เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ปัญหาพฤติกรรมของเด็กกับโรคร้ายในวัยโต เด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมอาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ ทั้งโรคหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน ตลอดจนโรคติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย – ( 60 Views)
สินสมรส รู้ไว้ก่อนปลอดปัญหาหลังแต่งงาน
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง สินสมรส รู้ไว้ก่อนปลอดปัญหาหลังแต่งงาน ผู้อ่านที่มีคู่ชีวิตในฐานะสามีภรรยาที่ “จดทะเบียนสมรส” ทุกคู่ควรรู้ ส่วนใครที่แม้จะแต่งงานกันเป็นที่รับรู้ของสังคมแต่ “ไม่ได้จดทะเบียนสมรส” ก็อ่านไว้เป็นความรู้รอบตัว เพราะว่าความไม่เข้าใจเรื่อง “กฎหมายสินสมรส” นี่เองที่ทำให้สามีภรรยาที่จดทะเบียน สมรสต้องมีเรื่องราวกันมานักต่อนักแล้ว เพราะยามรักกันดีมักไม่มีปัญหา แต่ปัญหาก็จะเกิดก็ต่อเมื่อชีวิตคู่เริ่มไม่ลงรอยกันและต้องการหย่านั่นเอง หรือไม่เรื่องทรัพย์สินก็กลายเป็นประเด็นให้เกิดการหย่าด้วยซ้ำไป รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57077– ( 42 Views)
โรคที่มากับหน้าฝนที่ทุกคนต้องระวัง
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง โรคที่มากับหน้าฝนที่ทุกคนต้องระวัง หน้าฝนมีสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยและมีความชื้นสูงเป็นช่วงที่โรคประจำฤดูฝนแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งหากคุณดูแลสุขภาพไม่ดีพอก็จะทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายๆ โรคที่คุ้นเคยกันดีสำหรับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เช่น โรคหวัด โรคน้ำกัดเท้า โรคมือเท้าปาก แต่ยังมีโรคอื่นๆ ที่ระบาดมากในหน้าฝนที่คุณควรทราบและต้องระวังอีกดังนี้ โรคที่ติดต่อทางน้ำและทางเดินอาหาร โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิล รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57082– ( 50 Views)
ออกจากกรงที่ขังตัวเอง
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง “ออกจากกรงที่ขังตัวเอง” จะว่าไปแล้ว… ปัญหาของคนในยุคนี้ก็คือ “มีข่าวสารข้อมูลมากเกินไป” จนไม่รู้จะจัดการกับมันอย่างไรดี ทุกวันนี้ข่าวสารข้อมูลมาจากทุกทิศทุกทาง แค่จากโทรทัศน์ซึ่งมีอยู่นับร้อยช่องก็เกินพอแล้ว นอกจากนั้นยังมีหนังสือพิมพ์และนิตยสาร มีเว็บไซต์นับสิบที่อยากอ่าน อีเมล์มากมายที่ต้องตอบ Twitter Facebook หลายเพจที่ต้องเปิด YouTube นับสิบคลิปที่ชวนดูโทรศัพท์ที่มาในรูปของเสียง SMS อีกด้วย ที่ว่านี้เฉพาะข่าวสารข้อมูลที่เราอยากรับรู้ ยังมีอีกมากที่เราไม่สนใจแต่ก็โผล่มาให้เห็นตามป้ายโฆษณานับร้อยๆ ในแต่ละวัน แล้วข้อมูลที่ต้องอ่านต้องเจอระหว่างการทำงานอีกล่ะ…ไม่ผิดหากจะพูดว่าคนทุกวันนี้กำลังถูกข้อมูลท่วมทับ วิธีหนึ่งที่จะช่วยทลายกรงขังดังกล่าวก็คือ การพยายาม “เปิดใจรับรู้ข่าวสารข้อมูลและความเห็นที่หลากหลาย” ด้วยการเข้าหาแหล่งข้อมูลที่มีจุดยืนหรือความเห็นไม่ตรงกับตนเองบ้าง ไม่ใช่เพื่อรู้ว่าเขาคิดอะไรเท่านั้น แต่เพื่อรับฟัง ไตร่ตรอง และเทียบเคียงกับข้อมูลที่ตนมี ในเวลาเดียวกันก็ควรขยายแวดวงผู้ที่ตนติดต่อสื่อสารให้กว้างขวางขึ้น รวมไปถึงคนที่คิดต่างจากเราด้วย เพื่อตรวจทานความเห็นของตน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57089– ( 43 Views)
กิน (พอ) ดี เพื่ออยู่พอดี
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง กิน (พอ) ดี เพื่ออยู่พอดี ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ เรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่เสมอ ไม่เพียงแต่เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อการอยู่รอดและสืบทอดเผ่าพันธุ์เท่านั้น แต่อาหารการกินยังมีบทบาทต่อทุกมิติชีวิตมาตั้งแต่อดีต เป็นกิจกรรมที่ทุกคนต้องทำเพื่อบำรุงร่างกายและสติปัญญา เป็นนัยสำคัญต่อการเลือกสถานที่ตั้งถิ่นฐาน เป็นปัจจัยเชื่อมโยงดินแดนคนละฟากโลกบนเส้นทางสายการค้า เป็นเครื่องแสดงความงดงามของวัฒนธรรมประเพณี เป็นแม้แต่เหตุผลในการก่อสงครามหรือปลดแอกประเทศสู่อิสรภาพ แต่ความจริงอันหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกประการหนึ่งคือ การกินเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทั้งต่อปัจเจกชนและสิ่งแวดล้อม แม้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำจะทำให้เราดูเหมือนอยู่ดีกินดี และสะดวกสบายในเรื่องการกินมากกว่าบรรพบุรุษที่ต้องออกล่าเหยื่อพร้อมหอกหรือหน้าไม้ แต่อาหารของคนรุ่นเรากลับมีคุณภาพด้อยกว่ามาก จากที่เคยมั่นใจว่าอาหารเป็นยา ทว่าในปัจจุบัน ด้วยระบบอุตสาหกรรมการผลิตอาหารทำให้ไม่แน่เสียแล้วว่าอาหารที่เรากินนั้นจะป้องกันและรักษาโรคได้ ในเมื่อมีความจริงอยู่ว่า อาหาร (ตลอดจนพฤติกรรมการกินของเรา) ในศตวรรษนี้ กลับเป็นต้นเหตุของโรคร้ายหลายชนิด รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57096– ( 56 Views)
วิลเลียม มอร์ตัน ผู้นำอีเทอร์มาใช้เป็นยาสลบ
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง วิลเลียม มอร์ตัน ผู้นำอีเทอร์มาใช้เป็นยาสลบ ในอดีตมีผู้คนมากมายต้องเสียชีวิตจากการเข้ารับการผ่าตัด สาเหตุก็เนื่องมาจากการทนพิษบาดแผลไม่ไหว และยังมีอีกหลายคนที่ยอมเสี่ยงทนทุกข์จากโรค เพื่อหลีกเลี่ยงการรักษาด้วยการผ่าตัด เนื่องจากไม่อยากเจ็บปวดและทนทรมานจากบาดแผลผ่าตัด เพราะสมัยก่อนนั้นยังไม่มีการใช้ยาสลบ เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บของผู้ป่วยนั่นเอง ความจริงจะว่าไปแล้ว “ยาสลบ” นับเป็นกุญแจสำคัญที่สุดในวิชาด้านการแพทย์ศัลยศาสตร์ โดยมีมากว่า 200 กว่าปีแล้ว ในยุคแรก ๆ นั้น แพทย์ได้ใช้ฝิ่น มอร์ฟีน แอลกอฮอล์รวมไปถึงวิธีการสะกดจิต เพื่อช่วยให้คนไข้เบี่ยงเบนให้คนไข้ลืมความเจ็บปวดจากการผ่าตัด ต่อมาจึงได้มีการใช้ “ก๊าซไนตรัสออกไซด์” หรือเรียกกันว่า “ก๊าซหัวเราะ” เนื่องจากสูดดมแล้วให้ความรู้สึกเคลิ้มสุขหรือครึ้มใจ แต่ใช่ว่าก๊าซไนตรัสออกไซด์นี้จะสามารถนำมาใช้เป็นยาสลบได้เป็นอย่างดีซะทีเดียว เพราะเนื่องจากประสิทธิภาพของมันไม่สามารถทำให้คนไข้หมดสติได้นาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ระหว่างการผ่าตัดจนกระทั่งมีผู้นำเอาสารเคมี อย่าง “อีเทอร์” มาใช้เป็นยาสลบ โดยผ่านทางวิธีการสูดดมเป็นครั้งแรกในการผ่าตัด นั่นก็คือ “วิลเลียม มอร์ตัน” (William T. G. Morton) ทันตแพทย์ชาวอเมริกัน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57230 – ( 60 Views)
ประวัติการค้นพบ “ฮอร์โมน”
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง ประวัติการค้นพบ “ฮอร์โมน” หากพูดถึง “ฮอร์โมน” เวลานี้เหล่าบรรดาวัยรุ่นทั้งหลายคงนึกถึงละครซีรีย์ชื่อดังอย่าง “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น” ละครซีรีย์ฮอตเกาะกระแสสังคม ผลิตโดยจีทีเอช และนาดาวบางกอก ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์จานดาวเทียมจีเอ็มเอ็มวัน ละครซีรีย์เรื่องนี้มีการนำเสนอเรื่องราวชีวิตของวัยรุ่น โดยตีแผ่ด้านมืดของชีวิตวัยรุ่นในสังคมยุคปัจจุบันอย่างชัดเจน โดยมีการนำเอาชื่อของฮอร์โมนต่าง ๆ มาใช้เปรียบเทียบและสะท้อนบุคลิกของตัวละครนั้น ๆ แต่ในความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์แล้ว ฮอร์โมนไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเราแค่ในเฉพาะวัยว้าวุ่นอย่างวัยรุ่นเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญเกี่ยวข้องต่อการเจริญเติบโตและใช้ชีวิตในทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เกิดจนกระทั่งแก่เฒ่าอีกด้วย แต่หากจะกล่าวถึงประวัติการค้นพบฮอร์โมนนั้นคงเริ่มจากการทดลองของ ศาสตราจารย์ อาร์โนลด์ เอ. เบอร์โทลด์ (Professor Arnold A. Berthold) นักสรีรวิทยาชาวเยอรมัน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57149– ( 78 Views)
การผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง การผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย วิธีการรักษาคนไข้ที่แพทย์ใช้รักษานั้นมีหลากหลายวิธี เริ่มจากการใช้สมุนไพร ยารักษาโรค การฉีดวัคซีนป้องกัน หรือแม้กระทั่งใช้วิธี “การผ่าตัด” หรือที่เรียกกันว่าการแพทย์ด้าน “ศัลยศาสตร์” ซึ่งเป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือการผ่าตัดเข้าในร่างกายของผู้ป่วย เพื่อค้นหาอาการหรือรักษาความผิดปกติของโรคหรืออาการบาดเจ็บ การผ่าตัด นับเป็นวิธีการที่แพทย์ใช้รักษาคนไข้ซึ่งมีวิวัฒนาการมายาวนาน รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้ว มนุษย์รู้จักการผ่าตัดมานานกว่า 6500 ปีแล้ว โดยมีการค้นพบหลักฐานการใช้เครื่องมือโบราณเพื่อเจาะกระโหลกศีรษะทั้งสองข้างให้เป็นรู เรียกวิธีการนี้ว่า ทรีแพนนิ่ง (Trepanning) ซึ่งเชื่อว่าสามารถรักษาโรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก ปวดศีรษะ ไมเกรน และโรคทางจิตเวชได้ โดยมีการขุดพบโครงกระดูกโบราณที่มีการเจาะกระโหลก ทั้งในยุโรป เอเชีย และชาวอินเดียนแดง รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57358– ( 55 Views)
ขาวๆ ด่างๆ กับ โรโดดีนอล
เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง ขาวๆ ด่างๆ กับ โรโดดีนอล (RHODODENOL) จากข่าวการเรียกคืนสินค้าของบริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางยี่ห้อ คาเนโบ (Kanebo) ในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ปรับผิวขาวกระจ่างใสดังกล่าวอาจผสมสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ 4-HPB หรือโรโดดีนอล (RHODODENOL) จาก 10 ประเทศทั่วเอเชีย โดยอาการแพ้ที่เกิดขึ้นจะทำให้ผิวหน้าเกิดรอยด่างหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57435– ( 56 Views)