แว่นตาที่ว่านี้ไม่ธรรมดาเลย เนื่องจากเป็นแว่นที่ผู้สวมใส่สามารถปรับค่าสายตาที่เหมาะสมได้เองกับมือ หากดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ สายตาคงเป็นหน้าต่างของการเรียนรู้ เพราะทัศนวิสัยที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญต่อการศึกษา โดยเฉพาะเด็กๆ ในวัยเรียน ปัญหาเรื่องสายตาย่อมเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และจะยิ่งเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นหากเด็กๆ เหล่านั้นไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะตัดแว่นสายตา บริษัท Dow Corning Corporation สหรัฐอเมริกา ร่วมกับ CVDW หรือศูนย์สายตาเพื่อประเทศกำลังพัฒนา ได้ใช้เงินทุนประมาณ 3 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตแว่นสายตาสำหรับเด็กกว่า 50,000 อัน ให้แก่โรงเรียนหลักสูตรทันสมัยต่างๆ ในประเทศ ก่อนจะกระจายสู่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ทั่วโลก แต่แว่นตาที่ว่านี้ไม่ธรรมดาเลย เนื่องจากเป็นแว่นที่ผู้สวมใส่สามารถปรับค่าสายตาที่เหมาะสมได้เองกับมือ– ( 147 Views)
ม.เกษตร ติด Top 50 ของโลก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พิชิตที่ 1 ของประเทศ ที่ 3 ของเอเชีย และ ที่ 33 ของโลก ในวิชาด้านการเกษตรและป่าไม้ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับเป็น อันดับที่ 1 ของประเทศ อันดับที่ 3 ของเอเชีย และ อันดับที่ 33 ของโลก ในรายวิชา Agriculture & Forestry (เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์) ของกลุ่มสาขา Life Sciences & Medicine (วิทยาศาสตร์ชีวภาพและแพทยศาสตร์) จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกแยกตามสาขาวิชา ประจำปี พ.ศ.2556 (QS World University Ranking by Subject 2013) โดย Quacquarelli Symonds หรือ QS ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจด้านการศึกษาและให้ข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศอังกฤษ โดย
เอ็มเทคร่วม 4 ม. จัดแข่งสร้างหุ่นยนต์
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับจุฬาฯ, มช. , มทส. และ มอ จัดแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์ เฟ้นหาเด็กไทย ไปเวทีโลก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัด “การแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6” รอบชิงชนะเลิศ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทักษะความสามารถของเยาวชนไทยด้านการศึกษาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เฟ้นหาเยาวชนตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันระดับนานาชาติ IDC Robocon 2013 ณ ประเทศบราซิล ในเดือนสิงหาคมนี้ – ( 70 Views)
กระดานดำบนกำแพง
ทุกพื้นที่เขียนได้ คอนเซปท์เก๋ๆ ของ IdeaPaint ที่จะทำให้กำแพงกลายเป็นกระดานดำ ความคิดสร้างสรรค์ที่เจาะออฟฟิศและสถานศึกษา ทุกพื้นที่สามารถทำประโยชน์ได้ คอนเซปท์เก๋ๆ ของ IdeaPaint ที่จะทำให้กำแพงกลายเป็นกระดานดำ ความคิดสร้างสรรค์ที่เจาะกลุ่มออฟฟิศและสถานศึกษา ศิริชัย ชูเกียรติวัฒนากุล ผู้จัดการฝ่ายขาย Design Hive ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ระดับไฮเอนด์จากดีไซเนอร์ระดับโลก ฟิลิป สตาร์ก และเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เสริมที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ กล่าวว่า หนึ่งในสินค้าที่ดีไซ ไฮฟ์นำเข้ามาและมีผลตอบรับดีคือ ไอเดีย เพนท์ (IdeaPaint) ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้า – ( 541 Views)
สกัดมันแกวกำจัดศัตรูมะพร้าว
กระทรวงวิทยาศาสตร์ สนับสนุนเกษตรกรใช้สารสกัดเมล็ดมันแกว กำจัดหนอนหัวดำในมะพร้าวแทนสารเคมี นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า วว. ได้นำร่องทดสอบประสิทธิภาพสารสกัดเมล็ดมันแกวทดแทนการใช้สารเคมีที่สวนมะพร้าว อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่าการฉีดพ่นสารสกัดมันแกวในสวนมะพร้าว 1 ครั้งสามารถกำจัดหนอนหัวดำในมะพร้าวได้ถึงร้อยละ 91 ซึ่งมันแกวที่นำเมล็ดมาสกัดเป็นพันธุ์หัวสีขาวที่ปลูกเพื่อรับประทานหัว เป็นพืชตระกูลถั่ว มีลักษณะเป็นใบรวม ดอกมีสีขาวอมฟ้าอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน มีขนปกคลุม ในฝักหนึ่งๆ จะมีเมล็ดอยู่ 8-10 เมล็ด เมล็ดมีสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีแดงลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัสแบน รากมันแกวเป็นหัวขนาดใหญ่ กลม และแบน – ( 94 Views)
วิทยาศาสตร์ในสายน้ำ
“ก.วิทย์” ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส เชิญชมนิทรรศการ “วิทยาศาสตร์ในสายน้ำ” หนุนใช้วิทยาศาสตร์จัดการน้ำอย่างยั่งยืน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการ “วิทยาศาสตร์ในสายน้ำ : Water at the Heart of Science” นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาบริหารจัดการน้ำ ส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนเห็นความสำคัญของน้ำ สร้างความตระหนักในการร่วมกันอนุรักษ์แหล่งน้ำ ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม จากประเทศฝรั่งเศสสู่ประเทศไทย – ( 76 Views)
ลองกองหล่นไกลต้น
นักวิทยาศาสตร์หอบ”ลองกอง”หนีปัญหาผลผลิตล้นตลาด ด้วยการแปลงร่างให้เป็นเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มและอาชีพเสริมให้ชุมชน นักวิทยาศาสตร์หอบ”ลองกอง”หนีปัญหาผลผลิตล้นตลาด ด้วยการแปลงร่างให้เป็นเครื่องสำอาง ตามรอยรุ่นพี่ที่ติดลมบนในตลาดมาแล้วทั้งไพลทานอยด์จากไพล พัฒนาโดยโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี (PERCH), Longanaria Siamese ครีมเมล็ดลำไยจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และจีพีโอ เคอร์มิน ครีมขมิ้นชันขาวขององค์การเภสัชกรรม ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ไม่เคยหยุดที่จะคิดในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลไม้ชนิดนี้ ด้วยการแปรรูปได้สารพัด ไม่ว่าจะเป็น เยลลี่ ลอยแก้ว แช่อิ่ม อบแห้ง แยมหรือคั้นเป็นเครื่องดื่ม และล่าสุดกับผลงานวิจัยเครื่องสำอางจากเปลือกลองกอง ในกลุ่ม เจลล้างหน้า โทนเนอร์ทำความสะอาดผิวหน้าและครีมพอกหน้า – ( 190 Views)
ชมพิพิธภัณฑ์วิทย์ผ่านแอพ iQ@Museums
…สร้างมิติใหม่ให้กับการชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ไทย ด้วยเทคโนโลยี กับแอพพลิเคชั่น “ไอคิวแอทมิวเซียม” (iQ@Museums) ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาระบบนำชมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ด้วยอุปกรณ์สมาร์ทโฟน – ( 134 Views)
มองอนาคตอินเทอร์เน็ตไทยใน INET Bangkok 2013
ประเทศไทยใช้อินเทอร์เน็ตมาแล้วถึง 25 ปี และถือเป็นประเทศแรก ๆ ที่ริเริ่มในการใช้อินเทอร์เน็ตของโลก แต่ 25 ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยพัฒนาไปได้ไกลแค่ไหน และอนาคตเราจะก้าวต่อไปอย่างไร นี่ก็คือสิ่งที่กลุ่มผู้ร่วมก่อตั้งอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนัก และผลักดันให้เกิดการจัดงาน “INET Bangkok 2013” ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย “นางสาวดวงทิพย์ โฉมปรางค์” ผู้บริหารอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ประเทศไทย หรือ ISOC บอกว่า ปกติงาน INET จะเป็นเวทีเสวนาวิชาการของชุมชนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกที่จัดขึ้นทุก 2 ปี แต่งาน INET Bangkok นี้ถือเป็นการจัดงาน INET ในระดับภูมิภาค ซึ่งแต่ละปีจะมีประเทศในแต่ละภูมิภาคที่มีศักยภาพเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้จัดงาน– ( 64 Views)
วิจัยพบแบคทีเรียต้านโรคใบไหม้มันสำปะหลัง
สถาบันแสงซินโครตรอน จับมือม.สุรนารี และม.ธรรมศาสตร์ วิจัยพบเชื้อแบคทีเรียต้านทานโรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดการใช้สารเคมี ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ปัญหาที่พบในการปลูกมันสำปะหลัง คือการเป็นโรคและถูกรบกวนจากแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคใบไหม้ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งทำลายและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในช่วงหน้าฝน มีแนวโน้มการระบาดมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเกษตรกรยังไม่ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเท่าที่ควร หากพบก็จะนิยมใช้สารเคมีกำจัดโรค ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค รวมถึงเกิดโรคดื้อสารเคมี – ( 109 Views)