magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

นักวิทย์เชื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มต้นจากนอกโลก

Published on June 18, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง นักวิทย์เชื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มต้นจากนอกโลก

โลกในยุคแรกไม่เหมาะกับการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตมากเท่าไหร่ และล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ได้เสนอว่า สิ่งมีชีวิตบนโลกมาจากนอกโลก
 
เนียร์ โกลด์แมน นักวิทยาศาสตร์จากลอว์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ และไอแซค แทมบลีน นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีออนทารีโอ ค้นพบว่า ดาวหางน้ำแข็งที่พุ่งชนโลกเมื่อหลายล้านปีก่อนอาจจะมีสารประกอบอินทรีย์ที่จะประกอบไปเป็นสิ่งมีชีวิตติดมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คู่นิวคลีโอเบสของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ ดาวหาง มีโมเลกุลพื้นฐานอย่างน้ำ แอมโมเนีย เมธานอล และคาร์บอนไดออกไซด์ และมีพื้นผิวที่เสริมสร้างพลังงานมหาศาลให้ไปขับเคลื่อนปฏิกิริยาเคมีต่างๆ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447013– ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ (Edward Teller)

เป็นนักฟิสิกส์ ทฤษฎี ชาวฮังการี-อเมริกัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งระเบิดไฮโดรเจน ซึ่งมีพลานุภาพร้ายแรงกว่าระเบิดปรมาณูหลายเท่า ด้วยการเข้าร่วมพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในโครงการแมนอัตดัน ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนี้ยังสร้างผลงานด้านนิวเคลียร์และฟิสิกส์โมเลกุล ไว้อีกจำนวนมาก

แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. (2556). วาทะนักวิทย์ : เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์. Update, 28(306), 105.– ( 120 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เมโทรโพล พราราชอล

เป็นสิ่งก่อสร้างจากไม้ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเมืองเซวิเย ประเทศสเปน ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเยอรมัน
เจอร์เกน เมเยอร์-เฮอร์แมนน์ อำนวยการสร้างโดย ซาควีร์ วาเยเฮอร์โมโซ เริ่มก่อน้างในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ด้วยงบประมาณกว่า 50 ล้านยูโร และแล้วเสร็จลงในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 มีขนาด 150×70 เมตร สูงราว 26 เมตร มีหลังคาบังแดดขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายเห็ดยักษ์หกดอก ประกอบขึ้นด้วยไม้ วางลวดลายเป็นตาข่าย มีสี่ชั้นด้านบนของหลังคาเปิดโล่ง รวมถึงสร้างทางเดินและระเบียงให้คนทั่วไปขึ้นไปชมทัศนียภาพของเมืองได้ ภายในมีพิพิธภัณฑ์ ตลาด ภัตตาคารและจุดชมวิว

แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. (2556). สิ่งสร้างมหัศจรรย์ : เมโทรโพล พาราซอล. Update, 28(306), 105.– ( 47 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระบบจำลองการขับรถไฟ – การรถไฟไทย

ไม่น่าเชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้ของรถไฟไทยของเราจะมีเครื่องมือประกอบการเรียนการสอนที่น่าทึ่ง เพราะเป็นคนหนึ่งที่ใช้บริการรถไฟมาตั้งแต่เด็กภายใต้คำบ่นตลอดเวลา … รถไฟไม่สะอาด โดยเฉพาะห้องน้ำ รถไฟเสียเวลา แต่ก็ต้องมานั่งเป็น 1 ในกรรมการวิชาการของโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประเทศไทย

จากการไปนั่งช่วยโครงการฯ จึงได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกิจการที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของรถไฟ หนึ่งในนั้นที่เห็นแล้วประทับใจก็คือ “ระบบจำลองการขับรถไฟ” หรือ Training Simulator ที่ JICA ได้มาลงทุนจัดทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 และยังคงใช้มาจนถึงวันนี้ โดยห้องระบบจำลองการขับรถไฟตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ บริเวณสวนรถไฟ จตุจักร กทม.

ห้องจำลองการขับรถแบ่งเป็น 2 ห้อง โดยห้องแรกฝึกรถไฟแบบฝึกโต้ตอบกับสื่อทั้งแบบกดปุ่ม และแบบตอบคำถามผ่านจอภาพ


ระบบจำลองการขับรถไฟแบบกดปุ่ม
Read more…– ( 170 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิธีการผลิตแบบ Additive

GE บริษัทผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังพัฒนาการผลิตแบบการพิมพ์ 3 มิติเพื่อการผลิตเครื่องบินเจ็ท บริษัท General Electric (GE) กำลังปฏิรูปการผลิตชิ้นส่วนครั้งใหญ่ โดยแผนกผลิตอุปกรณ์เครื่องบินของ GE ซึ่งเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุด ในตลาดเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินเจ็ทกำลังเตรียมการผลิตหัวจ่ายน้ำมันสำหรับเครื่องจักรของเครื่องบินรุ่นใหม่ โดยใช้วิธีการพิมพ์ชิ้นส่วนด้วยเลเซอร์แทนการผลิตด้วยการหล่อและเชื่อมโลหะ วิธีการใหม่นี้มีชื่อว่าการผลิตแบบ additive (ซึ่งเป็นการผลิตวัตถุโดยการเพิ่มชั้นโลหะบางๆ ทีละชั้น) ซึ่งวิธีการนี้อาจจะสร้างการเปลี่ยนแปลงในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนอื่นๆ ต่อไป

GE และ CFM International บริษัทร่วมลงทุนของ GE จะใช้หัวจ่ายน้ำมันที่ผลิตจากการพิมพ์ 3 มิติในเครื่องจักรของเครื่องบินเจ็ท LEAP ซึ่งจะเริ่มใช้งานในปลายปี พ.ศ. 2558 หรือต้นปี พ.ศ. 2559 โดยเครื่องยนต์หนึ่งตัวจะใช้หัวจ่ายน้ำมัน 10 – 20 ตัว ดังนั้น GE จึงต้องผลิตหัวจ่ายจำนวน 25,000 หัวต่อปี ในช่วงเวลา 3 ปี การผลิตแบบ Additive เป็นการผลิตด้วยวิธีการพิมพ์แบบสามมิติ ในระดับโรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าในปัจจุบัน วิธีการผลิตนี้ถูกใช้ในการผลิตชิ้นส่วนบางอย่าง เช่น อวัยวะเทียมและชิ้นส่วนต้นแบบ ในวงการวิศวกรรมและการออกแบบ แต่การนำเอาวิธีการผลิตนี้มาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนโลหะที่ใช้ในเครื่องยนต์ของเครื่องบินเจ็ทหลาย อันเครื่องถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของเทคโนโลยีนี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/12514-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมิถุนายน2556. ค้นข้อมูลวันที่ 14 มิถุนายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204– ( 91 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โครงการวิจัยด้านสมอง

โอบามาประกาศความตั้งใจในการพัฒนาเครื่องมือใหม่เพื่อการศึกษาวงจรประสาท

การวิจัยด้านสมองกำลังเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้นในสหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้ ประธานาธิบดีบารัค
โอบามา ได้ประกาศให้การสนับสนุนในการพัฒนาเครื่องมือขั้นสูงในการศึกษาการทำงานของสมองของมนุษย์ในเดือนเมษายน 2556 โดยการวิจัยด้านสมองจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Advancing Innovative Neuro-technology และมีงบประมาณ สนับสนุนถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีงบประมาณปี 2014

การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการวิจัยทางสมองแบ่งเป็นสามประเภท คือ การสร้างเครื่องมือในการตรวจวัดการทำงานของเซลล์ประสาททั้งหมดในวงจร  การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นเซลล์ประสาทเพื่อวัตถุประสงค์ในการทดลอง และการพัฒนาเครื่องมือเพื่อจัดเก็บ วิเคราะห์ และการเปิดให้ข้อมูลต่างๆ สามารถเข้าถึงได้สำหรับนักวิจัยทั้งหมด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1186—-62556

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมิถุนายน2556. ค้นข้อมูลวันที่ 14 มิถุนายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/13th/?page_id=204

 – ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กรมชลประทาน จัดงานครบ 111 ปี เผยสถานการณ์น้ำในเขื่อนปีนี้ปกติ

กรุงเทพฯ 13 มิ.ย.2556 -กรมชลประทาน-ก.เกษตรฯ มั่นใจหน้าแล้งปีนี้จะอยู่ในภาวะปกติ โดยจะมีน้ำในเขื่อนร้อยละ 60 หลังมีฝนตกทั่วทุกภาค

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในงานสถาปนากรมชลประทานครบ 111 ปี ถึงสถานการณ์น้ำว่า ขณะนี้ฝนตกในพื้นที่ต่างๆ   ทั่วทุกภาคเป็นไปตามการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาฯ ทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนสำคัญๆ เพิ่มขึ้น และในเดือนพฤศจิกายน หน้าแล้งปีนี้คาดว่าจะมีน้ำในเขื่อนร้อยละ 60 ซึ่งถือว่าสถานการณ์น้ำปกติ

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ในการดำเนินการปีต่อไปๆ มีเป้าหมายจะขยายพื้นที่ชลประทานให้เพิ่มขึ้นเท่าตัว จากปัจจุบันประมาณ 29.6 ล้านไร่ เป็น 60 ล้านไร่  ซึ่งครอบคลุมทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม งบประมาณประจำปีที่ได้รับสามารถขยายพื้นที่ได้เพียงปีละ 200,000 ไร่ ซึ่งอาจใช้เวลานับร้อยปีถึงจะครบเป้าหมาย แต่หากรัฐบาลให้ความสำคัญ และเพิ่มการลงทุนเช่นเดียวกับโครงการบริหารจัดการน้ำ ก็น่าจะทำได้รวดเร็วขึ้น

สำหรับงาน 111 ปีกรมชลประทาน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 มิถุนายน 2556 กิจกรรมมีการจัดนิทรรศการ “5 รัชกาลงานชลประทาน” วิวัฒนาการงานชลประทานของไทย สุดยอดนวัตกรรม งานชลประทาน รวมทั้งกิจกรรมวอล์กแรลลี่ด้วย.

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=51b966f6150ba0251800008b#.UblxzpybDGg– ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตรวจสายพันธุ์สุนัขจากดีเอ็นเอ

สหรัฐ 12 มิ.ย.2013  – หลายท่านอาจอยากจะทราบว่าสุนัขที่เลี้ยงไว้มาจากพ่อแม่สายพันธุ์อะไร นักวิทยาศาสตร์สหรัฐมีวิธีพิสูจน์สายพันธุ์ของสุนัขแล้วด้วยการตรวจดีเอ็นเอ

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=51b8168f150ba00a6e000029#.Ublv_JybDGg– ( 58 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เปิดแล็บ ‘เทคโนโลยีชีวภาพอาหาร’ ดึงผู้ประกอบการใช้จุลินทรีย์เมืองไทย

ปัจจุบัน “เทคโนโลยีชีวภาพ” ถูกนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ที่หลากหลายทั้งการแพทย์ การเกษตร รวมถึงด้านอุตสาหกรรมอาหาร ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสูง

ล่าสุด.. ไบโอเทคหรือศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เปิดบ้านโชว์เทคโนโลยีชีวภาพอาหาร เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในภาคอุตสาหกรรม

“ดร.วรรณพ วิเศษสงวน” ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร ไบโอเทค/สวทช. บอกว่า ที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมอาหารไทยต้องนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้ ซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการไทยได้อย่างเต็มที่ Read more…– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)


ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 เป็นนักประสาทวิทยา นักจิตบำบัด และนักจิตวิเคราะห์ ชาวออสเตรีย ผู้ริเริ่มการศึกษาด้านจิตวิทยา และได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ โดยทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์ใช้ไขความลับภายใต้จิตใจของมนุษย์ ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจ

ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้แบ่งกระบวนการคิดออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. Secondary Process เป็นกระบวนการคิดที่ยึดเหตุผลมองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง
2. Primary Process เป็นกระบวนการคิดแบบเด็ก ๆ ไม่เป็นเหตุไม่เป็นผล ไม่สนใจ เรื่องเวลาหรือสถานที่ สิ่งที่ต้องการ คือ ความสุข ความสมหวัง ซึ่งต้องการได้รับการตอบสนองทันที จึงจะพอใจโดยไม่คำนึงว่าผลตามมาจะเป็นอย่างไร

แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. (2556). วาทะนักวิทย์ : ซิกมันด์ ฟรอยด์. Update, 28(304), 105.– ( 138 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments