Google.com เว็บไซต์เพื่อการสืบค้นที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันนี้ กำลังจัดการแข่งขันด้าน วิทยาศาสตร์บนระบบอินเตอร์เน็ต การแข่งขัน Google Science Fair เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 โดย Larry Page และ Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Google มีวัถตุประสงค์ ในการกระตุ้นให้เยาวชนและคนรุ่นใหม่ระดมความคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิทยาศาสตร์ และค้นหา คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถโดดเด่นที่อาจจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้ ผู้สนับสนุนการแข่งขันในปีนี้เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เช่น Lego Group, National Geographic, Scientific America Magazine และ Virgin Galactic Space Venture ผู้ชนะในการแข่งขันจะได้ เยี่ยมชมสถานีอวกาศ Virgin Galactic ซึ่งตั้งอยู่ในมลรัฐ New Mexico ในฐานะผู้เข้าชม VIP ได้ร่วมเดินทางไปยังหมู่เกาะ กาลาปาโกส กับคณะของ National Geographic เป็นระยะเวลา 10
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับ ดร.ปิติ อ่ำพายัพ ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับ ดร.ปิติ อ่ำพายัพ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอณูชีววิทยาและจีโนมกุ้ง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ผลงานวิจัยเรื่อง “กลไกระดับโมเลกุลของการสร้างเมลานินโดยระบบโพรฟีนอลออกซิเดส และบทบาทสำคัญในการตอบสนองภูมิคุ้มกันต่อการต้านเชื้อก่อโรคที่สำคัญในกุ้ง”– ( 11 Views)
สาระวิทย์ เดือนเมษายน 2557 (13)
Cover Story 10 คำถาม กับการเปลี่ยน ผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล เรื่องเด่น เรื่องจากปก: 10 คำถาม กับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัลล น้าต่างข่าว วิทย์-เทคโนฯ โลก: รักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม ระเบียงข่าว วิทย์-เทคโนฯ ไทย : การใช้สบู่ดำและปาล์มน้ำมันเพื่อเป็นพลังงานทางเลือก ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์: ศพไม่เน่า – ( 8 Views)
การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors)
การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Academic Endeavors) ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 10 วันที่ 2 เมษายน 2557 ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันการตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์ ท าให้สามารถตรวจสอบการคัดลอกผลงานได้สะดวกขึ้น สามารถที่จะสกัดพฤติกรรมการคัดลอกผลงานของคนอื่นส่งผลให้การผลิตผลงานทางวิชาการในระดับต่างๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยได้มีการนำโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานมาใช้ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา และมีแผนจะนำไปใช้กับการพิจารณาการให้ทุนวิจัยการพิจารณาผลงานทางวิชาการ การสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้พัฒนาโปรแกรมการตรวจสอบการคัดลอกผลงานและความคล้ายกันของเอกสาร 3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เทคโนโลโยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ – ( 809 Views)
การเตรียมความพร้อมของประชาชนต่อการเปลี่ยนไปสู่ยุค Digital TV (Preparations for Digital TV Switchover)
การเตรียมความพร้อมของประชาชนต่อการเปลี่ยนไปสู่ยุค Digital TV (Preparations for Digital TV Switchover) ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 10 วันที่ 1 เมษายน 2557 อีกหนึ่งหัวข้อที่เป็นกระแสของการเปลี่ยนแปลงวงการโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยประเด็นสัมมนาในวันนี้ แบ่งเป็น 3 ประเด็นใหญ่ คือ การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล: ประวัติความเป็นมา, ความเป็นมาของการเปลี่ยนผ่าน โดยนายสมศักดิ์ สิริพัฒนากุล รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงาน กลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิทัล โครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดย นายกันตชัย ศรีสุคนธ์ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม ส.ส.ท. การเตรียมความพร้อมของประชาชนในการรับชมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล เริ่มต้นด้วยการเล่าประวัติความเป็นมาของโทรทัศน์ในประเทศไทยจากยุคขาวดำ สู่จอสีและสู่ทีวีดิจิทัล ซึ่งใช้เวลากว่า 50 ปี โดยจากจอขาวดำ พัฒนามาเป็นจอสีใช้เวลาประมาณ 12 ปี และจากจอสีสู่ทีวีดิจิทัล ใช้เวลาถึง 46 ปี ซึ่งในประเทศไทย ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านเราเป็นทีวีระบบดิจิทัลกันหมดแล้ว แต่การที่เราเปลี่ยนช้าก็มีข้อดีคือเราได้เทคโนโลยีที่ใหม่ คือ มาตรฐาน DVB-T2 (Digital
การตลาดไร้มิติด้วยเทคโนโลยี (Blend Virtual and Reality Digital Marketing through Technology)
Concept Map “การตลาดไร้มิติด้วยเทคโนโลยี (Blend Virtual and Reality Digital Marketing through Technology)” ในการประชุมวิชาการประจำปี 2557 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ – ( 32 Views)
ผู้บริหารพบนักวิจัย: ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ได้รับรางวัล SPIE Fellow ประจำปี 2014
ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผศอ. มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับ ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ได้รับรางวัล SPIE Fellow ประจำปี 2014 – ( 11 Views)
เนคเทค รับโล่เกียรติคุณนายกรัฐมนตรี ในงานประกาศเกียรติคุณโครงการดีเด่นของชาติ
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รก.รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีฯ มอบโล่เกียรติคุณนายกรัฐมนตรี ในงานประกาศเกียรติคุณบุคคล หน่วยงาน และโครงการดีเด่นของชาติ ประจำพุทธศักราช 2556 แก่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค จากผลงาน”โครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย”ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลโครงการดีเด่นของชาติสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค เป็นผู้รับมอบ พร้อมคุณเจษฎา จงสุขวรากุล หัวหน้างานพัฒนาวิชาชีพและเยาวชนไอที และผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเครือข่ายร่วมเป็นเกียรติในงานฯ – ( 24 Views)