magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pensiri (Page 46)
formats

การรถไฟอินเดียจัดนิทรรศการความรู้ทางวิทยาศาสตร์เคลื่อนที่แก่เด็กทั่วประเทศ

ทางการอินเดียได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการทางรถไฟที่กินพื้นที่กว้างขวางทั่วประเทศในการเผยแพร่วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยโครงการนิทรรศการเคลื่อนที่บนรถไฟที่เดินทางไปให้ความรู้แก่เด็กๆที่อาศัยในชนบทที่ห่างไกลทั่วอินเดีย ราเกฟ พันยา รักวิชาวิทยาศาสตร์มาก เขารักวิชานี้มากถึงขนาดที่ยอมใช้เวลานานหกเดือนต่อปีบนรถไฟขบวนนี้เพื่อช่วยเผยแพร่วิชาวิทยาศาสตร์แก่เด็กๆทั่วอินเดีย ราเกฟ พันยา กล่าวกับผู้สื่ิอข่าววีโอเอว่าเขาอยากเผยเเพร่ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และความรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา เขาคิดว่าผู้คนอยากรู้ว่่าระบบต่างๆเหล่านี้ทำงานอย่างไรและทำไม– ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยอังกฤษเผย “สมูทตี้” อาจไม่ใช่เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเสมอไป

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่  3 ก.ค. ว่า นักโภชนาการชาวอังกฤษพบว่า การดื่ม “สมูทตี้” หรือน้ำผลไม้ปั่น และรับประทานโยเกิร์ตไขมันต่ำ อาจทำให้คุณยิ่ง “อ้วน” กว่าเดิม จากน้ำตาลที่มีอยู่มากอย่างไม่น่าเชื่อ นางสาว แคทเธอรีน แมธทิวส์ หนึ่งในทีมนักโภชนาการของ “เทสโก้” เครือบริษัทซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าปลีกรายใหญ่จากอังกฤษ กล่าวว่า จริงอยู่ที่น้ำผลไม้และน้ำผักคั้นสดอุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่  แต่ก็เต็มไปด้วยน้ำตาลเช่นกัน และน้ำเพื่อสุขภาพเหล่านี้บางชนิดอาจมีน้ำตาลมากกว่าน้ำอัดลมเสียอีก – ( 209 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

งานวิจัยชี้จุลินทรีย์ครองโลกในอีก 3 พันล้านปี

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่  2 ก.ค. ว่าภายในอีก 3 พันล้านปีข้างหน้า จุลินทรีย์จะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่เหลืออยู่บนโลก นายแจ็ค โอ’มัลลีย์-เจมส์ นักชีวดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซ็นต์ แอนดรูวส์ ในกรุงเอดิบะระ เขตการปกครองสกอตแลนด์ กล่าวต่อที่ประชุมประจำปีราชสมาคมดาราศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร ที่เมืองเซ็นต์ แอนดรูว์ ว่าเป็นที่ทราบกันดีเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกนั้น ต้องอาศัยดวงอาทิตย์ แต่ผลการวิจัยที่เป็นการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเอดินบะระและดันดี รวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทั้งบนโลกและในระบบสุริยะ ระบุว่าอีกราว 2.8 พันล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะร้อนขึ้นอีก– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ภาคสนามบนดาวอังคาร

ผมเป็นหนึ่งในทีมนักเดินทางกว่า 500 ชีวิตผู้ไปสำรวจดาวอังคารจากรัฐแคลิฟอร์เนียด้วยหุ่นยนต์ทันสมัยที่สุดที่ เคยส่งไปยังดาวเคราะห์ดวงอื่น ขณะผมเขียนสารคดีเรื่องนี้รถสำรวจคิวริออซิตีกำลังเจาะรูบนหินในหลุมอุกกา บาตเกล งานวิศวกรรมในโลกซึ่งใช้เวลาสิบปีและการเตรียมการบนดาวอังคารอีกหกเดือนล้วน ทำเพื่อหินก้อนนี้ การเจาะรูลึกห้าเซนติเมตรเพื่อสกัดหินขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวจะกินเวลาหลาย สัปดาห์หรือนานกว่านั้น เราทำทุกอย่างนี้เพื่อหาหลักฐานทางเคมีว่า ดาวอังคารแทบไม่ต่างอะไรจากโลก และครั้งหนึ่งมันเคยมีสภาพเอื้อต่อชีวิตเช่นกัน– ( 51 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ธุรกิจอวกาศ…ขาขึ้น

สทอภ. จัดสัมมนากระตุ้นภาคเอกชน มองหาโอกาสธุรกิจด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสนเทศ ช่วยขับเคลื่อนประเทศ มิติใหม่เสริมอนาคตไทย ในงานสัมมนาอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ : มิติใหม่เสริมอนาคตไทย รศ.สมเจตน์ ทิณพงศ์ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)หรือสทอภ.กล่าวว่า แนวทางในการขับเคลื่อนประเทศไทยต่อจากนี้ การพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอวกาศและภูมิสนเทศถือเป็นอีกคลัสเตอร์ หนึ่งที่ควระได้รับความสนใจจากสังคมไทย เนื่องจากสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสูง( High Value added)ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าไปในอนาคต สทอภ. ในฐานะองค์การมหาชน จึงได้วางโครงสร้างพื้นฐานรองรับด้วยการสร้างอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศจำนวน 120 ไร่ รองรับผู้ที่สนใจ ผู้ประกอบการ บริษัท รวมถึงมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหานวัตกรรม –บริการที่เกี่ยวข้อง “เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยจึงต้องมีการจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้สนใจเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดกัน แต่สำหรับในต่างประเทศมีมานานแล้วและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในอเมิกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี รวมทั้งจีน” รศ.สมเจตน์ กล่าวต่อว่า วิธีที่จะชนะการแข่งขันคือนวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมและบริการในตลาด เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสนเทศนั้นไม่สามรถทำได้โดยลำพัง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกันเนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายมาผสมผสานกันหน่วยงานภาครัฐอย่างเดียวไม่สามาถทำให้สำเร็จได้ต้องมีภาคเอกชนเข้ามาให้การสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม-บริการออกมาเป็นรูปธรรมนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. กล่าวว่า จากเหตุผลดังกล่าวทำ– ( 57 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มศว วิจัยใช้เครื่องยิงฆ่าเซลล์มะเร็ง

แพทยศาสตร์นำร่องวิจัยรักษามะเร็งตับ-ทางเดินน้ำดี และมะเร็งตับอ่อน เปิดรับรักษาฟรี 84 คนที่มีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) ร่วมกับเอสคูแลป คลินิก(เอเชีย) จำกัด ร่วมกันทำวิจัยและให้บริการเครื่อง HIFU ที่อาศัยคลื่นเสียงความถี่สูงรักษาเนื้อร้าย เนื้องอกระยะลุกลาม นำร่องวิจัยในมะเร็งตับและทางเดินน้ำดี และมะเร็งตับอ่อน ศ.นพ. วุฒิชัย ธนาพงษธร คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) กล่าวว่า การรักษาก้อนเนื้องอกและมะเร็งด้วยเครื่อง High-Intensity Focused Ultrasound (HIFU) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีทางเลือกใหม่ที่จะมาช่วยในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดแล้วไม่ได้ผล– ( 964 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ฮาตูนรักษ์โลก

ม.รังสิตสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น “ฮาตูน” เสริมสร้างและรณรงค์การประหยัดพลังงานในเยาวชน ม.รังสิตสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น “ฮาตูน” เสริมสร้างและรณรงค์การประหยัดพลังงานในเยาวชน คณะดิจิทัล อาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) สร้างสรรค์สื่อแอนิเมชั่นรณรงค์เรื่องการประหยัดพลังงาน ในโครงการ 84 ห้องเรียน สำนักงาน กกพ. อนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ โดยผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น 6 เรื่อง เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่เยาวชนทั่วประเทศ– ( 300 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครื่องเคลือบกระจกกล้องหอดูดาว

