magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pensiri (Page 63)
formats

“ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ”หุ่นยนต์ไทยกระตุ้นเด็กออทิสติก

แม้ว่ากิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติกโดยพ่อแม่และผู้เชี่ยวชาญจะเป็น สิ่งที่ดีต่อเด็กพิเศษมากกว่า แต่ธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้มักกลัวการสื่อสารกับคนทั่วไปเพราะ “คาดเดายาก” จึงนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ “ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ” ซึ่งชวนเด็กพูด คุย ขยับปากและท่าทาง เพื่อเสริมพัฒนาการ และหวังต่อยอดสู่การเสริมพัฒนา “แม่ที่เจนีวาที่มีลูกเป็นออทิสติก มาดูเราแล้วก็ตื้นตันใจน้ำตาไหล” ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ จากภาควิชาวิศวกรรมการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงผลตอบรับหลังนำหุ่นยนต์ 3 ตัว คือ “ช่างพูด”, “ช่างคุย” และ “ช่างทำ” ไปจัดแสดงภายในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติครั้งที่ 41 (41 st  International Exhibition of Inventions of Geneva) ณ กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ช่างพูด, ช่างคุย และช่างทำ เป็นหุ่นยนต์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นมาเพื่อหวังกระตุ้นพัฒนาการของเด็กออทิสติ ก โดย ผศ.ดร.ปัณรสีอธิบายถึงหน้าที่ของหุ่นยนต์ช่างทำว่า ข้อสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ถึงความผิดปกติในเด็กออทิสติกคือเด็กมีอาการ ดังกล่าวเนื่องจากมีความเสียหายในเซลล์ประสาทที่เรียกว่า เซลล์กระจก (mirror neurones) การเลียนแบบท่าทางคนอื่น หรือคนอื่นเลียนแบบท่าทางของเด็กจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ดังกล่าวได้– ( 98

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักประดิษฐ์ไทยสร้างชื่อกระหึ่มโลกคว้ารางวัลระดับโลกจากสวิส

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนนักประดิษฐ์ในการนำผลงานประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการและประกวดผลงานในระดับโลกและระดับนานาชาติมาโดยตลอด เช่นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา นักประดิษฐ์ไทยสามารถคว้ารางวัลผลงานประดิษฐ์ระดับรางวัลกรังปรีซ์จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแล้ว ในปีนี้ วช. จึงได้นำนักประดิษฐ์และผลงานประดิษฐ์ เข้าร่วมแสดงนิทรรศการในงาน “41st International Exhibition of Inventions of Geneva”ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-14 เมษายนที่ผ่านมา ณ Palexpo กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส โดยการสนับสนุนของรัฐบาลสวิส (The Swiss Federal Government of the State, the City of Geneva) และองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก หรือ WIPO (The World Intellectual Proper ty Organization)มีนักประดิษฐ์จากภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาทั่วโลกเข้าร่วมประกวดผลงานกว่า 98 หน่วยงาน 14 องค์กร รวมผลงานประดิษฐ์มากกว่า 1,000

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทิศทางวิจัยใต้ปีก สวทช.ผลักดันสู่สังคมฐานความรู้

ดร.ทวีศักดิ์ บอกว่า ในช่วง 15 ปี แรกของการก่อตั้ง สวทช. เป็นช่วงเวลาบ่มเพาะงานวิจัย ซึ่งต้องยอมรับว่างานวิจัยแต่ละเรื่องต้องใช้เวลา เช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 10 ปี กว่าที่จะได้พันธุ์ที่เหมาะสมตลอดจนกระบวนการต่อยอดให้เกษตรกรนำไปใช้ หรือแม้แต่เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนที่แม้จะได้เชื้อต้นแบบมาแล้ว แต่ก็ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการวิเคราะห์ทดสอบ “การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง สร้างผลงานซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น งานวิจัยข้าวทนน้ำท่วม ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี ในการต่อยอดเพื่อนำไปใช้กับเกษตรกร หรือแม้แต่งานวิจัยวัคซีนเอง แม้จะวิจัยจนได้เชื้อมาแล้ว แต่กว่าจะทดสอบต้องใช้เวลา การจะนำใช้จริงในมนุษย์นั้น ต้องยืนยันความปลอดภัย ทำให้การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์มีจำนวนจำกัด” เขากล่าวยอมรับ แต่ในช่วง 5 ปีให้หลัง รูปแบบการวิจัยได้เปลี่ยนไปเป็นการต่อยอดงานวิจัยจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ เดิม ดร.ทวีศักดิ์ บอกว่า รูปแบบของงานวิจัยในปัจจุบันต่างจากในอดีตที่เน้นการวิจัยเชิงวิชาการ เพื่อสร้างฐานความรู้ แต่ปัจจุบันเริ่มมีการต่อยอดเทคโนโลยีจากการวิจัยร่วมกับภาคเอกชน ทั้งในลักษณะเป็นที่ปรึกษา ร่วมวิจัย และรับจ้างวิจัยให้กับภาคอุตสาหกรรม ภายใต้กลไกต่างๆ ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสนับสนุน เช่น โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือ iTAP  “ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าการทำวิจัยสมัยใหม่ เริ่มมีการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยี 2 ประเภท

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสลายตัวได้ในร่างกาย

ปัจจุบันวัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ที่สามารถสลายตัวได้ในร่างกายนั้นดู เหมือนว่าได้รับความสนใจในการนำมาใช้งาน ในกาวิเคราะห์และรักษาทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  เนื่องจากจากข้อดีคือ เมื่อสิ้นสุดหน้าที่ในการทำงานที่ได้รับการออกแบบมาแล้ว วัสดุและอุปกรณ์การแพทย์ดังกล่าว ก็สามารถสลายตัวหายไปจากร่างกายได้ ดูรายละเอียด รายการอ้างอิง : อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสลายตัวได้ในร่างกาย. วงการแพทย์ ( วัสดุอุปกรณ์การแพทย์). ฉบับวันที่ 01 – 15 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 28 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มือโดราเอมอน…ฝันที่เป็นจริง

หากให้เด็กๆ เอ่ยถึงตัวการ์ตูนที่เป็นขวัญใจของตัวเองออกมาสักตัวหนึ่ง หนึ่งในนั้นน่าจะมีแมวไร้หูที่ กลัวหนูจับใจอย่าง “โดราเอมอน” อย่างแน่นอนเพราะแม้แต่ผู้ใหญ่หลายคนก็ยังชอบดูการ์ตูนเรื่องนี้ อยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย ตัวโดราเอมอนเองมีหลายจุดที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นย่อมเป็น “กระเป๋าวิเศษ” ที่ล้วงหยิบเอาสารพัดของ วิเศษออกมาใช้ได้ “คอปเตอร์ไม้ไผ่” และ “ประตูที่ไหนก็ได้” ก็ช่างสะดวกสบาย และคนกรุงเทพฯ จำนวนมากคงอยากได้มากกว่ารถยนต์เสียอีก แต่แฟนการ์ตูนหลายคนอาจข้องใจว่าโดราเอมอนใช้มือรูปทรงกลมหยิบจับอะไรต่อมิอะไรได้อย่างไรกัน ดูช่างไม่น่าเป็นไปได้เลย แต่เรื่องเหลือเชื่อก็เกิดขึ้นแล้วเมื่อนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยชิคาโกร่วมกับทีมจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล และบริษัท ไอโรบอท (iRobot) ทำวิจัยแขนหุ่นยนต์ที่มีรูปทรงเหมือนกับแขนของโดราเอมอนอย่างไม่ผิดเพี้ยน งานวิจัยนี้ได้ขึ้นปกของวารสาร PNAS ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายปี2010ด้วย โดยในรูปจะเห็นมือหุ่นยนต์กำลังจับขอบแก้วน้ำเอียงเทเครื่องดื่มในแก้วออกมา – ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดู’เอสซีจีวีเจน’อาสายั่งยืนสร้างคนรุ่นใหม่ใส่ใจ’ดินเค็ม’

นานแค่ไหนไม่มีใครทราบที่ชาวบ้านใน ชุมชนทุ่งเมืองเพีย อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ต้องประสบปัญหาดินเค็ม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้ส่งผลให้การประกอบอาชีพการเกษตรมีผลผลิต ตกต่ำ หนำซ้ำพื้นที่บางแห่งก็ถูกทิ้งร้าง เนื่องจากปลูกพืชอะไรไม่ขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่ยอมละทิ้งถิ่นฐานไปหางานทำในเมืองใหญ่ปล่อยให้พ่อแม่อยู่ตาม ลำพัง บางคนถึงขั้นยอมขายที่ดินในราคาถูกเพื่อแลกกับเงินประทังชีวิตไปวัน ๆ แต่หลังจาก”เอสซีจี(SCG)”ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่ง ชาติ(ไบโอเทค)และ กรมพัฒนาที่ดิน ได้ร่วมกันนำองค์ความรู้และวิธีการแก้ปัญหาดินเค็มมาถ่ายทอดสู่ชุมชนเมื่อ ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น หลังสามารถนำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร– ( 111 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไมโครซอฟท์หนุนเด็กไทยชิงแชมป์ซอฟต์แวร์โลก

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ไมโครซอฟท์(ประเทศไทย)จำกัด ประกาศผลการแข่งขันโครงการ Imagine Cup Thailand 2013 ที่ได้ “ทีมไมร่า”(Myra) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีคว้ารางวัลชนะเลิศเป็นตัวแทนของประเทศไทยไปแข่งขันในโครงการ Imagine Cup ระดับโลก ณ เมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซียระหว่างวันที่ 8-11 กรกฎาคมนี้– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เปิดรับข้อเสนอทำแผนหุ่นยนต์แพทย์

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในโอกาส วท. เปิดตัวโครงการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูง โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์กรมหาชน) ศูนย์นาโนเทค สวทช. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์กรภาครัฐภาคเอกชนหลายแห่ง เพื่อพัฒนาระบบอัตโนมัติทางการแพทย์ หุ่นยนต์ เครื่องมือและชุดตรวจโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เนื่องจากมีการสำรวจพบว่า ไทยมีผู้สูงอายุอายุ 65 ปีขึ้นไปมากถึงร้อยละ 12.59 ถือว่ามากสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะที่มีผู้ดูแลลดลง และยังมีความต้องการคุณภาพในการบริการทางการแพทย์สูงขึ้น ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญของประเทศไทยในฐานะเป็นศูนย์กลางบริการทางด้านการ แพทย์ (Medical Hub) หากสามารถพัฒนาและผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติทางการแพทย์รวมทั้งเครื่อง มือวินิจฉัยและรักษาทางการแพทย์ได้เอง โดยจะเปิดรับและพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์หุ่นยนต์การ แพทย์ชั้นสูงต่อไป ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผอ.ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) กล่าวว่า นาโนเทค มีความร่วมมือในการทำระบบส่งยารักษาโรคเข้าสู่เป้าหมายจำเพาะ และยังสร้างระบบอัตโนมัติในการตรวจวินิจฉัยโรคโดยเฉพาะมะเร็ง อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะต้องให้การสนับสนุนจากความร่วมมือของหลายองค์กรควบคู่ กันไปในเชิงนโยบาย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการเพื่อการสร้างแผน นโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับประเทศด้วย รายการอ้างอิง : เปิดรับข้อเสนอทำแผนหุ่นยนต์แพทย์. ไทยรัฐ. ฉบับวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556.  –

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เซรามิก ไม่กลัวมืด

ราว 5 ปีที่แล้ว “เซรามิกา อิมเมจ” เปิดตัวด้วยการนำเข้าโนว์ฮาวการผลิตภาพถ่ายบนแผ่นกระเบื้องจากญี่ปุ่น มาใช้ในโครงการคัดลอกภาพจิตรกรรมไทยลงบนแผ่นเซรามิกด้วยเฉดสีและภาพที่ไม่ เพี้ยนไปจากต้นฉบับ ก็เพื่อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมบนฝาผนัง โนว์ฮาวดังกล่าวได้จุดพลุให้วงการเซรามิกไทยปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีสมัยใหม่ และตอกย้ำความสำคัญของนวัตกรรมอีกครั้งกับ “เซรามิกเรืองแสง” ผลงานรับกระแสประหยัดพลังงาน ที่เกิดจากความร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค)– ( 221 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลิกดินเค็มสู่นาข้าวอินทรีย์เส้นทางสู้ชีวิต ‘ระเบียบ สละ’

ใครจะไปนึกว่าผู้หญิงร่างเล็กวัยใกล้ 60 ที่อดทนดิ้นรนสู้ชีวิตในพื้นที่ดินเค็มปลูกอะไรไม่ขึ้นมาค่อนชีวิต จนสามารถเอาชนะความยากจน ด้วยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาปรับประยุกต์ใช้เพื่อ เป็นแบบอย่างให้ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงในฐานะ “ปราชญ์ชาวบ้าน” ด้านดินเค็มแห่งบ้านหนองนาบัว ต.หัวหนอง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแอ่งพื้นที่ดินเค็มมากที่สุดแห่งหนึ่งในภาคอีสาน กว่า 20 ปีที่ “ระเบียบ สละ” เกษตรกรบ้านหนองนาบัวที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนพลกผืนดินเค็มบนเนื้อที่ 15 ไร่เศษ มาเป็นผืนนาข้าวหอมมะลิ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสารอินทรีย์ โดยผ่านการสนับสนุนของ เอสซีจี และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ(ไบโอเทค) ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านดินเค็มอย่าง ดร.เฉลิมพล เกตุมณี คอยให้คำปรึกษาแนะนำ– ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments