magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

อาหาร “ม่วนใจ๋” …จัดจ้านไร้รสเนื้อ

ยังคง “สุขภาพดีได้…ไม่ใส่เนื้อ” แต่ครั้งนี้ขอมีกลิ่นอายล้านนา กับอาหารมังสวิรัติพื้นเมืองภาคเหนือ

เชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต ขึ้นล่องเป็นครั้งที่เท่าไรนับไม่ถ้วน แต่ทุกครั้งจะต้องเจอะเจอกับ…ข้าวซอยเนื้อนานาชนิด น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ไส้อั่ว แคบหมู ฯลฯ วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ มื้อหนึ่งสองมื้อบ้างแล้วแต่ความพึงพอใจ และ “เอียน” ของผู้บริโภค
Read more…– ( 235 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พบดาวเคราะห์คล้ายโลกนอกระบบสุริยะ

วันนี้ ( 10 พ.ย. ) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ผลการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร “ดาราศาสตร์ และ ดาราฟิสิกส์” เมื่อวันศุกร์ พบว่า ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ที่เพิ่งได้รับการค้นพบ และมีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 7 เท่า อาจกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตได้
ดาวเคราะห์ดังกล่าวมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “เอชดี 40307จี” เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์เพียงไม่กี่ดวง ที่โคจรอยู่ใน “เขตอาศัยได้” ซึ่งเป็นบริเวณในอวกาศที่ดาวเคราะห์ลักษณะคล้ายโลก สามารถโคจรอยู่ได้พร้อมกับดำรงน้ำในสถานะของเหลวบนพื้นผิว Read more…

– ( 149 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รางวัล Golden Goose Award

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555 สมาชิกรัฐสภา ตัวแทนจากชุมชมการศึกษา ชุมชนวิทยาศาสตร์ ชุมชนธุรกิจ และ ผู้มีชื่อเสียงอื่นๆ ได้รวมตัวกันเพื่อเป็นเกียรติและมอบรางวัลให้แก่นักวิจัยที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล 7 ท่าน (Dr.Charles Townes, Osamu Shimomura, Martin Chalfe, Roger Tsien, Eugene White, Rodney White, Della Roy) โดยผลงานวิจัยของทั้ง 7 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่ วงการเทคโนโลยี การแพทย์ และการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมหาศาล

นักวิจัยกลุ่มนี้เป็นผู้ได้รับรางวัลรุ่นแรกของโครงการ Golden Goose Award ซึ่งเป็นโครงการที่มอบ รางวัลให้แก่ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ครั้งหนึ่งถูกมองว่าเป็นงานวิจัยที่แปลกประหลาดและคลุมเครือ แต่ต่อมากลับก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากแก่มนุษยชาติ และระบบเศรษฐกิจ โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยชั้นนำของ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ผู้ที่ชนะรางวัลที่ 1 ของ Golden Goose Award คือ Charles Townes ผู้ประดิษฐ์เทคโนโลยีการฉายแสงเลเซอร์ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น อินเตอร์เน็ต สื่อดิจิตอลต่างๆ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ดาวเทียม เครื่องมือผ่าตัดดวงตา และเครื่องมือรักษาโรคมะเร็ง

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9289-sci-tech-news
คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนตุลาคม 2555. (ค้นข้อมูลวันที่ 5 ตุลาคม 2555 ) จาก http://www.ostc.thaiembdc.org/test2012/S&Tnewsletter– ( 135 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ภาพประธานาธิบดีสหรัฐฯ สวมกอดภรรยา ถูก RT มากที่สุด

จากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ที่ บารัค โอบามา ได้รับชัยชนะได้รับการเลือกตั้งให้นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อเป็นสมัยที่ 2 ซึ่งสามารถเอาชนะคู่แข่ง มิตต์ รอมนีย์ จากควันหลงเหตุการประวัติศาสตร์ครั้งนั้น โลกของโซเชียลเน็ตเวิร์คได้มีการทวิตข้อความและนำเสนอชัยชนะของโอบามาเป็นประวัติศาสตร์ของโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คเลยทีเดียว

หลังจากบารัค โอบามา ทราบถึงผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้วว่าตนนั้นได้นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นสมัยที่ 2  โอบามา ได้สวมกอดภรรยาย อย่างอบอุ่น ภาพนี้ได้ถูกทวิตผ่าน ทวิตเตอร์ พร้อมคำอธิบายสั้นๆ ว่า “four more yers” และได้รับการรีทวิตผ่านทวิตเตอร์ถึง 650,200 ครั้ง และมีคนกดไลค์กว่า 3.2 ล้านคนบนสังคมเฟซบุ๊ค จากการรีทวิตครั้งประวัติศาสตร์นี้ได้เป็นการทำลายสถิติของนักร้องวัยรุ่นชื่อดัง “จัสติน บีเบอร์” ที่มีผู้คนรีทวิตในช่วงที่บีเบอร์ช่วยเหลือแฟนคลับของเขาที่่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งมีผู้ทวิตทั้งหมด 200,000 ครั้ง


แหล่งที่มา : ภาพโอบามากอดภรรยาถูก RT มากที่สุด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://www.arip.co.th/news.php?id=415820. (วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤศจิกายน 2555).– ( 107 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระบบการเลือกตั้งของสหรัฐ

ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริการะหว่าง นายบารัค โอบามา และ นายมิทท์ รอมนีย์ ผลปรากฏว่า “บารัค โอบามา” ได้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับพรรคเดโมแครตอีกครั้ง เมื่อบารัค โอบามา ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 ให้นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อเป็นสมัยที่ 2 ซึ่งจะครบวาระในปี 2560

ทุกๆ 4 ปี ประชาชนชาวอเมริกามีหน้าที่ที่สำคัญในการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคน ต่อไปของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ระบบการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกานั้นซับซ้อนกว่าของประเทศอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่ประชากรทุกคนของประเทศสามารถออกเสียงเลือกผู้สมัครที่ต้องการ เพื่อเป็นประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีได้โดยตรง แต่การเลือกตั้งประธานธิบดีของ สหรัฐฯ  เป็นการออกเสียงทางอ้อม โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้

Read more…– ( 278 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ประเด็นด้านวิทยาศาสตร์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

วารสาร C&N ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม 2555 ได้สัมภาษณ์ผู้สมัครแข่งขันตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คือ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา และ ผู้ว่าการรัฐ มิท รอมนี่  ถึงแนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งจะไม่ได้พบในสื่ออื่นๆ  ประเด็นการสัมภาษณ์มีดังนี้

  1. การสนับสนุนการวิจัย (research support)
  2. บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับความปลอดภัยของประเทศ (national security)
  3. การเข้าถึงข้อมูล (open access) งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ
  4. การคาดหวังด้านจริยธรรมคุณธรรมในงานด้านวิทยาศาสตร์ (scientific integrity)
  5. การพัฒนาพลังงาน  (energy)
  6. การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ  (climate change)
  7. การพัฒนานัวตกรรม (innovation)
  8. การพัฒนาระบบการศึกษา (education)

จากประเด็นการสัมภาษณ์ถึงแนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จาก 8 ประเด็นข้างต้น มีหลายประเด็นที่ทั้ง บารัค โอบามา และ มิท รอมนี่ ได้มีความเห็นสอดคล้องไปในแนวเดียวกัน ดังนี้

  • ประเด็นในเรื่อง การสนับสนุนการวิจัย (research support)
    โอบามาและรอมนี่มีความเห็นสอดคล้องกันว่า  การสนับสนุนการวิจัยพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญแม้ในยามที่ประเทศกำลังเผชิญกับภาวะการตึงเครียดทางเศรษฐกิจขณะนี้
  • ประเด็นในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ  (climate change)
    ผู้สมัครทั้งสองมีความเห็นสอดคล้องว่า การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นและมนุษยชาติต้องให้ความสนใจกับเรื่องนี้
  • ประเด็นในเรื่อง การพัฒนานวัตกรรม (innovation)
    ผู้สมัครทั้งสองเห็นพ้องว่า  นวัตกรรมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ
  • ประเด็นในเรื่อง การพัฒนาระบบการศึกษา (education)
    ผู้สมัครทั้งสองคนเห็นพ้องกับการพัฒนาระบบการศึกษาแบบ K-12 (ประถมถึง มัธยมปลาย)

ซึ่งผู้แข่งขันทั้งสองคน จะต้องชี้แจงแนวนโยบายที่จะทำให้คนอเมริกันและคนทั่วโลกทราบว่าเขาจะมีแนวทางอย่างไร เมื่อก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ

ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9319-sci-tech-news-nov


แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2555. ค้นข้อมูลวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 จาก http://www.ostc.thaiembdc.org/test2012/S&Tnewsletter– ( 139 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดจากการวิจัยโรคมะเร็งใช้เป็นหนทางใหม่ในการผลิตเส้นใยไนลอน

การกลายยีนที่พบในเนื้องอกสมองจะเป็นผลที่นำไปสู่การผลิตไนลอนในเชิงพาณิชย์ ที่มีราคาถูก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คณะนักวิจัยจาก Duke Cancer Institute ได้อธิบายไว้ในนิตยสาร Nature Chemical Biology ฉบับ วันที่ 23 กันยายน 2555  ถึงการค้นพบโดยบังเอิญที่เป็นการล้มล้างความคิดเดิมที่ว่าเซลล์มะเร็งเป็น เซลล์ร้ายต่อร่างกาย แต่การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและเคมีสามารถนำเซลล์มะเร็งมาใช้งานที่เป็น ประโยชน์ได้

Zachary J. Reitman ผู้ช่วยวิจัยที่ Duke กล่าวว่า พวกเขาได้ทำการศึกษาสาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมต่างๆ ที่ทำให้เนื้อเยื่อที่ดีกลายเป็นเนื้อเยื่อร้ายและเติบโตกลายเป็นเนื้องอก  โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อเพิ่ม ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาของเนื้องอกว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร  ทำให้พวกเขาสามารถออกแบบการบำบัดรักษาโรคมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น  แต่พวกเขากลับพบว่าข้อมูลที่พวกเขาทราบจากการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็น การปูทางสำหรับ วิธีการผลิตเส้นใยไนลอนที่ดียิ่งขึ้น

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9289-sci-tech-news
คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนตุลาคม 2555. (ค้นข้อมูลวันที่ 5 ตุลาคม 2555 ) จาก http://www.ostc.thaiembdc.org/test2012/S&Tnewsletter– ( 108 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สถิติโลก: วัสดุที่มีพื้นที่ผิวมากที่สุดในโลก

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Northwestern มลรัฐอิลินอยส์ ทำลายสถิติโลกโดยการสร้างวัสดุสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ 2 ชนิด ชื่อว่า NU-109 และ NU-110  ซึ่งเป็นวัสดุที่มีพื้นที่ผิวมากที่สุดในปัจจุบัน

NU-109 และ NU-110  เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่จัดอยู่ในประเภทของสารประกอบที่เป็นผลึก (crystalline compounds) ที่เรียกว่า “metal-organic frameworks (MOFs)”  โดย MOFs นี้ได้รับการพิจารณาว่ามีศักยภาพการใช้งานเพื่อเป็นภาชนะบรรจุสำหรับการขนส่งและการเก็บรักษา เช่น ก๊าซธรรมชาติ ตัวเร่งปฏิกริยา (catalyst) และเคมีวัสดุที่ยั่งยืน (sustainable materials chemistry) อื่นๆ

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9289-sci-tech-news
คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนตุลาคม 2555. (ค้นข้อมูลวันที่ 5 ตุลาคม 2555 ) จาก http://www.ostc.thaiembdc.org/test2012/S&Tnewsletter– ( 140 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ย้อนรอย “เครื่องดื่มน้ำดำ”

กลายเป็นเรด โอเชี่ยน (Red Ocean) หรือการแข่งขันที่รุนแรง และเข้มข้นที่สุด เมื่อเจ้าสังเวียนน้ำดำรายเก่ากับรายใหม่ ท้าชิงความเป็นยักษ์ใหญ่ แห่งวงการ “น้ำอัดลมน้ำดำ” ด้วยความฮอตในเรื่องนี้เรามาร่วมย้อนรอยบรรยาน้ำดำยี่ห้อต่างๆ ที่เคยขายและยังคงมีวางขายอยู่ในเมืองไทยมากกว่า 30 ปี ว่าแต่ว่ามีใครเกิดทันบ้าง

– ( 1140 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยีนทายอนาคต‘สมองเสื่อม’

ลอนดอน : นักวิจัยสหรัฐค้นพบยีนผ่าเหล่าทำให้เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ อนาคตสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้ผ่านการตรวจยีนหรือโปรตีน amyloid betaที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของโรค

ภาวะสมองเสื่อมแม้ไม่ทำให้เจ็บปวด แต่ไม่ต่างจากการตายทั้งเป็นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถจดจำอะไรได้แม้กระทั่งตัว เอง แต่ต่อไปเราอาจป้องกันโรคนี้ได้จากการตรวจยีน ผลจากการศึกษาของนักวิจัยสถาบัน The Banner Alzheimer’s Institute มหาวิทยาลัยบอสตัน และมหาวิทยาลัยอันติโอเกียของสหรัฐ ที่ค้นพบการผ่าเหล่าของยีนชื่อ presenilin 1 (PSEN1) ในคนวัยหนุ่มสาวราว 30% ที่ทำให้เกิดสัญญาณของโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์เร็วกว่าเพื่อนในวัย เดียวกัน จึงเป็นความหวังว่าต่อไปจะสามารถตรวจพบร่องรอยของโรคได้เร็วขึ้น Read more…– ( 182 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments