magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

Bibliomining เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด

ห้องสมุดมีบทบาทและทำหน้าที่สำคัญในการเป็นหัวใจขององค์กรในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ และบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ห้องสมุดจึงเต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ ของผู้คนที่อยู่ในองค์กร ข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น สามารถนำออกมาแสดงด้วยการทำเหมืองข้อมูลของห้องสมุด (library data mining) การทำ Bibliomining เป็นการนำข้อมูลภายในของห้องสมุดออกมาประมวลผล รวมทั้งอธิบายความหมายตามบริบทของห้องสมุด

Bibliomining มาจากคำ 2 คำ คือ Bibliometrics และ Data mining หมายถึง การประมวลผลข้อมูลของห้องสมุดด้วยการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (data mining) หรือกล่าวง่ายๆ ว่า เป็นการนำข้อมูลจำนวนมากในระบบห้องสมุดที่ใช้กันอยู่ในประจำวันมาประมวลผล  ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการที่ห้องสมุดและผู้บริหารห้องสมุดใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล ในการทำให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด บุคลากร และรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ในห้องสมุดเพื่อ
ประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด อ่านเพิ่มเติม– ( 100 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วช.ประกาศรางวัลนักวิจัยดีเด่นปี 2556

วช.ประกาศรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ พร้อมนำเสนอผลงานนักวิจัยดีเด่นด้านต่าง ๆ เตรียมโชว์ในงานวันนักประดิษฐ์ 2 ก.พ.นี้ที่เมืองทองธานี

ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดให้มีการมอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติมาตั้งแต่ปี 2528 เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานดีเด่นและได้อุทิศตนในการดำเนินการ วิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีนักวิจัยที่ได้รับรางวัลนี้ไปแล้วรวม 176 คน

สำหรับปีนี้คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติได้มีมติให้รางวัลนักวิจัย ดีเด่นแห่งชาติประจำปี 56 แก่นักวิจัยไทยจำนวน 11 คนในสาขาต่าง ๆ โดยสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์คือ ศ.ดร.สันติ แม้นศิริ แห่งสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คือ ศ.ดร.นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศ.นพ.พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ แห่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Read more…

– ( 23 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Infographic การใช้เทคโนโลยีของแต่ละ Generation

วันนี้นึกครึ้มอกครึ้มใจนั่งทบทวนว่าเราเกิดมากี่ปีแล้ว แล้วช่วงเวลาที่เราเกิดจนถึงปัจจุบันนี้ที่เค้าเรียกๆ กันว่า “เป็นคน Gen อะไร” เลี้ยวเข้ามาในสมอง ก็เลยค้นข้อมูลดูเพลินๆ ว่าแต่ละ Generation (Gen) เค้าเกิดกันเมื่อไหร่ในแต่ละ Gen มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงอะไร และในยุคปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นยุคเฟื่องฟูของเทคโนโนโลยีก็ให้อยากรู้ว่าคนแต่ละ Gen มีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีก่อนนอนของแต่ละวัยเป็นอย่างไรกันบ้าง

Infographic ของ Marshable นำเสนอเรื่องการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ดูโทรทัศน์ การท่องอินเทอร์เน็ต การแชท/การส่งข้อความ เล่นเกมส์ การตื่นขึ้นมาเพื่อพูดคุยโทรศัพท์ หรือ โต้ตอบ แชท กลางดึก ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้แต่ละ Gen มีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
Read more…– ( 231 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

4 Generation (GEN) ควรระวังโรคอะไรในปี 2014

ภาพประกอบ : http://www.l3nr.org/posts/432788

กลุ่มคนแต่ละช่วงวัยต่างก็มีสมรรถภาพร่างกายและภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันออกไป โดยกลุ่มวัยที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงในเรื่องสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากมีภูมิต้านทานต่ำ ก็อาจเจ็บไข้ได้ป่วยได้ง่าย แต่กลุ่มเด็กโต วัยรุ่น ไปจนถึงผู้ใหญ่ที่ว่าแข็งแรงก็อย่าวางใจ เพราะโรคที่น่ากลัวกว่าโรคติดต่อก็คือโรคไม่ติดต่อ อันเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งกลุ่มคนแต่ละช่วงวัยก็มีไลฟ์สไตล์เป็นของตัวเองที่ต่างกันออกไป
Read more…– ( 133 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พิมพ์ “เซลล์ดวงตา” ด้วยอิงค์เจ็ท ความหวังรักษาตาบอด

ภาพประกอบ http://www.bbc.co.uk/news/health-25405542

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาเทคนิคการพิมพ์เซลล์ดวงตา เพื่อนำไปสู่การรักษาคนไข้ที่สูญเสียการมองเห็น นับเป็นความหวังสำหรับผู้ที่ตาบอดหรือสูญเสียการมองเห็น เมื่อทีมนักวิจัยเมืองผู้ดีพบวิธีพิมพ์เซลล์ประสาทของดวงตาขึ้นมาใหม่ได้ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ได้เซลล์มีชีวิตและยังคงประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ไว้ได้

งานวิจัยดังกล่าวเป็นผลงานของทีมจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) สหราชอาณาจักร ที่ได้ทำการทดลองในเซลล์สัตว์ และตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยลงในวารสาร ไบโอเฟบริเคชัน (Biofabriccation) ซึ่งบีบีซีนิวส์รายงานว่า เทคนิคที่พวกเขาพัฒนาขึ้นนี้จะนำไปสู่การรักษาคนไข้ที่สูญเสียการมองเห็น อันเนื่องจากจอประสาทตา หรือ “เรตินา” (retina) เสียหาย

Read more…– ( 25 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ลมแอร์ แปรค่าความร้อน

นิยามใหม่ของนวัตกรรมพลังงานสะอาด pac ขอแปลงไอร้อนจากคอมเพรสเซอร์แอร์ให้เป็นน้ำร้อน พร้อมประกาศตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเย็น

ทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น ช่วยประหยัดไฟในบ้านได้… นิยามใหม่ของนวัตกรรมพลังงานสะอาด pac ขอแปลงไอร้อนจากคอมเพรสเซอร์แอร์ให้เป็นน้ำร้อน พร้อมประกาศตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเย็น

ธุรกิจที่ต่อยอดจากครอบครัวร้านจำหน่ายและติดตั้งเครื่องปรับอากาศของพ่อ ก่อเกิดแบรนด์แพค (pac) ธุรกิจใหม่ของลูก…อัจฉรา ปู่มี ผู้มีความชอบส่วนตัวเรื่องการประหยัดพลังงานอยู่แล้ว บวกกับได้คลุกคลีธุรกิจในครอบครัว จึงพัฒนาเป็นจุดแข็งและไม่ใช่เรื่องยากที่จะแตกแขนงธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศทำน้ำร้อนของตัวเอง Read more…– ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สถิติอากาศเลวร้าย 11 หัวข้อโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 10 ม.ค. นำเสนอสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับสภาพอากาศโลก ที่รวบรวมเอาไว้โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ( ดับเบิลยูเอ็มโอ ) หนึ่งในหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ ( ยูเอ็น )

อุณหภูมิต่ำที่สุด : -89.2 องศาเซลเซียส วัดได้เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2526 ที่เมืองวอสต็อก ในทวีปแอนตาร์กติกา

อุณหภูมิสูงที่สุด : 56.7 องศาเซลเซียส ที่ทะเลทรายเดดวัลเลย์ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ทางตะวันตกของสหรัฐ เมื่อปี 2456

ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดใน 1 นาที : ปริมาณฝนตกเฉลี่ยที่เมืองยูเนียนวิลล์ ในรัฐแมริแลนด์ ทางตะวันออกของสหรัฐ เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2499 วัดได้ 31.2 มิลลิเมตรต่อนาที

ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดใน 24 ชั่วโมง : อิทธิลพลของพายุไซโคลน เดนิส ถล่มเกาะเรอูว์นิยง ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 7-8 ม.ค. 2509 วัดได้ 1.825 เมตรใน 24 ชั่วโมง

ลูกเห็บที่หนักที่สุด : พบที่เมืองโกปัลคชยะ ในบังกลาเทศ ซึ่งถูกพายุไซโคลนเคลื่อนตัวเข้าถล่มเมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2529 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 92 ศพ ซึ่งหนึ่งในนั้นเสียชีวิตจากการถูกลูกเห็บหนัก 1.02 กิโลกรัมตกใส่

สภาพอากาศแล้งที่กินเวลานานที่สุด : เมืองอาริกา ในชิลี เผชิญกับฤดูแล้งจัดที่ไม่มีฝนตกแม้แต่หยดเดียวยาวนานต่อเนื่องถึง 14 ปี หรือ 173 เดือน ระหว่างเดือนต.ค. 2446-ม.ค.2461

น้ำพุร้อนกีย์เซอร์ที่สูงที่สุด : อยู่ที่เมืองอันเดอร์นัค ในเยอรมนี ซึ่งพวยพุ่งขึ้นมาจากพื้นดินได้สูงระหว่าง 30-60 เมตร และทำสถิติสูงสุด 61.5 เมตร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2545 Read more…– ( 11 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไทย-ไต้หวันพัฒนาวิธีตรวจสาเหตุกุ้งตายด่วน

รายงานข่าวจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ แจ้งว่า คณะนักวิจัยไทย นำโดย ศ.ดร. ทิมโมที ฟลีเกล ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือของศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติและคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับคณะนักวิจัยไต้หวันนำโดย Prof. Chu Fang Lo จาก National Cheng Kung University (NCKU)) ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิธีการตรวจแบคทีเรียสาเหตุกุ้งตายด่วน EMS ด้วยเทคนิคพีซีอาร์ (PCR) ซึ่งการตรวจแบคทีเรียก่อโรคได้นี้จะช่วยลดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของ เชื้อก่อโรค EMS ลงได้ และลดความเสี่ยงในการระบาดของแบคทีเรียชนิดนี้ต่อไป Read more…– ( 58 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุตุฯแจงกรุงเทพหมอกหนาก่อนหนาว

บรรยากาศในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะย่านชานเมือง เช่น ถนนร่มเกล้าลาดกระบัง เส้นทางมอเตอร์เวย์ กาญจนาภิเษกและรามอินทรา เช้าวันที่ 8 ม.ค.57 จนถึงเวลา09.00 น. มีหมอกหนาครึ้ม บางจุดระยะการมองเห็นเพียง 300 -400 เมตรจากการสอบไปยังสำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา มีคำอธิบายว่า เป็นภาวะปกติ อุณหภูมิในกรุงเทพฯขณะนี้ประมาณ 22-23 องศาเซลเซียส มีความเหมาะสมจะเกิดหมอก ประกอบกับมีความชื้นจากลมทะเลที่พัดเข้ามาจึงเกิดหมอกหากอุณหภูมิต่ำหรือสูงกว่านี้ จะไม่เกิดขึ้น โดยพื้นที่ชานเมืองที่มีทุ่งนาพื้นที่การเกษตร จะเกิดได้มากกว่าย่านชุมชนที่อาคารหนาแน่น

เจ้าหน้าที่ของสำนักพยากรณ์อากาศกล่าวด้วยว่า วันที่ 9ม.ค.จะมีความกดอากาศสูงระลอกใหม่เข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยคาดว่าจะทำให้อากาศหนาวเย็นถึงพื้นที่กรุงเทพฯ และคงต่อเนื่องหลายวันเนื่องจากมีแนวโน้มวันที่14 ม.ค.จะมีความกดอากาศสูงมาสมทบอีกระลอก แต่อุณหภูมิไม่น่าจะต่ำเท่ากับสภาพความหนาวเย็นก่อนหน้านี้โดยช่วงวันที่ 9-10 ม.ค.อาจมีเมฆมาก หรือฝนเล็กน้อยได้

รายการอ้างอิง :
อุตุฯแจงกรุงเทพหมอกหนาก่อนหนาว. (2557). กรุงเทพฯ : เดลินิวส์. ค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557. จาก http://www.dailynews.co.th/Content/IT/207155/อุตุฯแจงกรุงเทพหมอกหนาก่อนหนาว.– ( 10 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments