ที่มา: ScienceDaily June 27, 2013 http://www.sciencedaily.com/releases/2013/06/130627125525.htm นักเคมีจาก University of Texas เมือง Austin และUniversity of Marburg ประเทศเยอรมัน ได้เสนอวิธีการแยกเกลือจากน้ำทะเลโดยใช้เทคนิคการแยกเกลือจากการสร้างสนาม แม่เหล็ก ที่ใช้พลังงานน้อยกว่าและซับซ้อนน้อยกว่าวิธีเดิมมาก ซึ่งในระดับเทคนิคการทดลองนี้อาศัยเพียงพลังงาน จากถ่านขนาดเล็กที่ซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป กลุ่มวิจัยนำโดย Richard Crooks จาก University of Texas และUlrich Tallarek จาก University of Marburg อธิบายว่า เทคนิคนี้เรียกว่า Electrochemically mediated seawater desalination เป็นเทคนิคที่หลีกเลี่ยงปัญหาที่พบในปัจจุบัน โดยยกเลิกการ ใช้เยื่อเมมเบรนและการแยกเกลือในระดับไมโคร และเทคนิคดังกล่าว อยู่ระหว่างการรอรับสิทธิบัตร (patent-pending) และกำลังพัฒนาไป สู่เชิงพาณิชย์ โดย Okeanos Technologies Crooks ให้ความคิดเห็นว่า ความต้องการน้ำเพื่อการดื่มกิน และเพื่อการเกษตร
ระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Machine Translation)
ระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน หรือ ASEAN Machine Translation เป็นโครงการที่หลายประเทศในอาเซียนหวังว่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำลายกำแพงด้านภาษาในกลุ่มของสมาชิกอาเซียนให้เข้าใจและสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น ภายใต้เครือข่ายวิจัยนานาชาติยู-สตาร์ U-STAR ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมพัฒนาแอพพลิเคชั่นล่ามอิเล็กทรอนิกส์ หรือ “Voice Tra 4 U” ซึ่งรองรับได้ถึง 23 ภาษาและแปลงเสียงพูดได้ถึง 17 ภาษา ดาวน์โหลดฟรีได้ที่แอพสโตร์– ( 201 Views)
Yahoo! ทุ่มเงิน 30 ล้านเหรียญฯ ซื้อแอพพลิเคชั่นย่อข่าว Summly
Yahoo! ประกาศทุ่มเงินกว่า 30 ล้านเหรียญฯ หรือราวๆ 900 ล้านบาท ซื้อแอพพลิเคชั่น Summly ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นอ่านข่าวบน iPhone ที่พัฒนาโดยนักพัฒนาวัยเพียง 17 ปีเท่านั้นครับ โดยผู้พัฒนา มีชื่อว่า Nick D’Aloisio ซึ่ง Summly เป็นแอพพลิเคชั่นสรุปหัวข้อข่าว และใจความสำคัญแบบย่อๆ ภายใน 400 ตัวอักษร ทำให้ผู้อ่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า จะอ่านข่าวดังกล่าวต่อหรือไม่ นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่น Summly นั้น ยังเคยได้ตำแหน่ง แอพพลิเคชั่นยอดเยี่ยม ประจำปี 2012 บน App Store อีกด้วยครับ แน่นอนว่า การที่ Yahoo! จ่ายเงินซื้อแอพฯ Summly ทำให้ตัวแอพฯ จะต้องปิดตัวลงไป แต่ Nick D’Aloisio และทีมพัฒนา Summly จะได้เข้าร่วมงานกับ Yahoo! ในอีก 1-2
นักวิทยาศาสตร์ลงมติให้ Doomsday Clock ในปี 2556 ยังอยู่ที่ 5 นาทีก่อนเที่ยงคืน
Doomsday Clock คืออะไร? Doomsday Clock หรือนาฬิกาโลกาวินาศ คือสัญลักษณ์ที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อระบุระดับความเสี่ยงในการเกิด โลกาวินาศที่อาจเกิดจากอาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศของโลก และหายนะที่เกิดจากมือมนุษย์อื่นๆ โดยที่เวลาเที่ยงคืนเป็นเวลาโลกาวินาศ คณะกรรมการจาก Atomic Scientists จะเป็นผู้พิจารณาตำแหน่งเข็มนาฬิกาในแต่ละปี ตำแหน่งเข็มนาฬิกาที่ยิ่งใกล้กับเวลาเที่ยงคืนบอกถึงความเสี่ยงที่มากขึ้น ของมนุษย์ Doomsday Clock ในประวัติศาสตร์และในปัจจุบัน การกำหนด Doomsday Clock เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1947 หรือ พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นปีที่สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูทำลายล้างประเทศญี่ปุ่น ทำให้นักวิทยศาสตร์และนักฟิสิกส์กลุ่มหนึ่งต้องการเตือนให้ทุกคนรับทราบถึง หายนะที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากยังไม่มีการหยุดใช้อาวุธนิวเคลียร์ต่างๆ พวกเขาจึงสร้าง Doomsday Clock เพื่อเป็นสัญลักษณ์เตือนระดับความเสี่ยงต่อหายนะที่อาจเกิดขึ้น ในปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) เป็นปีที่เข็มนาฬิกาอยู่ที่ 2 นาทีก่อนเวลาเที่ยงคืนซึ่งเป็นผลมาจากการทดลองใช้ระเบิดไฮโดรเจน และปีค.ศ. 1991 – 1994 (พ.ศ. 2534 – 2537) เป็นช่วงเวลาที่เข็มอยู่ห่างจากเวลาเที่ยงคืน มากที่สุด คือ
การประชุมคณะกรรมการสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
สมาคม นักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (Association of Thai Professionals in America and Canada – ATPAC) และสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน (OSTC) ได้จัดการประชุมคณะกรรมการสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา ในวันที่ 26 มกราคม 2556 ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยมี ดร. ชัยยงค์ สัจจิพานนท์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เป็นประธานในการประชุม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมีนาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/– (
หน่วยงานวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ เตรียมรับมือกับการตัดงบประมาณ
ในวันที่ 1 มีนาคม 2556 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ต่างๆ ของสหรัฐฯ เช่น The US National Institutes of Health (NIH) และ the National Science Foundation (NSF) ซึ่งตั้งอยู่ในมลรัฐ Virginia จะถูกตัดลดงบประมาณถึงร้อยละ 5.1 ของค่าใช้จ่ายในปีนี้ เพราะต้องเข้าสู่กระบวนการตัดงบประมาณโดยอัตโนมัติ หรือที่เรียกกันว่า “Sequestration” แม้ว่า รัฐสภาของสหรัฐฯ จะพยายามต่อรองจนถึงที่สุดเพื่อยืดเวลาหรือยกเว้นการตัดงบประมาณในบางส่วน หน่วยงานวิจัยต่างก็ระแวดระวังในการให้เงินสนับสนุนการวิจัยต่างๆ เพราะเกรงว่าหน่วยงานอาจจะไม่มีงบประมาณพอที่จะทำได้จริงในอนาคต และนักวิทยาศาสตร์ต่างก็เริ่มรู้สึกถึงความขาดแคลนที่กำลังจะมาถึง Howard Garrison รองผู้บริหารฝ่ายนโยบายของ Federation of American Societies กล่าวว่า “หน่วยงานวิทยาศาสตร์ต่างใช้เกณฑ์การพิจารณาการให้เงินสนับสนุนด้วย วิธีแบบที่เคยทำกันมาเพราะไม่มีใครต้องการใช้จ่ายเกินตัว” หน่วยงานแต่ละแห่งมีสัดส่วนในการตัดลดงบ ประมาณที่แตกต่างกัน เช่น NIH จะตัดลดงบประมาณ 1.57 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ และ NSF จะตัดลดงบประมาณ
เร่งตามหาช่องทางย้อนอายุในหนู
การฉีดเซลล์อายุยืนเข้าสู่เซลล์ต้นกำเนิดของหนู ดูเหมือนว่าจะช่วยลดความเสื่อมสภาพตามอายุ นักวิจัยรายงานว่า การค้นพบเกี่ยวกับการย้อนอายุของหนูอาจจะช่วยในการพัฒนาการรักษาโรคที่เกิด จากความเสื่อมสภาพตามอายุของคนในอนาคต โดยนักชีววิทยาได้ย้อนเวลาของนาฬิกาโมเลกุล (Molecular Clock) ของหนูที่สูงวัย โดยการใส่ยีนอายุยืน (Longevity gene) ไปยังเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดของหนู ยีนตัวนี้มีชื่อเรียกว่า SIRT3 ซึ่ง อยู่ในหมวด โปรตีนที่ชื่อว่า Sirtuins ซึ่งมีหน้าที่ช่วยเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่มีอายุในการจัดการกับความ เครียด เมื่อนักวิจัยใส่ SIRT3 ไปยังเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดของหนูที่สูงวัย อัตราการก่อตัวของเซลล์เม็ดเลือดใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหลักฐานใน การย้อนอายุในการทำงานเซลล์เม็ดเลือดอันเดิม Danica Chen ผู้ช่วยศาตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์โภชนาการและพิษวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแค ลิฟอร์เนียเบิร์กลี่ย์ (University of California, Berkeley) ซึ่งเป็นหัวหน้าในงานวิจัยกล่าวไว้ในสื่อภายในมหาวิทยาลัยว่า พวกเขารู้อยู่แล้วว่าโปรตีน Sirtuins มีผลต่ออายุขัยของสิ่งมีชีวิต แต่ไม่ทราบว่าจะมีความสามารถในการช่วยย้อนอายุขัยของเซลล์ที่เสื่อมสภาพได้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก Chen ได้กล่าวอีกว่า การค้นพบครั้งนี้เปรียบเสมือน การเปิดประตูสู่ความเป็นไปได้ในการรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพตามอายุ ของคนในอนาคตข้างหน้า โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ออนไลน์เมื่อ ๓๑ มกราคม 2556 ในเว็บไซด์ของ Cell Reports อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่
พืชอินเดียอาจสามารถทำลายเซลล์มะเร็ง
กลุ่ม นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์มะเร็งมหาวิทยาลัย Georgia Regents (GRU) ค้นพบว่าพืชอินเดียที่ปกติถูกใช้เพื่อรักษาอาการอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ และไข้มาลาเรีย อาจช่วยทำลายเซลล์มะเร็งได้ Dr. Ahmed Chadli นักวิจัยภายใต้โครงการการวิจัย ด้าน Molecular Chaperone ของศูนย์มะเร็ง GRU และยังเป็น นักเขียนอาวุโสในวารสารวิจัยชื่อว่า “the Journal of Biological Chemistry’s” กล่าวว่า โดยปกติเซลล์มะเร็งจะหลีกเลี่ยงการถูกทำลายโดยการขโมยโมลกุล chaperones ซึ่งเป็นโปรตีนที่คอยปกป้องโปรตีนตัวอื่นเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานตามปกติ และเพื่อให้โปรตีนตัวอื่นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในปัจจุบันการพัฒนาทางด้านยาได้มุ่งเน้นที่ chaperone Hsp90 (Heat shock protein 90) เพราะเป็นโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการจัดรูปร่างของโปรตีน จึงกำลังเป็นที่สนใจในวงการยาทางด้านการรักษาโรคมะเร็งเป็นอย่างยิ่ง อย่าง ไรก็ตาม ผลทดสอบจากคลินิกเกี่ยวกับตัวยับยั้ง Hsp90 ยังเป็นที่น่าผิดหวัง ในปัจจุบันโมเลกุลขนาดเล็กส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อการแสดงออกของโปรตีนอย่าง ไม่ตั้งใจ ซึ่งโปรตีนเหล่านั้นคอยปกป้องเซลล์มะเร็งจากการตายของเซลล์และยังลดตัว ยับยั้ง Hsp90 ในการทดสอบในคลินิก Chaitanya Patwardhan นักศึกษาปริญญาโทใน กลุ่มวิจัยของ Dr.
รักษาจอประสาทตา (Retinas) ที่เสียหายด้วยสเต็มเซลล์ของปลาม้าลาย
กลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัลเบอต้า (University of Alberta) ประเทศแคนาดาค้นพบว่า เซลล์ต้นกำเนิดของปลาม้าลาย (Stem cells) สามารถสร้างเซลล์รับแสงในชั้นจอประสาทตาของนัยน์ตาที่เสียหาย (Damaged photoreceptor cells) ขึ้นมาใหม่ ผู้นำกลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัลเบอต้า Ted Allison กล่าวว่า นักพันธุศาสตร์รู้ว่าเซลล์ต้นกำเนิดของปลาม้าลายแตกต่างจากของมนุษย์ เพราะสามารถแทนที่เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับกับระบบการมองเห็นที่เสียหาย โดยเฉพาะเซลล์ rods และ cones ที่เป็นเซลล์รับแสงตัวสำคัญของจอประสาทตาในมนุษย์ rods จะช่วยในการมองเห็นในเวลากลางคืน ในขณะที่ cones จะช่วยการมองเห็นในเวลากลางวัน แต่สิ่งที่ยังไม่รู้และยังไม่แน่ใจก็คือ เรากำหนดให้เซลล์ต้นกำเนิดให้ไปแทนที่เพียงแค่ cones ในจอประสาทตาได้หรือไม่ ซึ่งความรู้ตรงจุดนี้จะเป็นประโยชน์ที่สำคัญต่อการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อรักษาระบบดวงตาของมนุษย์ในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้เพราะสำหรับคนที่ระบบการมองเห็นเสียหาย การรักษา cones มีความสำคัญมากที่สุดเพราะช่วยในการมองเห็นตอนกลางวัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมีนาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2556
ผู้ล่าในน้ำมีผลกระทบต่อชีวิตของพืชที่กักเก็บคาร์บอน
สัตว์ใหญ่ในสายใยอาหารน้ำจืดสามารถส่งผลทางอ้อมต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ในระบบนิเวศทางธรรมชาติทั่วโลก สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก ขณะที่สัตว์เล็กก็กินพืชน้ำและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสายใยอาหาร การวิจัยล่าสุดพบว่า การย้ายนักล่าออกจากระบบนิเวศน้ำจืด เป็นการเพิ่มโอกาสในเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำขนาดเล็ก แต่ขณะเดียวกันเป็นการลดปริมาณของพืชน้ำและสาหร่ายซึ่งเป็นอาหารของสัตว์เล็ก โดยกลุ่มการวิจัยเชื่อว่า ผลลัพธ์ของพืชน้ำที่หายไปทำให้ความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนิเวศลดลงถึงร้อยละ 93 James Estes นักนิเวศวิทยาจาก University of California เมือง Santa Cruz ประเทศสหรัฐฯ ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยครั้งนี้กล่าวว่า ผลจากการวิจัยเป็นปรากฎการณ์ที่น่าสนใจและมีความน่าเชื่อถือ เพราะมาจากนักวิจัยหลายๆกลุ่มและมีผลที่ตรงกันในเรื่องความสำคัญของนักล่าต่อการปกป้องสิ่งมีชีวิตที่กักเก็บคาร์บอนจากระบบนิเวศที่หลากหลาย John Richardson นักนิเวศวิทยาด้านน้ำจืด จาก University of British Columbia เมือง Vancouver ประเทศแคนาดาและเป็นผู้เขียนร่วมของงานวิจัยนี้ ซึ่งได้รับตีพิมพ์ออนไลน์ในเว็บไซด์ Nature Geoscience เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2556 กล่าวว่า ผลจากการกระทำของมนุษย์และการจับปลาที่มากไป เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้นักล่าตามธรรมชาติสาบสูญและส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพอากาศ จนกระทั่งนำไปสู่จำนวนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศที่มากขึ้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา.