magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

Appication ช่วยเด็กฝึกพูด

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวไอทีที่น่าสนใจ เรื่อง อุปกรณ์ช่วยเด็กฝึกพูด
ปัญหาในเรื่องของคนที่มีการพัฒนาทางสมองหนึ่งในนั้นอาจส่งผลกระทบในเรื่องการอ่านออกเสียงหรือการเปล่งเสียงออกมา

บริษัทพัฒนา software ในเนเธอร์แลนด์ใช้เวลาถึง 3 เดือน ในการพัฒนา application ที่สามารถทำให้คนที่มีปัญหาในเรื่องการออกเสียงให้ฝึกการออกเสียงผ่าน application ที่อยู่ในตระกูลของ  IOS ได้แก่ ipad iphone ipod ซึ่งในอดีตใช้ในเรื่องบัตรคำหรือบัตรรูปภาพในการเรียนการสอน
application ดังกล่าวชื่อว่า Proloquo มาจากคำลาติน แปลว่า เปล่งเสียงออกมาดังๆ ปัจจุบันสัญลักษณ์ต่างๆ ราว 40,000 รูปพร้อมกับเสียงบรรยายทั้งสำเนียงอังกฤษและอเมริกันและก็มีทั้งเสียงเด็กและเสียงผู้ใหญ่ด้วยนี้ก็เป็นเพียงบางส่วนของเบื้องหลังการบันทึกเสียง
ผู้ฝึกสอนรวมถึงผู้ปกครองได้ใช้งานและฝึกให้เด็กอ่านออกเสียง รวมทั้งการสัมผัสไปที่หน้าจอหรือรูปภาพ เพื่อที่จะได้โต้ตอบกัน ว่าภาพแต่ละภาพนั้นมีความหมายและอ่านออกเสียงว่าอย่างไร

Read more…– ( 168 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Top10 โรคระบาดร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

รวบรวม 10 โรคระบาดร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้แก่
1. โรคฝีดาษ แทบล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์
2. กาฬโรค กวาดล้างประชากร 1 ใน 3 ของยุโรป
3. ไข้หวัดใหญ่สเปน เมื่อระบบคุ้มกันเกิดคลุ้มคลั่งไร้การควบคุม
4. อหิวาตกโรค ถ่ายท้องจนเสียชีวิต
5. มาลาเรีย ยุงเป็นหาพะนำเชื้อ ผู้เคราะห์ร้ายเป็นล้านคน
6. วัณโรค โรคในปอดจากสมัยโบราณ
7. ไข้ไทฟัสหรือไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาด โรคติดต่อร้ายแรงจากเหา
8. เอชไอวี ศัตรูตัวร้ายของระบบภูมิคุ้มกัน
9. ไข้เหลือง เหยื่อเสียชีวิตจากไตวาย
10. โปลิโอ ติดต่อในเด็กเป็นหลัก

ที่มา : Top10 โรคระบาดร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 56-57.
– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครือข่ายรถรางที่ยาวที่สุด

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

ที่โซเฟีย เมืองหลวงของบัลแกเรีย รถรางยังคงเป็นที่นิยมสำหรับการเดินทางของผู้คน เครือข่ายรถรางของเมืองแผ่ขยายและยื่นยาวออกไปเป็นระยะทางถึง 308 กิโลเมตร รถรางทั้งหมด 176 คัน ยังคงให้บริการบนรางวิ่ง 17 รางทุกวัน

ที่มา : เครือข่ายรถรางที่ยาวที่สุด. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 71.– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เนื้องอกขยายขนาดได้มากเท่าไหร่

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

ในปี 1991 หญิงอเมริกันวัย 34 ปี ผู้เป็นเจ้าของเนื้องอกขนาดใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกมา ได้รับการผ่าตัดรักษา เนื้องอกชนิดไม่ก่ออันตรายนี้มีน้ำหนักมากถึง 137.6 กิโลกรัม และเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1 เมตร การผ่าตัดครั้งนั้นเสร็จสิ้นลงในเวลา 6 ชั่วโมง

ที่มา : เนื้องอกขยายขนาดได้มากเท่าไหร่. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 73.– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดอกไม้ไฟทำงานอย่างไร

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

ชาวจีนประดิษฐ์ดอกไม้ไฟขึ้นเมื่อราว 3,000 ปีที่แล้ว โดยเป็นดอกไม้ไฟอย่างง่าย ๆ ที่ทำขึ้นจากดินปืนห่อด้วยกระดาษแข็งและชนวน ดินปืนคือส่วนผสมที่ประกอบไปด้วยคาร์บอนร้อยละ 75 โพแทสเซียมไนเตรต ร้อยละ 15 และซัลเฟอร์ ร้อยละ 10 สารประกอบนี้สร้างก๊าซได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นระเบิด

ที่มา : ดอกไม้ไฟทำงานอย่างไร. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 73.– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การแต่งงานช่วยรักษาชีวิตคนหัวใจป่วย

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

นักวิทยาศาสตร์อเมริกันพบว่าคนที่แต่งงานมีโอกาสรอดชีวิตจากการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนโสดถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ และถ้าหากดูแค่ในช่วง 3 เดือนแรกหลังการผ่าตัด โอกาสรอดของคนที่แต่งงานก็สูงกว่าถึง 3 เท่า

ที่มา : การแต่งงานช่วยรักษาชีวิตคนหัวใจป่วย. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 14.– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระตุ้นสมอง = ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

Published on March 19, 2013 by in S&T Stories

นักวิทยาศาสตร์สวิสค้นพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณ EPO (erythropoietin) ในสมองหนูทดลองจะวิ่งได้เร็วขึ้น ผลการทดลองนี้อาจจะนำไปสู่ยาที่เร่งให้มนุษย์ดึงพลังงานออกมาใช้ในการออกกำลังกายได้มากขึ้น

ที่มา : กระตุ้นสมอง = ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น. Science Illustrated, (February 2013). หน้า 12.
– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิทยาศาสตร์ลงมติให้ Doomsday Clock ในปี 2556 ยังอยู่ที่ 5 นาทีก่อนเที่ยงคืน

Doomsday Clock คืออะไร?
Doomsday Clock หรือนาฬิกาโลกาวินาศ คือสัญลักษณ์ที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อระบุระดับความเสี่ยงในการเกิด โลกาวินาศที่อาจเกิดจากอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศของโลก และหายนะที่เกิดจากมือมนุษย์อื่นๆ โดยที่เวลาเที่ยงคืนเป็นเวลาโลกาวินาศ คณะกรรมการจาก Atomic Scientists จะเป็นผู้พิจารณาตำแหน่งเข็มนาฬิกาในแต่ละปี ตำแหน่งเข็มนาฬิกาที่ยิ่งใกล้กับเวลาเที่ยงคืนบอกถึงความเสี่ยงที่มากขึ้น ของมนุษย์
 Doomsday Clock ในประวัติศาสตร์และในปัจจุบัน
การกำหนด Doomsday Clock เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1947 หรือ พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นปีที่สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูทำลายล้างประเทศญี่ปุ่น ทำให้นักวิทยศาสตร์และนักฟิสิกส์กลุ่มหนึ่งต้องการเตือนให้ทุกคนรับทราบถึง หายนะที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากยังไม่มีการหยุดใช้อาวุธนิวเคลียร์ต่างๆ พวกเขาจึงสร้าง Doomsday Clock เพื่อเป็นสัญลักษณ์เตือนระดับความเสี่ยงต่อหายนะที่อาจเกิดขึ้น  ในปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) เป็นปีที่เข็มนาฬิกาอยู่ที่ 2 นาทีก่อนเวลาเที่ยงคืนซึ่งเป็นผลมาจากการทดลองใช้ระเบิดไฮโดรเจน  และปีค.ศ. 1991 – 1994 (พ.ศ. 2534 – 2537) เป็นช่วงเวลาที่เข็มอยู่ห่างจากเวลาเที่ยงคืน มากที่สุด คือ 17 นาที  ซึ่งในปีนั้นเป็นปีที่สงครามเย็นเริ่มบรรเทาและประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพ โซเวียตยกเลิกคลังแสงสรรพาวุธ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-news
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมีนาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/

– ( 118 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

น้ำตาเทียม

คนที่มีภาวะตาแห้ง, มีความผิดปกติเกี่ยวกับนัยน์ตาา หรือใส่เลนส์สัมผัส (คอนแทกต์เลนส์) เป็นประจำ มักจำเป็นต้องพึ่งน้ำตาเทียมเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดวงตา น้ำตาเทียมนี้เป็นสารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายกับน้ำตาของเรา แบ่งออกเป็นประเภทที่มีและไม่มีสารกันเสีย มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ไฮโดรเจล หรือพอลิเมอร์ ที่ช่วยเพิ่มความหนืดให้น้ำตาเทียมเคลือบกระจกตาได้นานขึ้น, บัฟเฟอร์ ช่วยปรับสมดุลให้มีค่าความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสม, ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มสมบัติน้ำตาเทียมให้ใกล้เคียงกับน้ำตา รวมถึงมีการเติมสารกันเสียในน้ำตาเทียมที่ใส่สารกันเสีย ซึ่งช่วยให้เก็บรักษาได้นานขึ้น แม้การใช้น้ำตาเทียมบ่อย ๆ จะไม่เกิดอันตราย (ยกเว้นผู้ที่แพ้สารกันเสีย) แต่ก็ควรหาสาเหตุของปัญหาตาที่แท้จริงนะจ๊ะ

แหล่งที่มา:
น้องโนเนะ. “เคมีรอบบ้าน: น้ำตาเทียม”. Update 27(298); 105; สิงหาคม 2555

 – ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ธนาคารพาณิชย์

สถาบันการเงินแห่งแรกของไทยนั้นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ก่อตั้งบุคคลัภย์ ที่ดำเนินการโดยคนไทยขึ้น ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2447 ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งบริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2449 ซึ่งเปิดทำการในอาคารสำนักงานพระคลังข้างที่ (ที่ทำการเดิมของบุคคลัภย์) จังหวัดพระนคร โดยมี พระสรรพการหิรัญกิจ เป็นผู้จัดการ เพื่อดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการ สำหรับรองรับการเติบโตด้านเศรษฐกิจของไทย และได้เปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อ พ.ศ.2482

แหล่งที่มา:
น้องโนเนะ. “แรกมีที่เมืองไทย”: ธนาคารพาณิชย์”. Update 27(298); 105; สิงหาคม 2555– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments