การเปิดโปงความไร้ประสิทธิภาพของเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 ในประเทศไทยจะประสบความสำเร็จไม่ได้เลยหากไม่มีบุคคลที่ชื่อ ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยสไตล์การต่อสู้แบบเดินหน้าออกสื่อทุกแขนงโดยใช้ลีลา “กวนนิดๆ” อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์แบบเข้าใจง่ายๆ เพื่อ “จับโกหก” อุปกรณ์ที่ไม่ใช่เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้ประเด็น “จีที 200″ กลายเป็นข่าวดัง เมื่อปลายปี2552 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2553 กระทั่งหน่วยงานความมั่นคงทุกหน่วยในประเทศไทยต้องสั่งยุติการใช้อุปกรณ์ ชนิดนี้ในที่สุด– ( 65 Views)
ขุยมะพร้าวบำบัดน้ำเสีย
นักวิจัยใช้แสงซินโครตรอนตรวจสอบขุยมะพร้าว พบช่วยกรองโลหะหนักในน้ำเสียได้ หวังต่อยอดระดับอุตสาหกรรม ลดต้นทุนระบบบำบัดน้ำเสีย เพิ่มมูลค่าขุยมะพร้าวเหลือทิ้ง ศ. นาวาอากาศโท ดร. สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันแสงซินโครตรอน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า แสงซินโครตรอน เป็นแสงที่มีพลังงานและความเข้มแสงสูงกว่าแสงอาทิตย์ถึงล้านเท่า และครอบคลุมช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟาเรดจนถึงรังสีเอกซ์ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย อย่างเช่นในงานวิจัยดังกล่าวทางสถาบันฯ ร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี นำแสงซินโครตรอนมาศึกษากลไกการดูดซับโลหะนิกเกิลด้วยขุยมะพร้าว โดยใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ซึ่งจากผลการวิจัยจึงพบว่า โครงสร้างของขุยมะพร้าวมีประสิทธิภาพและสามารถดูดซับนิกเกิลได้ดี ซินโครตรอน พบขุยมะพร้าวกรองโลหะหนักได้ เล็งต่อยอดในการบำบัดน้ำเสียภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังสามารถชะล้างเอาโลหะนิกเกิลกลับคืนเพื่อนำไปใช้ใหม่ได้ โดยไม่ก่อให้เกิดของเสียอันตราย เนื่องจากขุยมะพร้าวสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ โดยผลการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมชุบโลหะในขั้นตอนการชุบนิกเกิลได้ ซึ่งในปัจจุบันใช้สารเคมีในการบำบัดและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ขุยมะพร้าวจัดเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ดังนั้นการค้นพบครั้งนี้จึงสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าของวัสดุทางการเกษตรในอนาคต ซึ่งล่าสุด ทางสถาบันฯ ได้ทำการลงพื้นที่ทดสอบขุยมะพร้าว เพื่อการบำบัดน้ำเสียกับโรงงานอุตสาหกรรมชุบโลหะ ในจังหวัดสมุทรปราการ – ( 73 Views)
MOU ไทย-มองโกเลีย ร่วมมือวิทย์-เทคโนฯ
ในโอกาสที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนประเทศมองโกเลียอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วม การประชุมระดับรัฐมนตรีของกรอบการประชุมประชาคมประชาธิปไตย (Community of Democracies-CD) ครั้งที่ 7 ที่เพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ได้มอบหมายให้นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เป็นผู้ลงนามในบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ราชอาณาจักรไทยร่วมกับกระทรวงศึกษาและวิทยาศาสตร์แห่งประเทศมองโกเลียว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายวรวัจน์เปิดเผยว่า บันทึกความตกลงดังกล่าวจะเป็น ประโยชน์ต่อการผลักดันความร่วมมือด้านวิทย์และเทคโนโลยีระหว่างไทย-มองโกเลีย ในด้านอาหาร เทคโนโลยี ชีวภาพ อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ นวัตกรรม และการวิจัย ด้านยา มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งเน้นถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงแลกเปลี่ยนนักวิชาการ การจัดสัมมนาและเวทีหารือ การจัด นิทรรศการผลงานด้านนวัตกรรม รายการอ้างอิง : MOU ไทย-มองโกเลีย ร่วมมือวิทย์-เทคโนฯ. โลกวันนี้. ฉบับวันที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.– ( 36 Views)
ถอดบทเรียน ‘หุบเขาอาหาร’ นำร่องสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลก
อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปมีความสำคัญต่อการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากผู้ผลิตสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตการเกษตร ผ่านกระ บวนการแปรรูปให้เป็นอาหารที่ผู้บริโภคต้องการ คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะมีความต้อง การบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นกว่า 150 เปอร์เซ็นต์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอาหารแปรรูปคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกถึง 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2556 และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ.2558 อย่างเต็มตัว– ( 132 Views)
เครื่องตรวจระเบิดใหม่แทน”จีที200″
ภายหลังถูกจับได้ว่า เครื่องตรวจหา ร่องรอยสสารระยะไกล หรือเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่รู้จักกันดีในนาม “จีที 200″ เป็นเพียงอุปกรณ์ลวงโลก กระทั่งหน่วยงานความมั่นคงทุกหน่วยรวมทั้งกองทัพต้องสั่งยุติการใช้เป็นการ ถาวรนั้น ทำให้หลายฝ่ายสงสัยว่าปัจจุบันมีการจัดซื้อเครื่องมืออะไรมาใช้ทดแทน และเครื่องมือ ที่ว่านี้มีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือเพียงใด– ( 170 Views)
ลำไยเสริมเทคโนโลยีครบวงจร
กระทรวงวิทย์ฯ พัฒนาเทคโนโลยีควบคุมคุณภาพ ผลผลิตลำไยหนุนส่งออกดันราคาพุ่ง นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวถึงผลการตอบรับ โครงการใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบริหารจัดการ ลำไยเพื่อการส่งออกว่า โครงการดังกล่าว กระทรวงวิทย์ฯ มีเทคโนโลยีรองรับโดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะรับหน้าที่ในการลงทะเบียนกลุ่มเกษตรกรทำให้ทราบว่า ในแต่ละปีมีปริมาณลำไยมากน้อยแค่ไหนและขายออกไปยังที่ใดบ้าง– ( 51 Views)
ของเล่นสื่อสารได้
ญี่ปุ่นมีอาซิโม แต่ไทยมี 3 พี่น้องช่าง-ช่างทำ-ช่างคุย เพื่อเด็กไทย ผลงานของ ผศ.ปัณรสี ฤทธิประวัติ มหาวิทยาลัยมหิดล แม้ว่าความล้ำสมัยและความเด่นดังจะต่างขั้วจาก “อาซิโม” สุดยอดหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ของฮอนด้า และ “คิวริโอ” หุ่นยนต์นักประชาสัมพันธ์ของโซนี่ แต่หุ่นยนต์สามพี่น้องจากมหาวิทยาลัยมหิดลในชื่อ “ช่างพูด ช่างคุย ช่างทำ” กำลังผนึกกำลังขึ้นแท่นขวัญใจคนใหม่ของเด็กไทย หุ่นยนต์สามพี่น้องมาพร้อมภารกิจที่จะช่วยฝึกการออกเสียงและทักษะการเข้าสังคมสำหรับเด็กออทิสติก ผลงานโดย “ผศ.ปัณรสี ฤทธิประวัติ” และทีมงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ชีวการแพทย์) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนร่วม 2 ล้านบาทจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) – ( 147 Views)
‘เอนไซม์ปลวก’ฟอกเยื่อกระดาษ
กรุงเทพฯ : ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สร้างชื่อให้แก่ประเทศไทยเมื่อผลงานวิจัย “เอนบลิช (Enzbleach) เอนไซม์ฟอกเยื่อกระดาษจากแบคทีเรียในลำไส้ปลวก” คว้ารางวัลเหรียญทอง สาขาพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 41 จัดขึ้นโดยรัฐบาล สวิตเซอร์แลนด์ร่วมกับองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก ทั้งนี้ เอนบลิชเป็นเอนไซม์ไซแลนเนสที่ได้จากแบคทีเรียในลำไส้ปลวกด้วยเทคนิคเมตาจี โนม โดยเอนไซม์ดังกล่าวสามารถทำงาน ในสภาวะเป็นด่างสูงได้ดี จึงนำไปใช้ในกระบวนการฟอกเยื่อกระดาษได้โดยไม่ต้องปรับค่า pH ของเยื่อกระดาษในกระบวนการฟอกเหมือน กับการใช้เอนไซม์ทางการค้าทั่วไป อีกทั้งช่วยลดการใช้พลังงาน สารเคมี และเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย รายการอ้างอิง : ‘เอนไซม์ปลวก’ฟอกเยื่อกระดาษ. โลกวันนี้. ฉบับวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 96 Views)
“ถังความคิด” พิชิตเอนิเมชันโลก
ผลงานเอนิเมชันเด็กไทยผงาด Asia Digital Art Award จากญี่ปุ่น เวทีนี้การันตีชัด “ไอเดีย” สำคัญกว่า “ซอฟท์แวร์” ภายหลังเก็บตัวอบรมในโครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนผู้มีความสามารถด้านเอนิเมชันสู่การแข่งขันระดับโลก ซึ่งบมจ. อลิลันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จับมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค สร้างสรรค์ขึ้น เราก็ได้กลุ่มเยาวชนระดับหัวกะทิที่มีฝีมือด้านเอนิเมชันไป “อวดศักดา” ในแข่งขันระดับสากล – ( 131 Views)
สวทช. ร่วมแรงร่วมใจลดการใช้พลังงานในช่วงวิกฤติแก๊สจากพม่า
เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา (๕-๑๔ เมษายน) เป็นช่วงวิกฤตพลังงานของประเทศ หน่วยงานทุกภาคส่วนได้ร่วมมือร่วมใจกันลดการใช้พลังงานไฟฟ้า พวกเราชาว สวทช. ก็ได้มีส่วนร่วมในครั้งนี้เช่นกัน ผลจากการที่พวกเราร่วมใจกันปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวเรามีปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวม ๗๐๘,๖๓๒ หน่วย (หรือกิโลวัตต์- ชั่วโมง)สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ถึง ๑๕๕,๐๔๙ หน่วย หรือลดลงร้อยละ ๑๘ ดูรายละเอียด รายการอ้างอิง : ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. วันที่ 26 เมษายน 2556.– ( 43 Views)