magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

เสรี เด่นวรลักษณ์ 11 คำถาม ทำไมต้องเลิกรับจำนำมันสำปะหลัง

ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเงียบ ๆ สำหรับโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังทั้ง 2 ปีติดต่อกัน ทว่าในความเป็นจริง การรับซื้อมันสำปะหลังในราคารับจำนำของรัฐบาล ปรากฏเรื่องอื้อฉาวไม่แพ้โครงการรับจำนำข้าว เพียงแต่โครงการนี้ใช้เงินน้อยกว่า แต่วิธีการรับจำนำ การส่งมันเข้าโกดังกลาง ตลอดจนการระบายมันสำปะหลังในสต๊อก ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถตอบคำถามแก่สาธารณชนได้

หากขุดคุ้ยเข้าไปดูในรายละเอียดก็จะพบวิธีแปลกพิสดารที่กระทรวงพาณิชย์นำมา ใช้ อาทิ การขายมันเส้นแบบรัฐต่อรัฐ หรือ G to G ที่อ้างว่าขายให้กับรัฐบาลจีน ตลอดจนไม่ยอมเปิดประมูลขายมันในสต๊อกเป็นการทั่วไป จากกรณีความน่าสงสัยในพฤติกรรมข้างต้น “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์นายเสรี เด่นวรลักษณ์ นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย เพื่อหาคำตอบในมุมมองของผู้ค้าและส่งออกมันสำปะหลัง Read more…– ( 119 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระทรวงวิทย์เชียร์’อีโค-โปรดักต์’เผยความคืบหน้าโครงการ’เปลี่ยนขยะเป็นทอง’

นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช./วท.) กล่าวว่า ตามนโยบายของนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอบหมายให้ สวทช.ผลักดันและนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ ประกอบการไทย ทำให้เกิดโครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นทอง : รับกระแสโลกร้อนและสร้างคุณค่าให้วัสดุเหลือใช้” ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานภาครัฐได้พยายามนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในการผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ใหม่จากเศษวัสดุเหลือใช้

“โครงการ iTAP/สวทช. ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 เรา ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ช่วยแก้ปัญหา สร้างวิกฤตเป็นโอกาส ซึ่งถือเป็นวิธีการหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการใช้ศิลปะบวกกับวิทยาศาสตร์ ด้วยกลยุทธ์เปลี่ยนเศษด้วยศิลป์ เปลี่ยนแปลงวัสดุคุณภาพสูงแต่เป็นเศษเหลือใช้ของผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ กลับมามีคุณค่าใหม่ และทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตลาดต้องการ เป็นการแปลงจากภาระต้นทุนให้กลายเป็นรายได้” นายทวีศักดิ์กล่าว

โครงการนี้ได้ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ผู้เชี่ยวชาญของ iTAP เข้ามาร่วมงานด้วยจนเกิดผลงานที่สัมผัสได้จริง ที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ซื้อได้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น เรื่องการออกแบบ การเลือกสรรวัตถุดิบ รวมไปถึงกระบวนการผลิต Read more…– ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แนะวัยรุ่นไทยศึกษา’องค์การสวนพฤกษศาสตร์

นายปิยเกษตร สุขสถาน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาปลูกบำรุง องค์การสวนพฤกษศาสตร์ เปิดเผยว่า องค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยมีสวนพฤกษศาสตร์ที่ สมบูรณ์แบบแท้จริง เป็นศูนย์รวมพรรณไม้ไทยที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพืช ทำหน้าที่เป็นศูนย์ศึกษา ค้นคว้า วิจัย อนุรักษ์

ผลิตบุคลากรและให้บริการด้านพฤกษศาสตร์ของประเทศ โดยเฉพาะเป็นสถานที่เผยแพร่ความสวยงาม และคุณค่าของพรรณพฤกษชาติไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั่วโลก

นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวบรวมพรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศ โดยเฉพาะพรรณไม้ไทยรวมถึงพรรณไม้ต่างประเทศ มีการตรวจสอบชื่อที่ถูกต้องนำมาปลูกเป็นหมวดหมู่ มีการติดป้ายชื่อบอกถึงที่มาและประโยชน์ต่างๆ

อย่างชัดเจน เป็นสถาบันทางการศึกษาและวิจัยด้านพฤกษศาสตร์ ดำเนินการผลิตนักพฤกษศาสตร์ระดับสูงสาขาที่ขาดแคลนให้กับประเทศ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากร

โดยดำเนินการร่วมกับมหา วิทยาลัยต่างๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ มหิดล นเรศวร รามคำแหง ขอนแก่น สงขลานครินทร์ และสถาบันราชภัฏ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม่โจ้ พายัพ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทำการวิจัยร่วมกับสถาบันในประเทศ

อาทิ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ

นอกจากนี้ยังช่วยปลูก ฝังเยาวชน โน้มน้าว กล่อมเกลาจิตใจ ให้ความรู้ความหวงแหนและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากร ธรรมชาติด้านพืช อันจะเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศ โดยสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ เพียง 27 กิโลเมตรเท่านั้น

รายการอ้างอิง :
แนะวัยรุ่นไทยศึกษา’องค์การสวนพฤกษศาสตร์’. บางกอกทูเดย์. ฉบับวันที่ 16 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หน่วยงานวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ เตรียมรับมือกับการตัดงบประมาณ

ในวันที่ 1 มีนาคม 2556 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ต่างๆ ของสหรัฐฯ เช่น The US National Institutes of Health (NIH) และ the National Science Foundation (NSF) ซึ่งตั้งอยู่ในมลรัฐ Virginia จะถูกตัดลดงบประมาณถึงร้อยละ 5.1 ของค่าใช้จ่ายในปีนี้ เพราะต้องเข้าสู่กระบวนการตัดงบประมาณโดยอัตโนมัติ หรือที่เรียกกันว่า “Sequestration” แม้ว่า รัฐสภาของสหรัฐฯ จะพยายามต่อรองจนถึงที่สุดเพื่อยืดเวลาหรือยกเว้นการตัดงบประมาณในบางส่วน หน่วยงานวิจัยต่างก็ระแวดระวังในการให้เงินสนับสนุนการวิจัยต่างๆ เพราะเกรงว่าหน่วยงานอาจจะไม่มีงบประมาณพอที่จะทำได้จริงในอนาคต และนักวิทยาศาสตร์ต่างก็เริ่มรู้สึกถึงความขาดแคลนที่กำลังจะมาถึง

Howard Garrison รองผู้บริหารฝ่ายนโยบายของ Federation of American Societies กล่าวว่า “หน่วยงานวิทยาศาสตร์ต่างใช้เกณฑ์การพิจารณาการให้เงินสนับสนุนด้วย วิธีแบบที่เคยทำกันมาเพราะไม่มีใครต้องการใช้จ่ายเกินตัว”

หน่วยงานแต่ละแห่งมีสัดส่วนในการตัดลดงบ ประมาณที่แตกต่างกัน เช่น NIH จะตัดลดงบประมาณ 1.57 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ และ NSF จะตัดลดงบประมาณ 288 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ งบประมาณร้อยละ 5.1 ที่ลดลง จะมาจาก 27 หน่วยงานของ NIH โดยมีการยกเว้นศูนย์การแพทย์บางแห่ง เช่น Clinical Center ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสถาบันวิจัยในเมือง Bethesda เนื่องจากการตัดลดงบประมาณอาจหมายถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นของคนไข้ ในขณะเดียวกัน บางหน่วยงานก็อาจจะถูกตัดลดงบประมาณมากกว่าหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้ได้ยอดรวมคือร้อยละ 5.1

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมีนาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/– ( 79 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วันไข้เลือดออกอาเซียน หรือ ASEAN Dengue Day

ปีพ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) เป็นปีที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของกลุ่มประเทศอาเซียน มีมติให้ทุกวันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันไข้เลือดออกอาเซียน” หรือ ASEAN Dengue Day วันที่ 15 มิถุนายน 2554 (2011) จึงเป็นปีแรกของวันไช้เลือดออกอาเซียน เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยภูมิประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น เหมาะสำหรับการแพร่พันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก จากสถิติผู้ป่วยในกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่าประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด รองลงมาคือ ประเทศไทย

กระทรวงสาธารณสุข ได้รณรงค์จัดการกับสิ่งแวดล้อมไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตัดวงจรการเกิดยุงและการแพร่กระจายของโรค โดยใช้ประเด็นการสื่อสาร Big Cleanning Day “เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย”  คือ

1. เก็บขยะ เศษภาชนะขังน้ำแหล่งเพาะพันธุ์ยุง วัสดุเหลือใช้นำไปขายเป็นรายได้เสริม เก็บแล้วรวย
2. เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งยุงลายไม่เกาะพัก ขัดล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ เปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์
3. เก็บน้ำ น้ำกินน้ำใช้เก็บให้มิดชิด โดยการปิดฝาโอ่ง ถัง ไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่

ทั้งนี้ มาตรการด้านสารสื่อสารที่ประชาชนคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติได้เป็นผลดีคือ 5 ป.ปราบยุงลาย

1. ปิด ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
2. เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วันเพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง
3. ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่นปลาหางนกยูง ปลากัด ปลากระดี่
4. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย
5. ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย

ติดตามกิจกรรมการรณรงค์ เพื่อวันไข้เลือดออกอาเซียนของประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ที่ http://www.asean.org/news/asean-secretariat-news/item/asean-dengue-day-one-year-fighting-against-dengue-2

รายการอ้างอิง:

กระทรวงสาธารณสุข. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. โรคไข้เลือดออก และ ASEAN Dengue Day.2555 [ออนไลน์] : http://healthy.moph.go.th/index.php/2012-03-26-04-30-11/117-2012-06-25-02-13-14 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2556– ( 310 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ

Published on March 16, 2013 by in ASEAN

คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ หรือ ASEAN Committee on Disaster Management (ACDM) เกิดขึ้นเนื่องจากในปี ค.ศ. 1971 กลุ่มประเทศอาเซียนได้จัดตั้ง ASEAN Combined Operation Against Natural Disaster หรือการปฏิบัติการร่วมของอาเซียนเพื่อต่อสู้กับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งข้อตกลงฉบับนี้เป็นผลทำให้ คณะผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติของประเทศอาเซียน ได้มีการประชุมกันเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1971 ต่อมาในการประชุมครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ.1979 คณะผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้ได้เป็นที่รู้จักกันในนามของ ASEAN Experts Group on Natural Disasters และจนกระทั่งในการประชุมครั้งที่ 8 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1993 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ASEAN Experts Group on Disaster Management (AEGDM) ทั้งนี้ เพื่อให้ครอบคลุมภารกิจด้านภัยพิบัติทั้งภัยจากธรรมชาติและภัยจากมนุษย์ด้วย
Read more…– ( 769 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน (ASEAN Environmental Education Inventory Database)

Published on March 16, 2013 by in ASEAN

ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน (เออีอีไอดี) หรือ ASEAN Environmental Education Inventory Database (AEEID) เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่กลุ่มประเทศอาเซียนได้จัดทำแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมแห่งอาเซียน (ASEAN Environmental Education Plan) เพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมศึกษาในกลุ่มประเทศสมาชิกและกระตุ้นให้ประชาชนในภูมิภาคนี้ ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม การจัดทำเว็บไซต์ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน จึงเป็นกิจกรรมหนึ่ง เพื่อเผยแพร่ผลงานสิ่งแวดล้อมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง ติดตามข้อมูลได้จากเว็บไซต์ http://aeeid.aseansec.org/index.php

 

 – ( 126 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการพลเรือน (เอซีซีเอสเอ็ม)

Published on March 16, 2013 by in ASEAN

การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการพลเรือน (เอซีซีเอสเอ็ม) หรือ ASEAN Cooperation on Civil Service Matters (ACCSM) สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นหน่วยงานดูแล การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการพลเรือน (เอซีซีเอสเอ็ม) เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1980 เดิมมีชื่อเรียกว่า ASEAN Conference on Reforms in the Civil Service (ACRCS) ต่อมาในปี 1987 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ASEAN Conferences on Civil Service Matters (ACCSM) โดยมีจุดเน้นในเรื่องของความร่วมมือด้านราชการ รวมถึงระบบการบริหารและการจัดการภาครัฐ (public administration and management systems) เริ่มมีการประชุมตั้งแต่ปี 1981 และสำนักงาน ก.พ. ได้เป็นเจ้าภาพแล้ว 2 ครั้ง คือในปี 1985 และ 1997

Read more…– ( 112 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เร่งตามหาช่องทางย้อนอายุในหนู

การฉีดเซลล์อายุยืนเข้าสู่เซลล์ต้นกำเนิดของหนู ดูเหมือนว่าจะช่วยลดความเสื่อมสภาพตามอายุ
นักวิจัยรายงานว่า การค้นพบเกี่ยวกับการย้อนอายุของหนูอาจจะช่วยในการพัฒนาการรักษาโรคที่เกิด จากความเสื่อมสภาพตามอายุของคนในอนาคต โดยนักชีววิทยาได้ย้อนเวลาของนาฬิกาโมเลกุล (Molecular Clock) ของหนูที่สูงวัย โดยการใส่ยีนอายุยืน (Longevity gene) ไปยังเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดของหนู ยีนตัวนี้มีชื่อเรียกว่า SIRT3 ซึ่ง อยู่ในหมวด โปรตีนที่ชื่อว่า Sirtuins ซึ่งมีหน้าที่ช่วยเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่มีอายุในการจัดการกับความ เครียด เมื่อนักวิจัยใส่ SIRT3 ไปยังเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดของหนูที่สูงวัย อัตราการก่อตัวของเซลล์เม็ดเลือดใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหลักฐานใน การย้อนอายุในการทำงานเซลล์เม็ดเลือดอันเดิม
Danica Chen ผู้ช่วยศาตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์โภชนาการและพิษวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแค ลิฟอร์เนียเบิร์กลี่ย์ (University of California, Berkeley) ซึ่งเป็นหัวหน้าในงานวิจัยกล่าวไว้ในสื่อภายในมหาวิทยาลัยว่า พวกเขารู้อยู่แล้วว่าโปรตีน Sirtuins มีผลต่ออายุขัยของสิ่งมีชีวิต แต่ไม่ทราบว่าจะมีความสามารถในการช่วยย้อนอายุขัยของเซลล์ที่เสื่อมสภาพได้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก   Chen ได้กล่าวอีกว่า การค้นพบครั้งนี้เปรียบเสมือน การเปิดประตูสู่ความเป็นไปได้ในการรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพตามอายุ ของคนในอนาคตข้างหน้า โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ออนไลน์เมื่อ ๓๑ มกราคม 2556 ในเว็บไซด์ของ Cell Reports
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-newsที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมีนาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/

– ( 109 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อาหารต้านมะเร็ง

แม้ว่าโรคมะเร็งจะ เป็นภัยร้ายที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่เราสามารถเตรียมความพร้อมไว้ก่อนได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารเสริมระบบ ภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

แม้ว่าโรคมะเร็งจะเป็น ภัยร้ายที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่เราสามารถเตรียมความพร้อมไว้ก่อนได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารเสริมระบบ ภูมิต้านทานให้กับร่างกาย หลายคนคงอยากทราบว่า ควรจะเลือกบริโภคอาหารอะไร เพื่อช่วยเสริมภูมิต้านทานโรคมะเร็ง Read more…– ( 100 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments