magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials)

Published on July 25, 2013 by in Librarian

สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) คือ สิ่งพิมพ์ที่มีการเผยแพร่เป็นตอนๆ หรือออกมาตามลำดับ หรือมีความต่อเนื่องเป็นระยะๆ  หรือเข้าชุด หรือเป็นชุด หรืออนุกรมสาร และหรือหนังสือที่พิมพ์ออกเป็นตอนออกตามกำหนดระยะเวลาที่สม่ำเสมอแน่นอน โดยมักจะออกเป็นวาระ ได้แก่

Read more…– ( 251 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ญี่ปุ่นคาดใช้งบกำจัดสารกัมมันตรังสีถึง 5หมื่นล้านดอลลาร์

Published on July 25, 2013 by in S&T Stories

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวต่างประเทศ

ญี่ปุ่น 24 ก.ค.2013  – บรรดาผู้เชี่ยวชาญของญี่ปุ่นคาดว่า อาจต้องใช้งบประมาณสูงถึง 5 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อขจัดสารกัมมันตรังสีในจังหวัดฟุกุชิมะ

บรรดาผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งชาติของญี่ปุ่น เผยผลการศึกษาค่าใช้จ่ายเพื่อการกำจัดสารกัมมันตรังสีจากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ  ไดอิจิ ระเบิดที่จังหวัดฟุกุชิมะ หลังเกิดแผ่นดินไหวคลื่นยักษ์ถล่ม ว่า  อาจต้องใช้เม็ดเงินสูงถึง 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ราว 1 ล้าน 5 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่าจำนวนเงินที่รัฐบาล จัดสรรไว้เพื่อการนี้ถึง 4 เท่า
Read more…– ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เปิดตัวนวัตกรรมกำจัดมอดข้าวโดยใช้ก๊าซไนโตรเจน

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเกษตร

17 ก.ค.2556  – บริษัท นครหลวงค้าข้าว จ.สมุทรปราการ-กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดตัวนวัตกรรม “ระบบกำจัดมอดและด้วงงวงข้าวโดยใช้ก๊าซไนโตรเจน” ซึ่งเป็นวิธีใหม่ในการกำจัดแมลงข้าวแบบไม่ใช้สารเคมี

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท สยาม วอเตอร์เฟลม จำกัด และบริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด วิจัยพัฒนานวัตกรรม “ระบบกำจัดมอดและด้วงงวงข้าวโดยใช้ ก๊าซไนโตรเจน” แบบไม่ใช้สารเคมี เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการกำจัดแมลงข้าวอย่างปลอดภัยและลดสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม
Read more…– ( 91 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิศวกรสวีเดนคิดค้น “เครื่องเปลี่ยนเหงื่อเป็นน้ำดื่ม”

Published on July 25, 2013 by in S&T Stories

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเทคโนโลยี

วิศวกรจากสวีเดนผลิตอุปกรณ์สามารถเปลี่ยนเหงื่อให้กลายเป็นน้ำบริสุทธิ์สะอาดมากกว่าน้ำประปาทั่วไป

แม้ว่าโลกจะก้าวหน้าเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ทว่าคนบนโลกราว 780 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดได้  ล่าสุด แอนเดรส แฮมเมอร์ วิศวกรจากประเทศสวีเดน จึงได้ผลิตอุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยน “เหงื่อ” ให้กลายเป็น “น้ำดื่มบริสุทธิ์” โดยผู้ผลิตกล่าวว่า น้ำที่กลั่นออกมาจากเครื่องนี้สะอาดมากกว่า น้ำประปาทั่วไปเสียอีก

หลักการทำงานของเครื่องนี้จะคล้ายกับที่นักบินอวกาศใช้เพื่อกลั่นปัสสาวะให้เป็นน้ำดื่ม แต่ราคาการผลิตเครื่องถูกกว่า โดยเครื่องนี้ใช้เทคนิคที่ชื่อว่า “การกลั่นด้วยเยื่อหุ้มเซลล์”  ซึ่งเครื่องจะให้ความร้อนกับน้ำ และจะทำให้น้ำระเหยเป็นไอ ซึ่งจะมีเยื่อกรองพิเศษที่ยอมให้ไอน้ำผ่าน แต่จะกันพวกแบคทีเรีย เกลือ และสารอื่นๆ ออกไป

ทั้งนี้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งในการโปรโมตโครงการของยูนิเซฟ ที่แสดงให้เห็นว่าคนอีกหลายร้อยล้านไม่มีน้ำดื่มสะอาดบริโภค โดยผู้ผลิตบอกว่าตั้งแต่นำเครื่องนี้มาให้ บริการเพียง 1 สัปดาห์ มีคนดื่มน้ำกลั่นจากเหงื่อไปแล้วมากกว่า 1,000 คนเลยทีเดียว

แต่กว่าจะได้น้ำเหงื่อที่เพียงพอเป็นน้ำสะอาดสักแก้ว สงสัยต้องวิ่งเช้ายันเย็นเป็นแน่ แต่ก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งเครื่องประดิษฐ์ทางเลือกที่สร้างสรรค์ไม่แพ้ใครจริงๆ

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=51ee237b150ba0a70b0000a6#.Ue9LKm2ZjGg– ( 32 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘เครื่องครอบฟัน’เทคโนโลยีทันตกรรมฝีมือไทย

เทคโนโลยีการบูรณะฟันแบบเซรามิกมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ปัจจุบันเซอร์โคเนียจัดเป็นเซรามิกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำมาใช้ในการผลิตเป็นครอบฟัน หรือ สะพานฟัน เนื่องจากมีคุณสมบัติที่โดดเด่นทางด้านความแข็งแรง และความสวยงาม แต่มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถขึ้นรูปด้วยวิธีปกติทั่วไปได้

ทีมวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป จึงพัฒนาเทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานทันตกรรมด้วยคอม พิวเตอร์ทั้งระบบ (Dental CAD/CAM/CNC) ชนิดระบบที่มีการเคลื่อนที่แบบ 4 แกน และ 5 แกน เข้ามาช่วยในการผลิตครอบฟัน และสะพานฟัน จากเซรามิกเซอร์โคเนีย ที่เน้นการใช้งานง่ายสำหรับช่างเทคนิคทันตกรรม และชิ้นงานที่ได้มีคุณภาพและความเที่ยงตรงสูงมากเมื่อเทียบกับกรรมวิธีดั้งเดิม
Read more…– ( 115 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เซลล์สุริยะพิมพ์ได้

นักเทคโนโลยีไทยชวนจินตนาการว่า จะเป็นอย่างไรเมื่อเราสามารถผลิตแผงเซลล์สุริยะ หรือโซลาร์เซลล์ แบบเดียวกับการผลิตหนังสือพิมพ์

ลองจินตนาการดูว่า จะเป็นอย่างไรเมื่อเราสามารถผลิตแผงเซลล์สุริยะหรือโซลาร์เซลล์แบบเดียวกับการผลิตหนังสือพิมพ์ นั่นคือ พิมพ์ออกมาแบบเป็นแผ่นๆ ด้วยความเร็วสูงออกจากโรงงาน เมื่อนั้นเราจะได้เซลล์สุริยะบนแผ่นพลาสติกที่มีราคาถูกและโค้งงอได้

ล่าสุดทีมนักวิจัยจาก Victorian Organic Solar Cell Consortium (VICOSC) ซึ่งเป็นเครือข่ายวิจัยร่วมระหว่าง The Commonwealth Scientific and Industrial Research Organization (CSIRO) และมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่ามันเป็นจริงได้แล้ว
Read more…– ( 116 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีปลอด’โรค’

“รัฐพล เฉลิมโรจน์” นักวิจัยไทยพัฒนาเทคนิคการตรวจคัดกรองโรคพืชให้มีประสิทธิภาพ สามารถตรวจตัวอย่างได้ในปริมาณมาก ขณะที่ต้นทุนลดลง 5 เท่า

บทเรียนของธุรกิจส่งออกเมล็ดพันธุ์ที่ต้องก้มหน้ารับสินค้าที่ถูกตีกลับ เพราะตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อราในกลุ่มเสี่ยง แม้จะมีระบบการสุ่มตรวจที่แม่นยำ แต่ดูเหมือนยังไม่ใช่คำตอบ
Read more…– ( 78 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หนังสือแนะนำน่าอ่าน “วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21″

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 … โดยก้าวสำคัญก้าวหนึ่งก็คือ PLC (Professional Learning Community) ซึ่งก็คือ CoP (Community of Practice) ของครูนั่นเอง และ CoP คือรูปแบบหนึ่งของ KM … ดังนั้นการจัดการความรู้เพื่อครู จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ควรศึกษาและกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน

– ( 95 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

DOI จำเป็นหรือไม่อย่างไร

จากคำถามที่ส่งมาถามว่า ”หนูอยากทราบว่า journal ทุกอันจำเป็นต้องมี doi ไหมคะ แล้วอย่างxxxxเวชสารควรมี หรือไม่” เป็นคำตอบที่ตอบได้ไม่ยากเลยนะครับ เพียงแค่ทำความเข้าใจกับ DOI ก่อน

  1. DOI – Digital Object Identifier ….. ตัวชื่อก็บ่งบอกแล้วคือ Digital Object ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องมองในมุม Digital Environment ด้วย ไม่ควรเอาสื่อปกติมา (ความรู้เดิมกับสื่อปกติ) มาประกอบ
  2. คำถามที่ควรถามตัวเอง ก่อนถามว่าวารสารของฉันจำเป็นต้องมี DOI ไหม คือ
    1. วารสารอยู่ในรูปตัวเล่ม หรือ Digital
    2. กระบวนการผลิตเป็นดิจิทัลทั้งกระบวนการ เช่น Open Journal System หรือเป็นตัวเล่มแล้วจบด้วยสแกนเป็น PDF
    3. วารสารในรูปแบบดิจิทัล เผยแพร่อย่างไร
    4. ความเสถียรของระบบเครือข่ายที่เผยแพร่มีมากเพียงใด การรับประกันความเสถียรมีอย่างไร

DOI Agency จะสนใจ Digital Environment และความเสถียรของระบบมาก ดังนั้นหากตอบแล้วว่าพร้อม ก็ทำได้เลยครับ แต่ถ้าไม่พร้อมก็ทำให้พร้อมก่อนแล้วค่อยเข้ากระบวนการ DOI  เพราะไม่มีไรที่เป็น Digital Environment และไม่มีอะไรเสถียร แต่ยอมจ่ายรายปีไปก่อน เพื่อให้ได้ชื่อว่ามีแล้ว … นับว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง– ( 104 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

eLearning กับแนวทางที่ควรปรับปรุง

สืบเนื่องจากที่มีประสบการณ์พัฒนา eLearning ตั้งแต่กระบวนการเรียนการสอน การออกแบบสื่อ การพัฒนาสื่อ และการพัฒนาระบบ ทำให้มีโอกาสเข้าไปร่วมงานกับสถาบันการศึกษาหลายที่ โดยเฉพาะในประเด็นการประเมินระบบ eLearning ของสถาบัน ผลการประเมิน eLearing ของหลายสถาบันออกมาไม่แตกต่าง คือ “ไม่ค่อยดี” เพราะนศ. มี comment ว่าสื่อในระบบ

  1. เปิดสื่อไม่ได้ สาเหตุก็เพราะสื่อจำนวนมากนำเสนอโดยลิงก์ไปหาไฟล์ Word หรือ PPT ซึ่งการเปิดข้าม Version ทำให้เกิดปัญหาเปิดใช้งานไม่ได้ หรือเปิดแล้วเนื้อหาสูญเสียการจัดวาง (Layout) 
  2. สื่อไม่น่าสนใจ โดยสื่อนำเสนอด้วยข้อความมากกว่า Interactive & Graphic
  3. การเข้าถึงยาก ระบบมักจะเป็นระบบปิด ซึ่งหลายระบบมีความยุ่งยากในการเข้าเรียนเพื่อทบทวนจากภายนอกสถาบัน
นอกจากนี้ยังไม่รวมความเสี่ยงกับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา

ทุกประเด็นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่สถาบันควรนำมาทบทวน และกำหนดแผนดำเนินการใหม่– ( 66 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments