ทุกๆ ประเทศบนโลกใบนี้ต่างมุ่งแสวงหาการพัฒนาประเทศไม่ว่าด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น ซึ่งการพัฒนาเหล่านั้นนอกจากจะต้องอาศัยปัจจัยภายในประเทศแล้ว ยังต้องอาศัยปัจจัยจากภายนอกประเทศอีกด้วย ดังนั้นที่ผ่านมาหลายๆ ประเทศที่เคยปิดตัวเองจากโลกภายนอกก็ต้องเปิดประเทศเพื่อรองรับการพัฒนาดังกล่าว ซึ่งในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้คงจะไม่มีเรื่องราวไหนได้รับความสนใจมากไปกว่าการเปิดประเทศของพม่าเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น สอดคล้องกับการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะมาถึง ผลจากการปฏิรูปทางการเมืองในพม่า ส่งผลให้นโยบายต่างๆ ได้รับการแก้ไขและผ่อนปรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุน ซึ่งเปิดกว้างและสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น ทำให้ทุกวันนี้หากใครได้มีโอกาสเดินทางไปพม่า ไปยังเมืองใหญ่ๆ เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ หรือเมืองหลวงเนย์ปิดอว์ ก็มักจะพบเห็นภาพของการก่อสร้างอาคารสูงและการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้ทันกับความเจริญที่ถาโถมเข้ามา ณ ขณะนี้– ( 1098 Views)
ชวนโหลดแอพแจ้งเตือนภัยพิบัติ
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดโหลดแอพฯ water4thai และ NDWC แจ้งเตือนภัยพิบัติ นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและรัฐบาลได้จัดทำแอพพลิเคชั่นสำหรับใช้งานบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในระบบแอนดรอยด์ และ IOS ภายใต้ชื่อแอพ water4thai และ NDWC ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับน้ำ ระบบการไหลของน้ำ เส้นทางของน้ำ ระดับน้ำในเขื่อน ผ่านกล้องวงจรปิด( CCTV) แบบเรียลไทม์ และการแจ้งเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติประเภทต่างๆ โดยผู้ต้องการใช้งานแอพพลิเคชั่นแจ้งเตือนภัยดังกล่าว สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งและใช้งานในเครื่องสมาร์ทโฟนได้ทันที โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ยังสามารถติดตามข่าวสารการเตือนภัยพิบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.ndwc.go.th รายการอ้างอิง : ชวนโหลดแอพแจ้งเตือนภัยพิบัติ. โพสต์ทูเดย์. วันที่่ 1 สิงหาคม 2556.– ( 64 Views)
ผู้บริโภคมะกันยก”ซัมซุง”เหนือกว่า”แอปเปิล”
ดัชนีความพึงพอใจผู้บริโภคสหรัฐพบสมาร์ทโฟนซัมซุงครองอันดับ 1-2 ขณะที่ไอโฟน5จากแอปเปิลได้อันดับ 3 ช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีผลสำรวจของภาคส่วนต่างๆ เกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ใช้สมาร์ตโฟน ซึ่งพบว่ากระแสนิยมของไอโฟนที่ครองตำแหน่งอันดับหนึ่งในวงการนั้นเริ่มแผ่วลง ขณะที่ผลิตภัณฑ์ของซัมซุงเริ่มตีตื้นขึ้นมา จนกระทั่งสามารถก้าวขึ้นมาเบียดบริษัทแอปเปิล ยักษ์ใหญ่ในวงการได้เป็นผลสำเร็จ ล่าสุดค่ายแอปเปิลถูกตีแสกหน้าอีกครั้ง เมื่อผู้จัดทำดัชนีความพึงพอใจผู้บริโภคของสหรัฐ (ACSI) ได้สำรวจระดับความพึงพอใจของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศ พบว่า สินค้าของบริษัทซัมซุงถึง 3 ตัวก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งสมาร์ตโฟนที่ผู้ใช้พึงพอใจที่สุดในอันดับที่ 1 อันดับ 2 และอันดับ 7 ผลิตภัณฑ์ทั้งคู่ได้แก่ Samsung Galaxy S III ซึ่งครองอันดับที่ 1 ในใจชาวอเมริกัน ได้คะแนนความพึงพอใจไปถึง 84 คะแนน จากเต็ม 100 คะแนน ขณะที่อันดับ 2 คือ Samsung Galaxy Note II ได้คะแนนไปเท่าๆ กัน– ( 55 Views)
มะกันคว่ำคำตัดสิน”แอปเปิล”
รัฐบาลสหรัฐยกเลิกคำสั่งแบนสินค้าแอปเปิลบางรุ่นในประเทศ อ้างส่งเสริมความเป็นธรรม รัฐบาลสหรัฐประกาศยับยั้งคำสั่งของคณะกรรมาธิการการค้านานาชาติของสหรัฐ (ยูเอสไอทีซี) ซึ่งเมื่อเดือน มิ.ย.ผ่านมา ได้สั่งระงับการจำหน่ายสินค้าของบริษัท แอปเปิล อิงก์ ในเมืองลุงแซม หลังพบว่า สินค้าของแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท ซัมซุง โดยรัฐบาลอ้างว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นเพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในเมืองลุงแซม – ( 23 Views)
อินเทอร์เน็ตสวมบท’ผู้ร้าย’ เพิ่มพฤติกรรมเชิงลบในห้องสมุด เพียง 18 เปอร์เซ็นต์จากร้อยเท่านั้น…ที่ใช้เวลาไปกับการอ่านหนังสือในห้องสมุด!!
พาดหัวตัวโตจากเดลีเมล์ เมืองผู้ดี เผยให้เห็นถึงสถานการณ์ห้องสมุดในอังกฤษที่อาจเข้าสู่ภาวะ “วิกฤติ” จากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สุดเงียบเชียบ กลายเป็นแค่ “ห้องพักผ่อนติดแอร์เย็นฉ่ำ” เต็มไปด้วยพฤติกรรมพิมพ์ข้อความในสมาร์ทโฟน เช็กเฟซบุ๊ก ช็อปปิ้งออนไลน์ กระทั่งงีบหลับคาโต๊ะที่เห็นได้แบบชินตา งานวิจัยติดตามพฤติกรรมการใช้ห้องสมุด ก่อนสอบของนักศึกษา 2 มหาวิทยาลัยในลองไอส์แลนด์ นิวยอร์ก ช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2011 จำนวน 730 ตัวอย่างของ ลอเรนซ์ ที พาเรตตา และ เอมี คาตาลาโน ที่อยู่ในบทความของเดลีเมล์ ยังขยายให้ทราบถึงเหตุการเปลี่ยนแปลงจากการเข้าห้องสมุดเพื่ออ่านและยืมหนังสือ เป็นการใช้เพื่อเรียกดูเว็บไซต์สื่อสังคม พบปะเพื่อนฝูง ส่งข้อความ และเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าในอินเทอร์เน็ต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ รายการอ้างอิง : อินเทอร์เน็ตสวมบท’ผู้ร้าย’ เพิ่มพฤติกรรมเชิงลบในห้องสมุด เพียง 18 เปอร์เซ็นต์จากร้อยเท่านั้น. ไทยโพสต์. วันที 29 กรกฎาคม 2556. – ( 67 Views)
ก.วิทย์ฯ แนะใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายน้ำมันรั่ว
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (TCELS) ห่วงผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วในทะเลบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง จึงได้มอบหมายให้ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ให้ความรู้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว ในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพอันเกิดจากคราบน้ำมัน นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า สารเคมีประกอบด้วยหลายอย่างที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนที่เป็นพิษ (Toxic compounds) มีสิ่งที่จะส่งผลกระทบได้เยอะมากกับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ดังนั้นกระบวนการกำจัดจึงต้องวางแผนให้ดีอย่างรอบคอบ เป็นขั้นตอน แต่ก็รอช้าไม่ได้เพราะผลกระทบต่อชีวิตทั้งในทะเลและบนบกจะเกิดขึ้นทันที โดยเฉพาะอาหารทะเล ที่จะได้รับสารพัดสารเคมีทีมีอยู่ในน้ำมันดิบ โดยเฉพาะสารพิษในกลุ่ม ไฮโดรคาร์บอน เช่น “พีเอเอช(PAHs)” ซึ่งสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ทำมาหากินอยู่บริเวณที่มีน้ำมันรั่วก็มีสิทธิ์ปนเปื้อนเข้าไปได้สูงและจะจับสะสมอยู่ในไขมันปลา,ไข่ปลา,ไข่กุ้ง,ไข่ปู ตามองคาพยพหลายส่วนของสัตว์น้ำ และเมื่อมันตายจากพิษน้ำมันดิบ ตัวมนุษย์ที่จับเหล่านี้ขึ้นมากินก็มีสิทธิ์ได้รับช่วงสารเคมีที่ว่านี้ต่อเช่นกัน – ( 123 Views)
กู้ภัยไฮเทค
นอกเหนือจากนวัตกรรมเสื้อกู้ภัยพูดได้ที่ฝังโทรศัพท์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและหน้าจอดิจิทัลไว้ที่ตัวเสื้อ สามารถใช้ติดต่อประสานงานต่างๆ เป็นเนวิเกอร์นำทาง และแสดงผลสภาพร่างกายนักกู้ภัยได้ในคราวเดียวแล้ว แต่ยังมีอีกหนึ่งอุปกรณ์คู่ใจนักกู้ภัยที่ไฮเทคไม่แพ้กัน นั่นก็คือ หมวกกู้ภัยระบบสัมผัส เพราะเจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องทำงานท่ามกลางสภาวะการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นท่ามกลางซากปรักหักพังของอาคาร หมอกควันจากอัคคีภัยที่บดบังทัศนวิสัย หรือแม้กระทั่งในเวลากลางคืน ประสาทสัมผัสทางตาจึงอาจใช้การได้ไม่ดีนักในกรณีเช่นนี้ – ( 61 Views)
กระทรวงวิทย์เตือนสารพิษจากน้ำมันรั่ว
วันนี้ (31 กค.) นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยถึงผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วในทะเลบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง ว่า น้ำมันดังกล่าวมีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นพิษ ซึ่งกระบวนการกำจัดต้องวางแผนให้ดีอย่างรอบคอบ เป็นขั้นตอน แต่ก็รอช้าไม่ได้เพราะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในทะเลและบนบก โดยเฉพาะอาหารทะเล ที่จะได้รับสารพัดสารเคมีที่มีอยู่ในน้ำมันดิบ โดยเฉพาะสารพิษในกลุ่ม ไฮโดรคาร์บอน เช่น “พีเอเอช(PAHs)” ซึ่งสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ทำมาหากินอยู่บริเวณที่มีน้ำมันรั่วก็มีสิทธิ์ปนเปื้อนเข้าไปได้สูงและจะจับสะสมอยู่ในไขมันปลา ไข่ปลา ไข่กุ้ง ไข่ปู และตามส่วนต่าง ๆ ของสัตว์น้ำ และเมื่อมันตายจากพิษน้ำมันดิบ คนที่จับสัตว์เหล่านี้ขึ้นมากินก็มีสิทธิ์ได้รับช่วงสารเคมีที่ว่านี้ต่อเช่นกัน นอกจากนี้น้ำมันดิบที่ทำปฏิกิริยากับแสงแดด สามารถเปลี่ยนเป็นสารพิษอันตราย ระเหยสู่อากาศ กลายเป็นมลพิษ หากสูดดมเข้าไป สามารถส่งผลกระทบถึงระดับดีเอ็นเอในเซลล์สิ่งมีชีวิตได้ นายแพทย์กฤษดา กล่าวว่า เนื่องจากผลกระทบเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง ดังนั้นการวางแผนแก้ไขและฟื้นฟู ด้วยเทคโนโลยีไฮเทคบางอย่าง อาจทำให้ยิ่งแย่หนักกว่าเดิมได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณของน้ำมัน ชนิดของน้ำมันกระแสน้ำและ กระแสลม ทั้งนี้ วิธีที่ช่วยล้างพิษของน้ำมันรั่ว ที่เริ่มนิยมใช้กันมากคือการใช้ จุลินทรีย์ ที่ชื่อว่า อัลคานิโวแร็กซ์(Alcanivorax)
มารู้เกี่ยวกับ “ผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล ( http://www.mkh.in.th ) มีข้อมูล ผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล ดังนี้ น้ำมันที่รั่วไหลสู่แหล่งน้ำจะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพ ทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เริ่มจากน้ำมันบางส่วนระเหยไป น้ำมันที่เหลือจะเปลี่ยนสภาพไปตามคุณสมบัติเฉพาะของชนิดน้ำมันนั้นๆ และปัจจัยต่างๆ เช่น แสงแดด กระแสน้ำ อุณหภูมิ ฯลฯ โดยคราบน้ำมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง และปิดกั้นการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช สาหร่าย และพืชน้ำต่างๆ เปลี่ยนแปลงสภาวะการย่อยสลายของแบคทีเรียในน้ำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดล้วนส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น (ปลา สัตว์หน้าดิน ปะการัง ฯลฯ) รวมถึงนกน้ำด้วย เกิดการสะสมสารพิษในห่วงโซ่อาหารที่เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิต (แพลงก์ตอนพืช) ผู้บริโภคขั้นต้น (แพลงก์ตอนสัตว์/ปลา) จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้ายซึ่งก็คือมนุษย์ คราบน้ำมันยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประมงและการเพาะลี้ยงชายฝั่ง เช่น สัตว์น้ำตายจากคราบน้ำมัน ขาดออกซิเจน ชายหาดสกปรกจากคราบน้ำมัน ทำลายทัศนียภาพ มีกลิ่นเหม็น ไม่เหมาะกับการท่องเที่ยวและพักผ่อน ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่นและระดับประเทศ ความรุนแรงของผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งชนิดของน้ำมัน ปริมาณที่รั่วไหล สภาพภูมิศาสตร์ของบริเวณที่เกิดรั่วไหล กระแสน้ำ กระแสลม การขึ้น-ลงของน้ำทะเล
โรคหัวใจ ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง
โรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น แต่จะเกิดอาการแบบเฉียบพลันในขณะที่หัวใจทำงานหนัก หากพบว่าผลตรวจคลื่นไฟฟ้า (EKG) ผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจขาดเลือดได้ โรคหัวใจ คือ การเรียกของ “กลุ่มอาการของโรคหัวใจ” ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ ซึ่ง แยกได้เป็น 8 ประเภทหลักๆ คือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคติดเชื้อที่หัวใจ โรคมะเร็งหัวใจ – ( 133 Views)