magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

เทศกาลดอกไม้บานรับเหมันต์

ฤดูหนาวกำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่อึดใจนี้แล้ว (ฤดูหนาวเริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์) และในช่วงฤดูหนาวธรรมชาติก็มักจะแต่งแต้มให้ดอกไม้นานาพันธุ์ ชูช่อออกดอกให้เราได้ดื่มด่ำ และชื่นชมความสวยงาม และการได้มีโอกาสแวะเวียนไปเที่ยวชมสวนดอกไม้นานาพันธุ์ก็นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ในช่วงต้นฤดูหนาวแบบนี้ วันนี้จึงขอแนะนำสถานที่สำหรับเที่ยวชมพฤกษานานาพันธุ์ ดังนี้
Read more…– ( 1382 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไส้เดือนดินผู้พิชิตธาตุโลหะหนัก

ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ มีความสำคัญอย่างมากในการย่อยอินทรียสารในดิน อีกทั้งการเคลื่อนที่ในดินของไส้เดือนถือเป็นการพรวนดินอย่างดี ทำให้ดินมีช่อวว่างที่จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการปลูกพืช อีกทั้งยังใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากไส้เดือนอีกด้วย และนอกจากนี้แล้วไส้เดือนยังเป็นที่นิยมอย่างยาวนานในการใช้ไส้เดือนป็นเหยื่อสำหรับตกปลา

ประโยชน์ของไส้เดือนดิน ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้เพราะมีรายงานการวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยพอนดิเชอรี่ ประเทศอินเดีย ได้ทำการวิจัยเพื่อหาทางออกให้กับปัญหากองขยะรอบๆ เมือง ซึ่งจากปัญหาขยะที่กองเกลื่อนรอบเมืองนั้นได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางดินและเสี่ยงต่อการปนเปื้อนแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค

จากการวิจัยพบว่าไส้เดือนดินไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ช่วยย่อยและแปรสภาพชยะชีวภาพให้กลายเป็นปุ๋ยเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยย่อยสลายพิษจากธาตุโลหะหนักได้อีกด้วย เนื่องจากระบบย่อยอาหารของไส้เดือนมีความสามารถในการแยกโลหะหนักออกจากสสารฮิวมิคที่เป็นส่วนประกอบหลักของดิน และจะไม่ปล่อยธาตุโลหะหนักเหล่านั้นกลับลงสู่ดินอีกด้วย และเมื่อไส้เดือนตายเราก็ทำเพียงแค่คัดไส้เดือนเหล่านั้นออกไปเท่านี้ก็เป็นการกำจัดขยะที่มีโลหะหนักทิ้งไปได้แล้ว

แหล่งที่มา :
“สาระสิ่งแวดล้อม : ไส้เดือนย่อยสลายธาตุโลหะหนัก”.
สานสุข สานความสุขสู่สังคม. 2 : 34 ; กันยายน-ตุลาคม 2555.
ไส้เดือนดิน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : th.wikipedia.org/wiki/ไส้เดือนดิน. (วันที่ค้นข้อมูล 8 พฤศจิกายน 2555).– ( 967 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การให้ยาผ่านทางผิวหนังควบคู่กับการใช้คลื่นเหนือเสียง ทำให้ยาสามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น

วิศวกรจาก MIT พบว่า การทายาบริเวณผิวหนังร่วมกับการใช้คลื่นเหนือเสียง (Ultrasound waves) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการซึมผ่านยาได้เพิ่มขึ้น  ซึ่งเทคโนโลยีนี้อาจใช้เป็นใบเบิกทางในการนำส่งยาที่ไม่สร้างความเจ็บปวด (noninvasive drug delivery) หรือการนำส่งยาโดยปราศจากเข็มฉีดยา (needle-free vaccinations) สำหรับผู้ป่วย

Carl Schoellhammer บัณฑิตจาก MIT ภาควิชาวิศวกรรมเคมี และเป็นหนึ่งในผู้นำการวิจัยระบบใหม่นี้ กล่าวว่า “ระบบนี้สามารถนำมาใช้สำหรับยาทาบริเวณผิวหนัง (tropical drug) อาทิ สารสเตียรอยด์ (เช่น cortisol) systemic drugs และโปรตีน (เช่น ฮอร์โมนอินซูลิน) และแอนติเจนสำหรับการให้วัคซีน”

คลื่นเหนือเสียง (Ultrasound) เป็นคลื่นเสียง ความถี่สูงที่มีค่าสูงกว่าความถี่สูงที่สุดที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้  การใช้คลื่นเหนือเสียงทำให้ยาสามารถซึมผ่านชั้นบนสุดของผิวหนังได้รวดเร็ว มากขึ้น  ซึ่งเป็นผลเพียงชั่วคราวและไม่ทำให้ เกิดความเจ็บปวดใดๆ

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9289-sci-tech-news
คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนตุลาคม 2555. (ค้นข้อมูลวันที่ 5 ตุลาคม 2555 ) จาก http://www.ostc.thaiembdc.org/test2012/S&Tnewsletter– ( 190 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การออกแบบ Apps บนมือถือ เพื่อประหยัดแบตเตอรี่

รูปภาพจาก: http://ternhillhive.blogspot.com/2012/10/a-smart-phone-application-to-provide.html

ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ตโฟน ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากฟังก์ชั่นและความสามารถต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการรองรับการใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชั่นต่างๆ (Application) แต่ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้งานมักพบคือแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือมักหมดอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องพกสายชาร์ตแบตเตอรี่ หรือแบตเตอรี่สำรอง

ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือถูกออกแบบเพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นซึ่งทำงานบนระบบปฏิบัติการดังกล่าว โดยทั่วไปมักไม่คำนึกถึงการใช้พลังงานบนแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ

จากปัญหาที่เกิดขึ้นนักวิจัยจาก Purdue University และ Microsoft Research จึงได้ทำการศึกษาและพัฒนาระบบเพื่อตรวจสอบการใช้พลังงานทั้งหมดของแต่ละกิจกรรมและกระบวนการของแต่ละแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อถ่ายโอนข้อมูล หรือ การปรับแต่งรูปภาพ เป็นต้น จากนั้นทำการสรุปผลว่าแต่ละกระบวนการในแอพพลิเคชั่นนั้นๆ ใช้พลังงานเท่าไหร่ กระบวนการใดใช้พลังงานมากหรือน้อยที่สุด โดยผลสรุปที่ได้เพื่อประกอบการปรับปรุงการออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้พลังงานลดลงต่อไป

ที่มา: Pathak, A., et al. (2012). “Fine grained energy accounting on smartphones with eprof”. EuroSys, April: 10-13.– ( 210 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตู้เอทีเอ็ม พลังงานแสงอาทิตย์

หากบ้านของเราอยู่ในชุมชนที่ค่อนข้างจะทุรกันดาร หรือว่าวันใดวันหนึ่งได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในแดนดินที่ค่อนข้างจะไม่ค่อยสะดวกสบายมากนัก น้ำไฟมีใช้กันอย่างประหยัด พลังงานต่างๆ ก็ต้องใช้กันอย่างทะนุถนอม เราก็คงจะลำบากกันไม่ใช่น้อย และที่สำคัญไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตามแต่ “เงิน” ก็ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะต้องมีติดตัวกันไว้ ถ้าหากเราไปท่องเที่ยวเราจะพกเงินสดติดตัวจำนวนมากไปด้วยก็ดูจะเป็นการล่อแหลมต่อพวกมิจฉาชีพกันไม่ใช่น้อย ดังนั้น “ตู้กดเงินสด” หรือ “ATM” (Automatic Teller Machine) จึงมีความสำคัญไม่ใช่น้อย และหากเราจำเป็นต้องกดเงินสดจาก ATM แต่เครื่อง ATM นั้นมีไม่มากนัก ยิ่งอยุ่ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่ห่างไกลกว่าจะได้กดเงินจะต้องขึ้นรถ ลงเรือ ต่อมอเตอร์ไซค์ ไปอีกหลายกิโลเมตร เท่ากับเราต้องสูญเสียทั้งเงินและพลังงานในการเดินทางไปมากทีเดียว

การที่จะสร้างตู้ ATM ให้พร้อมใช้หรือมีในถิ่นทุรกันดาร หรือทุกๆ พื้นที่ก็คงจะลำบาก เพราะการก่อสร้างหรือการติดตั้งตู้ ATM ในแต่ละแห่งนั้นต้องใช้อุปกรณ์มากมาย ด้วยเหตุนี้เกาะบาหลี จึงได้ผุดไอเดียสร้างสรรค์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการสร้างตู้ ATM ในชนบทที่ห่างไกลโดยใช้โครงสร้างที่ของตู้ด้วยไม้ไผ่ อะลูมิเนียมรีไซเคิล และติดกระจกแทนการใช้ฐานคอนกรีตหลายร้อยกิดลกรัม พร้อมติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้พลังงานกับตู้ ATM เพื่อให้พลังงาน และแสงสว่าง โดยตู้ ATM อนุรักษ์พลังงานนี้จะไม่พึงพาพลังงานจากสายไฟฟ้าแต่อย่างใด และผลลัพทธ์ที่ได้จากตู้ ATM นี้คือ ช่วยประหยัดพลังงาน สร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีความสวยงาม กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมอีกด้วย

“สาระสิ่งแวดล้อม : ตู้เอทีเอ็ม พลังงานแสงอาทิตย์”. สานสุข สานความสุขสู่สังคม. 2 : 22 ; กันยายน-ตุลาคม 2555.– ( 195 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Lonely Planet แนะ 10 ภูมิภาคน่าเที่ยวที่สุดในโลกปี 2013

อีกไม่กี่เดือนก็จะหมดปี 2012 กันแล้ว ช่วงเริ่มต้นปีใหม่ในปี 2013 หลายคนอาจจะกำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อไปชาร์ตแบตให้กับตัวเอง แต่สถานที่ท่องเที่ยวทั่วโลกในแต่ละประเทศนั้นมีมากมายจนไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนกันนดี เพราะหนึ่งประเทศมีหลายแคว้น หลายเมือง หลายรัฐ หลายจังหวัด ดังนั้น Lonely Planet นิตยสารท่องเที่ยวชื่อดังจึงได้ทำการคัดสรรหลายสถาน หลากดินแดนที่น่าไปเยือน โดยวัดจากวัฒนธรรม กิจกรรม เส้นทางบุกเบิก ครอบครัว อาหาร การผจญภัย กับ 10 อันดับ ภูมิภาคน่าเที่ยวที่สุดในโลก ปี 2013


Read more…– ( 309 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

7 วิชาชีพทำงานได้ในทุกประเทศสมาชิกอาเซียน

สมาคมส่งเสริมการค้าอาเซียน เผย 7 วิชาชีพ ที่สามารถทำงานได้ในทุกประเทศของอาเซียน ทั้ง ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน

จากที่จะมีการรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ เป็น Asean Economics Community (AEC) เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน มีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone โดยมีผลประโยชน์ อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนทำจะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว) โดยอาเซียนจะรวมตัวเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” อย่างจริงจังในวันที่ 1 มกราคม 2558 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ได้มีการกำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญได้อย่างเสรี โดยเบื้องต้นได้กำหนดครอบคลุม 7 อาชีพ  ได้แก่

  • อาชีพวิศวกร (Engineering Services)
  • อาชีพพยาบาล (Nursing Services)
  • อาชีพสถาปนิก(Architectural Services)
  • อาชีพการสำรวจ (Surveying Qualifications)
  • อาชีพนักบัญชี (Accountancy Services)
  • อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
  • อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners)

Read more…– ( 605 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เตือนกิน “ปลาดุกย่าง” เสี่ยงมะเร็งสูง

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า สารเบนโซเอไพรีน เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แต่เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำ แม้จะมีการทดลองพบว่าสารนี้มีผลก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่พบข้อมูลที่เพียงพอว่าจะทำให้ก่อมะเร็งในคน อย่างไรก็ตามทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารนี้ในอาหารมาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2554 มีการสุ่มสำรวจอาหารที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการปนเปื้อน ได้แก่ ไก่ย่าง ปลาดุกย่าง และหมูปิ้ง โดยเก็บตัวอย่างจากตลาดสดในกทม. 42 แห่งรวม 101 ตัวอย่าง เป็นไก่ย่าง 35 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนร้อยละ 31 ปริมาณสารดังกล่าวที่พบอยู่ที่ 0.5-0.7 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ปลาดุกย่าง 36 ตัวอย่างพบปนเปื้อน ร้อยละ 81 ปริมาณสารที่พบอยู่ที่ 0.5-3.2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และหมูปิ้ง 30 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนร้อยละ 40 ปริมาณสารที่พบอยู่ที่ 0.3-1.3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ปริมาณสารที่พบยังถือว่ามีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ประกาศในกลุ่ม ประเทศสหภาพยุโรป ซึ่งกำหนดไว้ที่ 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม

นายมงคล เจนจิตติกุล ผอ.สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า แม้ผลการตรวจวิเคราะห์ในกลุ่มอาหารที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารดังกล่าว จะพบการปนเปื้อนในปริมาณที่ต่ำกว่ามาตรฐานมาก แต่อยากแนะนำว่าเพื่อความปลอดภัยก่อนรับประทานควรตัดส่วนที่ไหม้เกรียมออกไป ไม่ควรรับประทานอาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม ส่วนกรณีปลาดุกย่างนั้นแนะนำว่าควรลอกหนังออกและรับประทานแต่เนื้อจะช่วยลด ความเสี่ยงการได้รับสารดังกล่าวลงได้

รายการอ้างอิง :

เตือนกิน “ปลาดุกย่าง” เสี่ยงมะเร็งสูง. แนวหน้า. วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555.– ( 154 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แพทย์เตือนกลุ่มเสี่ยงโรคนิ้วล๊อก “แม่บ้าน-นักกอล์ฟ-คนทำสวน-ช่าง”

หมอสมชัยเตือนผู้ใช้แรงงานนิ้วหนัก ๆ อัตราเสี่ยงเป็นโรคนิ้วล๊อกสูง พบเกือบทุกอาชีพนำโด่งกลุ่มแม่บ้าน   นักช้อปปิ้ง นักกอล์ฟ และผู้บริหาร พร้อมดึงผลวิจัยนวดรักษาโรคนิ้วล๊อกใช้ประโยชน์จริงในสถานพยาบาล

นายแพทย์สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้สัมภาษณ์ถึงการนำผลงานวิจัยรักษาโรคนิ้วไกปืนหรือนิ้วล๊อกใช้ประโยชน์ว่า โรคนิ้วล็อกคือ ความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ   อาจเป็นเพียงนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว อาการเริ่มตั้งแต่เจ็บบริเวณฐานนิ้วนั้น ๆ นิ้วมีความฝืดในการเคลื่อนไหว สะดุด หรือกระเด้งเข้าออกเวลางอหรือเหยียด ต่อมามีอาการล็อก คือ หากงอหรือกำนิ้วมือไว้ จะไม่สามารถเหยียดออกได้เอง ที่ผ่านมากรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยสถาบันการแพทย์แผนไทย ได้ทำการศึกษาวิจัยทดลองทางคลินิก ศึกษาประสิทธิผลเบื้องต้นของการนวดไทยในการรักษาโรคนิ้วล๊อก และศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของการปวดข้อและความลำบากในการเคลื่อนไหวข้อ ในผู้ป่วยโรคนิ้ว Read more…– ( 119 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รถยนต์ทั่วโลกเพิ่มทะลุ! ครบ 1 พันล้านคันปีนี้

ไมเคิล เรนเนอร์แห่งสถาบัน Worldwatch Institute เป็นผู้เขียนบทวิเคราะห์เรื่องการผลิตรถยนต์ให้แก่สถาบันกล่าวว่าผู้ผลิตราย ใหญ่ที่สุดยังเป็นประเทศจีนที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุดในช่วง10ปีที่ผ่าน มาแซงหน้าเยอรมันนีญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาสามประเทศผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของ โลกไปเรียบร้อยแล้ว
Read more…– ( 92 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments