magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 14)
formats

นักวิทย์จับตาดูกิจกรรมในเซลล์สมองได้แล้ว

Published on August 22, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง นักวิทย์จับตาดูกิจกรรมในเซลล์สมองได้แล้ว นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการใช้โปรตีนที่ผ่านกระบวนการพันธุวิศวกรรมเพื่อตรวจดูกิจกรรมทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในเซลล์สมองของสิ่งมีชีวิตอย่างแมลงวันได้แล้ว ผลงานวิจัยจากโครงการ Brain Research through Advancing Innovative Neurotechnologies (BRAIN) Initiative นี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Cell โดยเผยว่า โปรตีนดังกล่าวอาจจะนำไปใช้ในการศึกษากิจกรรมของเซลล์สมองของสัตว์หลายๆ ชนิดได้ ตลอดจนศึกษาว่า ความผิดปกติทางประสาทไปรบกวนการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทปกติอย่างไร เซลล์สมองจะใช้กระแสไฟฟ้าในการควบคุมความคิด การเคลื่อนไหว และความรู้สึก นับตั้งแต่เมื่อ ดร.ลุยจิ กัลวานี่ สามารถใช้การกระตุ้นไฟฟ้าทำให้กบขยับขาได้ นักวิทยาศาสตร์ก็พยายามจะศึกษากิจกรรมทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทเพื่อให้เข้าใจให้ได้ว่าเซลล์ประสาทมีความเกี่ยวข้องกับการขยับขาของกบได้อย่างไร รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447317– ( 76 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยสาเหตุยุคน้ำแข็งต้องมีวัฏจักร 100,000 ปี

Published on August 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยสาเหตุยุคน้ำแข็งต้องมีวัฏจักร 100,000 ปี ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีคำอธิบายที่แน่ชัดว่าเหตุใดจึงเกิดยุคน้ำแข็งทุกๆ 100,000 ปี ล่าสุด นักวิจัยได้ใช้คอมพิวเตอร์จำลองการเกิดยุคน้ำแข็งขึ้นมา โดยใส่ทั้งปัจจัยแสงแดดที่ผันผวน อิทธิพลของเปลือกทวีป และสภาพอากาศลงไปด้วย ยุคน้ำแข็งและยุคอบอุ่นเป็นวัฏจักรของโลกที่เกิดขึ้นสลับกันไป โดยที่โลกจะเย็นอยู่ทุกๆ 100,000 ปี ทำเอาพื้นที่ตามอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย จมอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งหนา แต่เมื่อเข้าสู่อีกครึ่งของวัฏจักร โลกก็จะอุ่นขึ้นและน้ำแข็งจะละลาย นักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศพบว่าวงจรนี้จะครบรอบ 100,000 ปี โดยมีหลักฐานสนับสนุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตะกอนน้ำแข็ง ตะกอนก้นทะเล น้ำแข็งจากมหาสมุทรอาร์คติค แต่ก่อนหน้านี้ก็ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ดีพอได้ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447320– ( 38 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หูเทียมชนิดใหม่ที่ดีกว่าเดิม

Published on August 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง หูเทียมชนิดใหม่ที่ดีกว่าเดิม จากดวงตาเทียมไปจนถึงแขนขาเทียม เหล่าแพทย์ได้ฝันถึงวิธีต่างๆ มากมายที่จะแทนที่ชิ้นส่วนของร่างกายมนุษย์เมื่อยามเกิดเหตุจำเป็น ในตอนนี้พวกเขาสามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในรายชื่ออวัยวะเทียมได้แล้ว นั่นก็คือหูเทียมที่มีความยืดหยุ่นเหมือนของจริงจากเซลล์กระดูกอ่อนที่ถูกปลูกถ่ายลงบนโครง Titanium เทคนิคใหม่ดังกล่าวซึ่งได้ถูกอธิบายไว้ในวารสาร Royal Society Interface ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้นเป็นเทคนิคดีกว่าความพยายามดัดแปลงเนื้อเยื่อด้วยวิธีการทางวิศวกรรมที่ผ่านมา และสามารถแทนที่วิธีการใช้แพทย์ผ่าตัดศัลยกรรมพลาสติก หลายคนในการสร้างรูปทรงหูขึ้นมาจากก้อนกระดูกอ่อนซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมากได้ด้วย โดยกระบวนการดังกล่าวนั้นสามารถนำไปใช้กับคนไข้ที่ต้องสูญเสียหูไปข้างหนึ่งหรือกับเด็กที่มีภาวะ Microtia หรือการก่อรูปของหูที่ผิดปกติ นักวิศวกรรมชีวภาพ Tom Cervantes ผู้ซึ่งประจำอยู่ที่ Massachusetts General Hospital ระหว่างทำการวิจัยกล่าว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447323– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การขาดความรับผิดชอบชั่วดีอาจทำให้สุขภาพเสื่อมและเป็นโรคอ้วน

Published on August 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การขาดความรับผิดชอบชั่วดีอาจทำให้สุขภาพเสื่อมและเป็นโรคอ้วน ผลลัพธ์จากการศึกษาระยะยาวแสดงให้เห็นว่าเด็กๆ ที่แสดงถึงระดับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ต่ำ (อย่างเช่นความขาดความรับผิดชอบ ความไม่ใส่ใจ และความขี้เกียจ) นั้นอาจจะทำให้ต้องเผชิญกับสุขภาพโดยรวมที่ย่ำแย่และโรคอ้วนเมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้ งานวิจัยจาก Oregon Research Institute (ORI) ได้สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกในวัยเด็กกับสุขภาพเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ และยังแสดงถึงความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ดี และสุขภาพเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่อีกด้วย นักวิทยาศาสตร์จาก ORI ชื่อ Sarah Hampson และเพื่อนร่วมงานของเธอจากศูนย์สุขภาพ Kaiser Permanente ที่ฮาวายได้รายงานการค้นพบดังกล่าวในวารสาร Health Psychology ในเดือนสิงหาคม ซึ่งไม่นานมานี้เธอได้เป็นผู้อภิปรายเรื่องสุขภาพและบุคลิกที่งานประชุมของ American Psychological Association ในเมืองโฮโนลูลู รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447327– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ใช้ยาสองชนิดรวมกันอาจรักษามะเร็งได้

Published on August 15, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ใช้ยาสองชนิดรวมกันอาจรักษามะเร็งได้ งานวิจัยใหม่จากมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ดเผยว่า การใช้ยาสองชนิดรวมกันภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง อาจจะช่วยรักษาโรคบางประเภทได้ในอนาคต เช่น โรคมะเร็ง   งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ eLife แล้ว โดยศาสตราจารย์มาร์ติน โนวัค ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์และชีววิทยาและผู้อำนวยการโครงการเพื่อพลวัติเชิงวิวัฒนาการ และ ดร.อิวานา โบซิค นักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ผู้แต่งร่วม ได้แสดงให้เห็นว่า ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง การใช้ยาสองชนิดในการรักษาที่เป้าหมาย เช่นในกรณีนี้คือการหยุดการเจริญและแพร่กระจายของมะเร็ง ก็อาจจะสามารถรักษาโรคมะเร็งได้เกือบทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่างานวิจัยนี้จะไม่ใช่การวิจัยเพื่อรักษามะเร็งโดยตรง แต่ศาสตราจารย์โนวัคก็เชื่อว่า น่าจะปูทางให้นักวิจัยและผู้ป่วยมีความหวังมากขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447224– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยี Biometric กับหน้าจอสัมผัสที่สามารถจดจำลายนิ้วมือได้

Published on August 15, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เทคโนโลยี Biometric กับหน้าจอสัมผัสที่สามารถจดจำลายนิ้วมือได้ หน้าจอสัมผัสชนิดใหม่ที่สามารถระบุผู้ใช้งานได้ผ่านลายนิ้วมือนั้นกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้จะสามารถมอบนิยามใหม่กับความปลอดภัยในระบบออนไลน์ รวมถึงวิธีที่เราใช้งานคอมพิวเตอร์ในที่สาธารณะด้วยเทคโนโลยีหน้าจอสัมผัสในตอนนี้นั้นปล่อยแสงออกมาแต่ไม่สามารถรับรู้ถึงการมีอยู่ของแสงได้ ซึ่งทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะจดจำลายนิ้วมือของผู้ใช้งานเว้นเสียแต่ว่าจะมีตัวเซ็นเซอร์ต่างหากถูกติดตั้งเพิ่มลงไปในหน้าจอ ซึ่งสองนักวิจัย Christian Holz และ Patrick Baudisch จาก Hasso Plattner Institute ที่เยอรมันต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงมัน รุ่นทดลองที่พวกเขาสร้างขึ้นในหน้าจอแก้วที่มีขนาดเท่ากับแทบเบล็ตขนาดใหญ่ ซึ่งภายในบรรจุไปด้วยเส้นใยแก้วนับล้านรวมอยู่ด้วยกัน เส้นใยแต่ละเส้นนั้นจะปล่อยแสงสว่างออกจากภาพที่ถูกฉายอยู่ข้างใต้หน้าจอ ในขณะเดียวกันก็ยิงแสงอินฟราเรดออกไปเพื่อให้สะท้อนนิ้วมือกลับมาที่กล้องอินฟาเรด  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447231– ( 68 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยสาเหตุบรรยากาศแสนบางของดาวอังคาร

Published on August 15, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยสาเหตุบรรยากาศแสนบางของดาวอังคาร งานวิจัยสองฉบับใหม่เผยถึงการวัดองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศของดาวอังคารจากยานแล่นบนดวงจันทร์คิวริออสซิตี้ขององค์การนาซา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบรรยากาศช่วงแรกๆ ของดาวอังคารมามากมาย เครื่องมือที่ชื่อ Sample Analysis at Mars (SAM) อันเป็นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการที่ติดตั้งไปกับยานคิวริออสซิตี้นั้นได้วัดแก๊สและไอโซโทปปริมาณมากจากตัวอย่างที่ได้จากบรรยากาศของดาวอังคาร ไอโซโทปเป็นธาตุทางเคมีที่มีน้ำหนักอะตอมที่ไม่เหมือนอะตอมปกติเพราะมีนิวตรอนมากกว่า เช่น คาร์บอนส่วนใหญ่จะเป็นคาร์บอน-12 ขณะที่ไอโซโทปที่นักกว่าจะเป็นคาร์บอน-13 SAM ได้ตรวจสอบอัตราส่วนระหว่างไอโซโทปที่หนักต่อไอโซโทปที่เบาของคาร์บอนและออกซิเจนในคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร และพบว่า บรรยากาศชั้นบางๆ ของดาวอังคารจะอุดมไปด้วยไอโซโทปของคาร์บอนและออกซิเจนที่หนัก หลักฐานนี้ไม่ได้บอกถึงแค่การสูญเสียชั้นบรรยากาศเริ่มต้นสมัยดวงดาวก่อตัวขึ้น แต่ยังเป็นสิ่งที่จะบอกได้ต่อไปด้วยว่า การสูญเสียชั้นบรรยากาศนั้นเกิดขึ้นอย่างไรด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447228– ( 62 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ทำไมอากาศร้อนๆ มักทำให้ไฟดับ

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ทำไมอากาศร้อนๆ มักทำให้ไฟดับ เหตุใดโครงข่ายไฟฟ้านั้นถึงอ่อนไหวต่ออุณหภูมิที่สูงนัก ที่จริงแล้วคำตอบนั้นไม่ได้ยากเลย อย่างแรกก็คือเพราะว่าเราชอบใช้เครื่องปรับอากาศของเราเป็นอย่างมาก และเครื่องปรับอากาศพวกนี้นั้นก็มีความต้องการพลังงานสูง ข้อสองก็คือพลังงานนั้นถูกสร้างขึ้นจากเพียงไม่กี่แห่งภายในประเทศเท่านั้น แต่บริษัท โรงงาน และบ้านเรือนต่างๆ ที่ติดเครื่องปรับอากาศนั้นกลับมีอยู่ทั่วทั้งประเทศ – ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การบริโภคไข่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคอเลสเตอรอลสูงในวัยรุ่น

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การบริโภคไข่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคอเลสเตอรอลสูงในวัยรุ่น ถึงแม้ว่าในปลายศตวรรษที่ 20 ผู้คนยังคงเชื่อกันว่าการบริโภคไข่มากกว่าสองฟองต่อสัปดาห์จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้น แต่เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญทำการพิสูจน์แล้วว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง ในขณะนี้การศึกษาครั้งใหม่ได้ค้นพบว่าการบริโภคไข่มากกว่าสองฟองไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงขึ้น โดยการศึกษานี้ พวกเขาไม่ได้คำนึงถึงการออกกำลังกายและการออกแรงทำกิจกรรมต่างๆ ของวัยรุ่นว่ามากน้อยแค่ไหน การศึกษาครั้งใหม่ นำโดยคณะวิจัยของมหาวิทยาลัยกรานาดา (University of Granada) พวกเขาวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคไข่ในวัยรุ่นและปัจจัยหลักที่เสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (Cardiovascular diseases) อาทิเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับไขมัน ปริมาณไขมันในร่างกายที่เกิน ความต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินและความดันเลือดสูง เป็นต้น  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447242– ( 31 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สารเคมีในร่างกายที่ช่วยฟื้นฟูเซลล์

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง สารเคมีในร่างกายที่ช่วยฟื้นฟูเซลล์ ในร่างกายของเรามีสารเคมีอยู่มากมาย รู้หรือไม่ว่า ในสารเคมีเหล่านั้น มีสารอยู่ตัวหนึ่งที่สามารถฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ และเพิ่มความเร็วในการรักษาบาดแผล สารเคมีที่ว่านั่นก็คือ Epoxyeicosatrienoic acids (EETs) Epoxyeicosatrienoic acids (EETs) ถูกสังเคราะห์จาก arachidonic acid ในวัฎจักร cytochrome P450 epoxygenase มีบทบาทต่อการทำงานของระบบหลอดเลือดและหัวใจ นอกจากนั้น Dipak Panigrapy นักวิจัยจาก Harvard Medical School เมือง Boston ยังได้ค้นพบความสำคัญของ EETs ในแง่ของการซ่อมแซม/ฟื้นฟูเซลล์ได้อีกด้วย Dipak Panigrapy ได้ทำการทดลองฉีด EETs เข้าไปในหนูที่เพิ่งถูกผ่าตัดเอาปอดและบางส่วนของตับออกไป ผลปรากฎว่า 4 วันหลังจากนั้นพบว่า ปอดของหนูมีการฟื้นตัวและสร้างเนื้อเยื่อใหม่เพิ่มมากขึ้นถึง 23 % จากที่มีอยู่เดิม และมีการสร้างเนื้อเยื่อตับเพิ่มมากถึง 46% เมื่อเทียบกับหนูที่ถูกฉีดแบบหลอกๆ แทน ทีมวิจัยยังแสดงผลของ ความเข้มข้นของ EET ในเลือดของผู้บริจาคตับหลังจากการผ่าตัดว่า

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments