magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 13)
formats

นักวิทย์ค้นพบธาตุใหม่ในตารางธาตุ

Published on August 29, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง นักวิทย์ค้นพบธาตุใหม่ในตารางธาตุ นักวิทยาศาสตร์จากนาชาชาติ นำโดยมหาวิทยาลัยลุนด์ ค้นพบธาตุตัวใหม่ ที่มีเลขอะตอม 115 และได้ยินยันว่ามีอยู่จริง การทดลองนี้เกิดขึ้นที่สถาบันวิจัย GSI ในเยอรมนี และการทดลองนี้ก็เป็นการยินยันการค้นพบของกลุ่มนักวิจัยรัสเซียที่มีมาก่อนหน้านี้ด้วย  “นี่เป็นการทดลองที่ประสบความสำเร็จมาก และเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญมากในวงการนี้ในปีหลังๆ นี้” ศาสตราจารย์ เดิร์ค รูดอล์ฟ แห่งภาควิชาฟิสิกส์อะตอม มหาวิทยาลัยลุนด์ เผย นอกจากจะสำรวจพบธาตุทางเคมีธาตุใหม่แล้ว นักวิจัยยังได้ข้อมูลที่ทำให้รู้ถึงโ๕รงสร้างและคุณสมบัติของธาตุที่มีอะตอมหนักมากๆ ธาตุนี้ด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447383– ( 106 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความจำระยะยาวอยู่ที่เซรีบรัลคอร์เท็กซ์-ไม่ใช่ฮิปโปแคมปัส

Published on August 29, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ความจำระยะยาวอยู่ที่เซรีบรัลคอร์เท็กซ์-ไม่ใช่ฮิปโปแคมปัส นักวิทยาศาสตร์จากเยอรมนีและสเปนค้นพบว่า ความจำระยะยาวของคนนั้นอยู่ที่สมองส่วนที่เรียกว่า เซรีบรัลคอร์เท็กซ์ ไม่ใช่ฮิปโปแคมปัสอย่างที่เชื่อกันมาตามตำราเรียนแต่อย่างใด โดยได้ทำการทดลองในหนูจนยืนยันการค้นพบดังกล่าว คำถามที่ว่า ความจำถูกเข้ารหัสในระบบประสาทของร่างกายตรงส่วนไหน และมีกลไกอย่างไรนั้น เป็นคำถามที่นักวิทยาศาสตร์สงสัยมานาน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการสร้างและการดึงเอา associative memory มาใช้ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต และก็เชื่อมานานว่า สมองส่วน”ฮิปโปแคมปัส”เป็นสมองส่วนที่บรรจุเก็บความจำระยะยาวเอาไว้ – ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พบอีกแล้ว น้ำจากผิวดวงจันทร์

Published on August 29, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง พบอีกแล้ว น้ำจากผิวดวงจันทร์ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ”น้ำแม็กม่า”ที่ผิวของดวงจันทร์ อันเป็นน้ำที่มีจุดกำเนิดมาจากใต้ผิวลึกของดวงจันทร์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบน้ำบนดวงจันทร์เช่นนี้จากทางไกล จากการนำข้อมูลแผนที่แร่ของดวงจันทร์ขององค์การนาซ่ามาวิเคราะห์ งานวิจัยชิ้นนี้ชื่อ “การตรวจพบน้ำแม็กม่าบนแอ่ง Bullialdus ของดวงจันทร์” นำโดย ราเชล คลิมา นักธรณีวิทยาเปลือกดาวที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮ็อปกินส์ สหรัฐอเมริกา โดยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature Geoscience แล้ว นักวิจัยเชื่อว่า งานวิจัยนี้จะเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำบนดวงจันทร์ไปได้เลย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447389– ( 61 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยานวอยเอเจอร์ 1 พ้นระบบสุริยะแล้ว

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ยานวอยเอเจอร์ 1 พ้นระบบสุริยะแล้ว หลังปฏิบัติภารกิจมาเกือบ 36 ปียานวอยเอเจอร์ 1 ก็ได้หลุดพ้นระบบสุริยะ และเข้าสู่พื้นที่ระหว่างดวงดาวไปแล้วเรียบร้อย จากการเปิดเผยของนักวิทยาศาสตร์ ยานวอยเอเจอร์ ทะยานขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน 1977 นำพาเอาอุปกรณ์สำรวจดาวเคราะห์ขึ้นไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้มีแผ่นจารึกข้อความสวัสดีจากชาวโลกไว้บนแผ่นทองคำ และแผ่นเสียงที่บันทึกเสียงจากบนโลก ตลอดจนเครื่องตรวจจับอนุภาคพลังงานต่ำเอาไว้ด้วยซึ่งผู้รับผิดชอบเครื่องมือดังกล่าวคือทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันแล้วว่า ยานวอยเอเจอร์ 1 ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซ่า ได้เคลื่อนที่ไปจากโลกจนออกนอกระบบสุริยะไปแล้ว นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ออกไปไกลจากโลกมากที่สุด รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447353– ( 69 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรงงานน้ำมันปาล์มกับลิงแสม

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง โรงงานน้ำมันปาล์มกับลิงแสม…อุตสาหกรรมกับการทำร้ายผู้ร่วมโลก โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มผิดกฎหมายที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าจะส่งผลต่อวิวัฒนาการของลิงแสมโดยตรง ลิงแสมเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีการพัฒนาความสามารถในการใช้หินเป็นเครื่องมือในการเปิดสิ่งต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ลิงแสมสามารถใช้หินในการเปิดหอยเชลล์ได้ แต่ทุกวันนี้ลิงแสมที่มีความสามารถใช้เครื่องมือดังกล่าวมีจำนวนลดลงเป็นจำนวนมาก เนื่องมากจากความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์พบว่า โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มและสวนยางที่บุกรุกพื้นที่ธรรมชาติอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทยนั้น  ได้ทำลายพฤติกรรมการหาอาหารของลิงแสมโดยตรง เนื่องจากสุนัขที่เจ้าของโรงงานเลี้ยงไว้เพื่อเฝ้าอาณาเขตของตัวเองนั้น จะทำการไล่ลิงแสมซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ตัวจริงออกไป เมื่อลิงแสมเข้ามกบเบริเวณรอบ ๆ ของโรงงาน ซึ่งโดยมากพื้นที่บริเวณนั้นเป็นโขดหินที่โดยปกติลิงแสมจะอาศัยหินตามโขดหินในการเปิดเปลือกหอยเพื่อรับประทาน จากรายงานของวารสารนานาชาติที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ มีการยอมรับว่าลิงเป็นสัตว์ที่สามารถใช้เครื่องมือในการหาอาหารได้จริง นอกจากลิงซิปแปนซีที่ประเทศอัฟริกาแล้ว ลิงแสมหางยาวก็เป็นลิงอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่สามารถใช้เครื่องมือประเภทหินในการหาอาหารเพื่อยังชีพได้ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447374– ( 34 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

