magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์

ในการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์พบว่าผู้สอนยังใช้ความรู้เดิมที่ตนเองมี อันได้จากอาจารย์ท่านใดสอนหรือแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537  ทั้งนี้ยังมีเอกสารที่น่าสนใจอีกหลายฉบับที่ควรศึกษาเพิ่มเติม อันได้แก่

1) คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม
2) คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับการเรียนการสอน

และอยากเสนอให้ห้องสมุด สถาบันการศึกษาจัดทำมุมความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์กันด้วย เพราะยังพบว่ามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนดังเช่น

ประเด็นอันสืบเนื่องจากกฏหมายลิขสิทธิ์ที่น่าห่วงสำหรับการทำผลงานวิชาการ ก็คือ ผู้ทำผลงานวิชาการมักจะเชื่อ (หรือเข้าใจ) ว่าการอ้างอิง จะช่วยป้องกันการละเมิดประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ หรือเชื่อประมาณว่า “ไม่ถูกฟ้อง” จริงๆ แล้วการถูกฟ้องหรือไม่ เป็นเรื่องของผู้ฟ้อง .. หากเค้าจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง ก็เป็นเรื่องของเค้านะครับ ดังนั้นไม่เกี่ยวกับการอ้างอิงที่มา .. การอ้างอิงจะเป็นเพียงหนึ่งหลักฐานที่ใช้ในการต่อสู้คดี … ภายใต้การอ้างอิงบนฐานของการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม …

หรือการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมที่คลาดเคลื่อน ดังเช่น

กฎหมายลิขสิทธิ์ ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 กล่าวถึงความหมายของลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ อายุแห่งการคุ้มครองสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์ และการใช้งานโดยธรรม ของบรรณารักษ์และนักสารนิเทศ การใช้งานโดยธรรม ของบรรณารักษ์และนักสารนิเทศ ตามพระราชบัญญัติ มาตรา 34 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ ของการทำซ้ำ งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด เป็นการกระทำอันชอบธรรม ซึ่งถือว่าเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

นอกจากนี้มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาอันเกิดจากลิขสิทธิ์ ดังนี้

สำหรับท่านที่มองว่าเรื่องนี้ไม่ใหญ่ ลองประเมินเล่นๆ ดูสิครับว่า “หากงานที่ท่านทำตามหน้าที่ ส่งผลให้ถูกฟ้องประเด็นลิขสิทธิ์” จะ

1) หน่วยงาน พร้อมช่วยเหลือเต็มที่
2) หน่วยงาน ให้คุณดูแลตัวเอง
3) หน่วยงาน ให้คุณดูแลตัวเอง และตั้งกรรมการสอบถาม ฐานทำให้หน่วยงานเสียหาย

ดังนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ และการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมโดยเฉพาะในการเรียนการสอน จึงเป็นประเด็นที่ควรนำมาทบทวนและให้ความรู้กันใหม่อีกครั้ง– ( 236 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จุดบกพร่อง (Bug)

Published on July 24, 2013 by in Librarian

จุดบกพร่อง (Bug) เป็นจุดบกพร่อง ข้อผิดพลาด หรือปัญหาที่ผู้เขียนหรือผู้พัฒนาโปรแกรมทำคำสั่งบกพร่องหรือผิดพลาดกับโปรแกรม (ซอฟต์แวร์) ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ก็ตามที่ส่งผลทำให้ระบบและกระบวนการทำงานของโปรแกรมผิดพลาด ไม่ถูกต้อง ระบบงานทั้งหมด หรือบางส่วนหยุดชะงัก รวมถึงอาจจะสร้างความเสียหายให้กับข้อมูลสำคัญได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงจุดบกพร่อง ข้อผิดพลาด หรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์) อีกด้วย หากเกิดปัญหาหรือข้อผิดพลาดกับโปรแกรม (ซอฟต์แวร์) นั้น สามารถแก้ไขได้โดยการแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม (ซอฟต์แวร์) แต่หากเกิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์) นั้น สามารถแก้ไข กำหนดค่าต่างๆ ออกแบบหรือสร้างวงจรกันใหม่

Read more…– ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จุลสาร (Booklet, Pamphlet)

Published on July 24, 2013 by in Librarian

จุลสาร (Booklet, Pamphlet) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่ลงข่าวสารหรือความรู้ อาจเสนอความรู้เป็นเรื่องๆ หรือหัวข้อเฉพาะเรื่อง ผลิตออกเผยแพร่ไม่ต่อเนื่อง เป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน  จัดอยู่ประเภทของหนังสือ แต่มีลักษณะเล็กและบาง ไม่แข็งแรง อาจเป็นแผ่นกระดาษชพับซ้อนกัน หรือไม่เย็บเป็นเล่ม หรืออาจเป็นสิ่งพิมพ์ที่เย็บเล่มแต่มักใช้ปกอ่อนหุ้มหรือไม่หุ้มปกหุ้ม สามารถพกพาสะดวก ซึ่งประกอบไปด้วยความหนาอย่างน้อย  5 หน้า แต่ไม่เกิน 48 หน้า มีจำนวนคำอยู่ในช่วง 500 -1,000 คำ มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียวและจบบริบูรณ์ภายในเล่ม มักเป็นการจัดทำโดยหน่วยงานราชการ องค์การ สถาบันต่างๆ เพื่อเผยแพร่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆ พิมพ์แจกแก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ และเป็นสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่า ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษเพื่อเผยแพร่งานเขียนในศตวรรษที่ 16

การจัดเก็บจุลสารนั้น ห้องสมุดจะกำหนดหัวเรื่องตามเนื้อหาของจุลสาร จัดเก็บใส่แฟ้ม แล้วนำเก็บไปไว้ในตู้หรือชั้นเก็บเอกสาร โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรของหัวเรื่องนั้นๆ

โดยห้องสมุดใช้สัญลักษณ์แทนเลขหมู่ ดังนี้

จุลสารภาษาไทย ใช้ จ.ส. ย่อจาก จุลสาร
จุลสารภาษาต่างประเทศ ใช้ V.F. ย่อจาก vertical file เป็นต้น

 

อ้างอิง :

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2548). สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). จุลสาร-จดหมายข่าว-แผ่นพับ-แผ่นปลิว.  ค้นคืนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2975.

อัมพร ทีขะระ. (2528). ศัพท์วิชาการบรรณารักษ์ศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Reitz, Joan M. (2004).  Pamphlet.  Retrieved July 24, 2013, From http://www.abc-clio.com/ODLIS/odlis_p.aspx.

 – ( 152 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ราชกิจจานุเบกษา (Gazette)

Published on July 24, 2013 by in Librarian

ราชกิจจานุเบกษา (Gazette) เป็นสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับการแจ้งข่าวและเผยแพร่เรื่องที่เกี่ยวกับราชการ ได้แก่ เหตุการณ์ปัจจุบัน ประกาศทางกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ การนัดหมายต่างๆ ตลอดจดการประกาศจดทะเบียบห้างหุ้นส่วนและบริษัท กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องประกาศหรือส่งพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเป็นเรื่องสำคัญที่สมควรเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ฯลฯ ซึ่งมีอายุยืนยาวที่สุด ในประเทศไทยมีการจัดพิมพ์ครั้งแรกในประเทศไทยครั้งแรกใน พ.ศ.2401

Read more…– ( 69 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คู่มือ Microsoft Office Word 2010

Microsoft Word เป็นโปรแกรมประมวลผลคำที่ได้รับความนิยมและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งรุ่น 2010 หรือเรียกว่า Microsoft Office Word 2010 โดยมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

 

– ( 209 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุปสรรคของการทำ ePub

Published on July 23, 2013 by in e-Book

นั่งอ่าน Post ของคุณธีรพงษ์ ส. https://www.facebook.com/piakTS เกี่ยวกับการทำ ePub โดยกล่าวถึงภูเขา 2 ภูเขาลูกแรกคือ ในเมืองไทยมีคนที่ทำ epub เป็นน้อยมาก สนพ.ต่าง ๆ แม้จะสนใจตลาดอีบุ๊ค และเริ่มเห็นด้วยกับแนวทางของ booksoho แต่พวกเขาแทบจะไม่รู้จัก epub เลย และภูเขาลูกที่สอง อันนี้คาดไม่ถึงคือ ต้นฉบับสุดท้ายที่สำนักพิมพ์ในเมืองไทยเก็บไว้ จำนวนมากเก็บเป็นไฟล์ pdf

จากภูเขาสองลูกของคุณธีรพงษ์ ส. เป็นประเด็นที่น่าสนใจ และผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยในปัจจุบันพบว่ามีหลายที่สนใจทำ eBook ในฟอร์แมตต่างๆ รวมทั้ง ePub แต่ไม่น่าเชื่อว่า “หลายๆ ที่จบด้วยการพิมพ์เนื้อหาใหม่ จัดรูปแบบใหม่” โดยไม่สามารถนำแฟ้มเอกสารตั้งต้นมาใช้ได้เลย ทั้งๆ ที่ไม่ควรจะเป็นการสร้างภาระมากขนาดนี้ ซึ่งก็ตรงกับประเด็นภูเขาลูกที่สองนั่นเอง

เอาง่ายๆ เรามาเริ่มจากไฟล์ต้นฉบับปกติก่อน … จะมีสักกี่คนที่ให้ความสำคัญ ความสนใจเก็บไฟล์ต้นฉบับ .doc .docx .odt ไว้เพื่อใช้งานในอนาคต … ส่วนมากจะสนใจการเก็บ “กระดาษ” โดยเฉพาะหน่วยงานที่ต้องประเมิน ประกันคุณภาพ แทบจะละเลยเอกสารดิจิทัลทั้งหมด … และแม้จะมีหลายหน่วยงานลุกขึ้นมาทำ KM ทำคลังเอกสารสถาบัน หรือ IR กลับจบด้วยการนำกระดาษที่พิมพ์นั่นแหล่ะ มาสแกนและนำเข้าระบบ …

Read more…– ( 367 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การโจรกรรมทางวรรณกรรม

Plagiarism เป็นรูปแบบหนึ่งของความไม่สุจริตทางวิชาการ เช่น การขโมยความคิด หรือคำพูด หรือข้อความ ของบุคคลอื่นมาใช้โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มาหรือประกาศเกียรติคุณ นับเป็นการลอกงานเขียน ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือนหรือเกือบเหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำว่า Plagiarism ไว้ 2 คำคือ “โจรกรรมทางวรรณกรรม” (สาขาวรรณกรรม) กับ “การลอกเลียนวรรณกรรม” (สาขานิติศาสตร์) หมายถึงการกระทำที่เป็นการแอบอ้างงานเขียน หรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมของผู้อื่นทั้งหมด หรือนำมาบางส่วนมาใส่หรือมาใช้ในงานของตนเองโดยไม่มีการอ้างอิง แหล่งที่ได้ข้อมูลมา

– ( 168 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำหรับโรงเรียน

บริการหนึ่งของห้องสมุดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็คือ การทำบัญชีทรัพยากรสารสนเทศ โรงเรียนที่มีความพร้อมก็สามารถจัดซื้อจัดหาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Automated Library) หรือระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ (ILS – Integrated Library System) มาใช้เพื่อบริการจัดการทรัพยากรสารสนเทศและบริการผู้ใช้ ซึ่งก็คือนักเรียน

ในขณะที่ห้องสมุดที่มีงบประมาณจำกัด อาจจะไม่สามารถจัดซื้อจัดหาได้ แต่ด้วยกระแสซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (Open Source Software: OSS) ที่ช่วยให้สามารถปรับประยุกต์ OSS มาใช้งานได้ จึงมีการเลือก OSS มาพัฒนา ILS หรือ Automated Library ให้โรงเรียน

จากที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับหลายหน่วยงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจ 2 – 3 ประเด็นที่อยากนำเสนอ ได้แก่

Read more…– ( 231 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

เว็บ Blog ง่ายๆ ด้วย WordPress.com

นานมากแล้วที่พบว่าการอบรมเกี่ยวกับ “เว็บ” มักจะจบด้วย “การไม่มีเว็บ” เพราะข้อจำกัดเรื่องเครื่องแม่ข่ายเว็บ ความปลอดภัย ความมั่นคง .. และงบประมาณ ดังนั้นจึงเป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยการจัดงบประมาณเพื่ออบรมเว็บบนฐานที่ผู้จัดไม่มีความพร้อมใดๆ ให้กับผู้อบรม …

แนวทางหนึ่งที่ควรดำเนินการคือ หน่วยงานควรสร้างความพร้อมเกี่ยวกับเครื่องแม่ข่ายเว็บและประเด็นที่เกี่ยวข้องก่อน เพราะการอบรมโดยเอาเงินมาปล่อยให้ละลายเป็นการขาดความรับผิดชอบอย่างมาก แต่ถ้ามองแล้วก็ไม่สามารถจัดหาความพร้อมใดๆ ได้ และยังต้องการอบรมก็ควรเลือกหาซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม เช่น ซอฟต์แวร์ที่บริการพื้นที่เว็บฟรี .. อย่างเช่น WordPress.com หรือ Omeka.neet

WordPress.com นับเป็นเครื่องมือพัฒนาเว็บที่น่าสนใจ เพราะนอกจากให้ใช้งานโปรแกรมได้ฟรี ยังมีพื้นที่ให้ฟรีด้วย ไม่รวมความสามารถของโปรแกรมที่ง่าย สามารถประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ ได้หลากหลาย ยังไงก็ลองศึกษาความสามารถกันดูนะครับ– ( 99 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

Lab notebook: บันทึกช่วยจำในงานวิจัย

บันทึกช่วยจำในงานวิจัย (Laboratory notebook) เป็นการบันทึกความคิด ผลการทดลอง ข้อสังเกต ผลลัพธ์ และกระบวนการในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ วัตถุประสงค์หลักของบันทึกช่วยจำในงานวิจัยคือการบันทึกสิ่งที่อาจขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร โดยบันทึกเหตุการณ์ตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องแม่นยำ ประโยชน์ของบันทึกช่วยจำในงานวิจัย คือ ผู้ประดิษฐ์สามารถนำข้อมูลที่บันทึกไว้พิสูจน์สิทธิในศาลเวลาเกิดข้อพิพาททางกฎหมาย ส่วนผู้ร่างคำขอรับสิทธิบัตรสามารถนำสิ่งที่บันทึกไว้เป็นข้อมูลประกอบการร่างข้อถือสิทธิในคำขอรับสิทธิบัตรได้

บทความนี้ เขียนโดย ดร. ใจรัก เอื้อชูเกียรติ นักวิชาการ  สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี  ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้เกริ่นนำถึงความสำคัญและความจำเป็นของการมีบันทึกช่วยจำในงานวิจัย อธิบายถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อให้บันทึกช่วยจำในงานวิจัยนี้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดสมความมุ่งหมาย จากนั้นจึงกล่าวถึงคดีที่เกิดขึ้นที่มีการนำบันทึกช่วยจำในงานวิจัยมาใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิ คดีที่เกิดขึ้นทั้งหมดแม้เป็นคดีที่เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่สามารถนำผลของคดีมาศึกษาเทียบเคียงหากมีการนำคดีขึ้นสู่ศาลไทยได้เช่นกัน ด้วยเหตุว่าพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ระบุว่าในการคัดค้านการขอรับสิทธิบัตรใด ๆ ผู้คัดค้านและผู้ถูกโต้แย้งสิทธิจะต้องนำเสนอหลักฐานประกอบการพิจารณาด้วย ในกรณีเช่นว่านั้น บันทึกช่วยจำในงานวิจัยจะเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ใช้ในการพิสูจน์สิทธิได้ว่ามีการทำวิจัยขึ้น หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สรุปได้จากตัวอย่างคดีที่เกิดขึ้นที่มีข้อเท็จจริงที่หลากหลายจะนำไปสู่ข้อพึงระวังและบทสรุป

อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/13009-lab-notebook– ( 136 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments