ศูนย์สารสนเทศอาเซียน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ASEAN Information Center, Rajabhat Mahasarakham University) ให้บริการสารสนเทศอาเซียน เพื่อให้ความรู้ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับโรงเรียน สถานศึกษา ซึ่งสามารถนำไปเป็นต้นแบบในกรจัดทำศูนย์อาเซียนศึกษาได้ ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วยเอกสารข้อมูล นิทรรศการ และสื่อต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งสารสนเทศอาเซียนอื่นๆ และที่ทางศูนย์ฯ พัฒนาขึ้นเอง สามารถเข้าถึงสารสนเทศและกิจกรรมของศูนย์ฯ ได้ที่ http://arcm.rmu.ac.th/~asean/asean_web/home.php – ( 154 Views)

นำวิทย์-เทคโนโลยีพัฒนาพันธุ์ปาล์มเตรียมรับมือAEC
กรุงเทพฯ : นายวรวัจน์ เอื้อ- อภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิด เผยในงานสัมมนา “จากปาล์มน้ำมัน สู่น้ำมันปาล์ม” ระหว่างการประชุมวิชาการประจำปีของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ครั้งที่ 9 ว่าที่ผ่านมาปาล์มน้ำมัน เป็นพืชน้ำมันที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยไทยมีศักยภาพในการผลิตน้ำมันปาล์มเป็นลำดับที่ 3 ของโลก รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ หากเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ไทยจะประสบปัญหาทันทีจากการไหลเข้าของปาล์มน้ำมันราคาถูกจากเพื่อนบ้าน ของปาล์มน้ำมันราคาถูกจากเพื่อนบ้าน ดังนั้น กระทรวงวิทย์โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ แห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. จึงต้องเร่งใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการเพาะปลูก เพื่อเพิ่มผลผลิต ต่อไร่และเปอร์เซ็นต์น้ำมันขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอ นอกจากนี้กระทรวงวิทย์โดยเอ็มเทค สวทช. ยังมีแผนพัฒนาระบบการผลิตน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก ไม่ใช้ไอน้ำ และแยกเม็ดในแบบครบวงจร เพื่อช่วยให้เกษตรกรที่เดิมเพาะปลูกปาล์ม และขายทะลายปาล์มให้แก่พ่อ ค้าคนกลางมีโอกาสรวมกลุ่มของเกษตรกรชาวสวนปาล์มและเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม ดิบด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ได้ราคา ดีกว่าขายทะลายปาล์ม และต่อ ยอดน้ำมันปาล์มผลิตไบโอดีเซลได้ รายการอ้างอิง :

ธุรกิจโรงพยาบาล…ขับเคลื่อนการเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย
สำหรับภาพรวมของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปี 2556 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ความเคลื่อนไหวในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ และการควบรวมกิจการของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนคาดว่า ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในปี 2556 จากเดิมที่มีการควบรวมเป็นเครือข่ายเดียวกันระหว่างโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ด้วยกันเอง ก็เริ่มมีการมองหาพันธมิตร หรือเดินหน้าควบรวมกิจการโรงพยาบาลเอกชนในส่วนภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ และเตรียมรับมือกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันเอง รวมทั้งโรงพยาบาลของภาครัฐที่หันมาให้ความสนใจกลุ่มคนไข้ที่มีรายได้สูงมากขึ้น ประกอบกับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 – ( 405 Views)

ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน
ความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9 (NAC 2013) เรื่องความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายในส่วนของคุณปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดังนี้ ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) ครอบคลุม 4 เรื่อง คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบ ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า โดยวิทยากรเน้นบรรยายเรื่องเครื่องหมายการค้า ว่าจะปกป้องและขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าอย่างไรในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้การเข้าร่วม AEC วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการค้าให้ดีขึ้น ซึ่งพื้นฐานอยู่ที่การวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งโดยภาพรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มี 4 ข้อ คือ

หอการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน
ติดตามข้อมูลของหอการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้ที่ http://www.nccibd.com/ (บรูไน) http://www.umfcci.com/ (พม่า) http://www.lncci.laotel.com/ (ลาว) http://www.philippinechamber.com/ (ฟิลิปปินส์) http://www.thaichamber.org/ (ไทย) http://www.ppcc.org.kh/ (กัมพูชา) http://www.kadin-indonesia.or.id/ (อินโดนีเซีย) http://www.micci.com (มาเลเซีย) http://www.sicc.com.sg/ (สิงคโปร์) http://www.vcci.com.vn/ (เวียดนาม) แหล่งอ้างอิง: หอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทย. http://www.thaichamber.org/scripts/aec.asp – ( 162 Views)

เวชสำอางไทย มาตรฐานใหม่สู่เออีซี
กระแสการเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 กำลังเป็นเทรนด์ที่ ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ และเร่งเดินหน้าในการเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงาน เพื่อเป็นที่หนึ่งในการแข่งขันในภูมิภาค อาเซียน ล่าสุดหน่วยงานภาครัฐทั้งศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) จัดสัมมนา “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอาง เพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (Cosmeceuticals Development for AEC by S&T) ในงาน การประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช.(NAC 2013)” เพื่อเตรียมความพร้อมด้านกฎระเบียบตลาดเครื่องสำอางในเอเชียที่ต้องใช้ ระเบียบเดียวกัน งานนี้มีผู้ประกอบการด้านความงาม และสมุนไพรไทยให้ความสำคัญร่วมรับฟังอย่างล้นหลาม เนื่องจากประเทศไทยมีความ ได้เปรียบเรื่องการส่งออกสินค้าเครื่องสำอาง โดยปีที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 50,009 ล้านบาท แต่นำเข้าเพียง 10,000 กว่าล้านบาท– ( 338 Views)

การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี : แผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC เป็นหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9 (NAC 2013) เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเหตุการณ์น้ำท่วม ปลายปี 2554 และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และได้รับการอนุมัติเมื่อเดือนกันยายน 2555 จนออกมาสู่แผนปฏิบัติการ (Action plan) ซึ่งจะมีการระดมสมองจัดทำแผนฏิบัติการ ในการสัมมนาครั้งนี้ ใน 3 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างและบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นาโน ยุทธศาสตร์ที่ 2 :

’3องค์กร’ร่างแผนจริยธรรมนาโนเทค
นายสิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ศูนย์นาโนเทค จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี : แผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) มีหน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เข้าร่วม ตาม “แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี พ.ศ.2555-2559″ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ผลิต จำหน่าย นายศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทค กล่าวว่า แผนดังกล่าวเป็นการขับเคลื่อนเพื่อทำให้ประเทศไทยมีทั้งในเรื่องการสนับสนุน การพัฒนาวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีและการเฝ้าระวัง การป้องกันและการบริหารความเสี่ยงด้านนาโนเทคโนโลยี เพื่อให้การพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย เติบโตได้อย่างมั่นคง ยั่งยืนและปลอดภัย ถือเป็นเรื่องใหม่ที่รัฐบาลต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างมาก ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียน ที่ทำแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนฯ และนำมาปฏิบัติโดยหวังว่าแผนดังกล่าวจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านหรือขยายวงกว้างไปสู่เอเชียทั้งหมด รายการอ้างอิง : ’3องค์กร’ร่างแผนจริยธรรมนาโนเทค. มติชน. ฉบับวันที่ 05 เมษายน พ.ศ.

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการทำไร่อ้อย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดทำฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อย (http://cropthai.ku.ac.th) โดยมีข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อยซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์สนใจมาก และพันธุ์อ้อยการค้าซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในส่วนเชื้อพันธุกรรมอ้อยเก็บรวบรวมลักษณะทางการเกษตรและทางพฤกษศาสตร์ เช่น ลักษณะลำต้น หูใบ แผ่นใบ สี กลุ่มขน ในส่วนพันธุ์อ้อยการค้า มีรูปภาพประกอบ ลักษณะทางการเกษตรมีอธิบายไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ความหวาน ขนาด การแตกก่อ ลักษณะกลุ่มขน ยังมีข้อมูลสภาพดินที่เหมาะสมกับแต่ละพันธุ์ และในฐานข้อมูลยังรวบรวมพันธุประวัติอ้อย ความสัมพันธ์ของพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อนักปรับปรุงพันธุ์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังมีระบบฐานข้อมูลการผสมพันธุ์ การเพาะเมล็ด และการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น เชื้อพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ออกดอกเมื่อไหร่ อ้อยแต่ละพันธุ์มีเพศดอกอะไร เคยผสมพันธุ์อ้อยคู่ใดเมื่อไหร่ อ้อยพันธุ์ใดผสมติดเมล็ดได้ดีหรือผสมไม่ติด อ้อยพันธุ์ใดผสมตัวเองไม่ติดบ้างหรือเป็นหมัน อ้อยพันธุ์ไหนให้ลูกผสมที่ดีเด่นบ้าง บริษัท มิตรผล พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ได้ขยายพื้นที่ปลูกอ้อยไปยังประเทศลาว เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ประสบปัญหาเหมือนไร่อ้อยในประเทศไทยคือ ไม่สามารถควบคุมโรคใบขาวในอ้อยได้ จนกระทั่งได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการเพาะเลี้ยงอ้อยปลอดโรคและคำแนะนำให้จัดตั้งหน่วยผลิตอ้อยปลอดโรคที่ลาวจาก ดร.เฉลิมพล เกิดมณี จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผลก็คือเมื่อนำอ้อยปลอดโรคจากหน่วยไปปลูกในไร่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาโรคใบขาวได้เป็นผลสำเร็จ เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง ผลงานวิจัยด้านอ้อยสู่การใช้ประโยชน์ ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9 (NAC 2013) เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เวชสำอาง มีผู้ประกอบการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องสำอาง เวชสำอางที่สกัดจากสมุนไพรและที่ใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ เวชสำอางใช้แตกต่างจากเครื่องสำอาง คือ เวชสำอางใช้แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ (Functional cosmetics) สารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด ซึ่งจัดเป็นกลุ่มยาอยู่บ้าง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องมีเลขทะเบียน อย. กำกับ