น้ำอัดลมกับพฤติกรรมรุนแรงของเด็ก

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง น้ำอัดลมกับพฤติกรรมรุนแรงของเด็ก หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีงานวิจัยออกมาว่า น้ำอัดลมมีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ฉุนเฉียว ความเศร้า การคิดฆ่าตัวตายในช่วงวัยรุ่น แต่ความสัมพันธ์นี้ก็ไม่ได้รับการประเมินในกลุ่มเด็ก ล่าสุดนักวิจัยเปิดเผยแล้วว่า อารมณ์ฉุนเฉียว ควาามตั้งใจ พฤติกรรมแยกตัว ต่างก็เกี่ยวข้องกับการดื่มน้ำอัดลมในช่วงที่เป็นเด็กทั้งนั้น งานวิจัยชิ้นนี้นำโดย ดร.ชากีร่า ซูเกลีย แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และทีมงาน โดยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ The Journal of Pediatrics แล้ว  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447365– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครื่องเคลื่อนย้ายสสารจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เครื่องเคลื่อนย้ายสสารจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องเคลื่อนย้ายสสาร เป็นสิ่งที่พบได้ในนิยายวิทยาศาสตร์หลายๆ อย่างและเป็นสิ่งที่มนุษย์ใฝ่ฝัน แม้ในปัจจุบันจะยังไม่ใกล้ความจริง แต่ล่าสุดนักวิจัยจาก ETH ซูริค สามารถเคลื่อนย้ายข้อความจากบริเวณ A ไปยังบริเวณ B ได้เป็นครั้งแรกแล้วโดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ คล้ายกับชิปของคอมพิวเตอร์ แม้จะยังไม่ถึงขั้นการเคลื่อนย้ายมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตใดๆ ข้ามมิติได้ แต่นักฟิสิกส์ที่ ETH  ซูริค สวิตเซอร์แลนด์ก็ประสบความสาเร็จใจการขนส่งข้อมูลในสิ่งที่เรียกว่า Solid State System นักวิจัยทำได้โดยใช้หลักการคล้ายๆ กับชิปของคอมพิวเตอร์ที่มีทั่วไปในท้องตลาด ความแตกต่างของอุปกรณ์ที่นักวิจัยใช้กับชิปคอมพิวเตอร์ก็คือว่า อุปกรณ์ใหม่นี้จะไม่บันทึกข้อมูลเอาไว้และข้อมูลจะถูกประมวลผลโดยไม่ใช้กฎฟิสิกส์ดั้งเดิม แต่จะใช้ควอนตัมฟิสิกส์ งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature แล้ว โดยเผยว่า นักวิจัยสามารถจะขนส่งข้อมูลข้ามระยะทาง 6 มิลลิเมตรได้จากมุมหนึ่งของชิปไปอีกมุมหนึ่งของชิป ซึ่งได้มีการแสดงให้เห็นด้วยว่า เป็นไปได้ โดยไม่ต้องมีการขนส่งวัตถุทางกายภาพที่เป็นตัวนำพาข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับใดๆ เลย  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447362– ( 85 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระต่ายเรืองแสงได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วในตรุกี

Published on August 23, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง กระต่ายเรืองแสงได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วในตรุกี กระต่ายเรืองแสงนั้นอาจจะฟังดูเหมือนสัตว์จากนิยายหรือภาพยนตร์ซักเรื่องหนึ่งแต่ไม่นานมานี้ที่ University of Istanbul ในประเทศตุรกีนั้น ได้มีกระต่ายเรืองแสง fluorescent เกิดขึ้นจริงแล้ว กระต่ายพวกนี้ได้เข้าร่วมรายชื่อสัตว์ที่มีขนเรืองแสง fluorescent แล้ว ซึ่งวิศวกรพันธุกรรมนั้นได้สร้างสุนัข แมว หมู และหนูที่มีขนเรืองแสงได้โดยการดัดแปลงพันธุกรรมและใส่ยีนของแมงกะพรุนลงไปใน DNA ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งยีนของแมงกะพรุนนั้นมีโปรตีนที่จะส่องแสงออกมาเมื่อถูกแสงอัลตร้าไวโอเลตตกกระทบ ยีนของแมงกะพรุนนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เห็นได้ชัดเจนบนสัตว์ได้รับการพันธุวิศวกรรม ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์รู้ได้ว่าพันธุกรรมนั้นได้ถูกปลูกถ่ายลงไปบนอีกสิ่งมีชีวิตได้เป็นผลสำเร็จแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447359– ( 138 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ดื่มกาแฟเยอะไปอาจทำให้ตายเร็ว

Published on August 22, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ดื่มกาแฟเยอะไปอาจทำให้ตายเร็ว นักวิจัยค้นพบว่า การดื่มกาแฟจำนวนมากเกินไปเป็นสิ่งที่ไม่ดี อาจทำให้เสียชีวิตเพราะโรคทางเดินโลหิตได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มที่อายุไม่เกิน 55 ปี การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาตัวอย่างกว่า 40,000 ราย โดยพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟมากกว่า 28 แก้วต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึง 21 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในกลุ่มชายและหญิงที่อายุไม่เกิน 55 ปีที่จะมีความเสี่ยงมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447368– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วันนี้เราเดินไปทำงาน / เรียนกันเถอะ

Published on August 22, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง วันนี้เราเดินไปทำงาน / เรียนกันเถอะ งานวิจัยล่าสุดพบว่า การเดินมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาเปรียบเทียบผู้ที่เดินทางไปทำงานโดยการเดินกับขับรถส่วนตัว / ขึ้นรถเมล์ พบว่า ผู้ที่ “เดิน” ไปทำงานนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงน้อยกว่าผู้ที่ “ขับรถ” ไปทำงานถึง 40% ด้วยกันเลยทีเดียว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447303– ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments