วัสดุศาสตร์: การพลิกตัวของวัสดุเมื่อทำปฏิกิริยา กับน้ำจะถูกแปรสภาพเป็นพลังงาน นักวิทยาศาสตร์เคยประสบปัญหาเป็นเวลานาน ในการออกแบบแบตเตอรี่และเซนเซอร์ที่สามารถเพิ่มพลังงานเองได้หลังจากได้รับพลังงานจากธรรมชาติ เช่น พลังงานจากแสง ความร้อน หรือแม้แต่จากการเคลื่อนไหว แต่ในปัจจุบันนักวิจัยสามารถพัฒนาวัสดุที่สร้างพลังงานได้เองจากการพลิกตัวของวัสดุเมื่อทำปฏิกิริยากับละอองน้ำ Ming-ming Ma นักวิจัยคนหนึ่งในกลุ่มวิจัยซึ่งนำโดย Robert S. Langer จากสถาบัน MIT กล่าวว่า วัสดุจากโพลิเมอร์ต้องการเพียงแค่ละอองน้ำจำนวนเล็กน้อยเพื่อก่อให้เกิดพลังงาน โดยใช้แค่ความชุ่มชื้นบนผิวก็เพียงพอ เริ่มแรกในงานวิจัยพวกเขาพยายามพัฒนาโพลิเมอร์ที่มี คุณสมบัติที่ทั้งแข็งแรงและยืดหยุ่นเพื่อนำไปใช้สร้างขั้วไฟฟ้าจากสารอินทรีย์ (Organic Electrodes) แต่พอเห็นปฏิกิริยาที่โพลิเมอร์มีต่อน้ำ เลยตัดสินใจที่จะพัฒนาวัสดุเพื่อนำไปใช้ในทางการสร้างพลังงานแทน ในงานวิจัยนี้ ใช้การรวมตัวระหว่าง Polypyrrole matrix และ Polyol-borate gel เพื่อสร้างวัสดุโพลิเมอร์ที่หนา 30 µm แล้วเมื่อวัสดุดูดซึมความชื้นจะทำให้โมเลกุลของน้ำไปแยกพันธะไฮโดรเจน ระหว่าง Polypyrrole และ Polyol แล้วเกิดการพองตัว ซึ่งหลังจากวัสดุพองตัวแล้วสัมผัสกับละอองน้ำ จะเกิดปฏิกิริยาการม้วนตัวแล้วพลิกตัวอย่างต่อเนื่อง โดยด้านที่เปิดออกสู่อากาศก็จะมีการขับโมเลกุลน้ำออก ขณะที่ด้านที่คว่ำลงก็จะดูดซึมน้ำเมื่อรวมกับการพลิกตัวก็จะเกิดปฏิกิริยาไป เรื่อยๆจนเกิดเป็นวัฏจักร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-news ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน
หนทางถอนทุนจากงานวิจัยวิชาการ
เนื่องจากแรงขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความสามารถของมหาวิทยาลัยที่เน้นการทำวิจัย เช่น Stanford University เมือง Palo Alto มลรัฐ California ซึ่งเป็นผู้กำเนิดธุรกิจหลายๆ ธุรกิจที่มีมูลค่าถึงหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้เริ่มผลักดันให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยพยายามพัฒนาการค้นพบจากการวิจัยให้เป็นสินค้าในตลาด เป็นผลให้มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งได้ใช้จุดแข็งในการการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นสิ่งดึงดูดอาจารย์และนักศึกษาระดับหัวกะทิให้เข้ามาในมหาวิทยาลัย เพื่อขอเพิ่มงบประมาณเพื่อการวิจัยและทำรายได้จากการค้นพบและประดิษฐ์ต่างๆ จากแนวโน้มดังกล่าว สามารถกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยที่ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนการเปลี่ยนผลงานวิจัยให้เป็นสินค้าจะไม่สามารถเป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นได้ แต่หลายครั้งที่มหาวิทยาลัยไม่สามารถทำกำไรจากเทคโนโลยีได้ เพราะการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก นักวิชาการหลายท่านได้ออกมาเตือนว่าบ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและมหาวิทยาลัยตั้งความหวังที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ ด้วยการประเมินประโยชน์ที่อาจได้จากการเปลี่ยนงานวิจัยให้เป็นสินค้ามากเกินไป ขณะเดียวกันก็ประเมินความยากและสิ่งที่ต้องลงทุนต่ำเกินไป นักวิชาการหลายท่านแนะนำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ มุ่งใช้ “การถ่ายทอดเทคโนโลยี” เพื่อช่วยให้สังคมได้รับ ประโยชน์จากการค้นพบและทักษะของอาจารย์และนักศึกษามากกว่าเพื่อหาผลประโยชน์ทางการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี หากทำได้สำเร็จจะส่งผลประโยชน์อย่างมากให้มหาวิทยาลัย แต่ถ้าล้มเหลว มหาวิทยาลัยจะสูญงบประมาณจำนวนมาก อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และกลายเป็นข้อคัดค้านต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ต้องการมุ่งเน้นไปที่การทำวิจัยต่อไปในอนาคต– ( 101 Views)
นักวิจัยเนคเทครับรางวัล Best Special Session Paper Award
ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ ดร.มารุต บูรณรัช จากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย เนคเทค และดร.ภาสกร ประถมบุตร ฝ่ายบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย ได้รับรางวัล Best Special Session Paper Award จากผลงาน “An Ontology-based Knowledge as a Service Framework : A Case Study of Developing a User-centered Portal for Home Recovery” ในงานประชุม The 1st Asian Conference on Information Systems Special Session on Service Sciences (ACIS-SS2012) ณ ประเทศกัมพูชา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ – ( 574
นาโนเทคได้รับรางวัล Poster Award ในกลุ่ม Bionanotechnology
ดร.สุวัสสา บำรุงทรัพย์ นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการนาโนโมเลกุลเป้าหมาย หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยี นาโนเทคได้รับรางวัล Poster Award ในกลุ่ม Bionanotechnology จากผลงาน “Magnetic relaxation switches for cancer detection based on aptamer functionalized magnetic nanoparticales” ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ International Conference of Young Researchs on Advanced Materials (ICYRAM 2012) ณ ประเทศสิงคโปร์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม – ( 43 Views)
สมาร์ทไทยแลนด์ ด้วยระบบขนส่งอัจฉริยะ ITS
สมาร์ทไทยแลนด์ ด้วยระบบขนส่งอัจฉริยะ ITS “กระทรวงวิทย์บูรณาการระบบอัจฉริยะ เพื่อความสุขคนไทยก้าวไกลไปอาเซียน” ที่มา : คลุกวงข่าว การจราจร . (2013). ค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 จาก http://www.youtube.com/watch?v=oC884eiCBY8&feature=youtube_gdata_player – ( 43 Views)
ศ.ดร.ไพรัช ประธานกรรมการบริหาร ศอ. ลงนามในบันทึกข้อตกลงการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ i-CREATe ร่วมกับสิงคโปร์และเกาหลี
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร ศอ. ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ The International Convention on Rehabilitation Engineering & Assistive Technology (i-CREATe) ร่วมกับ Singapore Therapeutic Assistive and Rehabilitative Technology (START) ประเทศสิงคโปร์, Assistive Technology Research and Assistance Center (ATRAC), Korea International Exhibition Center (KINTEX), Gyeonggi Tourism Organization (GTO), และ Gyeonggi-do Provincial Government (Gyeonggi-do) ณ ประเทศเกาหลี – ( 80 Views)
ทีมวิจัยเอ็มเทคคว้า 2 รางวัล จากงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2556
ขอแสดงความยินดีกับทีมวิจัยเอ็มเทค ที่สามารถคว้า 2 รางวัล จากงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2556 ได้แก่ ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ นางฉวีวรรณ คงแก้ว นายภูริพงศ์ วรรณวิไล นางสาวนันทินา มูลประสิทธิ์ และนางสาวโชติรส ดอกขัน ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2556 ระดับดี ด้านเกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร ผลงานนวัตกรรมการผลิตยางสกิมเพื่อสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร – ( 123 Views)
บทสัมภาษณ์ ศ.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ใน BioSpectrum
ศ.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ให้สัมภาษณ์สื่อออนไลน์ BioSpectrum เกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว่า 40 ปี ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของไทยที่นำทีมวิจัยคิดค้นพัฒนายาต้าน มาเลเรีย และในฐานะผู้หล่อหลอมนโยบายวิทยาศาสตร์ของประเทศ ในบทสัมภาษณ์ อ. ยงยุทธ ได้เล่าถึงประวัติการก่อตั้งไบโอเทค ที่เกิดจากการที่ประเทศไทยไม่ได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งของศูนย์นานาชาติ ด้านพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (International Center for Genetic Engineering and Biotechnology, ICGEB) แม้กรรมการเทคนิคจะลงความเห็นเลือกประเทศไทย อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้ก็เป็นจุดผลักดันสำคัญให้รัฐบาลไทยจัดตั้งไบโอเทค เป็นศูนย์แห่งชาติ และในปี 2534 อ. ยงยุทธ ก็ได้มีส่วนในการก่อตั้ง สวทช. ที่มีสถานะเป็นองค์กรรัฐภายใต้ พรบ. พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 และอาจารย์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ สวทช. ท่านแรก นอกจากนี้ในช่วงรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อาจารย์ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างปี 2549-2551 ซึ่งอาจารย์ได้สร้างกลไกการร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทย์ฯ กับ กระทรวงอื่น ๆ ได้แก่ กระทรวงเกษตรฯ และ กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น–
Libraries 2020 : ห้องสมุดในปี 2020
Pew Research Center’s Internet & American Life Project ได้สำรวจแนวโน้มและความน่าจะเป็นของห้องสมุดในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Digital Trend, Mobility Trend และความนิยมของการใช้ eBook Libraries 2020: Imagining the library of the (not too distant) future from Pew Research Center’s Internet & American Life Project ที่มา : Pew Research Center’s Internet & American Life Project. (2012, June 6). Libraries 2020: Imagining the library of