magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

กินอาหารให้เป็นยา

ฮิปโปเครติส บิดาทางการแพทย์ของชาวกรีกได้บัญญัติไว้ในการรักษาเมื่อประมาณ 2,500 ปีที่แล้วว่า “จงใช้อาหารเป็นยาในการรักษาโรค” ซึ่งกลายมาเป็นปรัชญาในการรักษาโรคยุคต่อๆ มา และได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

อ.ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า อาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายในการให้พลังงาน และสารอาหารที่จำเป็นในการดำรงชีวิต แต่ปัจจุบันมีหลักฐานเพิ่มเติมที่พบว่า องค์ประกอบของอาหารบางชนิดไม่จัดเป็นสารอาหารแต่อาจให้ประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ

ดังนั้น องค์ประกอบหลักในอาหารจึงแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นสารอาหาร (nutrients) และส่วนที่ไม่ใช่สารอาหาร (non-nutritive) องค์ประกอบทั้งสองส่วนมีความสัมพันธ์ต่อการป้องกัน หรือช่วยส่งเสริมการรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคกระดูกพรุน เป็นต้น ดังนั้นเมื่อพูดถึงอาหารเราไม่ได้หมายถึงองค์ประกอบในรูปสารอาหารขนาดใหญ่ (macronutrient) และสารอาหารขนาดจิ๋ว (micronutrient) เท่านั้น แต่เราจะมองถึงองค์ประกอบที่มีฤทธิ์ต่อสรีรวิทยาหรือสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive compound) และให้ผลในการลดหรือป้องกันโรค

แนวทางการพัฒนาอาหารฟังก์ชั่น ก็มาจากแนวคิดของการใช้อาหารเป็นยา (Food as medicine) นั่นเอง ในอดีตอาหารเป็นสิ่งที่ใช้รักษาโรคขาดสารอาหาร แต่ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจว่าอาหารฟังก์ชั่นเป็นสุขภาพ’ class=’anchor-link’ target=’_blank’>อาหารสุขภาพ ที่อาจให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าแค่สารอาหารหลักๆ ที่มีอยู่ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ เท่านั้น
Read more…– ( 200 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นาโนเทค เร่งเครื่องเวชสำอางไทยรับเออีซี

“นาโนเทค”ผนึกพันธมิตร ขับเคลื่อนเวชสำอางไทยเตรียมพร้อมรับมือตลาดอาเซียน

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทค กล่าวว่า การขับเคลื่อนนัวตกรรมด้านเครื่องสำอาง ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกนั้น เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการด้านเวชสำอางและระบบเศรษฐกิจไทย เนื่องจากประเทศไทยผลิตเครื่องสำอางปีละกว่า 200,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการส่งออก ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศไทย

“การทำตลาดเครื่องสำอางจำเป็นต้องมีนวัตกรรมออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น นวัตกรรมด้านนาโนเทคโนโลยีที่จะทำให้สารสกัดสมุนไพรที่ผสมในเครื่องสำอางต่างมีความคงตัวและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพราะ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบเครื่องสำอางไทยได้รับการยอมรับมากขึ้น”

นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องติดตามเทรนด์เครื่องสำอางของตลาดโลกเพื่อดูความต้องการของตลาด เพื่อได้ผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค พร้อมกันนี้จำเป็นต้องทราบกระบวนการในการดูแล ควบคุม และทดสอบความปลอดภัยของเครื่องสำอาง ตามที่สำนักการคณะกรรมการอาหารและยากำหนดนั้น เพื่อได้รับการรับรองด้านเครื่องสำอางอย่างถูกต้องและได้ตามมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

รายการอ้างอิง :
นาโนเทค เร่งเครื่องเวชสำอางไทยรับเออีซี. (2557). กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ. (ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์). ค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557. จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/science/20140217/563594/นาโนเทค-เร่งเครื่องเวชสำอางไทยรับเออีซี.htmlใ

 – ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ถั่วยาต้านมะเร็งตับอ่อน

ในยุคที่เต็มไปด้วยมลภาวะและสารเคมีอยู้ตลอดทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงก่อนเข้านอนตอนกลาง จนทำให้ร่างกายคนเราอ่อนแอเจ็บป่วยได้ง่าย แม้แต่โรคที่อันตรายถึงชีวิตอย่างโรคมะเร็งที่ยากต่อการรักษาให้หายขาดได้

เมื่อไม่นานมานี้มีงานวิจัยใหม่ พบว่า กินถั่วแค่อาทิตย์ละ 2 ครั้ง สามารถลดโอกาสเป็นมะเร็งตับอ่อนได้ถึงหนึ่งในสามส่วน โดยการศึกษาของโรงเรียนฮาร์วาร์สาธารณสุขในบอสตันสหรัฐอเมริกา แนะนำให้กินถั่วเป็นอาหารว่างประจำเป็นสำคัญ

นอก จากนี้ ผลการวิจัยที่เผยแพร่ออนไลน์ในอังกฤษวารสารมะเร็งเผยว่า ถั่วสามารถป้องกันโรคมะเร็งตับอ่อนที่มีอัตราตายสูง แม้แต่ในผู้สูบบุหรี่ที่มีความเสี่ยงเป็นตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โดยถั่วจะสร้างเอนไซม์มาช่วยย่อยอาหารและปล่อยอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

แม้ ว่าการศึกษาก่อนหน้านี้ จะชี้ว่าถั่วมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง เมื่อรับประทานเป็นส่วนหนึ่งของอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ก็ยังคงหาข้อสรุปไม่ได้ ทีมฮาร์วาร์ดอยากตรวจสอบว่า การกินถั่วมีผลต่ออัตราการเกิดมะเร็งตับอ่อนหรือไม่ โดยศึกษาจากตัวอย่างของผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งและคนปกติมากกว่า 75,000 คน

ผลการศึกษาพบว่า การกินถั่วหนึ่งออนซ์มากกว่า 2 ครั้ง / สัปดาห์ ลดเสี่ยงเนื้องอก 35 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่เคยกิน ทั้งนี้งานวิจัยหลายชิ้นยังระบุว่าการทานถั่วมีประโยชน์สำคัญต่อผู้ป่วยโรค อื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนอ้วนหรือคนที่มีประวัติโรคเบาหวาน

ถั่วจึงเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่หาทานได้ง่าย แต่สามารถต้านโรคอันตรายได้มากมาย

รายการอ้างอิง :
ถั่วยาต้านมะเร็งตับอ่อน. (2557). กรุงเทพฯ : เดลินิวส์. ค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557. จาก http://www.dailynews.co.th/Content/Article/217396/_ถั่ว_+ยาต้านมะเร็งตับอ่อน.

 – ( 7 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน โครงการวิจัยกับ CERN

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นความสำคัญของการ ศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงทรงมีพระราชดำริเกิดเป็นโครงการต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งการจัดส่งนักศึกษาและนักวิจัยชาวไทยไปร่วมงานกับหน่วยงานสำคัญๆ ระดับโลก หน่วยงานหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ “CERN”

CERN : The European Organization for Nuclear Research หรือ องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป องค์การนี้เองที่วิจัยจนได้พบหลักฐานที่ว่าอนุภาคฮิกมีอยู่จริงทำให้นักวิจัย 2 ท่านคือ ศ.ดร.ปีเตอร์ ฮิกส์ (Peter Higgs) และ ศ.ดร.ฟรองซัวส์ อองแกลร์ด (François Englert) ที่ทำนายเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อ 50 ปีก่อน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีที่ผ่านมา

วันที่ 10 ตุลาคม 2556 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามความร่วมมือติดตั้งและใช้งานเครือข่าย Grid Computing ระหว่าง สวทช. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยผู้บริหารสูงสุดของ CERN ได้เดินทางมาลงนามด้วยตนเอง โครงการนี้ช่วยให้นักวิจัยไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลการทดลองของ CERN ประเทศไทยจะได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพทางด้านการค้นคว้าวิจัยเทียบเท่ากับทีมวิจัยชั้นนำของโลก

ข้อมูลเพิ่มเติม
ภายหลังจากการลงนาม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนฯ ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์น ซึ่งเริ่มดำเนินการโดยการจัดทำโครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น และเพื่อให้การดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นเกิดผล สัมฤทธิ์อย่างสูงสุด คณะอนุการรมการจึงได้ริเริ่มความร่วมมือทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียน การสอน การบริการทางวิชาการ และการวิจัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นที่มาของการจัดทำบันทึกลงนามของ 13 หน่วยงาน เพื่อความร่วมมือทางวิชาการโครงการความร่วมมือไทยกับเซิร์น ประกอบด้วย

  1. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  2.  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)
  3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ)
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
  5. มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.)
  6. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ศฟ.)
  7. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
  8. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  9. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)
  10.  สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สนนก.)
  11. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.)
  12. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)   และ
  13. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.)

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://thaicern.slri.or.th/

ติดตามชมรายการ พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน โครงการวิจัยกับ CERN ได้ที่ NSTDAChannel TVstation– ( 25 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคที่ถูกละเลย

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 6 กุมภาพันธ์  2014
เมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้สนับสนุนสุขภาพโลก ได้แสดงความท้อแท้ เกี่ยวกับข่าวที่ว่า บริษัทยายักษ์ใหญ่  AstraZeneca ประกาศยุติใน
การวิจัยในการรักษาโรค วัณโรค มาลาเรีย  และ โรคเขตร้อนอื่นๆ
ในปี 2012 บริษัท AstraZeneca  ที่มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน  ได้เข้าร่วมหารือในการขจัดโรคเขตร้อนให้หมดสิ้น  ซึ่งมีผลกระทบต่อ
ประชากรที่ยากจนที่สุดราว 1.4 พันล้านคนทั่วโลก  กลุ่มผู้สนับสนุนที่มีฐานที่กรุงเจนีวาได้กล่าว่าไม่เป็นความกล้าหาญเลย

อ้างอิง :  Neglected diseases.  (2014)  Seven days : The News in  brief. Nature., 506 (7486), 10-11.
Available at : http://www.nature.com/news/seven-days-31-january-6-february-2014-1.14663– ( 9 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การปฏิรูปห้องทดลองสัตว์

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 6 กุมภาพันธ์  2014
เมื่อวันที่ 31 มกราคม Imperial College แห่งกรุงลอนดอน ได้เปิดเผยถึงแผนงานในการปฏิรูปการทดลองสัตว์ทั้งชุดเน้น ในเรื่องจริยธรรมในการใช้
สัตว์ทดลองของหน่วยงาน และเพื่อเป็นการตอบสนองการวิจารณ์ก่อนหน้านี้

อ้างอิง :  Lab-animal reforms.  (2014)  Seven days : The News in  brief. Nature., 506 (7486), 10-11.
Available at : http://www.nature.com/news/seven-days-31-january-6-february-2014-1.14663– ( 18 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความยากลำบากของโรคมะเร็ง

Published on February 20, 2014 by in Health

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 6 กุมภาพันธ์  2014

จากรายงานของ  World Cancer Report 2014 ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ โดยองค์การอนามัยโลก รายงานว่าในปี 2025 จะมี

ผู้ป่วยโรคมะเร็งใหม่มากกว่า  20 ล้านคนต่อปี เปรียบเทียบกับปี 2012 ที่มีจำนวน 14.1 ล้านคน ผลกระทบที่รุนแรงจะเกิดขึ้นใน

กลุ่มประเทศยากจนและ มีรายได้ต่ำ แสดงกราฟ ในปี 2012 มีจำนวน 14.1 ล้านคน พบในแถบภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ยุโรป สูงสุด ร้อยละ 24.4  อเมริกา ร้อยละ 12.7

อ้างอิง :  The burden of cancer.  (2014)  Seven days : The News in  brief. Nature., 506 (7486), 10-11.
Available at : http://www.nature.com/news/seven-days-31-january-6-february-2014-1.14663– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

MCOT DOT NET : คนไทยสร้างแอพบน “GoogleGlass”

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเทคโนโลยี
อสมท 18 ก.พ. 2557-ช่วง “MCOT DOT NET” วันนี้พาไปดูอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สวมใส่ที่หลายคนต้องการเป็นเจ้าของ ซึ่งล่าสุดมีในมือของคนไทยแล้ว โดยนักพัฒนาจากบริษัท Innovation Plus ของคนไทยที่กำลังพัฒนาระบบแอนดรอย์ ที่คล้ายในระบบมือถือ ตั้งชื่อว่า Mayar ถือว่ามีโอกาสเกิดในระดับโลก ด้วยเป็นเรื่องใหม่ คู่แข่งมีน้อย

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://mcot-web.mcot.net/mcot-testing/site/content?id=5303197dbe0470708b8b45a1#.UwQKMIWDjGg– ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สธ.เผยยุ่งเยอะช่วงนี้ เหตุอากาศเปลี่ยนหนาวสู่ร้อน

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวสังคม
ก.สาธารณสุข 18 ก.พ. 2557 -สธ.รณรงค์ประชาชนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ ชี้ช่วงอากาศเปลี่ยนฤดูจากหนาวสู่ร้อน ยุงลายชุมขึ้นและหิวโซ หลังจำศีลช่วงอากาศหนาวจะออกกินเลือดคนเพื่อวางไข่ อาจทำให้ไข้เลือดออกระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบ้านจัดสรร ทาวเฮาส์ คอนโดฯ แม้ไม่มีโอ่งเก็บน้ำในบ้าน
Read more…– ( 9 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ญี่ปุ่นจมกองหิมะ หลายเมืองอัมพาต

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวต่างประเทศ
ญี่ปุ่น 18 ก.พ. 2014 – หลายพื้นที่ของญี่ปุ่นยังคงจมอยู่ภายใต้กองหิมะจากอิทธิฤทธิ์ของพายุหิมะ 2 ลูก ที่ถล่มญี่ปุ่นมาตั้งแต่ช่วงวันวาเลนไทน์ ส่งผลให้การคมนาคมในหลายเมืองต้องกลายเป็นอัมพาต ทางการต้องระดมทหารมาช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ทหารจากกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นออกเคลียร์พื้นที่ด้วยการช่วยกันกวาดกองหิมะออกจากท้องถนนสายต่างๆ โดยที่จังหวัดยามานาชิ ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว มีหิมะตกหนักหนาถึง 1 เมตร นับว่ามากที่สุดตั้งแต่มีการจดบันทึกสถิติเมื่อปี 2437 หรือเมื่อ 120 ปีก่อน ส่งผลให้รถยนต์หลายคันต้องติดค้างอยู่บนทางหลวงนานหลายชั่วโมง ขณะที่หลายหมู่บ้านถูกตัดขาดจากโลกภายนอก และเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้คนมากมายที่ติดค้างอยู่บนท้องถนนสายต่างๆ รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดอาคารสาธารณะหลายแห่งให้เป็นศูนย์ฉุกเฉินโดยให้มีการแจกจ่ายอาหารและเครื่องดื่มรวมทั้งที่พักพิงภัยหนาวให้ประชาชนเหล่านั้น
Read more…– ( 4 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments