magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 15)
formats

การออกแบบด้วยแนวคิดทางชีวภาพช่วยสร้างหน้าต่างที่มีประสิทธิภาพทางพลังงาน

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การออกแบบด้วยแนวคิดทางชีวภาพช่วยสร้างหน้าต่างที่มีประสิทธิภาพทางพลังงาน ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรม Ben Hatton ของ University of Toronto นั้นกำลังหันไปพึ่งธรรมชาติเพื่อหาวิธีที่จะทำให้หน้าต่างนั้นมีประสิทธิภาพทางพลังงานที่สูงขึ้น ในบทความที่ถูกตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ในวารสาร Solar Energy Materials & Solar Cells นั้น ศาสตราจารย์ Hatton และเพื่อนร่วมงานของเขาที่ Harvard University นั้นได้อธิบายถึงกระบวนการใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับการลดทอนการสูญเสียความร้อนในระหว่างฤดูหนาวและทำให้ตัวอาคารนั้นเย็นขึ้นในฤดูร้อน โดย “วิธีการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากชีวภาพในการควบคุมอุณหภูมิเพื่อการทำความเย็นและความร้อนของพื้นผิวหน้าต่างในอาคาร” ได้ขอให้มีการติดแผ่นยางยืดยุ่นแบบใสลงบนแผ่นกระจกแบบปกติที่ใช้กันในปัจจุบัน แผ่นยางดังกล่าวนั้นถูกทำขึ้นด้วย  Polydimethylsiloxane (PDMS) นั้นจะมีร่องสำหรับน้ำอุณหภูมิห้องไหลผ่าน โดยเทคนิคดังกล่าวได้ช่วยทำให้ลดความร้อนได้ 7-9 องศาเซลเซียสในการทดลองภายใต้สภาวะของห้องทดลอง อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพทั้งในขนาดเล็กและขนาดใหญ่อีกด้วย  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447284– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มลภาวะจากธูปทำให้ปอดติดเชื้อได้

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง มลภาวะจากธูปทำให้ปอดติดเชื้อได้ การจุดธูป ประเพณีที่เป็นนิยมในหลายๆ ที่บนโลกนั้นสร้างมลภาวะภายในบ้านที่อาจทำให้เกิดการอักเสบในเซลล์ปอดได้ อ้างอิงจากคำกล่าวของนักวิจัยที่ Gillings School of Global Public Health ที่ University of North Carolina ที่เมือง Chapel Hill มลพิษทางอากาศภายในบ้านนั้นเป็นปัญหาระดับนานาชาติให้ความกังวลอยู่ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ไว้ว่าคนกว่า 1 ล้านรายต่อปีได้เสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โดยสาเหตุหลักนั้นเป็นเพราะการเผชิญกับมลพิษอย่างเตาอาหาร ซึ่งการจุดธูปนั้นทำให้เกิดมลพิษคล้ายคลึงกัน โดยรวมไปถึง Carbon Monoxide ด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447287– ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เจ้าโลมากับชื่อเฉพาะของตัวเอง

Published on August 11, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เจ้าโลมากับชื่อเฉพาะของตัวเอง “ปลาโลมา” เป็นที่โปรดปรานของทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่ เนื่องด้วยความฉลาดแสนรู้ของพวกเขา เจ้าโลมานั้นพวกเรามักจะเรียกกันจนติดปากว่า “ปลาโลมา” และถึงแม้พวกเขาจะอยู่ในไฟลัมเดียวกับปลา (Phylum Chordata) แต่ความจริงแล้วพวกเขามีบางสิ่งที่ต่างออกไป ปลาโลมา ไม่ใช่ปลาอย่างที่พวกเราคิด พวกเขาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งที่อยู่ในอันดับเดียวกับวาฬ (ออเดอร์ซีทาเซีย / Order Cetacea) และปลาโลมานี้จัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน   (Odontoceti)  เท่านั้น  เสียงร้องของโลมาเป็นเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง เวลาพวกเขาเปล่งเสียงร้องออกมาจะมีจังหวะเฉพาะของพวกเขาเอง ซึ่งนั่นทำให้นักวิจัยเกิดความสนใจใคร่รู้ว่าความแตกต่างของระดับของเสียงที่เปล่งออกมานั้นส่งผลอะไรบ้าง ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า เจ้าโลมาสัตว์แสนรู้นี้มีชื่อเฉพาะตัวเป็นของตัวเองและพวกเขาจะขานรับเมื่อได้รับสัญญาณเรียกจากเพื่อนในฝูงด้วย ซึ่งการขานเรียกชื่อนี้ ผู้ที่ทำการเรียกจะส่งเสียงเป็นคลื่นความถี่สูงออกไป ซึ่งแน่นอนว่ามีความแตกต่างกันไปในแต่ตัว เราสามารถเรียกปลาโลมาได้ด้วยการเป่านกหวีดที่มีเสียงแหลมสูงและรอการตอบรับจากพวกเขา รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที http://vcharkarn.com/vnews/447293– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ก้าวไปอีกขั้นกับแบตเตอรี่กราฟีน

Published on August 10, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ก้าวไปอีกขั้นกับแบตเตอรี่กราฟีน   นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโมแนชได้สร้างแหล่งเก็บพลังงานรุ่นใหม่โดยการใช้กราฟีน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่เก็บไฟไว้ใช้ได้เป็นเวลานาน   ศาสตราจารย์ ดัน ลี แห่งภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยโมแนช ได้วิธีการใหม่ที่จะสร้างซูเปอร์คาปาซิเตอร์ (SC) หรือตัวเก็บประจุยิ่งยวดจากกราฟีน ที่จะทำให้นำไปสร้างเป็นแหล่งเก็บพลังงานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสำหรับแบตเตอรี่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา หรือรถยนต์ไฟฟ้า โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Science แล้ว โดยทั่วไปนั้น SC คือวัสดุที่อุดมไปด้วยคาร์บอนที่มีรูพรุนมากๆ โดยมีอิเล็กโตรไลต์เหลวที่สามารถขนส่งประจุอิเล็กตรอนได้ SC มีข้อดีในเรื่องการระยะเวลาการเก็บประจุที่แทบจะไม่จำกัดและสามารถประจุใหม่ได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที แต่ข้อเสียคือ การเก็บพลังงานเมื่อเทียบกับปริมาตรถือว่าค่อนข้างต่ำ หรือที่เรียกว่า ค่าความหนาแน่นพลังงานที่ต่ำนั่นเอง โดยมีค่าอยู่ที่ 5-8 วัตต์ต่อลิตรเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า SC มีขนาดใหญ่เทอะทะเกินไปและจะต้องนำไปประจุไฟบ่อยมากเพื่อนำมาใช้ใหม่ ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ลีจึงได้สร้าง SC ที่สามารถเก็บพลังงานได้ถึง 60 วัตต์ต่อลิตร ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด และสูงกว่า SC ที่มีขายในท้องตลาดตอนนี้ถึง 12 เท่า รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447300– ( 115 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จากโพสต์น่าอายบนเฟซบุ๊คไปจนถึงทวีตอันฉาวโฉ่

Published on August 10, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง จากโพสต์น่าอายบนเฟซบุ๊คไปจนถึงทวีตอันฉาวโฉ่ : เหตุใดผู้บริโภคถึงเปิดเผยข้อมูลมากเกินพอดีบนโลกออนไลน์ การเพิ่มขึ้นของการใช้งานเทคโนโลยีสื่อสารแบบดิจิตอลนั้นกำลังเป็นเหตุให้ผู้บริโภคจำนวนมากเริ่มจะสูญเสียการยับยั้งชั่งใจหรือการควบคุมตนเองและทำการ “แบ่งปันมากเกินไป” ในโลกออนไลน์ ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นใหม่ในวารสาร Journal of Consumer Research “การแบ่งปันในตัวของมันเองนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย แต่ผู้บริโภคในตอนนี้นั้นมีโอกาสอย่างไม่จำกัดที่จะแบ่งปันความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และรูปภาพต่างๆ หรือโปรโมตตัวเองหรือภาพลักษณ์ของตัวเองบนโลกออนไลน์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆก็ยังช่วยให้เราทำการแบ่งปันได้ง่ายและกว้างขวางยิ่งขึ้นมากกว่าแต่ก่อนด้วย” ผู้เขียนงานวิจัย Russell W. Belk จาก York University กล่าว – ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระดับ Testosterone ที่ลดลงอาจทำให้ผู้ชายเป็นโรคพาร์กินสันได้

Published on August 10, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ระดับ Testosterone ที่ลดลงอย่างกะทันหันนั้นอาจจะทำให้คุณผู้ชายเป็นโรคพาร์กินสันได้ ผลของงานวิจัยชิ้นใหม่จากนักวิจัยด้านประสาทวิทยาที่ Rush University Medical Center ได้แสดงให้เห็นว่าการลดลงอย่างกะทันหันของระดับฮอร์โมน testosterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายนั้นอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคพาร์กินสันในหนูตัวผู้ได้ ซึ่งการค้นพบดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Biological Chemistry เมื่อไม่นานมานี้ อุปสรรคขนาดใหญ่อย่างหนึ่งสำหรับการคิดค้นตัวยาสำหรับโรคพาร์กินสันนั้นก็คือยังไม่มีโมเดลในสัตว์ที่สามารถเชื่อถือได้ในตอนนี้ “ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ได้ลองใช้พิษหลากหลายชนิด รวมถึงวิธีการทางพันธุกรรมอันซับซ้อนต่างๆ มากมายเพื่อที่จะจำลองโมเดลของโรคพาร์กินสันในหนูขึ้นมา เราได้พบว่าการลดลงอย่างกะทันหันของระดับ Testosterone ภายหลังการทำหมันนั้นเพียงพอที่จะทำให้เกิดอาการของโรคพาร์กินสันในหนูตัวผู้ได้แล้ว” ดร. Kalipada Pahan ผู้นำการวิจัยกล่าว “เราพบว่าการป้อนฮอร์โมน Testosterone กลับเข้าไปในตัวหนูผ่านเม็ดยาชนิด dihydrotestosterone  5 เม็ดสามารถทำให้อาการของโรคในหนูตัวผู้นั้นหายไปได้”  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447255– ( 89 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผู้หญิงยิ่งสูงยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็ง

Published on August 10, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง  ผู้หญิงยิ่งสูงยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็ง ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ยิ่งสูงยิ่งมีความเสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Epidemiology, Biomarkers & Prevention ของสมาคมวิจัยมะเร็งอเมริกันแล้ว   ความสูง มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งไต มะเร็งรังไข่ มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งต่อมไทรอยด์ รวมทั้งโรคเนื้องอกไขกระดูกและมะเร็งผิวหนังด้วย ข้อมูลจากการศึกษานี้ได้มาจากหญิงวัยหมดประจำเดือน 20,928 ราย ที่ดึงมาจากฐานข้อมูลสุขภาพผู้หญิงที่ได้จาก Women’s Health Initiative (WHI) อีกที “เราแปลกใจที่ว่า จำนวนการเกิดมะเร็งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสูง และจากข้อมูลชุดนี้ มะเร็งมีความเกี่ยวข้องกับความสูงมากกว่าค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อีกนะ” ดร.กอฟฟรี่ย์ คาบาต แห่งภาควิชาระบาดวิทยาและสาธารณสุข วิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มหาวิทยาลัยเยชิวา นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เผย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447259– ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นอนไม่หลับอาจต้องโทษดวงจันทร์

Published on August 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง นอนไม่หลับอาจต้องโทษดวงจันทร์ หลายคนอาจจะบ่นว่า นอนไม่ค่อยหลับในคืนพระจันทร์เต็มดวง ล่าสุด มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร งานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Current Biology แล้ว โดยชี้ด้วยว่า มนุษย์ยังคงตอบสนองต่อจังหวะทางธรณีฟิสิกส์จากดวงจันทร์อยู่ แม้จะมีวัฒนธรรมที่ศิวิไลซ์แล้ว เป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า นาฬิกาวงจรแสงจันทร์  ”ดูเหมือนว่าวงจรแสงจันทร์จะมีอิทธิพลต่อการนอนหลับของมนุษย์ ไม่เกี่ยวกับว่าคนๆ นั้นจะมองเห็นดวงจันทร์ในขณะนอนหลับ หรือรู้เกี่ยวกับเฟสของดวงจันทร์หรือไม่” คริสเตียน คาโวเค่นแห่งโรงพยาบาลจิตเวช มหาวิทยาลัยบาเซิล เผย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447262– ( 66 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

N-Fix เทคโนโลยีดึงเอาไนโตรเจนในอากาศมาใช้กับพืชผล

Published on August 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง N-Fix : เทคโนโลยีดึงเอาไนโตรเจนในอากาศมาใช้กับพืชผล มหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮมคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้พืชผลทางการเกษตรสามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ได้ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยที่แพงและทำลายสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป กระบวนการตรึงไนโตรเจนในอากาศ เป็นกระบวนการเปลี่ยนไนโตรเจนเป็นแอมโมเนีย เป็นกระบวนการที่สำคัญต่อการอยู่รอดและเจริญเติบโตของพืช แต่อย่างไรก็ตาม มีพืชน้อยชนิดมาก (ส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลถั่ว) ที่สามารถตรึงออกซิเจนในอากาศมาใช้ได้โดยมีแบคทีเรียตรึงในโตรเจนช่วย ส่วนพืชส่วนใหญ่นั้นต้องหาไนโตรเจนจากในดิน จนวงการเกษตรกรรมจึงต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสังเคราะห์เข้ามาช่วย ศาสตราจารย์เอ็ดเวิร์ด ค็อกกิ้ง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการตรึงไนโตรเจนของพืชผล มหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษ จึงได้พัฒนาวิธีการใหม่สำหรับการใส่แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนเข้าไปในเซลล์รากของพืช รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447265– ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การออกกำลังกายช่วยปรับการทำงานของสมองให้ผ่อนคลาย

Published on August 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การออกกำลังกายช่วยปรับการทำงานของสมองให้ผ่อนคลายจากความตึงเครียด คณะวิจัยกลุ่มหนึ่งจาก Princeton University ได้รายงานว่า การออกกำลังกายจะปรับระบบของสมองที่มีหน้าที่ตอบสนองต่อความเครียดให้ลดลงและความวิตกกังวลที่มีส่วนรบกวนการทำงานของสมองในสภาวะปกติให้น้อยลงได้ คณะนักวิจัยได้รายงานไว้ในวารสาร Journal of Neuroscience ว่าหนูทดลองที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพวกมันเผชิญกับความเครียด (ในที่นี้คือ การปล่อยลงในน้ำเย็น) สมองของพวกมันได้แสดงจุดจุดหนึ่งในเซลล์ประสาทที่สามารถระงับความตื่นกลัวได้ ซึ่งอยู่ในส่วน Ventral Hippocampus ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมความเครียดและวิตกกังวล – ( 49 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments