ที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ลดลงเลย สถิติผู้ป่วยในปีนี้ช่วงแปดเดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.56) มีจำนวนกว่าหนึ่งแสนรายถ้าเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดผู้ป่วยของปีนี้เพิ่มขึ้นถึงสามเท่าตัว (ตามรายงานของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข) ซึ่งนับว่าเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงไม่น้อยเลย โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย โรคนี้ติดต่อโดยมียุงลายตัวเมีย (หากินเวลากลางวัน) เป็นพาหะนำโรค โดยเมื่อมันไปกัดผู้ป่วยที่เป็นโรค เชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกก็จะเข้าสู่ตัวยุงระยะฟักตัวของเชื้อในยุงประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนอื่น ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัดระยะฟักของเชื้อในคนประมาณ 5-8 วัน จึงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคไข้เลือดออก นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสาร อิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 6, กันยายน 2556. เช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดยุง แอพบนมือถือเพื่อตรวจสอบสารอาหารในต้นข้าว ค้นหาความลับของสีสันบนปลายปีกผีเสื้อ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2556 กับโรคในกล้วยไม้สกุลหวาย และมะพร้าวแตกใบคล้ายเศียรพญานาค อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130902-sarawit-issue6.pdf รายการอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556). สาระวิทย์. 6(9). จาก http://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit– ( 54 Views)
กรณีน้ำมันดิบรั่วสู่ท้องทะเล
จากเหตุการณ์ที่น้ำมันดิบจากท่อส่งน้ำมันของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งป็นบริษัทในกลุ่ม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) รั่วไหลสู่ท้องทะเล จ.ระยอง ใกล้กับเกาะเสม็ด เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จนคราบน้ำมันได้กระจายตามคลื่นน้ำเข้าสู่ฝั่งบริเวณอ่าวพร้าวของเกาะเสม็ด ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการที่พักโรงแรม ร้านอาหาร บนอ่าวพร้าวและชาวบ้านที่มีอาชีพประมงแถบนั้นไม่น้อย ทันทีที่ข่าวทางสื่อมวลชนเผยแพร่ออกไป รวมถึงกระแสในเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้สร้างผลกระทบทันทีคืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งออนไหวง่ายอยู่แล้วต่อข่าวร้ายๆ แม้พื้นที่ชายหาดบนเกาะเสม็ดอีกกว่า 90% จะไม่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำลอยเข้ามาที่ชายหาดก็ตาม แต่แค่คำว่า “อ่าวพร้าว” ที่ไปผูกเชื่อมโยงกับชื่อเกาะเสม็ด ก็ส่งผลทันทีให้จำนวนนักท่องเที่ยวและสถิติการจองห้องพักบนเกาะเสม็ดลดวูบลง รวมถึงนักท่องเที่ยวบนเกาะจำนวนไม่น้อยได้เช็กเอาท์ออกก่อนกำหนด นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสาร อิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 5, สิงหาคม 2556 เช่น 10 วิธี แก้ปัญหาน้ำมันดิบรั่วไหลสู่ท้องทะเล งานมหกรรมวิทย์ ‘56 จอประสาทตาเทียม ช่วยคนตาบอดให้กลับมามองเห็นอีกครั้ง “n-Mask” หน้ากากอนามัยต้านไข้หวัด ว่านจักจั่น ราแมลงคู่แข่งถั่งเช่า อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130801-sarawit-issue5.pdf
คุณค่าของงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์
ประมาณสัก 20 ปี ก่อน คงน้อยคนนักที่จะคิดว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า แบรนด์เนมอย่างซัมซุง แอลจี สัญชาติเกาหลีใต้ จะมาหาญกล้าต่อกรกับแบรนด์บิ๊กเนมของญี่ปุ่นอย่าง โซนี โตชิบา ซันโย พานาโซนิก ชาร์ป เจวีซี ที่คนไทยเราคุ้นเคยกันดี แต่ปัจจุบัน แบรนด์เนมจากแดนกิมจิ ไม่เพียงเพิ่มยอดขายได้อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ชนิดหายใจรดต้นคอกับสินค้าของญี่ปุ่นเท่านั้น แต่หลายประเภทยังแซงหน้าไปแล้วด้วย และไม่เพียงเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่านั้น กระทั่งโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนของซัมซุง ก็สร้างปรากฏการณ์ด้านยอดขายอย่างถล่มทลายเทียบคียงหรือแซงหน้าค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างโนเกียของยุโรป หรือไอโฟน ของค่ายบริษัทแอปเปิ้ลในอเมริกา ที่เคยครองแชมป์ส่วนแบ่งการตลาดหรืออยู่แถวหน้ามาก่อน นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสาร อิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 4, กรกฎาคม 2556. เช่น Space Seeds for Asian Future 2013 : เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคตของเอเชีย จุลินทรีย์รอบตัวคุณ เครื่องตรวจจับไส้เดือนฝอยที่เป็นศัตรูไม้น้ำส่งออก จิ้งจกหลายหาง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130701-sarawit-issue4.pdf รายการอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556). สาระวิทย์. 4(7).
วอยเอเจอร์ 1 เดินทางทะลุสุริยะจักรวาลแล้ว
คณะนักวิทยาศาสตร์หรัฐประกาศ ยานสำรวจ “วอยเอเจอร์ 1″ ที่ออกเดินทางจากโลกเมื่อ 36 ปีก่อน ล่าสุดเดินทางทะลุขอบนอกสุดของระบบสุริยะจักรวาล เข้าสู่ภพอื่นอย่างเป็นทางการแล้ว ถือเป็นยานอวกาศจากโลกลำแรก ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่เดินทางห่างไกลได้ขนาดนี้ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ว่า นายมาร์ค สวิสดัค นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ยานสำรวจอวกาศ “วอยเอเจอร์ 1″ ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) สหรัฐอเมริกา ที่ออกเดินทางจากโลกเมื่อกว่า 36 ปีก่อน ล่าสุดเดินทางทะลุขอบนอกสุดของระบบสุริยะอย่างเป็นทางการแล้ว และขณะนี้กำลังเดินทางอย่างไร้จุดหมายในกลุ่มดาวกาแล็กซี่อื่น ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่สามารถเคลื่อนออกนอกระบบสุริยะ เพื่อสำรวจกาแล็กซี่อื่นที่ใหญ่กว่า – ( 155 Views)
“ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ” สวทช. ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ “โครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2556”
“ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ” สวทช. ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ “โครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ พ.ศ.2556” ในฐานะเป็นผู้ที่มีผลงานในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อ สร้างสรรค์ ประโยชน์ต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรมเป็นที่ประจักษ์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2556 ณ ห้องประชุมรัฐสภา อาคารรัฐสภา โดย นายนิคมไวยรัชพานิชประธานวุฒิสภาในฐานะประธานในพิธีทำการมอบใบประกาศ เกียรติคุณแก่ผู้เข้ารับใบประกาศเกียรติคุณ นอกจากนี้ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ยังนำทีมผู้ประกอบการและผู้เข้าร่วมโครงการ “บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี” เข้ารับรางวัลอีก 15 ราย ดูรายละเอียดเพิ่มเติม แหล่ง ที่มา : “ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ” สวทช. ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ “โครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2556”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. วันที่ 4 กันยายน 2556.– ( 57 Views)
อิเล็กทรอนิกส์โค้งงอ
นักเทคโนโลยีแห่งเนคเทค แบ่งปันความรู้จากการเดินทางไปดูงานเทคโนโลยีจอแสดงภาพ Flexible Electronics ของ ITRI ศูนย์วิจัยแห่งไต้หวัน เทคโนโลยีการพิมพ์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในระยะหลังนี้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ราคาถูก นอกจากเราจะมีแผงเซลล์สุริยะหรือโซลาร์เซลล์ ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบเดียวกับการผลิตหนังสือพิมพ์ นั่นคือ พิมพ์ออกมาแบบเป็นแผ่นหรือม้วนด้วยความเร็วสูงออกจากแท่นพิมพ์ในโรงงาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกหลายอย่าง ก็สามารถสร้างด้วยการพิมพ์ลงบนแผ่นพลาสติกที่มีราคาถูกและโค้งงอได้ เกิดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่โค้งงอได้ หรือที่เรียกกว่า Flexible Electronics – ( 87 Views)
โฟกัสงานวิจัยเด่นในNSTDA Investor’s Day
ผลงานวิจัยที่โดดเด่นและมีแนวโน้ม ที่จะมาเป็นตัวช่วยให้กับ ผู้ประกอบการไทยได้ ประชาชาติธุรกิจ นิวบิซ นำเสนอ 3 ผลงานเด่นที่น่าสนใจ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มานำเสนอ ในธุรกิจเกี่ยวกับการแพทย์ที่มีการแข่งขันสูง มี มีดผ่าตัดนิ้วล็อก แบบเจาะผ่านผิวหนัง (A-Knife) ที่พัฒนาให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ใช้เวลาผ่าตัดจาก 15 นาที เป็น 3 นาที มีความเรียวเล็ก ไม่ไปรบกวนเนื้อเยื่อหรือเส้นเลือด เส้นเอ็นส่วนอื่น ความคมของมีดสามารถใช้ได้ 3 ครั้ง อย่างไรก็ตาม การออกแบบเป็นการใช้แบบใช้ครั้งเดียว หรือ Single Used โดยในการใช้งานนั้นต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้อบรมก่อนใช้งาน เพื่อให้ทราบจุดที่มีพังผืด ปัจจุบันมีโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน คือ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท นำไปใช้ผ่าตัดผู้ป่วยไป ตั้งแต่ต้นปี 2556 ที่ผ่านมา– ( 69 Views)
4 ผลงานวิจัย ศน. คว้ารางวัลโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ
นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. เข้ารับมอบใบประกาศเกียรติคุณ “โครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ” พ.ศ. 2556 ประเภทองค์กรภาครัฐ จากนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ประกอบด้วยผลงานจาก 1.ดร.จามร เชวงกิจวณิช และดร.ณัฏพร พิมพะ (ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ) “เครื่องผลิตน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยเทคโนโลยีไส้กรองนาโน” 2.ดร.นาวิน วิริยะเอี่ยมพิกุล (ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ) “ตัวเร่งปฏิกิริยาไบโอดีเซล จากเปลือกไข่เปลือกหอยเหลือทิ้ง” 3.ห้องปฏบัติการระบบนำส่ง (ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ) “แผ่นแปะสารสกัดจากเปลือกมังคุด ใช้เทคนิคการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิต” และ 4.ห้องปฏิบัติการวัสดุนาโนเพื่อพลังงานและการเร่งปฏิกิริยา (ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ) “วัสดุเพาะเมล็ดพืชคุณภาพสูงจากผักตบชวา” รายการอ้างอิง : 4 ผลงานวิจัย ศน. คว้ารางวัลโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ. “โครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ” พ.ศ.2556 ประเภทองค์กรภาครัฐ ที่ชั้น 2 อาคารัฐสภา 1 เมื่อวันที่ 2 กันยายน. – ( 51 Views)
ผลงานไบโอเทค ได้รับรางวัลโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ
ผลงานไบโอเทค ได้รับรางวัลโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ ประจำปี 2556 จากคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา โดยมีพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณโดย นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2556 ณ อาคารรัฐสภา ในปีนี้มีผลงานของนักวิจัยไบโอเทคได้รับรางวัล 3 ผลงาน ได้แก่ 1. ผลงานเรื่อง “งานวิจัย พัฒนาสารต้านมาลาเรีย” โดย ศ. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ ได้รับรางวัล “ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์” – ( 77 Views)
สวทช.เตรียมจัดนาสด้า อินเวสเตอร์เดย์ ปีที่ 4 โชว์งานวิจัยพร้อมลงทุน
วันนี้(28 สิงหาคม) ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดแถลงข่าวเปิดตัวงานนาสด้า อินเวสเตอร์เดย์ ( NSTDA Investors’ Day ) ประจำปี 2556 โดยมีดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ เป็นประธานในงานแถลงข่าว ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. เปิดเผยว่า งานดังกล่าวจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยปีที่ผ่านมา มีนักลงทุนและผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วมงานมากกว่า 800 คน จาก 270 บริษัท มีงานวิจัยเด่นที่ได้รับการนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์แล้ว 4 ผลงาน สำหรับปีนี้งานจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ด้วยธุรกิจเทคโนโลยี” ซึ่งสวทช.จะนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่ามี ศักยภาพสูงในการลงทุน โดยจุดเด่นภายในงานปีนี้คือ การเปิดให้มีการเจรจาธุรกิจแบบจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งหรือ One on One Matching เพื่อให้เกิดการลงทุนจริงในเชิงพาณิชย์ และกิจกรรมนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีต่อนักลงทุนในช่วงอินเวสเตอร์ พิทชิ่ง(Investment Pitching )