สดร.-สซ.ผลิตเครื่องเคลือบบำรุงรักษากระจกกล้องโทรทรรศน์ หอดูดาวแห่งชาติอินทนนท์ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ (สดร.) เปิดเผยว่า กล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้ง ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ที่ตั้งอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระจก 2.4 เมตร เป็นกระจกกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระจกเคลือบผิวด้วยอลูมิเนียม มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี ทำให้สามารถบันทึกภาพวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลมากๆ และมีความสว่างน้อยได้ดี เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งอลูมิเนียมที่เคลือบอยู่บริเวณผิวกระจกจะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง ทำให้ประสิทธิภาพการสะท้อนแสงของกระจกลดลง ส่งผลให้ภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์มีคุณภาพลดลงไปด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและทำความสะอาดกระจกด้วยการเคลือบผิวกระจกด้วยอลูมิเนียมอย่างน้อยทุกๆ 2 ปี — ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เอาหญ้ามาทำพลาสติก

Metabolix บริษัทเอกชนในสหรัฐค้นพบวิธีการสร้างพลาสติกชีวภาพจากหญ้า ติดตามเรื่องราวจากนักเทคโนโลยีจากเนคเทค พลาสติกเป็นวัสดุที่เราพบเห็นและใช้มันมากที่สุดในชีวิตประจำวัน เราทุกคนทราบดีว่า พลาสติกทำมาจากกระบวนการปิโตรเลียม คือเป็นผลผลิตที่ได้จากการกลั่นน้ำมันและทราบกันดีว่า มันเป็นโทษต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากไม่สามารถย่อยสลาย หรือใช้เวลานับเป็นพันๆ ปีกว่าจะย่อยสลาย ดังนั้น จึงเป็นปัญหาของขยะที่ไม่สามารถทำลาย เพราะถ้าเราเผามันก็จะเกิดก๊าซพิษ ทั่วโลกตระหนักถึงปัญหานี้ และพยายามลดการใช้พลาสติก เช่น รณรงค์ให้หันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก หรือนำพลาสติกกลับมารีไซเคิลให้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นต้องใช้พลาสติกเพื่อเป็นส่วนประกอบในสินค้าต่างๆ ก็ยังจำเป็นอยู่ จึงมีผู้คิดค้นพลาสติกชีวภาพ หรือที่เรียกว่า Bioplastic ซึ่งมีคุณสมบัติหลักก็คือ สามารถย่อยสลายได้ภายในเวลาไม่กี่ปี เราเริ่มเห็นการนำพลาสติกชีวภาพมาใช้มากขึ้น เช่น ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ ถ้าเราเก็บไว้ไม่กี่เดือนมันก็จะเริ่มเสื่อมสภาพกลายเป็นเศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ และเป็นผุยผงในที่สุด หรือแก้วกาแฟในร้านกาแฟอเมซอน สามารถย่อยสลายได้ภายใน 180 วัน ดังนั้น — ( 101 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไทยคว้าอันดับ 8 ในแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอลโลก

ทีมSKUBAไต่อันดับขึ้นเป็นอันดับที่ 8 ในการแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอลโลก การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก หรือ World RoboCup 2013 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2556 ณ เมืองเอนโฮเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทีม SKUBA นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ลงสู้ศึกและพัฒนาหุ่นยนต์เต็มพิกัด เข้าร่วมการแข่งขันระดับโลก รวม 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอลขนาดเล็ก ( Small Size League (SSL) และประเภทหุ่นยนต์เพื่อนอัจฉริยะรับใช้งานบ้าน (RoboCup @HOME) – ( 79 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments