่า วินโดว์โฟน นั่นเอง วินโดว์ 8 นี้มีหลากหลายการใช้งานที่แตกต่างจากวินโดว์ที่เรารู้จักกันทั่วไปอย่างสิ้นเชิง รองรับการใช้งานแบบทัชสกรีน (หน้าจอสัมผัส) ซึ่งงานนี้ไมโครซอฟท์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า วินโดว์ 8.1 ที่ผ่านการพัฒนาโดยโปรแกรมเมอร์ตั้งแต่ปี 2009 (ก่อนการเปิดตัววินโดว์ 7 ซะอีก) จะกลายมาเป็นระบบปฏิบัติการต้นแบบที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ ปลอดภัยจากไวรัส และทุกคนสามารถเข้าถึงได้  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447133– ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ก.วิทย์ฯ แนะใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายน้ำมันรั่ว

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แนะใช้ธรรมชาติแก้ปัญหา นำจุลินทรีย์ย่อยสลายน้ำมัน ลดผลกระทบ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (TCELS) ห่วงผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วในทะเลบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง จึงได้มอบหมายให้ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ให้ความรู้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว ในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพอันเกิดจากคราบน้ำมัน

นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า สารเคมีประกอบด้วยหลายอย่างที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนที่เป็นพิษ (Toxic compounds) มีสิ่งที่จะส่งผลกระทบได้เยอะมากกับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ดังนั้นกระบวนการกำจัดจึงต้องวางแผนให้ดีอย่างรอบคอบ เป็นขั้นตอน แต่ก็รอช้าไม่ได้เพราะผลกระทบต่อชีวิตทั้งในทะเลและบนบกจะเกิดขึ้นทันที โดยเฉพาะอาหารทะเล ที่จะได้รับสารพัดสารเคมีทีมีอยู่ในน้ำมันดิบ โดยเฉพาะสารพิษในกลุ่ม ไฮโดรคาร์บอน เช่น “พีเอเอช(PAHs)” ซึ่งสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ทำมาหากินอยู่บริเวณที่มีน้ำมันรั่วก็มีสิทธิ์ปนเปื้อนเข้าไปได้สูงและจะจับสะสมอยู่ในไขมันปลา,ไข่ปลา,ไข่กุ้ง,ไข่ปู ตามองคาพยพหลายส่วนของสัตว์น้ำ และเมื่อมันตายจากพิษน้ำมันดิบ ตัวมนุษย์ที่จับเหล่านี้ขึ้นมากินก็มีสิทธิ์ได้รับช่วงสารเคมีที่ว่านี้ต่อเช่นกัน

Read more…– ( 123 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กู้ภัยไฮเทค

หนึ่งอุปกรณ์คู่ใจนักกู้ภัยที่ไฮเทคไม่แพ้กัน นั่นก็คือ หมวกกู้ภัยระบบสัมผัส

นอกเหนือจากนวัตกรรมเสื้อกู้ภัยพูดได้ที่ฝังโทรศัพท์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและหน้าจอดิจิทัลไว้ที่ตัวเสื้อ สามารถใช้ติดต่อประสานงานต่างๆ เป็นเนวิเกอร์นำทาง และแสดงผลสภาพร่างกายนักกู้ภัยได้ในคราวเดียวแล้ว แต่ยังมีอีกหนึ่งอุปกรณ์คู่ใจนักกู้ภัยที่ไฮเทคไม่แพ้กัน นั่นก็คือ หมวกกู้ภัยระบบสัมผัส

เพราะเจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องทำงานท่ามกลางสภาวะการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นท่ามกลางซากปรักหักพังของอาคาร หมอกควันจากอัคคีภัยที่บดบังทัศนวิสัย หรือแม้กระทั่งในเวลากลางคืน ประสาทสัมผัสทางตาจึงอาจใช้การได้ไม่ดีนักในกรณีเช่นนี้
Read more…– ( 62 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การประเมินคุณภาพผลงานวิจัย ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

เป็นหัวข้อการบรรยาย ในกิจกรรม NSTDA Knowledge Sharing ภายใน สวทช. ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่  18 กรกฎาคม 2556
โดย คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  สรุปใจความได้ดังนี้

ผู้บรรยาย กล่าวย้ำว่าหัวข้อการบรรยายนี้ เป็นการประเมินคุณภาพ ของงานวิจัยเพื่อความเลิศทางวิชาการ เท่านั้น (ยกเว้นงานวิจัยประเภทอื่นๆ คือ  งานวิจัยเพื่อเศรษฐกืจ  งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างชุมชน และงานวิจัยนโยบาย)  โดยวัด นับจำนวนจากบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร หนังสือวิชาการเป็นหลัก (research publication) เทียบกับระดับนานาชาติ
วารสารวิชาการที่มีคุณภาพ ต้องมี กองบรรณาธิการ (Editorial review) และการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญในสาขา (Peer review)    การประเมินคุณภาพ เชิงคุณภาพ วิธีดีที่สุด คือ ต้องตรวจสอบด้วยการอ่านเท่านั้น ซึ่งในการปฏิบัติ  ต้องใช้เวลามาก ใช้ผู้เชี่ยวชาญอ่านจำนวนมาก  ซึ่งไม่สามารถทำได้ จึงใช้ทางอ้อมแทน คือ การประเมินเชิงปริมาณ  Bibliometrics ด้วยการวัด / นับจำนวน บทความวิจัยตีพิมพ์ (Number of  research publication)   การได้รับการอ้างอิง (Number of Citation)  และค่าเฉลี่ยจำนวนการอ้างอิงต่อบทความ เป็นต้น
Read more…– ( 363 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นวัตกรรม นำพาประเทศสู่ความมั่งคั่ง

นวัตกรรม ถือเป็นกระบวนการที่เกิดจากการนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์มาผสมผสานกับความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อสร้างสิ่งใหม่ ธุรกิจใหม่ ฯลฯ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ  แต่สำหรับประเทศไทย ยังคงมีปัญหาอยู่มากในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะไม่ได้ให้น้ำหนักกับการวิจัยและพัฒนาเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณสนับสนุนและการสร้างบุคลากรในสาขานี้

หนังสือ นวัตกรรม นำพาประเทศสู่ความมั่งคั่ง ได้รับเค้าโครงของเนื้อหาจากงานสัมมนาในหัวข้อ “พลิกเส้นทางพัฒนา สถานปนาความมั่งคั่งให้ประเทศ” ซึ่งจัดโดย สถาบันอนาคตไทยศึกษา เมื่อปลายปี 2555 ประกอบด้วย

  • สี่มิติของนวัตกรรม
  • ประเทศไทย บนกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
  • การเพิ่มมูลค่า โจทย์สำคัญของการไปสู่ความมั่งคั่ง
  • นวัตกรรม ตัวช่วยสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • ความเชื่อมโยงของทุกภาคส่วน จะพัฒนานวัตกรรมให้ประเทศได้อย่างบูรณาการ
  • เปิดมุมมองจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ต่อการสร้างความมั่งคั่งด้วยนวัตกรรม โดย 6 กูรู ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ คุณพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร คุณบรรยง พงษ์พานิช และคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี
  • วาระสำคัญของประเทศไทย: ผลักดันนวัตกรรมร่วมสร้างความเชื่อมโยง
  • ประเทศไทยต้องปฏิรูป (Transform) โครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมือง เพื่อทะยานไปเหนือประเทศอื่นให้ได้

 

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ สุนทรี ปานนิลวงศ์ และ ศิริกัญญา ตันสกุล (บรรณาธิการ). 2556. นวัตกรรม นำพาประเทศสู่ความมั่งคั่ง. กรุงเทพฯ : สถาบันอนาคตไทยศึกษา.

 

 – ( 98 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

10 ปี งบประมาณไทย … เราเรียนรู้อะไร?

มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ได้จัดทำ Policy Watch เรื่อง 10 ปี งบประมาณไทย … เราเรียนรู้อะไร? โดย: ชุติมา เสนะวัต ศิริกัญญา ตันสกุล และเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ  วิเคราะห์โดยมองย้อนกลับไป 10 ปี เพื่อให้เห็นโครงสร้างภาพรวมของงบประมาณไทย และได้นำเสนอ 5 ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณไทย ดังนี้

  • ข้อเท็จจริงที่ 1: 10 ปีที่ผ่านมา งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 2.4 เท่า หรือเพิ่มขึ้นเป็นเงินถึง 1.4 ล้านล้านบาท ในขณะที่งบลงทุนกลับเพิ่มขึ้นเพียง 1.5 แสนล้านบาท และมีสัดส่วนเพียง 12% ของงบประมาณเท่านั้น
  • ข้อเท็จจริงที่ 2: งบลงทุนจริงๆ อาจจะไม่ได้มากเหมือนที่ปรากฏในรายงานทั่วไป
  • ข้อเท็จจริงที่ 3: การจัดสรรงบประมาณเป็นไปตามหน่วยงานมากกว่าตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปกว่า 10 ปีแล้ว และโจทย์ของประเทศก็เปลี่ยนไปแล้วเช่นกัน แต่การจัดสรรงบประมาณไปยังกระทรวงต่างๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก
  • ข้อเท็จจริงที่ 4: รูปแบบของการจัดสรรงบประมาณยังไม่เอื้อต่อการวัดผลว่า ประเทศจะได้ผลลัพธ์อะไร คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือไม่
  • ข้อเท็จจริงที่ 5: งบประมาณที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลงานที่ดีขึ้น

เราควรต้องทำอะไร…เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

  1. ต้องจัดสรรงบประมาณไปให้ถูกที่
  2. เน้นการวัด “ผลลัพธ์” ของงบประมาณ
  3. มีการวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อรับประกันว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้น “คุ้มค่า”

ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่ http://thaipublica.org/wp-content/uploads/2013/06/Policy-Watch_10Y-Budget_Jun2013-1.pdf– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระทรวงวิทย์เตือนสารพิษจากน้ำมันรั่ว

วันนี้ (31 กค.) นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์  (TCELS)  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี    เปิดเผยถึงผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วในทะเลบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง ว่า  น้ำมันดังกล่าวมีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นพิษ  ซึ่งกระบวนการกำจัดต้องวางแผนให้ดีอย่างรอบคอบ  เป็นขั้นตอน  แต่ก็รอช้าไม่ได้เพราะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในทะเลและบนบก  โดยเฉพาะอาหารทะเล ที่จะได้รับสารพัดสารเคมีที่มีอยู่ในน้ำมันดิบ  โดยเฉพาะสารพิษในกลุ่ม ไฮโดรคาร์บอน เช่น “พีเอเอช(PAHs)”  ซึ่งสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ทำมาหากินอยู่บริเวณที่มีน้ำมันรั่วก็มีสิทธิ์ปนเปื้อนเข้าไปได้สูงและจะจับสะสมอยู่ในไขมันปลา ไข่ปลา ไข่กุ้ง ไข่ปู  และตามส่วนต่าง ๆ ของสัตว์น้ำ  และเมื่อมันตายจากพิษน้ำมันดิบ  คนที่จับสัตว์เหล่านี้ขึ้นมากินก็มีสิทธิ์ได้รับช่วงสารเคมีที่ว่านี้ต่อเช่นกัน  นอกจากนี้น้ำมันดิบที่ทำปฏิกิริยากับแสงแดด สามารถเปลี่ยนเป็นสารพิษอันตราย ระเหยสู่อากาศ กลายเป็นมลพิษ หากสูดดมเข้าไป สามารถส่งผลกระทบถึงระดับดีเอ็นเอในเซลล์สิ่งมีชีวิตได้

นายแพทย์กฤษดา   กล่าวว่า  เนื่องจากผลกระทบเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง ดังนั้นการวางแผนแก้ไขและฟื้นฟู ด้วยเทคโนโลยีไฮเทคบางอย่าง อาจทำให้ยิ่งแย่หนักกว่าเดิมได้  ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณของน้ำมัน ชนิดของน้ำมันกระแสน้ำและ กระแสลม   ทั้งนี้ วิธีที่ช่วยล้างพิษของน้ำมันรั่ว  ที่เริ่มนิยมใช้กันมากคือการใช้ จุลินทรีย์ ที่ชื่อว่า อัลคานิโวแร็กซ์(Alcanivorax)  ซึ่งพบมากในมหาสมุทร ในการย่อยสลายคราบน้ำมัน  ซึ่งวิธีการนี้เคยใช้ได้ผลกับเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้ที่เกิดขึ้นที่อ่าวเม็กซิโก   และอาจเป็นทางออกของปัญหาน้ำมันรั่วได้

รายการอ้างอิง :
กระทรวงวิทย์เตือนสารพิษจากน้ำมันรั่ว. เดลินิวส์ (ไอที). วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2556.

 – ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อ่านเขียนหนังสือช่วยป้องกันความจำเสื่อม

Published on August 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ชี้ชัด!อ่านเขียนหนังสือช่วยป้องกันความจำเสื่อม

งานวิจัยใหม่เผยว่า การอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และทำกิจกรรมกระตุ้นสมอง อาจช่วยรักษาความจำไม่ให้เสื่อมเมื่อแก่ตัวลงไปได้ 

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานการค้นพบของ ดร.โรเบิร์ต เอส. วิลสัน แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยรัช ในนครชิคาโก สหรัฐอเมริกา โดยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Neurology แล้ว  “การศึกษาของเราเผยว่า การออกกำลังกายสมองโดยการร่วมกิจกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพของสมองในวัยชรา” ดร.วิลสัน เผย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447148– ( 47 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments