พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นพื้นที่ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อสายมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม มีอัตลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างไปจากสังคมไทยในส่วนอื่นของประเทศ พวกเขามีภาษาพูดของพวกเขาเอง คือ ภาษามลายูถิ่น ยังมีชาวมุสลิมจำนวนหนึ่งที่ไม่รู้หนังสือไทย ฟัง-พูดภาษาไทยไม่ค่อยเข้าใจหรือไม่เข้าใจเลย การที่จะเข้าถึงคนกลุ่มนี้ต้องใช้ภาษามลายูถิ่น ดังนั้น จึงเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งสำหรับข้าราชการที่ไม่รู้ภาษามลายูถิ่นที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ในการที่จะสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจกับคนกลุ่มนี้ รายการอ้างอิง : โครงการสื่อการสอน ภาษามลายูถิ่น. 2556. โครงการพัฒนาและส่งเสริมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต, http://malayu.nectec.or.th, วันที่ 8 ตุลาคม.– ( 53 Views)
เกาะติด พีรพันธุ์ พาลุสุข ศึกษาเยอรมนี-สวิสใช้เทคโนโลยีเพิ่มรายได้ (2)
ด้วยความที่รัฐบาลไทยมีงบประมาณจำกัดในการทำวิจัยและพัฒนา จึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นเพิ่มมูลค่าสินค้า และผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่น โดยเฉพาะ “สิ่งทอ” การเดินทางไปเยือนยุโรปของ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จึงไม่พลาดโอกาสที่จะนำผู้บริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ไปเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบสิ่งทอนาโนชั้นสูง (Bi-component Nanofiber Pilot Plant) และชมตัวอย่างผลงานวิจัยสิ่งทอวัสดุนาโนเพื่อภาคอุตสาหกรรมและสังคม ที่สถาบันเอ็มป้า (EMPA) เมืองซังกาเล็น สมาพันธ รัฐสวิส เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาต่อยอดและยกระดับอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ชุมชนของประเทศไทย– ( 65 Views)
สตาร์ตอัพ ‘เถ้าแก่น้อย’
น่าดีใจที่ระยะหลังมีโครงการสนับสนุนคนรุ่นใหม่พัฒนาไอเดียเป็นธุรกิจ หรือที่เรียกรวมกันว่า “สตาร์ตอัพ” เป็นจำนวน ไม่น้อย ทั้งของค่ายมือถือ, หน่วยงาน ภาครัฐ หรือกับกลุ่มสามารถที่ทำมาปีที่ 11 แล้วกับ “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี” “ศิริชัย รัศมีจันทร์” รองประธานกรรมการบริหาร บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น เล่าว่า จากโครงการ “สามารถอินโนเวชั่น อวอร์ด” ที่จัดมากว่า 9 ปี เน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ จนเมื่อ 2 ปี ที่แล้วจึงเปลี่ยนชื่อและเพิ่มดีกรีเรื่อง การพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาอีก เพราะสมาร์ทดีไวซ์ได้รับความนิยม จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจหากพัฒนาสินค้าและบริการตอบโจทย์การใช้งานได้ “9 ปีแรกมีนวัตกรรมดี ๆ เกิดขึ้นมากมาย เราคอยซัพพอร์ตห่าง ๆ แต่ครั้งนี้มีการจับนักพัฒนามาเจอกับ นักลงทุนโดยตรงอย่างกลุ่มอินทัช ทำให้การต่อยอดธุรกิจเป็นไปได้สูง”– ( 73 Views)
สวทช. หนุนผู้ประกอบการรับสร้างบ้าน จัดโครงการ “นวัตกรรมการพัฒนาที่พักอาศัยกึ่งสำเร็จรูป”
ฉบับนี้ขอนำเสนออีกงานหนึ่งผลงานของ สวทช. ที่ร่วมงานกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี อ.กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ เป็นหัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญ ในการดำเนินงานโครงการ “นวัตกรรมการพัฒนาที่พักอาศัยกึ่งสำเร็จรูป” ในการส่งเสริมผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาเทคนิคการผลิต และต่อยอดธุรกิจเพื่อรับก่อสร้างที่อยู่อาศัย หรือเป็น supplier ให้กับอุตสาหกรรมก่อสร้างหรือรับสร้างบ้าน ซึ่งปัจจุบันตลาดบ้านสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป เป็นนวัตกรรมก่อสร้างที่นับเป็นอีกหนึ่งภารกิจของ สวทช. ที่จะช่วยสนับสนุนและผลักดันภาคเอกชน โดยเฉพาะ SMEs ให้มีศักยภาพการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างยั่งยืน http://www.nstda.or.th/pub/2013/20131009-prefabrication.pdf แหล่งที่มา : สวทช. หนุนผู้ประกอบการรับสร้างบ้าน จัดโครงการ “นวัตกรรมการพัฒนาที่พักอาศัยกึ่งสำเร็จรูป”. 2556. Energy Saving ฉบับวันที่ 1 – 31 ตุลาคม.– ( 56 Views)
พันธุ์ปาล์มใหม่ฝีมือคนไทยการันตีผลผลิต 5 ตัน/ไร่/ปี
เป็นปัญหาสำหรับพืชผลทางการเกษตรแทบทุกชนิดไปเสียแล้วสำหรับปัญหาราคาตก ต่ำไม่ว่าจะเป็นราคายางพารา ข้าว ข้าวโพด ลำไย ฯลฯหรือแม้แต่ปาล์มน้ำมันทั้งที่ในปัจจุบันเป็นพืชผลทางการเกษตรที่สามารถนำ ไปผลิตเป็นน้ำมันปาล์มใช้ในการทำอาหารหรือแม้แต่นำไปผลิตเป็นก๊าซโซฮอลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในน้ำมันเบนซิน ก็ยังหนีไม่พ้นปัญหาราคาตกต่ำในบางฤดูกาล อีกทั้งในบางช่วงเวลาปริมาณผลปาล์มไม่เพียงพอกับความต้องการจนต้องนำเข้าผล ปาล์มจากประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาดังกล่าวรศ.ดร.พีรเดชทองอำไพผู้ อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(สวก.)กล่าวว่าสาเหตุที่บางช่วงเวลา ผลปาล์มไม่เพียงพอเป็นเพราะเกษตรกรขาดแคลนต้นปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพดี อีกทั้งที่ผ่านมาปาล์มน้ำมันไม่ใช่พืชที่เกิดในพื้นที่ประเทศไทยจึงต้องมี การนำเข้าต้นกล้าปาล์มน้ำมันจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซียหรือ ประเทศอินโดนีเซียซึ่งนั่นหมายถึงความเสี่ยงของเกษตรกรเพราะต้นกล้าที่นำ เข้ามาปลูกนั้นเกษตรกรจะไม่มีทางทราบเลยว่าเป็นต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ให้ผล ปาล์มมากและมีปริมาณน้ำมันในเนื้อปาล์มมากหรือไม่– ( 224 Views)
นาฬิกาเวลาตรงมาตรฐานไทย
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีมอบ “นาฬิกาเวลาตรง ตามเวลามาตรฐานประเทศไทย” ให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อใช้ประโยชน์ภายในหน่วยงาน และเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายผลไปตามหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงมาตรฐานแห่งชาติด้านเวลาได้ง่ายขึ้น โครงการ “นาฬิกาเวลาตรง ตามเวลามาตรฐานประเทศไทย” เป็นผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีในความร่วมมือของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่จะเป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วน อาทิ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องการความแม่นยำด้านเวลาเพื่อวางแผนการผลิตตลอดจน ถึงการขนส่ง หรือธุรกิจบริการที่ให้ความสำคัญกับเวลาเป็นอย่างมาก เช่น ธุรกิจที่ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่คิดค่าบริการเป็นวินาทีเพื่อความเป็นธรรมในการใช้บริการ และระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อการตรวจสอบเวลาจากโทรทัศน์วงจรปิด ระบบบันทึกการเข้าออก หรือในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น นาฬิกาดังกล่าว ยังมีคุณลักษณะพิเศษที่สามารถแสดง วัน เดือน ปี อุณหภูมิ ความชื้น รวมถึงแสดงข้อความที่กำหนดได้ หรือข้อความประกาศ ที่ส่งออกมาจากสถานีส่งวิทยุ ที่ภาครัฐสามารถนำไปใช้แจ้งเตือนเหตุภัยพิบัติฉุกเฉิน หรือข้อความโอกาสพิเศษต่างๆ ได้ด้วย รายการอ้างอิง : นาฬิกาเวลาตรงมาตรฐานไทย. 2556. กรุงเทพธุรกิจ (SCIWATCH). ฉบับวันที่
10 APPS สุขภาพดี เพื่อคนยุคไอที
ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘สมาร์ทโฟน’ ย่อมทำอะไรได้มากกว่าโทรศัพท์มือถือธรรมดาๆ อย่างแน่นอน ซึ่งนอกจากคุณสมบัติเด่นในการเชื่อมต่อโซเชียลเน็ตเวิร์คแล้ว สมาร์ทโฟส่วนใหญ่ยังมีหน่วยจัดเก็บแอพพลิเคชั่นที่รวบรวมไว้ให้ผู้ใช้งาน สามารถดาวน์โหลดได้อย่างง่ายดายตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล สำหรับแฟนๆ Healthcare ผู้ใส่ใจสุขภาพ พลาดไม่ได้กับ 10 แอพฯ สุขภาพใกล้ตัวที่เราได้รวบรวมจากเว็บไซต์ชื่อดังต่างๆ ทั้ง smashinghub.com, kapook.com รวมถึงเพจ Application iOS ที่ใช้ในการแพทย์และการพยาบาล ช่วยเปลี่ยนการดูแลสุขภาพให้ง่ายขึ้นเพียงปลายนิ้ว 1. Nike+ Running แอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้คุณสามารถกำหนดเส้นทางการวิ่งบนแผนที่ได้ โดยแอพฯ จะคำนวณระยะทาง, เวลา, ความเร็วในการวิ่ง และพลังงานที่เผาผลาญได้แล้วแสดงให้คุณดู ซึ่งสามารถเก็บเป็นสถิติไว้เปรียบเทียบการวิ่งในแต่ละครั้งได้ด้วยว่าคุณ สามารถวิ่งได้ไกลขึ้นหรือเร็วขึ้นกว่าครั้งก่อนๆ มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งยังมีโหมดฟังเพลงให้คุณได้ฟังเพลงไปพร้อมๆ กับวิ่งออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความเพลิดเพลิน นอกจากนี้ ยังสามารถแชร์เส้นทางที่คุณกำลังวิ่งผ่านเฟซบุ๊กหรือช่องทางอื่นๆ ให้เพื่อนๆ ดูหรือชวนมาวิ่งด้วยกันได้อีกด้วย– ( 635 Views)
ศูนย์นาโนฯลุ้นโรงงานนาโนเวชสำอาง
ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า ศูนย์นาโนเทคฯ ได้รับการอนุมัติพื้นที่และงบประมาณก่อสร้างจากกระทรวงวิทยาศาตร์และ เทคโนโลยี(วท.) เพื่อจัดตั้งโรงงานต้นแบบนาโนเวชสำอางตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) ขนาดพื้นที่ประมาณ 539 ตร.ม. บนชั้น 8 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี วัตถุประสงค์หลักเพื่อต่อยอดงานวิจัยจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีมาตรฐานสากล และถ่ายทอดงานวิจัยจากภาครัฐสู่ผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งมีระบบการผลิตทดลองที่สามารถให้บริการแก่กลุ่ม SMEs รวมถึงระดับอุตสาหกรรม ที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยและนาโนเวชสำอาง เพื่อทดลองตลาดก่อนการตัดสินใจลงทุนซื้อเครื่องจักรที่มีมูลค่าสูงซึ่งจะ ช่วยลดความเสี่ยงด้านการต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการเครื่องสำอางไทย อย่าง ไรก็ตาม การดำเนินงานขณะนี้อยู่ระหว่างจัดหางบประมาณสำหรับครุภัณฑ์ในการผลิตด้วยนา โนเทคโนโลยีขั้นสูงตามมาตรฐาน GMP และการจัดหางบประมาณในการสร้างเครือข่ายวิจัยตามภูมิภาคต่างๆ หากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในด้านเครื่องสำอางสมุนไพรจากท้องถิ่นสู่ตลาดพาณิชย์ เป็นการสอดรับกับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน ที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถขยายตลาดส่งออกและเติบโตในภูมิภาคอาเซียนได้ เป็นอย่างดี รายการอ้างอิง : ศูนย์นาโนฯลุ้นโรงงานนาโนเวชสำอาง. 2556. กรุงเทพธุรกิจ ( SCIWATCH). ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม.– ( 74
สทป.จัดกิจกรรมค่ายวิทย์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 2
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ DTI จัดกิจกรรม ‘ค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์’ ครั้งที่ 2 ให้เยาวชนชั้น ม. 5-6 สายวิทย์-คณิต ได้เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจรวด พร้อมลงมือสร้างจรวดประดิษฐ์ ระหว่างวันที่ 27- 29 สิงหาคม 2556 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (สวทช.) และวันที่ 30 สิงหาคม 2556 ทำการทดสอบจรวดประดิษฐ์ ณ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ เขาพุโลน จังหวัดลพบุรี ในปีนี้คณะกรรมการได้คัดเลือกน้องๆ ที่มีความสามารถทางด้านการเรียนและการถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ผ่านบท ความจำนวน 100 คน จากทุกภาคของประเทศเข้าอบรมความรู้ทางด้านฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับจรวด การออกแบบดินขับจรวด และ หลักการออกแบบการใช้โปรแกรมสำหรับคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ทางอากาศพลศาสตร์ (Aerolab)– ( 91 Views)
หนุนงานวิจัย
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จับมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ให้ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อยกระดับสู่ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม รายการอ้างอิง : หนุนงานวิจัย. 2556. ข่าวหุ้น (ภาพข่าว). ฉบับวันที่ 04 ตุลาคม. – ( 43 Views)