magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

มธ.เปิดตัวข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเกษตร
มธ. 4 มี.ค.2557 -มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดตัวข้าวหอมมะลิพันธุ์ใหม่ ที่มีคุณสมบัติเด่นผลผลิตสูง ทนแล้ง และปลูกได้ทั้งปี  เตรียมจดทะเบียนรับรองพันธุ์ ก่อนกระจายสู่เกษตรกร

ในวาระครบ 80 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฯ เปิดตัวข้าวสายพันธุ์ใหม่ “ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์”  ผลงานของ รศ.ดร.บุญหงษ์ จงคิด หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวหน้าทีมวิจัย  โดยกล่าวว่า ทดลองวิจัยกว่า 5 ปี โดยปรับปรุงพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้เทคนิคการฉายรังสีแกมมาในสายพันธุ์เดิมและคัดเลือกสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ KDML 105’10GR -TU -70-10 ชื่อว่า ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์

Read more…– ( 192 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คนเราจะอ่านจับใจความจากหนังสือได้ดีกว่าการอ่านจากหน้าจอ

จากการวิจัยโดย แอนน์ แมนเจน (Anne Mangen) และเพื่อนร่วมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตาเวนเจอร์ ประเทศนอร์เวย์  ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2556  ได้ให้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 72 คน อ่านบทความเชิงบรรยายโวหาร และอธิบายความ โดยให้นักเรียนจำนวนครึ่งหนึ่งอ่านบนกระดาษ และอีกครึ่งหนึ่งอ่านจากไฟล์ PDF บนเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วให้ทำแบบทดสอบความเข้าใจโดยสามารถเปิดเอกสารที่ใช้อ่านได้ด้วย จากการศึกษานี้ พบว่านักเรียนที่อ่านบทความบนคอมพิวเตอร์ทำคะแนนได้น้อยกว่า เพราะต้องคอยเลื่อนเมาส์หรือคลิกเปิดไปทีละหน้า ต่างจากนักเรียนที่อ่านจากหนังสือ ถือตำราไว้ในมือและสามารถเปิดพลิกไปยังหน้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วกว่า

แมนเจนกล่าวว่า “ขณะที่อ่านหนังสือนั้น เราเปรียบแต่ละหน้าเหมือนแต่ละก้าวของการเดินทาง เราออกเดินทางจากทิศตะวันออกไปสู่จุดหมาย และทุกสิ่งในระหว่างทางทั้งหมดเป็นเส้นทางที่สัมพันธ์กัน วิธีนี้อาจช่วยให้เราใช้สมาธิอ่านทำความเข้าใจได้ง่ายและสามารถอ่านจับใจความได้ดี”

 

ที่มา:

Ferris Jabr. “Why the Brain Prefers Paper.” Scientific American, November 2013 :

– ( 18 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มุมมอง 3 อาชีพหญิงแกร่ง

วันที่ 8 มี.ค.ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล สตรีในประเทศต่างๆ ได้จัดกิจกรรมและร่วมเฉลิมฉลองกันทั่วโลก และในโอกาสวันสตรีสากล8 มี.ค.นี้ “โพสต์ทูเดย์” ขอหยิบยก “ผู้หญิงไทย”ที่มีความเก่งทำงานในอาชีพที่ยากได้ทัดเทียมกับผู้ชายใน 3 สาขา ได้แก่ นักบิน วิศวกรดาวเทียมและนักวิจัย เพื่อพิสูจน์ว่าผู้หญิงก็มีความรู้ความสามารถทำงานได้เก่งไม่แพ้ผู้ชาย

ดร.จิตติมา พิริยะพงศาต้องเลือกหน้าที่แม่ หรือก้าวหน้าในอาชีพ

ข้อ ดีของนักวิจัยหญิงคือ มีความละเอียดรอบคอบในการทำงานวิจัยได้ไม่แพ้ผู้ชายแนวคิดนี้เป็นของ ดร.จิตติมา พิริยะพงศาวัย 36 ปี นักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการชีวสถิติและสารสนเทศสถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้เคยได้รับทุนโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพประจำปี 2556

ดร.จิตติมา ศึกษาจบ

ปริญญา เอก สาขาชีวสารสนเทศศาสตร์ ที่ Georgia Institute of Technology สหรัฐ เธอยังเคยได้รับรางวัลด้านการวิจัยในระดับนานาชาติมากมาย ปัจจุบันเธอให้ความสนใจทำงานวิจัยเรื่อง”การใช้เทคนิคชีวสารสนเทศในการศึกษา บทบาทและกลไกใหม่ของไมโครอาร์เอ็นเอในการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนยีน โปรโมเตอร์” หากงานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จจะช่วยคัดกรองตำแหน่งเป้าหมาย เช่น เชื้อที่ก่อมะเร็ง โดยใช้เทคนิคชีวสารสนเทศก่อนการศึกษาเชิงลึก ทำให้ช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการดำเนินวิจัยและการรักษาโรคมากขึ้น Read more…– ( 159 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยเผยระบบนิเวศอ่าวพร้าว เริ่มดีขึ้น

อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ พร้อมนักวิจัยเฉพาะด้าน เผยผลสำรวจหลังเฝ้าติดตามระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่อ่าวพร้าว พบปริมาณสารไฮโดรคาร์บอนลดลง ปะการังฟื้นตัวฟอกขาวน้อยลง สัตว์น้ำเริ่มกลับเข้ามาในพื้นที่ และไม่พบสารพิษในสัตว์น้ำ

ด็อกเตอร์ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล  ติดตามระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่อ่าวพร้าวอย่างต่อเนื่อง 6 เดือน พบว่าปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนที่สะสมในทราย มีปริมาณลดลง ปะการังฟื้นตัวจากภาวะฟอกขาวเฉียบพลัน และบางส่วนเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ แต่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากอนาคตอาจเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เนื่องจากภาวะโลกร้อน จนอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง ส่วนคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่ทำการวิจัยมากกว่า 40 จุด ตั้งแต่จุดเกิดเหตุไปถึงพื้นที่ใกล้เคียง พบว่า ปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน ช่วงแรกสูงเฉพาะที่อ่าวพร้าว และยังอยู่ในสภาพนั้น 2-3 เดือนก่อนลดลง แต่ยังไม่แนะนำให้ทำกิจกรรมใด ๆ เพราะยังพบไฮโดรคาร์บอนสะสมอยู่ในดินตะกอน ส่วนการสำรวจปลาในแนวปะการังอ่าวพร้าว โดยเปรียบเทียบกับพื้นที่อ้างอิงไม่พบความผิดปกติของประชากรปลา ขณะนี้สัตว์น้ำเริ่มกลับเข้ามาอาศัยที่อ่าวพร้าวเพิ่มขึ้น

Read more…– ( 30 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สหรัฐฯ-คาดเศรษฐกิจปี 2557 โต 3.1 เปอร์เซ็นต์

รัฐบาลสหรัฐฯคาดการณ์ถึงแนวโน้มของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปีนี้ว่า จะโตเร็วกว่าทุกๆ ปีนับจากปี 2548 เป็นต้นมา  อันจะส่งผลให้อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ
ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 4 แม้ว่าต้นทุนการกู้ยืมเงินในตลาดทุนจะสูงขึ้น โดยคาดว่าระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปีนี้ จะเติบโตในอัตราสูงถึง 3.1 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับที่เติบโตในอัตรา 1.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปีที่ผ่านมา

ที่มา : สหรัฐฯ-คาดเศรษฐกิจปี 2557 โต 3.1 เปอร์เซ็นต์. (2557). ครอบครัวข่าวสามออนไลน์. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557, http://www.krobkruakao.com/ข่าวเศรษฐกิจ/89218/สหรัฐฯ-คาดเศรษฐกิจปี-2557-โต-3-1-เปอร์เซ็นต์.html
 – ( 10 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เด็กไทยขึ้นเที่ยวบิน ไร้น้ำหนัก

การปลูกพืชในอวกาศ นับเป็นโจทย์วิจัยอันท้าทายที่องค์กรวิจัยด้านอวกาศทั่วโลกให้ความสนใจอย่างมาก ล่าสุด 4 เยาวชนไทย สร้างอุปกรณ์ติดตามการเคลื่อนที่ของคลอโรพลาสต์เพื่อลำเลียงสารอาหารในสาหร่ายหางกระรอกบนเที่ยวบินไรน้ำหนัก ข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับการปลูกพืชในอวกาศ ณ เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ The Student Zero-gravity Flight Experiment Contest พร้อมกันนี้ยังได้รับโอกาสพิเศษพบ ดร.โมริ มาโมรุ นักบินอวกาศคนแรกของประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งเยี่ยมชมศูนย์พัฒนาดาวเทียมขนาดเล็ก UNIFORM Project ของมหาวิทยาลัยวาเซดะด้วย

ดร.สวัสดิ์ ตันติพันธุ์วดี ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการการวิจัย สวทช. กล่าวว่า โครงการ The Student Zero-gravity Flight Experiment Contest จัดขึ้นเป็นปีที่ 8 แล้ว ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) หรือแจ๊กซา เพื่อกระตุ้นความสนใจและเพิ่มพูนศักยภาพของเยาวชนไทยในการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ Read more…– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สวทช.ดันไทยขึ้นฮับ บริการไอทีอาเซียน

“สวทช.” หวังไทยขึ้นแท่นผู้นำบริการไอทีภูมิภาคอาเซียน ผนึก 6 พันธมิตร เดินเครื่องจัดอบรมผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีคลาวด์รุ่น 2 ชี้ตลาดโตเร็ว แต่ยังมีจุดอ่อนขาดแคลนบุคลากร เผยไทยยังรั้งอันดับ 3 ตัวเลือกนักลงทุน
นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีความพร้อมสามารถเป็นผู้นำด้านบริการไอทีในระดับอาเซียนได้ อย่างไรก็ตาม แม้มีความได้เปรียบในเรื่องของประชากร โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งจีดีพีที่มีอัตราการเติบโตเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค แต่ไทยยังมีจุดอ่อน หนึ่งในนั้น คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
ปัจจุบันต้องยอมรับว่าสิงคโปร์เป็นตัวเลือกอันดับแรกของนักลงทุน ส่วนไทยรั้งอันดับ 3 ตามหลังมาเลเซีย ทั้งยังมีคู่แข่งที่น่ากลัวอย่างเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่ไล่ตามมาติดๆ

Read more…– ( 22 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เปรู..อุทยานความหลากหลายทางชีวภาพ

อุทยานแห่งชาติมานูของเปรูได้รับการประกาศว่าเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากที่สุดในโลก เอาชนะสถิติเดิมของอุทยานแห่งชาติยาสุนิที่เอกวาดอร์ไปได้

การสำรวจพบว่าอุทยานแห่งนี้มีนกมากกว่า 1,000 ชนิด, ผีเสื้อ 1,200 ชนิด, ปลา 210 ชนิด, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 200 ชนิด, พืชอีกกว่า 5,000 ชนิด, และสัตว์เลื้อยคลานและครึ่งบกครึ่งน้ำที่ได้สถิติอีก 287 ชนิด

การสำรวจนี้จัดโดยทีมนักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบอร์กลีย์, มหาวิทยาลัยเซาเธิน อิลลินอยส์ คาร์บอนเดล, และมหาวิทยาลัยเวสเซิลยานของสหรัฐอเมริกา โดยนายรูดอล์ฟ วอน เมย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาจารย์วอน เมย์ กล่าวว่า ความหลากหลายทางชีวภาพเช่นนี้เป็นผลมาจากลักษณะภูมิประเทศที่ไล่ความสูงตั้งแต่ 150 เมตรจากระดับน้ำทะเล ไปจนถึงยอดเขาสูง 4,000 เมตร

อย่างไรก็ตาม วอลเตอร์ วัสต์ ช่างภาพสัตว์ป่าชาวเปรูกล่าวว่าทางการต้องออกมาตรการปกป้องอุทยานให้เข้มงวดขึ้น เนื่องจากการลักลอบทำเหมืองและการถางป่าทำเกษตรกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ได้

ที่มา: เปรู..อุทยานความหลากหลายทางชีวภาพ. (2557). ครอบครัวข่าวสามออนไลน์. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557, จาก http://www.krobkruakao.com/ข่าวต่างประเทศ/89252/เปรู–อุทยานความหลากหลายทางชีวภาพ.html– ( 34 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Collection analysis (ตอนที่ 4)

WorldCat Collection Analysis (WCA) เป็นบริการหนึ่งของ OCLC หรือ Online Computer Library Center, Inc ซึ่งมีจำนวนสมาชิกเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ราว 75,000 แห่ง

WorldCat Collection Analysis (WCA) คือ การวิเคราะห์ Collection ของห้องสมุด เพื่อจะได้ทราบจุดแข็ง และจุดอ่อนของทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ของห้องสมุด เห็นความความโดดเด่น และซ้ำซ้อนของทรัพยากรสารสนเทศ และนำผลการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและสร้างทรัพยากรสารสนเทศ ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ  และ
เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันระหว่างห้องสมุดในกลุ่มเดียวกัน  อ่านรายละเอ่ียด– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตัวอักษร Helvetica เป็นที่นิยมไปทั่วโลกได้อย่างไร

Mike Parker ผู้ช่วยทำให้ตัวอักษร Helvetica เป็นที่นิยมเสียชีวิตแล้ว (เสียชีวิตวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2014 (เกิดในปี 1929 อายุรวม 85 ปี))  ไม่มีนักออกแบบกราฟิกคนไหนไม่คุ้นเคยกับตัวอักษร Helvetica (เริ่มนำมาใช้ในปี 1957 ตอนนั้นเรียกตัวอักษรแบบนี้ว่า Neue Haas Grotesk) นอกจากนี้ตัวอักษร Helvetica ยังเป็นที่รู้จักดีในหมู่ผู้ที่ไม่ได้ทำงานออกแบบด้วย แม้แต่ Steve Job ยังนำตัวอักษร Helvetica ใส่ในระบบปฏิบัติการของ Apple

นักออกแบบชาวสวิส Emil Ruder (มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1914 ถึง 1970) และ Armin Hofmann (เกิดในปี 1920) เป็นอาจารย์สอนที่ Basel School of Design การสอนของพวกเขาทำให้เกิดงานการออกแบบสไตล์สวิสระหว่างปี 1950 ถึง 1969

Read more…– ( 157 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments