magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

การเตรียมความพร้อมของประชาชนต่อการเปลี่ยนไปสู่ยุค Digital TV (Preparations for Digital TV Switchover)

การเตรียมความพร้อมของประชาชนต่อการเปลี่ยนไปสู่ยุค Digital TV (Preparations for Digital TV Switchover) ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 10 วันที่ 1 เมษายน 2557 อีกหนึ่งหัวข้อที่เป็นกระแสของการเปลี่ยนแปลงวงการโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยประเด็นสัมมนาในวันนี้ แบ่งเป็น 3 ประเด็นใหญ่ คือ

  • การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล: ประวัติความเป็นมา, ความเป็นมาของการเปลี่ยนผ่าน โดยนายสมศักดิ์ สิริพัฒนากุล รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงาน กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิทัล
  • โครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดย นายกันตชัย ศรีสุคนธ์ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม ส.ส.ท.
  • การเตรียมความพร้อมของประชาชนในการรับชมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล

เริ่มต้นด้วยการเล่าประวัติความเป็นมาของโทรทัศน์ในประเทศไทยจากยุคขาวดำ สู่จอสีและสู่ทีวีดิจิทัล ซึ่งใช้เวลากว่า 50 ปี โดยจากจอขาวดำ พัฒนามาเป็นจอสีใช้เวลาประมาณ 12 ปี และจากจอสีสู่ทีวีดิจิทัล ใช้เวลาถึง 46 ปี ซึ่งในประเทศไทย ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านเราเป็นทีวีระบบดิจิทัลกันหมดแล้ว แต่การที่เราเปลี่ยนช้าก็มีข้อดีคือเราได้เทคโนโลยีที่ใหม่ คือ มาตรฐาน DVB-T2 (Digital Video Broadcasting – Second Generation Terrestrial) โดยส่งผ่านผู้ให้บริการเครือข่าย โดยตปัจจุบันกำหนดไว้ 4 ราย ได้แก่ NBT, ททบ. 5, MCOT และ ThaiPBS ซึ่งเป็นลักษณะของการออกอากาศในระบบภาคพื้นดิน (Digital Terrestrial Television)

คณะกรรมการสหภาพโทรคมนาคมสากล (ITU) ได้กำหนดมาตรฐานดังนี้

  1. ระบบแพร่ภาพดิจิทัลผ่านดาวเทียม (DVB-S The Digital Video Broadcasting Satellite System)
  2. ระบบแพร่ภาพดิจิทัลผ่านสายเคเบิล (DVB-C The digital cable eleliverly system)
  3. ระบบแพร่ภาพดิจิทัลภาคพื้นดิน (DVB-T The Digital Terrestrial Television System) Read more…

– ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สวทช.-ม.มหิดลลงนามใช้สิทธิ “จุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ”

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเกษตร

ปทุมธานี 1 เม.ย.2557-อุทยานวิทยาศาสตร์ จ.ปทุมธานี -สวทช.-ม.มหิดล ถ่ายทอดนวัตกรรม “Bs-จุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ” ให้ภาคเอกชนนำไปผลิตเชิงพาณิชย์  หวังช่วยประชาชนป้องกันโรคที่เกิดจากยุงอย่างปลอดภัย

การลงนามบันทึกข้อตกลงการอนุญาตใช้สิทธิ “จุลินทรีย์ Bs-สำหรับควบคุมลูกน้ำยุงรำคาญ” ระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.)  มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัททีเอฟไอ.กรีนไบโอเทค เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บริษัทเอกชนนำนวัตกรรมดังกล่าวไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมลูกน้ำยุงรำคาญ ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยจำหน่ายในต้นทุนต่ำ เพื่อช่วยประชาชนป้องกันโรคร้ายที่เกิดจากยุงรำคาญ เช่น โรคไข้สมองอักเสบ และยังเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นจาก การลดใช้สารเคมีมาใช้สารชีวภาพที่มีความปลอดภัยมากขึ้น
Read more…– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แนะรัฐบาลให้ความสำคัญอาร์แอนด์ดี

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเศรษฐกิจ
กทม. 31 มี.ค. 2557 – นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดเผยว่าจะลงทุน 10,000 ล้านบาทภายใน 20 ปีข้างหน้าสำหรับ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระยอง และโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระยองเพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนของกลุ่ม ปตท.บนฐานงานวิจัยและพัฒนาเพื่อ บริษัทที่แข่งขันได้ทั่วโลก

นายไพรินทร์ กล่าวว่าแผนงานดังกล่าวมีความคืบหน้าอย่างมาก โดยขณะนี้เริ่มการก่อสร้าง 2 หน่วยงานดังกล่าวใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ควบคู่การวางแผนการสร้าง  นักเรียนและนักศึกษา รวมทั้งการดึงนักวิชาการต่าง ๆ  ร่วมกันทำงาน  ซึ่งการระดมทุนจะผ่านมูลนิธิสถาบันวิทยาศาสตร์และมูลนิธิโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระยองที่จัดตั้งขึ้น  ซึ่งเงินส่วนหนึ่งจะมาจากเงินทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ของบริษัทในกลุ่ม ปตท.ที่ตั้งไว้ว่าจะต้องจัดสรรงบด้านนี้ประมาณร้อยละ 3 ของผลกำไร ปัจจุบันมีรวมประมาณ  2 แสนล้านบาท
Read more…– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แผนรับมือด้านพลังงานไทย

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเศรษฐกิจ

กรุงเทพฯ 31 มี.ค.2557  – ความต้องการใช้ไฟฟ้านับวันมีแต่เพิ่มขึ้น สวนทางกับปริมาณก๊าซธรรมชาติที่เราผลิตได้เองกลับลดลง ประเทศไทยมีแผนรับมือด้านพลังงานอย่างไร  ติดตามจากรายงาน

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท.
http://www.mcot.net/site/content?id=53396eb8be0470e82a8b4582#.UzouxFf9Hcs– ( 19 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตอนที่ 2

ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวานนี้ (1 เมษายน 2557) มีการสัมมนาเรื่อง การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตั้งแต่เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม CC-404 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีวิทยากร 5 ท่าน ในที่นี้ขอกล่าวถึงการบรรยายของ 3 ท่านหลัง ดังนี้

1. ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเห็ดเผาะในป่าชุมชน สรุปการบรรยายได้ว่า เห็ดเผาะเวลารับประทานจะกรอบ มีมากทางภาคอีสานและเหนือ มีราคาค่อนข้างแพง ในสภาพอากาศที่แห้งแล้งพืชอาศัยที่ดีสำหรับเห็ดเผาะเช่น กล้าไม้รัง ไม้พวง ส่วนในอากาศไม่แห้งแล้งไม้วงศ์ยางเป็นพืชอาศัยที่ดี ความรู้เกี่ยวกับเห็ดเผาะเหล่านี้จะนำไปสู่การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน เช่น 1. เห็ดเผาะแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ เห็ดเผาะฝ้ายและเห็ดเผาะหนัง โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ เห็ดเผาะฝ้ายจะมีเส้นใยรอบดอกมาก ฟู เกิดเป็นกลุ่ม ผนังด้านนอกของดอกมีสีขาว ส่วนเห็ดเผาะหนังมีเส้นใยรอบดอกเรียบมีน้อย เกิดกระจัดกระจาย ผนังด้านนอกของดอกมีสีดำ เห็ดเผาะเมื่อเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อจะสร้างเส้นใยที่มีโครงสร้างเฉพาะ  2. เห็ดเผาะอาศัยอยู่กับพืชแบบพึ่งพาโดยอาศัยธาตุอาหารซึ่งกันและกัน  3. จากการศึกษามาเป็นเวลานาน พืชอาศัยของเห็ดเผาะคือ ยางนา เห็ดเผาะอาศัยอยู่กับต้นสนสามใบได้แต่อาจไม่ดีเท่ายางนา หลังจากเห็ดเผาะอาศัยอยู่กับพืช รากของพืชจะบวมและเป็นฝ้าขาวๆ (เส้นใยของเห็ดเผาะที่มาห่อหุ้มไว้) ไม้วงศ์ยางอาจเป็นพืชอาศัยของเห็ดเผาได้  4. ความรู้ด้านการปลูกเชื้อ เอาเห็ดเผาะที่แก่ผสมน้ำแล้วรดที่รากของพืช รากจะมีเชื้อเห็ด  5. ความรู้เรื่องระบบนิเวศเกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมและพืชอาศัย

2. นายปราโมทย์ ไทยทัตกุล ศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเห็ดในถุงพลาสติก สรุปการบรรยายได้ว่า การเพาะเลี้ยงเห็ดในถุงพลาสติก แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนคือ 1. การเลี้ยงเส้นใยเห็ดในอาหารวุ้น PDA (ประกอบด้วยมันฝรั่ง กลูโคส วุ้นผง น้ำ) ขั้นตอนนี้ยุ่งยากต้องทำในตู้ปลอดเชื้อ คนทั่วไปที่คิดจะเพาะเห็ดขายจะไม่ทำในขั้นตอนนี้  2. การเลี้ยงเส้นใยเห็ดในขวดข้าวฟ่าง ขั้นตอนนี้ยุ่งยากเช่นกัน คนทั่วไปไม่นิยมทำด้วยตนเอง  3. การเลี้ยงเส้นใยเห็ดในถุงพลาสติก ในถุงจะประกอบด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพารา (หาได้ง่าย ราคาถูก ใช้กันเยอะ) รำละเอียด ยิปซั่ม ปูนขาว ดีเกลือ ผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่อง แล้วปรับความชื้นไปที่ 60-65% แล้วนำถุงไปนึ่งภายในวันนั้น  4. การเปิดดอกเห็ดในโรงเปิดดอก ขั้นตอนนี้จะเกิดดอกเห็ดโผล่ออกมาจากถุงพลาสติก พร้อมที่จะเก็บไปขายหรือรับประทาน

3. คุณอุนารินทร์ กิจไพบูลทวี ผู้อำนวยการสถานีเห็ด บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน และการขยายผล สรุปการบรรยายได้ว่า สถานีเห็ดตั้งอยู่ที่คลองสาม จังหวัดปทุมธานี มีการเพาะเลี้ยงเห็ด แปรรูปเห็ดแบบครบวงจร และยังเปิดสอนการเพาะเลี้ยงเห็ดสำหรับผู้ที่สนใจฟรี ในตอนแรกสถานีเห็ดตั้งขึ้นเพื่อเพาะเลี้ยงเห็ดตามความต้องการของลูกค้ารายใหญ่เพียงอย่างเดียว แต่ต่อมาเกิดปัญหาในการควบคุมการผลิตให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า จึงหยุดส่ง จึงเป็นจุดเริ่มของสถานีเห็ดในการหันมาแปรรูปเห็ด ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น น้ำเห็ด (เห็ด 5 อย่างผสมน้ำผึ้ง) น้ำพริกเห็ดสูตรเผ็ดมากและเผ็ดน้อย (เห็ดสดผสมไฟเบอร์ (เนื้อเห็ดหลังจากการคั้นน้ำ)) เห็ดดอง

ที่มา: เรียบเรียงจากการฟังบรรยายในหัวข้อดังกล่าวข้างต้น– ( 1431 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Tesco: Homeplus Subway Virtual Store

ตัวอย่าง Mobile technology ด้วย QR code กับการประยุกต์ใช้ทางการตลาด

ร้านค้าเสมือน โดย เทสโก โฮมพลัส (Tesco homeplus) ร้านค้าปลีก, ของสด, เครื่องใช้ ประยุกต์แนวคิดใหม่ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าชาวเกาหลี “let the store come to people”

ที่มา: Tesco: Homeplus Subway Virtual Store (Movie). (2011). Retrieved from http://www.youtube.com/watch?v=nJVoYsBym88&feature=youtube_gdata_player– ( 25 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การตลาดไร้มิติด้วยเทคโนโลยี (Blend Virtual and Reality Digital Marketing through Technology)

Concept Map “การตลาดไร้มิติด้วยเทคโนโลยี (Blend Virtual and Reality Digital Marketing through Technology)” ในการประชุมวิชาการประจำปี 2557 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

Read more…– ( 32 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตอนที่ 1

เมื่อวานนี้ (1 เมษายน 2557) ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2557 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีการสัมมนาเรื่อง การเพาะเลี้ยงเห็ดในชุมชน ตั้งแต่เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม CC-404 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีวิทยากร 5 ท่าน ในที่นี้ขอกล่าวถึงการบรรยายของ 2 ท่านแรก ดังนี้

1. นายกฤษชนะ นิสสะ โครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อ.ภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเห็ดระโงกเหลืองในฤดูกาลและนอกฤดูกาล สรุปการบรรยายได้ว่า เห็ดระโงกแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ เห็ดระโงกเหลือง เห็ดระโงกขาว และเห็ดระโงกแดงส้ม ชื่อของเห็ดบ่งบอกถึงสีของเห็ดที่ปรากฏ เห็ดระโงกเหลืองมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงมากอย่างชัดเจนกว่าเห็ดชนิดอื่นตามข้อมูลทางโภชนาการ เห็ดระโงกนิยมเพาะเลี้ยงมากทางภาคอีสานของประเทศ วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดระโงกคือ นำเห็ดระโงกที่แก่ผสมน้ำแล้วไปรดลงที่รากของต้นกล้าไม้วงศ์ยาง ทิ้งไว้ประมาณ 4-6 เดือน แล้วจึงปลูกต้นกล้าลงดิน ปีที่ 3 เห็ดจะเริ่มออก ปีที่ 5-6 เห็ดจะเริ่มออกเยอะขึ้น ระหว่างที่ปลูกต้นกล้าลงดินอาจจะเพิ่มเชื้อเห็ดโดยรดน้ำผสมเห็ดเพิ่ม มีไม้วงศ์ยางหลายชนิดที่เหมาะสมในการเกิดเห็ดระโงกในพื้นที่อีสาน ได้แก่ ยางนา ตะเคียนทอง กระบาก รัง พะยอม ไม้วงศ์ยางดังกล่าวแต่ละชนิดเหมาะแก่การเกิดเห็ดระโงกได้ต่างกัน ปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการเกิดเห็ดระโงก ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ความชื้น ความหนาแน่นของชั้นฮิวมัส ชนิดของพืชที่ปลูกร่วม เช่น ถ้าในบริเวณที่เพาะเลี้ยงเห็ดมีพืชตระกูลขิงข่า เห็ดระโงกจะไม่ค่อยเกิด

2. นางสาวธิติยา บุญประเทือง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่าในแปลงธรรมชาติ สรุปการบรรยายได้ว่า แหล่งเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ตำบลสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่นี่เมื่อก่อนชาวบ้านปลูกข้าว แต่ต่อมาได้เปลี่ยนพื้นที่นาเป็นแปลงต้นโสนซึ่งเป็นพืชอาศัยสำหรับการเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า ที่ตำบลสามเรือนมีเกษตรกรปลูกเห็ดตับเต่าประมาณ 100 ราย ส่งไปขายทั่วประเทศ ตลาดใหญ่อยู่ที่ภาคอีสาน มีคนนิยมรับประทานอยู่เป็นจำนวนมาก ราคาหน้าฟาร์มอยู่ที่ประมาณ 80-150 บาทต่อกิโลกรัม แต่ถ้าไปถึงภาคอีสานราคาจะอยู่ที่ 300 บาทต่อกิโลกรัม งานวิจัยเกี่ยวกับเห็ดตับเต่าที่ได้รับการตีพิมพ์ เช่น ศึกษามีสารอาหารอะไรบ้างในเห็ดตับเต่า พบว่าเห็ดตับเต่ามีไขมันต่ำแต่คาร์โบไฮเดรตสูง ศึกษาต้นสนเป็นพืชอาศัยของเห็ดตับเต่าหรือไม่ พบว่าไม่ใช่พืชอาศัย ศึกษาสนสองใบเป็นพืชอาศัยของเห็ดตับเต่าหรือไม่ พบว่าเป็นพืชอาศัยโดยเห็ดสร้างโครงสร้างพิเศษรอบรากของพืช ศึกษากาแฟ ขนุน ส้ม มะม่วง เป็นพืชอาศัยของเห็ดตับเต่าหรือไม่ พบว่าขึ้นได้แต่ไม่พบโครงสร้างพิเศษรอบรากของพืช ซึ่งแสดงว่าเป็นพืชอาศัยที่ดี ศึกษาพบว่าเห็ดตับเต่าสามารถเจริญได้เองโดยไม่ต้องอาศัยต้นไม้ งานวิจัยของคนไทยเกี่ยวกับเห็ดตับเต่า เช่น เปรียบเทียบอาหารเลี้ยงเชื้อเห็ดหลายอย่าง ใช้มันต้มผสมวุ้นเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อเห็ดและทดลองให้แสงและไม่ให้แสง แล้วทดลองเติมแอมโมเนียและน้ำตาล ต่อมาลองเติมข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวกล้อง พบว่าข้าวกล้องทำให้เชื้อเห็ดเจริญเติบโตได้ดีสุด

ที่มา: เรียบเรียงจากการฟังบรรยายในหัวข้อดังกล่าวข้างต้น– ( 1693 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ศูนย์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2014
สหรัฐอเมริกา เริ่มเปิดตัวเว็บไซต์ต้นแบบข้อมูลสภาพภูมิอากาศของรัฐบาล  ที่ http://climate.data.govเมื่อวันที่  19 มีนาคม เพื่อเป็นการเผยแพร่และแสดงข้อมูลให้เป็นภาพ แบบเปิดเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ – เพื่อที่จะเพิ่มการรับรู้ของประชาชนและส่งเสริมการวางแผนในการแก้ไขปัญหาของชุมชน เว็บไซต์นี้  ดำเนินการโดยองค์การนาซ่า และหน่วยงานบริหารจัดการแห่งมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA)
เว็บไซต์นี้จะริเริ่มเรื่องแรก  โดยมุ่งเน้นไปที่เรื่องน้ำท่วมชายฝั่งทะเลและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลโดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ
ของรัฐบาลกลาง  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะผลิตชุดของเครื่องมือบนเว็บสำหรับการวางแผนสภาพภูมิอากาศ

อ้างอิง : Climate data site. (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 507(7493), 404-405.
http://www.nature.com/news/seven-days-21-27-march-2014-1.14925– ( 10 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2014
สหราชอาณาจักรอาจจะกลายเป็นประเทศแรกที่จะทำการฉีดวัคซีนให้แก่ทารกที่มีวัคซีนที่มีฤทธิ์กับเยื่อหุ้มสมองอักเสบบี  คณะกรรมการร่วมแห่งการฉีดวัคซีนสร้างภูมิต้านทาน ประกาศเมื่อวันที่ 21 มีนาคม  ว่าเป็นวัคซีนชื่อ Bexsero – ที่พัฒนาโดยบริษัทโนวาติส  ในบาเซิลวิตเซอร์แลนด์ – ซึ่งอาจเป็นจริงหากสามารถซื้อได้ในราคาที่ถูก โดยที่วัคซีนนี้ได้รับการอนุมัติในยุโรป เมื่อปีที่แล้ว  คณะกรรมการในสหราชอาณาจักรแจ้งว่ามันไม่คุ้มค่าราคาของ  บริษัทโนวาติสมีแผนจะขออนุมัติวัคซีนนี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังของปีนี้  หลังจากที่หน่วยงานผู้กำกับดูแลได้อนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินในปี 2013 ที่จะหยุดยั้งการระบาดของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ B  ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

อ้างอิง : Meningitis vaccine. (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 507(7493), 404-405.
http://www.nature.com/news/seven-days-21-27-march-2014-1.14925– ( 32 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments