magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

จากโพสต์น่าอายบนเฟซบุ๊คไปจนถึงทวีตอันฉาวโฉ่

Published on August 10, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง จากโพสต์น่าอายบนเฟซบุ๊คไปจนถึงทวีตอันฉาวโฉ่ : เหตุใดผู้บริโภคถึงเปิดเผยข้อมูลมากเกินพอดีบนโลกออนไลน์

การเพิ่มขึ้นของการใช้งานเทคโนโลยีสื่อสารแบบดิจิตอลนั้นกำลังเป็นเหตุให้ผู้บริโภคจำนวนมากเริ่มจะสูญเสียการยับยั้งชั่งใจหรือการควบคุมตนเองและทำการ “แบ่งปันมากเกินไป” ในโลกออนไลน์ ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นใหม่ในวารสาร Journal of Consumer Research

“การแบ่งปันในตัวของมันเองนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย แต่ผู้บริโภคในตอนนี้นั้นมีโอกาสอย่างไม่จำกัดที่จะแบ่งปันความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และรูปภาพต่างๆ หรือโปรโมตตัวเองหรือภาพลักษณ์ของตัวเองบนโลกออนไลน์
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆก็ยังช่วยให้เราทำการแบ่งปันได้ง่ายและกว้างขวางยิ่งขึ้นมากกว่าแต่ก่อนด้วย” ผู้เขียนงานวิจัย Russell W. Belk จาก York University กล่าว

Read more…– ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระดับ Testosterone ที่ลดลงอาจทำให้ผู้ชายเป็นโรคพาร์กินสันได้

Published on August 10, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ระดับ Testosterone ที่ลดลงอย่างกะทันหันนั้นอาจจะทำให้คุณผู้ชายเป็นโรคพาร์กินสันได้

ผลของงานวิจัยชิ้นใหม่จากนักวิจัยด้านประสาทวิทยาที่ Rush University Medical Center ได้แสดงให้เห็นว่าการลดลงอย่างกะทันหันของระดับฮอร์โมน testosterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายนั้นอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคพาร์กินสันในหนูตัวผู้ได้ ซึ่งการค้นพบดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Biological Chemistry เมื่อไม่นานมานี้

อุปสรรคขนาดใหญ่อย่างหนึ่งสำหรับการคิดค้นตัวยาสำหรับโรคพาร์กินสันนั้นก็คือยังไม่มีโมเดลในสัตว์ที่สามารถเชื่อถือได้ในตอนนี้ “ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ได้ลองใช้พิษหลากหลายชนิด รวมถึงวิธีการทางพันธุกรรมอันซับซ้อนต่างๆ มากมายเพื่อที่จะจำลองโมเดลของโรคพาร์กินสันในหนูขึ้นมา เราได้พบว่าการลดลงอย่างกะทันหันของระดับ Testosterone ภายหลังการทำหมันนั้นเพียงพอที่จะทำให้เกิดอาการของโรคพาร์กินสันในหนูตัวผู้ได้แล้ว” ดร. Kalipada Pahan ผู้นำการวิจัยกล่าว “เราพบว่าการป้อนฮอร์โมน Testosterone กลับเข้าไปในตัวหนูผ่านเม็ดยาชนิด dihydrotestosterone  5 เม็ดสามารถทำให้อาการของโรคในหนูตัวผู้นั้นหายไปได้”  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447255– ( 90 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผู้หญิงยิ่งสูงยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็ง

Published on August 10, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง  ผู้หญิงยิ่งสูงยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็ง

ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ยิ่งสูงยิ่งมีความเสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Epidemiology, Biomarkers & Prevention ของสมาคมวิจัยมะเร็งอเมริกันแล้ว
 
ความสูง มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งไต มะเร็งรังไข่ มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งต่อมไทรอยด์ รวมทั้งโรคเนื้องอกไขกระดูกและมะเร็งผิวหนังด้วย ข้อมูลจากการศึกษานี้ได้มาจากหญิงวัยหมดประจำเดือน 20,928 ราย ที่ดึงมาจากฐานข้อมูลสุขภาพผู้หญิงที่ได้จาก Women’s Health Initiative (WHI) อีกที “เราแปลกใจที่ว่า จำนวนการเกิดมะเร็งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสูง และจากข้อมูลชุดนี้ มะเร็งมีความเกี่ยวข้องกับความสูงมากกว่าค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อีกนะ” ดร.กอฟฟรี่ย์ คาบาต แห่งภาควิชาระบาดวิทยาและสาธารณสุข วิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มหาวิทยาลัยเยชิวา นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เผย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447259– ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทส.เตรียมเพิ่มระบบเตือนภัยพิบัติครบ 180 จุด

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเกษตร
กรมทรัพยากรธรณี 7 ส.ค. 2556 – รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ เตรียมสนองพระราชดำรัสส่งเสริมปลูกหญ้าแฝกป้องกันปัญหาดินถล่มทั่วประเทศ กำชับเร่งติดตั้งเครื่องเตือนภัยพิบัติให้ครบ 180 จุดเสี่ยง เป็นข้อมูลรายงานให้ประชาชนทราบได้ทันที

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี พร้อมผู้บริหารและข้าราชการ ต้อนรับการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายของนายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เน้นการทำงานด้านธรณีพิบัติภัย แหล่งแร่ พิพิธภัณฑ์ และการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน โดยนายวิเชษฐ์ กล่าวว่า ปัญหาภัยพิบัติส่งผลกระทบต่อประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง

โดยจะสนองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวป้องกันปัญหาดินถล่มทั่วประเทศ ซึ่งจากการวิจัยพบว่า หญ้าแฝกสามารถป้องกันการทลายของดินอย่าง ได้ผล และฟื้นคืนสภาพดินให้กลับมาสมบูรณ์ อีกทั้งหน่วยงานจะต้องมีการติดตามเฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยงหลุมยุบ น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อน 13 แนวเลื่อน รายงานข้อมูลเชื่อมผ่านห้องวอร์รูมของกระทรวง

อย่างไรก็ตาม กรมทรัพยากรธรณีจะต้องเร่งติดตั้งเครื่องเตือนภัยพิบัติให้ครบทั้ง 180 จุดเสี่ยง โดยปัจจุบันมีเพียง 10 จุด ยังไม่เพียงพอ ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่เตือนให้ประชาชนในพื้นที่ รับทราบเหตุการณ์ได้ล่วงหน้า สามารถเคลื่อนย้ายอพยพได้ทันที

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท.
http://www.mcot.net/site/content?id=52022afe150ba08218000085#.UgLvV22ZjGg– ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

งาน “ซอฟต์แวร์ พาร์ค” 22 ส.ค.นี้ หนุนซอฟต์แวร์ไทยสู่ตลาดโลก

กรุงเทพ 7 ส.ค. 2556 -งาน “ซอฟต์แวร์ พาร์ค ประจำปี 2556” มุ่งให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศทั้งอาเซียนและระดับโลก

นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์ พาร์ค พร้อมเครือข่ายพันธมิตร แถลงข่าวการจัดงานสัมนาและนิทรรศการซอฟต์แวร์พาร์ค   ประจำปี 2556 ว่า จะจัดขึ้นในวันที่ 22 สิงหาคมนี้ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายใต้แนวคิด “ประตูสู่ตลาดโลก” เน้นการนำเสนอความรู้และเทคโนโลยี ธุรกิจ และการพัฒนาบุคลากร

Read more…– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชกมวยช่วยชะลอโรคพาร์กินสัน

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวต่างประเทศ

สหรัฐ 7 ส.ค. 2013 – มวยอาจดูเหมือนเป็นกีฬาที่รุนแรง แต่แพทย์สหรัฐเชื่อว่า กีฬาชกมวยอาจช่วยบำบัดผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=5201e818150ba0b218000021#.UgH6im2ZjGg– ( 30 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

น้ำเต้าหู้…นมจากพืชเพื่อสุขภาพ

Published on August 9, 2013 by in Health

 

น้ำเต้าหู้ เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ ช่วยบำรุงสุขภาพและช่วยรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคนี้คือ คอเลสเตอรอลในหลอดเลือด จากการวิจัยพบว่า โปรตีนจากน้ำเต้าหู้จะช่วยละลายไขมันและลดคอเลสเตอรอลได้ เนื่องจากโปรตีนในถั่วเหลืองมีไขมันประเภทไขมันต่ำไม่อิ่มตัว และช่วยละลายไขมัน จึงทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้ นอกจากนี้ น้ำเต้าก็ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ด้วย จากการศึกษาพบว่าโปรตีนที่ได้จากถั่วเหลืองนั้นช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมไปพร้อมกับปัสสาวะได้ดีกว่าโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ นอกจากนั้น วิตามินและแร่ธาตุที่อยู่ในน้ำเต้าหู้ เช่น วิตามินบี 6 ช่วยการทำงานของสมอง สร้างระบบภูมิต้านทานของร่างกาย วิตามินอีช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส ธาตุเหล็กช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง อีกทั้งยังมีเลซิทินช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวกับความจำ และไฟโตเอสโตรเจนที่มีผลในการป้องกันมะเร็ง ทั้งยังมีผลดีต่อผู้หญิงวัยทอง คือช่วยชะลอภาวะหมดประจำเดือน และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

หนูชะเอม. (2556). น้ำเต้าหู้…นมจากพืชเพื่อสุขภาพ. Update, 28(307), 107.– ( 91 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นอนไม่หลับอาจต้องโทษดวงจันทร์

Published on August 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง นอนไม่หลับอาจต้องโทษดวงจันทร์

หลายคนอาจจะบ่นว่า นอนไม่ค่อยหลับในคืนพระจันทร์เต็มดวง ล่าสุด มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร งานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Current Biology แล้ว โดยชี้ด้วยว่า มนุษย์ยังคงตอบสนองต่อจังหวะทางธรณีฟิสิกส์จากดวงจันทร์อยู่ แม้จะมีวัฒนธรรมที่ศิวิไลซ์แล้ว เป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า นาฬิกาวงจรแสงจันทร์  ”ดูเหมือนว่าวงจรแสงจันทร์จะมีอิทธิพลต่อการนอนหลับของมนุษย์ ไม่เกี่ยวกับว่าคนๆ นั้นจะมองเห็นดวงจันทร์ในขณะนอนหลับ หรือรู้เกี่ยวกับเฟสของดวงจันทร์หรือไม่” คริสเตียน คาโวเค่นแห่งโรงพยาบาลจิตเวช มหาวิทยาลัยบาเซิล เผย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447262– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

N-Fix เทคโนโลยีดึงเอาไนโตรเจนในอากาศมาใช้กับพืชผล

Published on August 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง N-Fix : เทคโนโลยีดึงเอาไนโตรเจนในอากาศมาใช้กับพืชผล

มหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮมคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้พืชผลทางการเกษตรสามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ได้ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยที่แพงและทำลายสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป กระบวนการตรึงไนโตรเจนในอากาศ เป็นกระบวนการเปลี่ยนไนโตรเจนเป็นแอมโมเนีย เป็นกระบวนการที่สำคัญต่อการอยู่รอดและเจริญเติบโตของพืช แต่อย่างไรก็ตาม มีพืชน้อยชนิดมาก (ส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลถั่ว) ที่สามารถตรึงออกซิเจนในอากาศมาใช้ได้โดยมีแบคทีเรียตรึงในโตรเจนช่วย ส่วนพืชส่วนใหญ่นั้นต้องหาไนโตรเจนจากในดิน จนวงการเกษตรกรรมจึงต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสังเคราะห์เข้ามาช่วย ศาสตราจารย์เอ็ดเวิร์ด ค็อกกิ้ง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการตรึงไนโตรเจนของพืชผล มหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษ จึงได้พัฒนาวิธีการใหม่สำหรับการใส่แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนเข้าไปในเซลล์รากของพืช รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447265– ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การออกกำลังกายช่วยปรับการทำงานของสมองให้ผ่อนคลาย

Published on August 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การออกกำลังกายช่วยปรับการทำงานของสมองให้ผ่อนคลายจากความตึงเครียด

คณะวิจัยกลุ่มหนึ่งจาก Princeton University ได้รายงานว่า การออกกำลังกายจะปรับระบบของสมองที่มีหน้าที่ตอบสนองต่อความเครียดให้ลดลงและความวิตกกังวลที่มีส่วนรบกวนการทำงานของสมองในสภาวะปกติให้น้อยลงได้ คณะนักวิจัยได้รายงานไว้ในวารสาร Journal of Neuroscience ว่าหนูทดลองที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพวกมันเผชิญกับความเครียด (ในที่นี้คือ การปล่อยลงในน้ำเย็น) สมองของพวกมันได้แสดงจุดจุดหนึ่งในเซลล์ประสาทที่สามารถระงับความตื่นกลัวได้ ซึ่งอยู่ในส่วน Ventral Hippocampus ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมความเครียดและวิตกกังวล

Read more…– ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments