แนวคิดของการทำธุรกิจเพื่อสังคม (Socially Enterprise-SE) รวมถึงการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม กำลังเป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในหลายประเทศขณะนี้ เพราะนอกจากจะเป็น กิจกรรมที่ทำให้คนมีอาชีพและสร้าง รายได้แล้ว ยังเป็นกิจการที่ช่วยแก้ปัญหาสังคมอีกด้วย ดังนั้น การสร้างคนรุ่นใหม่ หรือ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม จึงเป็นสิ่งที่ในหลายประเทศกำลังผลักดัน และเมื่อไม่นานผ่านมานี้ บริติช เคาน์ซิล ร่วมมือกับ สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (TSEO) และสถาบันคลังสมองแห่งชาติ จึงได้จัดงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง A Socially Enterprising University : มหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นกิจการเพื่อสังคม– ( 114 Views)
TMA ‘ไอซีทีทำดีเพื่อสังคม’ ประกาศผล’ThailandICT’
“การจัดดำเนินโครงการ Thailand ICT Excellence Awards นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ICT ขององค์กรในประเทศไทย จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการบริหารจัดการองค์กรในทุกๆ ด้าน ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย จึงได้เล็งเห็นประเด็นสำคัญจัดหัวข้อการสัมมนาคือ “Gearing up for AEC 2015: ICT Interconnectivity” เพื่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เมื่อเกิดการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการแล้ว” นายเทวินทร์กล่าว ด้านนายกำพล ศรธนะรัตน์ กรรมการโครงการ และประธานกลุ่มบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร TMA กล่าวว่า ในปีนี้เราได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ ส่งผลงาน ICT เข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 57 โครงการจาก 35 องค์กร ทั้งนี้ ผู้บริหารและองค์กรต่างๆ ที่ได้รับรางวัลในแต่ละประเภทจะต้องผ่านการคัดสรรโดยคณะกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิจากองค์กรชั้นนำระดับประเทศ และเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณะชนทั่วไป คณะกรรมการพิจารณาตัดสินได้ใช้ ICT Excellence Maturity Model? ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินความเป็นเลิศ รายการอ้างอิง : TMA ‘ไอซีทีทำดีเพื่อสังคม’ ประกาศผล’ThailandICT’.
“Thailand ICT Excellence Awards 2012-2013″
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) และวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CITU) จัดโครงการ “Thailand ICT Excellence Awards 2012-2013″ เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอซีที (ICT) ขององค์กรในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทัดเทียมกับมาตรฐานในระดับสากล รายการอ้างอิง : “Thailand ICT Excellence Awards 2012-2013″. ไทยโพสต์ (ภาพข่าว). ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.– ( 41 Views)
สกว.เล็งวิจัยน้ำ-ระบบขนส่งมวลชน
ศ.นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เปิดเผยถึงนโยบายการทำวิจัยของ สกว.ว่า สกว.มีความร่วมมือด้านงานวิจัยกับหน่วยงานต่างๆ ที่ทำการวิจัย โดยมี สภาวิจัยหรือ วช.เป็นแกนหลักในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ ทั้งจัดทำฐานข้อมูลและติดตามประเมินผล ทำการวิจัยหัวข้อสำคัญที่เป็นปัญหาของประเทศ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ และด้านอื่นๆ “ทิศทางของบอร์ด สกว.ในอนาคตก็จะทำงานวิจัยในขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อสนับสนุนงานของชาติ เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช.จะทำการวิจัยเกี่ยวกับขนส่งมวลชนระบบราง ทั้งต้องวิจัยการพัฒนาเมืองที่เป็นสถานีจอด โดยต้องศึกษาว่าจะมีการพัฒนาให้เป็นเมืองใหม่ที่เชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ อย่างไรบ้าง เป็นต้น” ศ.นพ.ไกรสิทธิ์กล่าว รายการอ้างอิง : สกว.เล็งวิจัยน้ำ-ระบบขนส่งมวลชน. ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. – ( 32 Views)
Open Lab เทคโนฯชีวภาพกุ้ง
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค/สวทช.) จัดกิจกรรม “Open Lab หน่วยธุรกิจโครงการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้ผู้ประกอบการธุรกิจห้องเย็น อุตสาหกรรมการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์สินค้าประมงได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับนักวิจัย โดยห้องแล็บดังกล่าวจะให้บริการในเชิงธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพด้านกุ้งแก่ หน่วยงานทั่วไปทั้งภาครัฐและเอกชน และมุ่งเน้นไปยังอุตสาหกรรมกุ้งอย่างครบวงจรอีกด้วย แหล่งที่มา : Open Lab เทคโนฯชีวภาพกุ้ง. ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.– ( 32 Views)
‘ซิป้า’พาซอฟต์แวร์ไทยเท่าทันเออีซี
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า นำทีมหัวเรือใหญ่อย่าง “นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการซิป้า” ที่พยายามเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์ แวร์ไทยให้มีประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันเข้าไปในพื้นที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 ได้อย่างภาคภูมิใจ ซิป้าเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ใน อีก 5-10 ปี จะเติบโต และเป็นตัวหลักมาก กว่าฮาร์ดแวร์อย่างแน่นอน เนื่องจากในขณะนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สิงคโปร์ เทรนด์ซอฟต์แวร์ได้สูงกว่าฮาร์ดแวร์เรียบร้อยแล้ว ซิป้าจึงเร่งส่งเสริมให้คนไทยที่มีความสามารถและเข้ามาสู่ตลาดนักผลิตซอฟต์แวร์และนวัตกรรม เพื่อหนุนให้หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยได้ใช้ซอฟต์แวร์ไทย ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้ลดต้นทุนของภาครัฐได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญลดพึ่งพาซอฟต์แวร์ต่างชาติ เงินก็จะไม่รั่วไหลออกจากบ้าน – ( 46 Views)
10 Breakthrough Technology ล่าสุด
ดร.อดิสร พาไปทำความรู้จักกับ Breakthrough Technology 2013 หรือเทคโนโลยีที่สามารถใช้แก้ปัญหาที่ยังไม่มีเทคโนโลยีใดๆ แก้ได้ Breakthrough Technology หรือเทคโนโลยีที่สามารถใช้แก้ปัญหาที่ยังไม่มีเทคโนโลยีใดๆ แก้ได้ สามารถเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์แบบสุดๆ และแนวคิดใหม่สุดๆ ในการแก้ปัญหาเดิม ๆ ที่เราเจออยู่ทุกวัน หรือแก้ปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่และยังไม่มีวิธีการใดแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนั้น เทคโนโลยีเหล่านี้จึงเป็นที่แสวงหาและต้องจับตามอง ทุกปี นิตยสาร MIT Technology Review ได้มองหาเทคโนโลยีเหล่านี้มารายงานและนำเสนอ ปีนี้ 2013 ก็ไม่พลาด มี 10 Breakthrough technology มานำเสนอเช่นเคย ซึ่งมีหลายเทคโนโลยีน่าสนใจ และกระจายอยู่ในหลากหลายสาขาเทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีเกี่ยวกับสารสนเทศหรือ IT ได้แก่ เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จากโทรศัพท์มือถือ ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบการแพร่ระบาดของโรคติดต่อต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว– ( 62 Views)
วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
เบื้องหลังความสำเร็จของอุตสาหกรรมกุ้งไทย ที่สร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่าแสนล้านบาทต่อปี เป็นเพียงพื้นที่ขนาดสนามฟุตซอล ภายในศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค/สวทช.) ที่มีบ่อเพาะเลี้ยงลูกกุ้งวางเรียงเป็นระเบียบเต็มพื้นที่ และมุมห้องที่จัดสรรเป็นพื้นที่เฉพาะของนักวิจัย ราวปี 2542 ไบโอเทคประกาศเปิดตัว “หน่วยธุรกิจโครงการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง” (Shrimp Biotechnology Business Unit ; SBBU) เพื่อให้บริการเชิงธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพด้านกุ้งแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ลดปัญหาการตีกลับสินค้า อันเนื่องจากมาตรการกีดกันทางการค้า “SBBU มุ่งให้บริการเรื่องกุ้งครบวงจรแก่ผู้มาใช้บริการ โดยนำเอาผลงานและองค์ความรู้ที่ทีมวิจัยพัฒนาได้ออกมาเผยแพร่ในเชิงธุรกิจ ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมามีผลงานได้รับการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ไปแล้วมากมาย อาทิ ชุดตรวจสอบโรคกุ้ง เทคนิคตรวจวิเคราะห์กุ้งเพื่อออกใบรับรองสำหรับการส่งจำหน่าย รวมถึงรับโจทย์วิจัยตรงจากเจ้าของธุรกิจกุ้งและสัตว์น้ำอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย” ศิรินทิพย์ แดงติ๊บ หัวหน้าห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์โรค SBBU กล่าว – ( 114 Views)
อพวช.-เนคเทคจับมือพัฒนาแอพฯนำเที่ยวพิพิธภัณฑ์วิทย์ สนับสนุนโครงการแท็บเล็ตสำหรับนักเรียน
อพวช.-เนคเทคจับมือพัฒนาแอปฯ นำเที่ยวพิพิธภัณฑ์วิทย์ สนับสนุนโครงการแท็บเล็ตสำหรับนักเรียน ให้ข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นการเดินทางตลอดจน 8 จุดไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์ ให้ข้อมูลทั้งภาพและวิดีโอที่มากกว่าแค่แสดงในพิพิธภัณฑ์พร้อมฟังก์ชันอ่าน บาร์โค้ดเข้าสู่ข้อมูลที่มากกว่าแต่ยังอยู่ในขั้นพัฒนา หลังปิดจุดอ่อนแล้วจะเปิดให้ดาวน์โหลดใน Google Play องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ลงนามความร่วมมือการวิจัย และพัฒนาระบบนำชมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ด้วยอุปกรณ์ สมาร์ทโฟน– ( 82 Views)