ขอแสดงความยินดีกับ อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน นักวิจัห้องปฏิบัติการวิศวกรรมจุลินทรีย์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ไบโอเทค ที่ได้รับทุนวิจัย International Foundation for Science (IFS) จำนวน 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 384, 000) เพื่อดำเนินงานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของราบิวเวอเรียที่มีการกลาย พันธุ์ของยีน reducing clade III polyketide synthase เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีความสำคัญในการก่อโรคแมลง” ระยะเวลา 1 ปี http://www.nstda.or.th/pub/2013/20130829-Alongkorn-Amnuaykanjanasin.pdf รายการที่มา : ดร. อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน ได้รับทุนวิจัยจาก International Foundation for Science (IFS). ไบโอเทค. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนดลยีแห่งชาติ. วันที่ 29 สิงหาคม 2556.– ( 43 Views)
รศ. ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร รับรางวัลนักเทคโนโลยีชีวภาพ
รศ. ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยร่วมระหว่างไบโอเทคและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีชีวภาพ ประจำปี 2556 จากบริษัท ไบโอจีโนเมด จำกัด โดยรางวัลนี้จะพิจารณามอบให้กับนักวิจัยที่มีศักยภาพ รวมถึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด จนมีศักยภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณประโยชน์ หรือเชิงพาณิชย์ได้ รศ. ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร ประสบความสำเร็จในการนำจีโนมเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการค้นหายีนเพื่อปรับ ปรุงพันธุ์ข้าว เป็นผู้ค้นพบและจดสิทธิบัตรยีนที่ควบคุมการสร้างสารหอม 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) ในระดับสูง เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาฐานพันธุกรรมข้าวขาวดอกมะลิให้ทนน้ำท่วม ต้านทานต่อโรคและแมลง และสิ่งแวดล้อม รวมถึงให้ผลผลิตสูง โดยคงคุณสมบัติความเป็นข้าวหอมมะลิของไทยเอาไว้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ รศ. ดร. อภิชาติ มีผลงานดีเด่นเป็นประจักษ์ในวงวิชาการ โดยเข้ารับพระราชทานรางวัลเกียรติคุณบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2555 และโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่มี รศ. ดร. อภิชาติ เป็นหัวหน้าโครงการ ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการให้ได้เข้ารับทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2555 จาก สวทช. ภายใต้โครงการเทคโนโลยีก่อกลายพันธุ์ทั้งจีโนมเพื่อเพิ่มศักยภาพการปรับปรุง พันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แหล่งที่มา
สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Council of Science and Technology Professionals)
ในอดีตผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในช่วงระยะของการศึกษาประมาณ 16 ปี จะได้รับการดูแลจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยในระยะ 4 ปีหลังในมหาวิทยาลัยมีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้ดูแล แต่ภายหลังสำเร็จการศึกษา และประกอบวิชาชีพแล้วซึ่งเป็นระยะเวลาถึง 30 กว่าปีนั้น จะไม่มีผู้ดูแล มีเพียงสมาคมต่างๆ ที่ช่วยกันดูแลบ้างเท่านั้น ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้การประกอบวิชาชีพเกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์ และส่งผลต่อความปลอดภัยของสาธารณะชนในที่สุด ดังนั้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2540 ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้ร่วมกันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ…. ขึ้น และใช้เวลากว่า 10 ปี ในการผลักดันพระราชบัญญัติฉบับนี้จนผ่านขั้นตอนของรัฐสภา ดูรายละเอียดเพิ่มเติม รายการอ้างอิง : สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Council of Science and Technology Professionals). วันที่่ 29 สิงหาคม 2556.– ( 42 Views)
โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี ประจำปี 2557 และโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น ประจำปี 2557
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) รับสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระประสงค์ให้นิสิต นักศึกษาของไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม 1. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี ณ สถาบันเดซี เมืองฮัมบูร์ก หรือเมืองซอยเธน สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการวิจัยระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับการทดลองสาขา ฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐาน (Experiments in Elementary Particle Physics) การทดลองที่ใช้แสงซินโครตรอน (Experiments with Synchrotron Radiation) งานวิจัยเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาค (Research on Accelerators) ทฤษฎีของอนุภาคมูลฐาน (Theory of Elementary Particles) และงานเกี่ยวกับการคำนวณ (Computing in High Energy Physics) ในช่วงภาคฤดูร้อน 2. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น ณ เซิร์น สมาพันธรัฐสวิส เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าฝึกอบรมความรู้ทางด้านฟิสิกส์ในรูปแบบของสห วิทยาการ ผสมผสานกับบรรยากาศของวัฒนธรรมที่หลากหลายของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ และยังได้มีโอกาสเรียนรู้แลกเปลี่ยนความรู้กับนักฟิสิกส์ที่มีชื่อ เสียงจากทั่วโลกรวมถึงร่วมทำงานกับนักวิจัยจากสถาบันเครือข่ายของ
โครงการครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น (CERN Programme for Physics High School Teacher) ประชาสัมพันธ์การรับสมัครครู อาจารย์ เข้าร่วมกิจกรรมประจำปี 2557
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) รับสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระประสงค์ให้ครู อาจารย์ ผู้สอนวิชาฟิสิกส์ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม โครงการครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น (CERN Programme for Physics High School Teacher) ณ เซิร์น สมาพันธรัฐสวิส เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาของไทย เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างครูไทยในระดับนานาชาติ เปิดโลกทัศน์ของครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ไปสู่งานวิจัยระดับสากล และเป็นการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างเซิร์นและหน่วยงานวิจัยของไทย ที่เกี่ยวข้องหรือที่มีงานวิจัยที่สอดคล้องกับของเซิร์นในระยะต่อไป สวทช. ขอเชิญชวนครู อาจารย์สัญชาติไทย อายุไม่เกิน 45 ปี สอนวิชาฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และสอนอยู่ในประเทศไทย มีพื้นฐานภาษาอังกฤษในระดับดีมาก เข้าร่วมโครงการในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2557 ผู้สนใจ Download ใบสมัครได้ที่ http://thaicern.slri.or.th/ เปิดรับสมัครถึง 31 สิงหาคม 2556 ส่งใบสมัครได้ที่ โครงการครูสอนฟิสิกส์ ภาคฤดูร้อนเซิร์น สถาบัน วิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ตู้ ปณ.
NSTDA Investor’s Day 2013
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้กำหนดจัดกิจกรรม NSTDA Investor’s Day 2013 ในวันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2556 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และศูนย์การประชุม Bangkok Convention Center at Central World เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตรภายใต้แนวคิดหลักในการจัดงานคือ “เสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้วยธุรกิจเทคโนโลยี” ซึ่งกิจกรรมภายในงานจะจัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการ การแสดงปาฐากถาพิเศษ รวมทั้งการจัดนิทรรศการแสดงผลงานและนวัตกรรมการวิจัยที่สำคัญ (รายละเอียดกำหนดการจัดงานตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้) รายการอ้างอิง : ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม NSTDA Investor’s Day 2013. ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วันที่ 26 สิงหาคม 2556.– ( 53 Views)
ไทยอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นใช้ไลน์มากที่สุดในโลก
วันนี้(21 ส.ค.) ที่กรุงโตเกียว บริษัท ไลน์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จัดงานแถลงข่าว ฮัลโหล เฟรนด์ 2013 ซึ่งเป็นงานแถลงข่าวและกลยุทธ์ของไลน์ประจำปี โดยมีสื่อมวลชนทั้งจากญี่ปุ่นและต่างชาติ รวมถึงพาร์ทเนอร์เข้าร่วมงานจำนวน 1,200 คน โดยนายโมริคาว่า อาคิระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไลน์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ในปัจจุบัน (21 ส.ค.) แอพพลิเคชั่นไลน์มีจำนวนผู้ใช้รวม 230 ล้านคนทั่วโลก โดยในทุก 1 ชั่วโมง มีผู้ลงทะเบียนใช้งานใหม่ 63,000 ราย ซึ่งประเทศที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดคือประเทศญี่ปุ่นจำนวน 47 ล้านคน รองลงมาไทย 18 ล้านคน ไต้หวัน 17 ล้านคน สเปน 15 ล้านคน และอินโดนีเซีย 14 ล้านคน และกำลังเติบโตมากในยุโรป แอฟริกา และลาตินอเมริกา – ( 54
ชุดตรวจเชื้อก่อโรคในพืช
ความปลอดภัยด้านอาหารกลายเป็นเรื่องที่ทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศยุโรปให้ความสำคัญ ขณะที่เมืองไทยก็เป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการส่งออกเมล็ดพันธุ์และผลิตผลทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก การตรวจสอบเชื้อก่อโรคต่าง ๆ จึงต้องเข้มงวดมีมาตรฐาน และกลายเป็นต้นทุนที่สำคัญให้กับผู้ประกอบการทั้งด้านค่าใช้จ่ายและเวลา “ดร.รัฐพล เฉลิมโรจน์” นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการไมโครอะเรย์แบบครบวงจร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บอกว่า จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทำให้สนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับแอนติบอดีในเชื้อก่อโรคของพืชตระกูลแตง เช่น แตงโม แตงกวา ที่มักพบเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ซึ่งมีผลทำให้ผลเน่าหรือรูปร่างผลที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงต้องมีการตรวจสอบเชื้อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น– ( 40 Views)
สุดยอดเก้าอี้เข็นคนไข้
งานมหกรรมกระทรวงวิทย์ฯ 2556 เปิดโซนเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างสุดยอด พบกับรายละเอียดวิวัฒนาการทางการแพทย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเชิญชมนวัตกรรมเครื่อง MRI และเครื่อง CT SCAN จำลองเสมือนจริง สามารถตรวจค้นเซลล์มะเร็งในร่างกาย พร้อมชมเก้าอี้เข็นคนไข้ฝีมือคนไทย พร้อมสรรสาระด้านการแพทย์หลากรูปแบบที่ ไบเทค บางนา การจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในปีนี้ มีหลากหลายโซนที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะโซนการแสดงด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ โดยองค์ประกอบของโซนนี้อยู่ที่การเผยแพร่เรื่องราววิวัฒนาการทางการแพทย์ของบุคคลสำคัญของโลก ตั้งแต่ก่อนสมัยคริสตกาลไปจนถึงปัจจุบัน อาทิ ฮิมโฮเทป (Imhotep) ชาวอียิปต์ ถือเป็นเทพเจ้าทางการแพทย์ที่เขียนตำราแพทย์ลงบนกระดาษที่ชื่อว่า “ดิอีเบอร์ปาปิรุส” – ( 71 Views)
พิมพ์เนื้อเยื่อเพื่อทดสอบยา
การปลูกถ่ายอวัยวะ นับว่าเป็นวิทยาการทางการแพทย์ที่ช่วยต่อชีวิตผู้คนนับแสนคนทั่วโลกต่อปี แต่อย่างไรก็ตามอวัยวะที่ได้รับการบริจาคมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้รอรับ ผมเคยเล่าให้ฟังถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการพิมพ์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ หรือที่เรียกกันติดปากว่า 3D Printing ปัจจุบันมีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) เริ่มออกมาวางจำหน่ายกันแล้ว ซึ่งอาศัยการพิมพ์วัตถุรูปร่างใดโดยใช้การพิมพ์แบบ 2 มิติเป็นชั้นๆ ทำให้ได้วัตถุแบบ 3 มิติ เทคโนโลยีมักใช้การพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Inkjet Printing) ซึ่งอาศัยการพ่นหมึกพิมพ์ออกมาด้วยหัวฉีดหมึก (Nozzle) และหมึกดังกล่าวอาจจะเป็นของเหลวใดๆ เช่น พลาสติก ซึ่งจะแข็งตัวได้ในภายหลังหรืออาจจะเป็นสารใดๆออกมา เช่น สารเคมี หรือสารทางชีวภาพต่างๆ รวมทั้งเซลล์ก็สามารถพิมพ์ได้ – ( 52 Views)