magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

เนตรนารีครั้งแรกในเมืองไทย

หลังจากมีก่อตั้งลูกเสือไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชประสงค์ที่จะตั้งสมาชิกแม่เสือขึ้น เพื่อทำหน้าที่จัดหาเสบียง และเวชภัณฑ์ในกองเสือป่า พร้อมทั้งก่อตั้งการลูกเสือหญิง โดยทรงพระราชทานนามว่า เนตรนารี เพื่อฝึกให้เด็กหญิงฝึกประพฤติตนไปในทางที่ชอบ และบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยตั้งเนตรนารีกองแรกขึ้นที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ.2457 แต่การเนตรนารีก็ยังไม่เป็นรูปธรรมนักเนื่องจากสิ้นรัชกาลเสียก่อน ภายหลังจึงมีการรื้อฟื้นการเนตรนารีขึ้นใหม่ โดยมี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเป็นองค์อุปถัมภิกาของการเนตรนารี พร้อมรับรองให้การเนตรนารีเป็นส่วนหนึ่งของการลูกเสือต่อไป

แหล่งที่มา:
น้องโนเนะ. “แรกมีที่เมืองไทย: เนตรนารี”. Update 27(295); 105; พฤษภาคม 2555.– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ADVENTURES IN CAPITAL

Investment funds are sprouting up to finance Southeast Asia’s rising tech companies.
The spread of internet use in the wake of global capitalism offers one of the best chances for technology companies to access greater funds.

Last year’s initial public offering of Facebook shares and the company’s US$1-billion acquisition of Instagram triggered a global investment boom in tech firms, said Vitaya Arunanondchai, a partner of the newly established M8VC venture capital fund.
Read more…– ( 58 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รัฐเพิ่มงบวิจัย1%ของจีดีพี ความท้าทายที่ยังมาไม่ถึง

เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ คงไม่อาจมองข้ามความสำคัญของงานวิจัย ที่เป็นกลไกหลักในการเกื้อหนุน  ในขณะที่ประเทศไทยผ่านมาหลายยุคหลายสมัย งบวิจัยของประเทศยังคงย่ำอยู่ที่ 0.02% ของจีดีพี ด้วยเม็ดเงินลงทุนราว 1 หมื่นล้านบาท ความท้าทายของตัวเลขงบวิจัยที่เพิ่มขึ้นยังคงเกิดขึ้นในรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย

รัฐบาลภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สร้างความท้าทายครั้งใหม่กับวงการวิจัย หลังจากประกาศเพิ่มงบวิจัยของประเทศให้ 1-2% ของจีดีพี แต่ไม่ได้ระบุถึงกรอบเวลาที่ชัดเจนนั้น ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. สะท้อนมุมมองว่า การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาทุกรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับนโยบายวิจัย แต่ในทางปฏิบัติยังคงเส้นคงวามาตลอด หมายถึงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง Read more…– ( 75 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นายกฯ’สวมผ้าไหมลดร้อน รัฐบาลเล็งส่งจำหน่ายทั่วโลก

ทำเนียบ -เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้นำผ้าฝ้ายและผ้าทอพื้นเมืองจากภาคต่างๆ มาจัดแสดงโชว์ก่อนนำไปพัฒนาต่อยอดตามนโยบายการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าสิ่งทอ ด้วยนาโนเทคโนโลยีเพื่อรองรับการแข่งขันเสรี ซึ่งคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นมาด้วยระบบของนาโนเทคโนโลยีนั้นนอกจากลดการยับของ เนื้อผ้าและเพิ่มความนุ่มนวลแล้วยังมีคุณสมบัติต้านแบคทีเรียทำให้ไม่เกิด กลิ่นเหม็นอับและลดความจำเป็นในการซักด้วย ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งวันนี้นายกฯ ได้สวมเสื้อผ้าไหมลายผ้าขาวม้า และกระโปรงผ้าไหมสีเขียว และได้สอบถามถึงการพัฒนาต่อยอดผ้าฝ้ายและผ้าทอพื้นเมือง

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า สำหรับการรณรงค์ประหยัดพลังงานด้วยการสวมผ้าไทยนั้นจะไม่ใช่แค่ลักษณะของไฟ ไหม้ฟาง แต่เป็นการรณรงค์ ไม่ใช่การบังคับ เป็นเรื่องของความสมัครใจ ถ้าสมัครใจสวมใส่ใส่แล้วสบายใจก็จะเป็นการดี สำหรับชุดที่ตนสวมใส่วันนี้ก็เป็นผ้าไหมซึ่งเป็นผ้าขาวม้าที่ชาวบ้านผูกเอว ให้มาก็นำไปออกแบบร่วมกับช่างตัดเสื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมผ้าไทยนอกจากจะใช้สวมใส่ในประเทศแล้ว ก็ยังส่งเสริมให้มีการพัฒนาเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศด้วยและขณะนี้ทั้ง กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เร่งพัฒนา รณรงค์ส่งเสริมการพัฒนาเพื่อให้ผ้าไทยมีคุณภาพมีการออกแบบหรือประยุกต์ให้ เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น โดยต้องคำนึงถึงรูปแบบ ลวดลายต่างๆ ที่จะส่งไปจำหน่ายในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกซึ่งปกติผ้าไหมก็เป็นผ้าที่ได้รับ ความนิยมสูงแต่ก็ต้องพัฒนาในเรื่องของรูปแบบ วิธีการตัดเย็บ และขนาดที่จะจัดจำหน่าย

“ส่วนปัญหาที่ระบุว่าค่าตัดเย็บมีราคาสูงกว่าค่าผ้านั้นเรื่องนี้เป็นเรื่อง ของฝีมือซึ่งจะไปลดราคาคงลำบากแต่หากมีการสวมใส่กันจำนวนมาก มีการพัฒนาการออกแบบ จนสามารถเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ ก็คิดว่าราคาน่าจะถูกลง”

รายการอ้างอิง :
‘นายกฯ’สวมผ้าไหมลดร้อน รัฐบาลเล็งส่งจำหน่ายทั่วโลก. สยามรัฐ. ฉบับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556.

                                 – ( 101 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

“มหกรรมรับสมัครงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2556”

ครั้งแรกของประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จับมือกับพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดงาน “มหกรรมรับสมัครงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2556” หรือ “S&T Job Fair 2013” โอกาสทองของผู้สนใจที่จะร่วมงานกับ สวทช. และ 20 บริษัทชั้นนำ กว่า 2,000 อัตรา  ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 1 เมษายน 2556 บริเวณโถงกลางชั้น 2 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. เวลา 10:00 – 15:00 น. ดูรายละเอียด

รายการอ้างอิง :
การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ ๙. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.– ( 102 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ASEAN Food Security Information System (AFSIS)

Asean Food Security Information System (AFSIS) หรือ ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารอาเซียน เป็นระบบที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประเทศในกลุ่มสมาชิก สามารถพัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ถูกต้องครบถ้วนทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคและ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและจัดทำนโยบาย รวมทั้งติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงทางด้านอาหารในภูมิภาค อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันการเกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร หรือการผลิตเกินความต้องการ อีกทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างระบบเตือนภัย เช่นการเกิดโรคระบาด ภาวะตกต่ำของราคาสินค้า เป็นต้น

ประเทศไทยโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งได้รับมอบหมายจากอาเซียนให้เป็นผู้จัดการโครงการนี้ได้จัดทำข้อมูลและ เป็นศูนย์กลางข้อมูลการเกษตรของกลุ่มประเทศอาเซียนโดยแต่ละประเทศจะจัดส่ง ข้อมูลมายังฐานข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งจะทำการรวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ผ่าน Website “afsis.oae.go.th

รายการอ้างอิง:

Thailand. Ministry of Agricuture and Cooperatives. Office of Agricultural Economics. Asean Food Security Information System (AFSIS). [Online]: Available: http://afsis.oae.go.th/proj_bri.php Accessed: 19 March 2013.

 

 – ( 115 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผู้นำคนใหม่ของสถาบัน Pasteur

Published on March 20, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 14 มีนาคม  2556
ข่าวหมวดบุคคล -   เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2013 ได้มีการแต่งตั้ง Christian Brechot ให้เป็นผู้อำนวยการคนต่อไปของสถาบัน Pasteus แห่งกรุงปารีส
โดยที่ปัจจุบัน Brechot ดำรงตำเหน่งรองผู้อำนวยการสถาบัน Merieux Institute ณ กรุง  Lyons และเป็นอดีต หัวหน้า NSERM, the French national biomedical agency ที่ได้ลาออก เมื่อปี 2007  ในความเกี่ยวพันกับคดีความบริษัทวินิจฉัยมะเร็ง
Brechot  จะรับช่วงต่อจาก  Alice Dautry ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำสูงสุดมาแล้ว 2 วาระ

โดย Brchot จะเริ่มทำหน้าที่ ในวาระ 4 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2013

อ้างอิง :  Pasteur head.  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 495 (7440), 146 – 147.
http://www.nature.com/news/seven-days-8-14-march-2013-1.12582– ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ฟุตบอล

ในสมัยรัชกาลที่ห้า เมื่อ พ.ศ.2440 มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้นำกีฬาฟุตบอลเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย กระทั่งกีฬานี้ได้รับความนิยมจนมีการจัดการแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการขึ้น เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2443 ครั้นเมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีการก่อตั้งคณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม ใน พ.ศ.2458 และพระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยาม (สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ.2459 โดยมี พลเอก พลเรือเอก มหาเสวกเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เป็นนายกสมาคมฯ คนแรกด้วย

แหล่งที่มา:
น้องโนเนะ. “แรกมีที่เมืองไทย”: ฟุตบอล”. Update 27(297); 105; กรกฎาคม 2555– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การสร้างใหม่ เมืองวิทยาศาสตร์แห่งกรุงนาโปลี

Published on March 20, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 14 มีนาคม  2556
ข่าวหมวดทั่วไป -  รัฐบาลอิตาลีได้ให้สัญญา ที่จะให้งบประมาณ 20 ล้านยูโร (26 ล้านเหรียญ สหรัฐ) เพื่อทำการสร้างขึ้นมาใหม่เมืองวิทยาศาสตร์  (Citt della Scienza) ที่เป็นสัญลักษณ์ของศูนย์นิทรรศการและพิพิธภัณฑ์  ขนาด 12,000 ตารางเมตร ของกรุงนาโปลี ประเทศอิตาลี  ที่ถูกไฟไหม่ทำลายลงเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2013 (ดังรูปภาพ)  Francesco Profumo รัฐมนตรีกระทรวงวิจัย กล่าวว่า รัฐบาลจะทำงานร่วมกับองค์กรท้องถิ่นในการวางแผนการสร้างขึ้นพิพิธภัณฑ์มาใหม่ ภายในเวลา 18 เดือน โดยจะหาเงินบริจาคจากอาสาสมัครต่างๆ ด้วย ส่วนการตรวจสอบสาเหตุไฟไหม้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ยังไม่มีการประกาศออกมา

อ้างอิง : Rebuilding Naples’s city of Science .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 495 (7440), 146 – 147.
http://www.nature.com/news/seven-days-8-14-march-2013-1.12582– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ครีมเทียม

แทบทุกครั้งที่ชงกาแฟ โกโก้ หรือเครื่องดื่มบางชนิด เรามักเติมครีมเทียมลงไปเพื่อช่วยให้เครื่องดื่มมีความมัน เพิ่มความหอมหวาน มีรสชาติดีขึ้น ครีมเทียมนี้มีลักษณะเป็นผง ทำขึ้นด้วยส่วนผสมหลักคือ กรดไขมันชนิดทรานส์ (น้ำมันพืชที่เติมไฮโดรเจนลงไป เพื่อแปรรูปกรดไขมันไม่อิ่มตัวให้กลายเป็นกรดไขมันอิ่มตัวสูง), น้ำเชื่อมกลูโคส, โซเดียมเคซิเนต (โปรตีนนม), รวมถึงเจือสีและแต่งกลิ่นสังเคราะห์ ผ่านกระบวบการทำให้แห้งด้วยระบบฉีดพ่นเป็นฝอย (spray drier) ดังนั้น หากรับประทานครีมเทียมปริมาณมาก ๆ และเป็นประจำอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ อาทิ คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง ตับทำงานผิดปกติ เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เป็นต้น

แหล่งที่มา:
น้องโนเนะ. “เคมีรอบบ้าน: ครีมเทียม”. Update 27(297); 105; กรกฎาคม 2555– ( 35 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments