magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ฤดูร้อนในสหรัฐระอุขณะคลื่นความร้อนปกคลุมหลายพื้นที่

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวต่างประเทศ
นิวยอร์ก 18 ก.ค.2013 – สำนักงานพยากรณ์อากาศสหรัฐ ประกาศเตือนว่า อุณหภูมิอาจเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นอันตรายในรัฐมินนิโซตาไปจนถึงรัฐแมสซาชูเซตส์ ในวันพุธ ตามเวลาท้องถิ่น   ขณะคลื่นความร้อนครั้งใหญ่ที่สุดของฤดูร้อนแผ่ปกคลุมหลายพื้นที่

สำนักงานพยากรณ์อากาศแห่งชาติสหรัฐ คาดว่า รัฐส่วนใหญ่ในสหรัฐจะมีอุณหภูมิสูง 32 องศาเซลเซียสขึ้นไปในบางพื้นที่ และสภาพอากาศชื้นจะทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง  ดัชนีความร้อนในบางพื้นที่สูงกว่า 37 องศาเซลเซียส เจ้าหน้าที่ต้องออกคำแนะนำเรื่องสภาพอากาศในหลายพื้นที่ของ 19 รัฐ ส่วนในนครนิวยอร์ก อุณหภูมิสูงถึง 35 องศาเซลเซียส  เจ้าหน้าที่ดับเพลิงในพื้นที่ทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย เผชิญกับสภาพอากาศร้อนระอุ แต่แห้งมาก ขณะพยายามควบคุมไฟป่านอกเมืองปาล์มสปริงส์
Read more…– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พบไอน้ำรั่วที่โรงงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะของญี่ปุ่น

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวต่างประเทศ
ญี่ปุ่น 18 ก.ค. 2013 – พบไอน้ำรั่วไหลที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะของญี่ปุ่น ซึ่งทางบริษัทกำลังตรวจสอบหาสาเหตุของการรั่วไหล

บริษัทเทปโก้ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะเปิดเผยว่า พบไอน้ำระเหยออกมาจากบริเวณชั้น 5 ของอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ซึ่งจุดที่รั่วไหลอยู่ใกล้กับสระน้ำ  โดยเป็นที่เก็บเครื่องจักรและอุปกรณ์จากเตาปฏิกรณ์ที่เคยเกิดปัญหาขัดข้องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อเดือนมีนาคม 2554 อย่างไรก็ดี โฆษกของเทปโก้ระบุว่า  ไอน้ำที่พบมีปริมาณไม่มาก และไม่น่าจะทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินใดๆ ซึ่งในขณะนี้บริษัทกำลังทำการตรวจสอบหาสาเหตุที่ทำให้ไอน้ำระเหยออกมา

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=51e76f74150ba00236000022#.UeeFLW2ZjGg– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีเส้นใยกันน้ำของโปแลนด์

Published on July 19, 2013 by in S&T Stories

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวสารคดีโลก

โปแลนด์ 16 ก.ค.2013 – สารคดีโลกวันนี้ ชมเทคโนโลยีใหม่ของวัสดุกันน้ำที่นักวิทยาศาสตร์โปแลนด์คิดค้นขึ้น

น้ำหยดนี้อาจช่วยปรับเปลี่ยนวิธีการที่เราใช้เสื้อผ้าในอนาคต นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีในเมืองลอดซ์ของโปแลนด์ ได้ประดิษฐ์เส้นใยกันน้ำที่สามารถสกัดกั้นของเหลว  ไม่ให้ซึมผ่านไปได้ ผิวหน้าของเส้นใยนี้จะถูกทำให้อิ่มตัวโดยใช้คุณสมบัติของพลาสมาเย็นที่ไม่ชอบน้ำ ซึ่งจะไม่แตกตัวเป็นไอออน จึงไม่สามารถยึดติดกับโมเลกุลของน้ำได้  วัสดุที่เคลือบด้วยพลาสมาเย็นจะสกัดกั้นอนุภาคของน้ำไว้
Read more…– ( 117 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โซนนิ่งพื้นที่เกษตร

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเกษตร
กระทรวงเกษตรฯ 16 ก.ค.2556 -ก.เกษตรฯ กำลังเดินหน้าจัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ให้กับเกษตรกร โดยนำร่องปรับพื้นที่นาข้าวที่ไม่เหมาะสม 27 ล้านไร่   ไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ตั้งเป้าจะได้ 6 ล้านไร่ในปีนี้ พืชทีจะกำหนดโซนนิ่ง 13 ชนิดได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน ลำใย สัปปะรดโรงงาน  เงาะ มังคุด ทุเรียน มะพร้าว กาแฟ

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=51e51d8b150ba0520a00017d#.UeYT6m2ZjGg– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ปตท. อนาคตพลังงานจากสาหร่าย

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเศรษฐกิจ

สำนักข่าวไทย 16 ก.ค2556 .-มีการประเมินว่าอีก 5-10 ปีข้างหน้า โลกจะได้เห็นพลังงานน้ำมันจากสาหร่าย และไม่เกิน 20 ปี จะมีการผลิตน้ำมันจากสาหร่ายในเชิงการค้า ซึ่ง ปตท. ก็ร่วมงานวิจัยกับโครงการวิทยาศาสตร์และวิจัยอุตสาหกรรมแห่งออสเตรเลียเพื่อศึกษาสาหร่ายที่ให้น้ำมันนี้

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=51e54266150ba050060001f0#.UeX8L22ZjGg– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยมลพิษทางอากาศไทยมีแนวโน้มรุนแรงแต่ยังไม่เกินมาตรฐาน

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเกษตร
กรุงเทพ ฯ  16 ก.ค. 2556 – กรมควบคุมมลพิษติดตามสถานการณ์มลพิษทางอากาศของไทยมีแนวโน้มรุนแรงแต่ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน โดยพื้นที่อุตสาหกรรมบางแห่งพบการเกิดฝนกรดแต่ยังไม่รุนแรง   และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและระบบนิเวศ

กรมควบคุมมลพิษร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดสัมมนาการสร้างความตระหนักรู้ด้านมลพิษอากาศ โดย นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ กล่าวว่า สถานการณ์มลพิษทางอากาศของไทยมีแนวโน้ม รุนแรง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่  แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งปัญหามาจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การคมนาคม และภาคการเกษตร  มีการปล่อยมลพิษออกมาปริมาณสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้พื้นที่และบริเวณใกล้เคียงมีโอกาสเกิดการสะสมของกรดขึ้น  เป็นผลให้เกิดปรากฏการณ์ฝนกรดในหลายพื้นที่ของไทยและ ภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจากการตรวจสอบพบค่าความเป็นด่างในน้ำฝนลดลงต่ำกว่า 5.6 แต่ยังไม่ส่งผลต่อสุขภาพและระบบนิเวศ
Read more…– ( 76 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไทยเป็นอันดับที่ 38 จาก 144 ประเทศโดยการจัดอันดับของ WEF

World Economic Forum (WEF) ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ โดย 10 อันดับแรก ยังเป็นประเทศในภูมิภาคยุโรป (เช่น สวิสเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน อังกฤษ) ประเทศสหรัฐอเมริกา และบางประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ดังตารางที่ 2

สำหรับประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 38 จาก 144 ประเทศ ทั้งนี้ติดตามบทวิเคราะห์การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ประจำปี 2012-2013 โดย World Economic Forum: WEF ซึ่งวิเคราะห์โดย ฝ่ายวิจัยและการจัดนโยบาย 5 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ที่ http://www.sti.or.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=427&Itemid=283– ( 96 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ศักยภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยอยู่ตรงไหน?

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้จัดทำหนังสือ เรื่อง “ศักยภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยอยู่ตรงไหน?”  เพื่อให้ได้รับทราบบทบาทและความสำคัญของประเทศไทย ประกอบด้วยข้อมูล 7 บท ได้แก่ ความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ของประเทศ การวิจัยและพัฒนา บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดุลการชำระเงินทางเทคโนโลยี  สิทธิบัต ผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศักยภาพไอซีทีไทย ติดตามอ่านได้ที่ http://www.sti.or.th/th/images/stories/files/sti%20index-s2.pdf

– ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเขียนบทความวิจัยระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือ เรื่อง “การเขียนบทความวิจัยระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นี้  ด้วยการเขียนบทความวิจัยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การเขียนบทความวิจัยจึงเป็นทักษะมากกว่าความรู้เชิงทฤษฎี ท่านจะได้รับความรู้ทั้งหลักการเชิงทฤษฎีและประสบการณ์ของผู้เขียนจาก 15 บทความ ซึ่งประกอบด้วย

  • การเขียนบทความวิจัย: หลักการและวิธีการ (โดย ยงยุทธ ยุทธวงศ์)
  • ค่า Impact factor – ความสำคัญที่มีต่อบทความวิจัยระดับนานาชาติ (โดย รุจเรขา อัศวิษณุ)
  • Journal Impact Factor ของวารสารวิชาการไทย (โดย ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ)
  • การเขียนบทความวิจัย: เทคนิค/เคล็ดลับ (โดย ยอดหทัย เทพธรานนท์)
  • แนวทางการเขียนรายงานเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์มุมมองของนักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (โดย อภิวัฒน์ มุทิรางกูร และสุทัศน์ ฟู่เจริญ)
  • การเขียนบทความวิจัย: สาขาเภสัชศาสตร์ (โดย สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร)
  • การเขียนบทความวิจัย: สาขาฟิสิกส์ (โดย สุทัศน์ ยกส้าน)
  • การเขียนบทความวิจัย: สาขาคณิตศาสตร์ (โดย วัชรพงษ์ อนันต์ชื่น และนวรัตน์ อนันต์ชื่น)
  • การเขียนบทความวิจัย: ด้านวิศวกรรมการคำนวณ (โดย ปราโมทย์ เดชะอำไพ)
  • การเขียนบทความวิจัย: ด้านพลังงานและวัสดุ (โดย สมชาติ โสภณรณฤทธิ์)
  • การเขียนบทความวิจัย: สาขาเคมีอินทรีย์ (โดย อภิชาต สุขสำราญ)
  • การเขียนบทความวิจัย: สาขาเคมีเชิงฟิสิกส์และเคมีคอมพิวเตอร์ (โดย สุพจน์ หารหนองบัว)
  • การเขียนบทความวิจัย: สาขาเคมีวิเคราะห์ (โดย เกตุ กรุดพันธ์)
  • การเขียนบทความวิจัย: สาขาเกษตรศาสตร์ (โดย พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์)
  • การเขียนบทความวิจัย: สาขาชีววิทยา (โดย สมศักดิ์ ปัญหา)

หนังสือเรื่องนี้ จัดทำโดย มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย บรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ และ ศาสตราจารย์ ดร. ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์

 – ( 241 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เมื่อสาหร่ายสีเขียวปราศจากอากาศ

Published on July 17, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เมื่อสาหร่ายสีเขียวปราศจากอากาศ

เมื่อสาหร่ายสีเขียว “ไม่สามารถหายใจได้” พวกมันจะกำจัดพลังงานส่วนเกินผ่านการผลิตของไฮโดรเจน นักชีววิทยาจาก Ruhr-University Bochum พบวิธีการสังเกตที่บ่งบอกว่าเซลล์เหล่านั้นขาดออกซิเจน พวกมันต้องการตัวส่งถ่ายโมเลกุลไนตริกออกไซด์และฮีโมโกลโปรตีน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงของมนุษย์

ในร่างกายมนุษย์ ฮีโมโกลบินจะลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะต่างๆ และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอด อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่าไม่ได้ใช้ฮีโมโกลบินเพียงหนึ่งโมเลกุลเท่านั้น โดยธรรมชาติจะมีการผลิตโปรตีนจำนวนมากซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน สาหร่ายสีเขียวสายพันธุ์ Chlamydomonas reinhardtii ซึ่งสามารถลดการทำงานของฮีโมโกลบินได้ และมีนักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสบทบาทในการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจน  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447087– ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments