หน่วยงานสนับสนุนงานวิจัยในสังกัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DARPA) สร้างผลงานสุดน่าทึ่ง “หุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวเลียนแบบมนุษย์” สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางต่างๆ ได้โดยการเคลื่อนไหวคล้ายมนุษย์มาก ที่มา : ARPA’s Pet-Proto Robot Navigates Obstacle. ค้นข้อมูลวันที่ 10 มกราคม 2556. จาก http://www.youtube.com/embed/FFGfq0pRczY.– ( 56 Views)
หนังสือวันเด็กแห่งชาติ ปี 2556 “ต้นกล้าของความซื่อสัตย์”
หนังสือวันเด็กแห่งชาติ ปี 2556 ให้ชื่อว่า “ต้นกล้าของความซื่อสัตย์” เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาส วันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยในปีนี้ใช้ภาพปกให้เข้ากับชื่อหนังสือ คือผู้ออกแบบ ซึ่งได้แก่ คุณวรรณภา สรรพศรี จากสถาบันการ์ตูนไทย ที่ได้นำภาพต้นกล้าหรือต้นอ่อนของต้นไม้ที่กำลังผลิดอก ออกใบ มีสีสันสดใสสวยงาม อยู่บนปุยเมฆ ขาวสะอาดตาประกอบด้วยดวงอาทิตย์ที่กำลังทอแสงในยามเช้าเปรียบเสมือนเด็กๆ ที่อยู่ในวัยที่มีความสดใส ร่าเริงพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งคุณธรรม และความรู้ และคุณธรรมที่ประเทศของเราต้องการมากในขณะนี้คงเป็นเรื่องของความซื่อสัตย์ ซึ่งผู้ใหญ่จะต้องทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีและผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคือ โรงเรียนที่จะต้องช่วยกันหล่อหลอม เพื่อให้ต้นกล้าหน่ออ่อนในวันนี้เติบโตขึ้นเป็นไม้ยืนต้นที่มีเกราะของความดีงามติดตัวไปด้วย– ( 417 Views)
ขอแสดงความยินดีคณะนักวิจัยหน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพสำหรับผลงานการศึกษาติดตามเชื้อราก่อโรคในมดได้รับเลือกแสดงบนเว็บไซต์ A-IMBN Research
ผลงานวิจัยของนางสุชาดา มงคลสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยวิจัย ห้องปฏิบัติการราวิทยา คณะผู้ร่วมวิจัยจากห้องปฏิบัติการราวิทยา และห้องปฏิบัติการนิเวศวิทยา ประกอบด้วย ดร. นพพล คบหมู่ นางสาวกนกศรี ทัศนาทัย นายอาทิตย์ คนสนิท นางสาววาสนา น้อยศรีภูมิ นายประเสริฐ ศรีกิติกุลชัย นายรัฐศาสตร์ สมนึกและ ดร. เจนนิเฟอร์ เหลืองสอาด ได้รับการคัดเลือกแสดงบนเว็บไซต์ A-IMBN Research ในเดือนพฤศจิกายน 2555 จากผลงานวิจัยเรื่อง “Life cycle, host range and temporal variation of Ophiocordyceps unilateralis /Hirsutella formicarum on formicine ants” ในวารสาร Journal of Invertebrate Pathology – ( 85 Views)
ดร. วณิลดา รุ่งรัศมี ได้รับทุนวิจัยจาก International Foundation for Science (IFS)
ขอแสดงความยินดีกับ ดร. วณิลดา รุ่งรัศมี นักวิจัยห้องปฎิบัติการไมโครอะเรย์แบบครบวงจร หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ไบโอเทค ที่ได้รับทุนวิจัยจาก International Foundation for Science (IFS) จำนวน 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 369,000 บาท) เพื่อดำเนินงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาความเกี่ยวข้องของโปรตีน heat shock 90 ต่อระบบสืบพันธุ์ของกุ้งกุลาดำเพศเมีย” ระยะเวลา 2 ปี – ( 164 Views)
ดร. จารุณี วานิชธนันกูล ได้รับรางวัลผู้นำเสนอยอดเยี่ยม ในการเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ งานประชุม 13th FAOBMB Congress
ขอแสดงความยินดีกับ ดร. จารุณี วานิชธนันกูล นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโปรตีนลิแกนด์และชีววิทยาโมเลกุล หน่วยวิจัยชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ ไบโอเทค ได้รับรางวัลผู้นำเสนอยอดเยี่ยม ในการเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (Outstanding Poster Presentation) จากผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาการดื้อยาแอนติโฟเลตของเชื้อ Trypanosoma brucei ” ในงานประชุม 13th FAOBMB International Congress of Biochemistry and Molecular Biology จัดโดย Federation of Asian and Oceanian Biochemists and Molecular Biologists (FAOBMB) วันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2555 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ผลงานนี้เป็นผลงานวิจัยร่วมกับ คณะนักวิจัยไบโอเทค ได้แก่ คุณสุพรรณี ทวีชัย ดร. สุมาลี กำจรวงศ์ไพศาล ศ.
ดร. ศันสนีย น้อยสคราญ คว้าทุนวิจัยลอรีอัล ในโครงการ “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2555
ดร.ศันสนีย น้อยสคราญ นักวิจัยหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ไบโอเทค นักวิจัยสตรีรุ่นใหม่ที่ได้รับทุนจากโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2555 (For Women in Science 2012) สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ในหัวข้อวิจัยเรื่อง “ศึกษากลไกการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ และการตอบสนองของเซลล์ที่เกิดจากการติดเชื้อ เพื่อเข้าใจถึงพยาธิกำเนิดของโรคไข้เลือดออกเชื้อโรคเด็งกี่”– ( 76 Views)
5 Digital Trends for 2013
แนวโน้มโลกยุคดิจิทัล ในปี 2013 ได้แก่ Convergence of the CMO & CTO Mobility Quantified self Fragmentation Location 5 Digital Trends for 2013 – Dynamit from Dynamit – ( 93 Views)
Gartner Top10 strategic technology trends ปี 2013
Gartner, Inc. ได้วิเคราะห์ Trend ของเทคโนโลยีในปี 2013 ในงาน Gartner Symposium/ITxpo ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 25 ตุลาคม 2555 ที่เมือง ORLANDO รัฐฟอริด้า โดย Gartner ชูแนวโน้ม 10 เทคโนโลยีเด่น (Top 10 strategic technology trends) ในปี 2013 – ( 2997 Views)
สุดเจ๋ง เทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช (Laparoscopic surgery in gynecology)
เมื่อกล่าวถึงโรคของสตรีที่พบบ่อยอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้นโรคเกี่ยวกับมดลูกและรังไข่ หลายกรณีต้องลงเอยด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดที่กระทำบ่อยมากในกลุ่มของการผ่าตัดทางนรีเวช คือการผ่าตัดมดลูก โดยทั่วไปจะทำการผ่าตัดแบบเปิดแผลผ่านทางหน้าท้อง เป็นวิธีผ่าตัดที่ทำกันเป็นส่วนใหญ่เพราะทำได้ง่าย แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัดเพราะต้องเปิดแผลผ่านทางหน้าท้อง และจะทำให้มีรอยแผลผ่าตัดเป็นแนวยาวที่หน้าท้อง การผ่าตัดทางนรีเวช นอกจากผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องแล้ว ปัจจุบันยังนิยมผ่าตัดโดยนำเทคโนโลยีผ่าตัดแบบผ่านกล้องเข้ามาช่วย เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ เช่น ลดภาวะแทรกซ้อน เจ็บน้อยลง และลดระยะเวลาพักฟื้นให้สั้นลง รวมถึงผลการผ่าตัดมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เมื่อกล่าวถึงโรคของสตรีที่พบบ่อยอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้นโรคเกี่ยวกับมดลูกและรังไข่ หลายกรณีต้องลงเอยด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดที่กระทำบ่อยมากในกลุ่มของการผ่าตัดทางนรีเวช คือการผ่าตัดมดลูก โดยทั่วไปจะทำการผ่าตัดแบบเปิดแผลผ่านทางหน้าท้อง เป็นวิธีผ่าตัดที่ทำกันเป็นส่วนใหญ่เพราะทำได้ง่าย แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัดเพราะต้องเปิดแผลผ่านทางหน้าท้อง และจะทำให้มีรอยแผลผ่าตัดเป็นแนวยาวที่หน้าท้อง การผ่าตัดทางนรีเวช นอกจากผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องแล้ว ปัจจุบันยังนิยมผ่าตัดโดยนำเทคโนโลยีผ่าตัดแบบผ่านกล้องเข้ามาช่วย เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ เช่น ลดภาวะแทรกซ้อน เจ็บน้อยลง และลดระยะเวลาพักฟื้นให้สั้นลง รวมถึงผลการผ่าตัดมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช มี 2 ประเภท 1. Laparoscopy คือ การใช้กล้องส่องเข้าไปดูอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เพื่อวินิจฉัยและทำการผ่าตัด โดยมีแผลเล็กๆ 2-3 แผล ขนาด 0.5-1.0 เซนติเมตร – ( 1319 Views)
ทำไม? “โลกไม่แตก”
หลายคนคงโล่งอกไปแล้ว เมื่อวันที่ 21/12/2012 โลกไม่แตกอย่างที่หวาดวิตก ในวันนี้ไม่มีอะไรดีไปกว่าการย้ำถึงทฤษฎีและเหตุผลว่าทำไมโลกไม่แตกกันอีกครั้ง ก่อนสุกดิบไม่กี่วัน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โลกแตก 2012 ในเชิงวิชาการ…จริงหรือหลอก” โดยรวมพลนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าในประเทศ ที่มีทั้งนักฟิสิกส์ นักดาราศาสตร์ ผู้ศึกษาแผ่นดินไหวอย่างเชี่ยวชาญ มานั่งพูดคุยถกกันถึงเหตุผลว่า ทำไมคำทำนายทั้งในเชิงโหราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ของนักวิทยาศาสตร์บางคน ที่ออกมาประกาศว่า วันที่ 21 ธันวาคม 2555 หรือ 2012 นี้ พายุสุริยะจะทำปฏิกิริยารุนแรงกับโลก แกนแม่เหล็กโลกอาจพลิกขั้ว อาจมีแผ่นดินไหวรุนแรง และนั่นถือว่านำมาซึ่งจุดจบของโลก ไม่ได้เป็นความจริงแต่อย่างใด และแม้ว่าเนื้อหาบางส่วนของการเสวนาดังกล่าวจะเป็นข่าวรายวันไปแล้ว แต่วันนี้เราจะลงในรายละเอียดให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เริ่มจาก ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ที่เปิดฉากพูดถึงปฏิทินมายา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสันนิษฐาน และหวาดวิตกว่าโลกจะสิ้นสุด ในวันที่ 21 ธันวาคม ปี 2012 ว่า ในแต่ละศาสนาจะมีความเชื่อเรื่องโลกสิ้นสุด เช่น พุทธศาสนา ที่บอกว่าจะสิ้นสุดเมื่อครบ 2,500